ชุมชนคุณธรรมวัดตะปอนใหญ่ จังหวัดจันทบุรี

เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 400 ปี ชาวบ้านที่เข้ามาอาศัยอยู่ในรุ่นแรก ๆ นั้น เป็นชาวจีน   เป็นที่ราบลุ่ม ประชาชนส่วนมากทำนา บางส่วนจะทำสวนผลไม้ เงาะ มังคุด ทุเรียน เป็นที่ราบลุ่มลักษณะ อากาศโดยทั่วไปมีอากาศ ไม่ร้อนจัด  ไม่หนาวจัด  และเป็นเขตพื้นที่ที่มีฝนตกเกือบตลอดปี หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ฝนแปดแดดสี่”

จุดเด่นของชุมชนคือ มีตลาดสายวัฒนธรรมที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชน คือ ตลาดโบราณ 270 ปี ซึ่งเน้นขายเฉพาะพืชผัก ขนม อาหารพื้นบ้าน มีประเพณีที่โดดเด่นจนได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา งานประเพณีการชักพระบาท (วัดตะปอนใหญ่)  เพื่อเป็นสิริมงคล และความสนุกสนานเพลิดเพลิน จะทำกันในช่วงหลังจากวันสงกรานต์ 1 เดือน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

โพธิ์หุ้มเจดีย์เก่า (วัดตะปอนใหญ่) ต้นโพธิ์อายุเกินร้อยปีที่ขึ้นรัดเจดีย์เก่าจนหุ้มไม่เห็นโครงสร้างของเจดีย์ มีขนาดประมาณ 10 – 11 คนโอบ (ปัจจุบันมองเห็นเจดีย์แล้ว)

โบสถ์เก่า (วัดตะปอนใหญ่) เป็นโบสถ์ที่ประดิษฐานประธานที่มีชื่อว่า หลวงพ่อสัมฤทธิ์ผล ซึ่งมีความเชื่อว่าพระประทานที่โบสถ์แห่งนี้จะสามารถขอพรเพื่อช่วยให้สัมฤทธิ์ผลตามสิ่งที่ตนปรารถนาได้ตามชื่อของท่าน อีกทั้งยังได้ประดิษฐาน รูปหล่อของหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังและเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดที่ชาวบ้านให้การเคารพนับถือเป็นอย่างมาก

โบสถ์ใหม่ (วัดตะปอนใหญ่) สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง พระประธานประดิษฐานอยู่ถึง 3 องค์ ซึ่งมีการสร้างในรูปแบบของ 3 สมัย ได้แก่ สมัยเชียงแสน สมัยอู่ทอง และสมัยสุโขทัย

ตลาดโบราณ ๒๗๐ ปี ตั้ง ตลาดโบราณ 270 ปี ของดีบ้านตะปอนใหญ่ เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ให้ชาวบ้านนำสินค้า อาหารพื้นเมืองมาจำหน่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ยึดหลักคุณธรรมขายสินค้าคุณภาพ ราคายุติธรรม นอกจากนี้ในตลาดยังมีการสาธิต ชักเย่อเกวียนพระบาท การทำเมนูอาหาร การแสดงโชว์วิถีชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การชักเย่อเกวียนพระบาท

วัดตะปอนใหญ่

เป็นประเพณีดั้งเดิมเป็นของหมู่บ้านตะปอนชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธารอยพระพุทธบาทกันมากจึงให้มีการสืบทอดประเพณีติดต่อกันมากทุกปี ภายหลังเปลี่ยนจากการแห่เกวียนพระบาทมาเป็นการชักเย่อแทน แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ชาย-หญิง อยู่คนละข้าง นำเชือกผูกติดกับเกวียนขณะที่2 ฝ่ายออกแรงดึงเชือก คนตีกลองที่อยู่บนเกวียนจะตีกลองรัวจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ใครชนะก็ถือว่าลากพระบาทได้ ฝ่ายแพ้ก็จะขอแก้ลำเป็นที่สนุกสนานมาก

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น