ชุมชนคุณธรรมบ้านปะขาว จังหวัดอ่างทอง

บ้านปะขาว ชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีการอนุรักษ์วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีในสมัยโบราณเอาไว้ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีเกษตรอินทรีย์ มีพืชสำคัญของชุมชน อย่าง กล้วยหอมทองปลอดสารพิษ โดยใช้ฮอร์โมนที่ผลิตจากนมวัว ไข่ไก่ น้ำตาล และ จุลินทรีย์หน่อกล้วย  ปัจจุบันบ้านปะขาวเป็นชุมชนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่โดดเด่นในเรื่องของวัฒนธรรมมีศูนย์เรียนรู้อาหารและขนมไทยโบราณ กลุ่มงานอาชีพช่างไม้สัก กลุ่มแพพักตกปลาเพื่อรองรับผู้มาเยือนและชมบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา

บ้านปะขาว มีกลุ่มอาชีพของช่างไม้ท้องถิ่นที่ผลิตชิ้นงานจากไม้สัก เช่น ศาลพระภูมิทรงไทย,เรือโบราณย่อส่วนและเกวียนไม้จำลอง เป็นต้น มีการสาธิตการทำขนมไทยโบราณ ที่หารับประทานได้ยากอย่าง “ขนมหันแก” ขนมมงคลที่มีมายาวนานกว่า 100 ปี มีลักษณะเป็นลูกกลม ๆ นำไปซุปไข่ ก่อนจะทอดให้มีสีเหลืองทอง รสชาติหอมหวาน กรอบนอกนุ่มใน และยังมีการอนุรักษ์ศิลปะการละเล่นอย่าง รำวงกลองยาว 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสระแก้ว (วัดสระแก)
ชุมชนคุณธรรมบ้านปะขาว มีพระครูปลัดสุวัฒนบัณฑิตคุณ เจ้าอาวาสวัดสระแก้ว เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมบ้านปะขาว ซึ่งในอดีตนั้นบ้านปะขาวเป็นชุมชนเก่าแก่ และมีขนาดใหญ่จึงมีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ที่สืบทอดไว้ให้กับคนรุ่นหลัง และมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่หลอมรวมคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดี่ยว คือวัดสระแก้ว (วัดสระแก) โดยเฉพาะอดีตท่านเจ้าอาวาส พระอุปัชฌาย์ต่าย และในวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำ และขบวนแห่รูปหล่ออดีตเจ้าอาวาส พระอุปัชฌาย์ต่าย นอกจากนั้นยังมีประเพณีสงกรานต์กลางหมู่บ้าน (ศาลาแดง) มีกิจกรรมทำบุญเลี้ยงพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุในหมู่บ้าน มีการร้องรำทำเพลง (รำกลองยาว) และมีการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน เช่น ชักกะเย่อ วิ่งกระสอบ เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

แพพักตกปลา บรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา
แพพักตกปลาบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา ของชุมชนฯบ้านปะขาว สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสาน
ชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีการอนุรักษ์วิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีในสมัยโบราณเอาไว้ ชาวบ้านที่นี่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีเกษตรอินทรีย์ มีพืชสำคัญของชุมชน อย่างกล้วยหอมทองปลอดสารพิษ โดยใช้ฮอร์โมนที่ผลิตจากนมวัว ไข่ไก่ น้ำตาล แทนการใช้สารเคมี

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำไม้ก้านธูปจาก ไม้ไผ่สีสุก
หมู่ที่ 3 ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมกจังหวัดอ่างทอง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธูปหอม เป็นกลุ่มอาชีพที่รวมกลุ่มกันทำไม้ก้านธูปจากไม้ไผ่สีสุก เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตในการทำนา
การทำศาลพระภูมิไม้สักและของใช้ย่อส่วน
นายอัศวิน พงษ์สุข (ช่างแป๊ะ) หมู่ที่ 3 ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง นายอัศวิน พงษ์สุข มีความชำนาญจากการฝึกฝนตั้งแต่รุ่นพ่อ ต่อมาได้ดัดแปลงความรู้ที่มีทำศาลพระภูมิจากไม้สักส่วนเศษไม้ที่เหลือนำไม้มาดัดแปลงเป็นเครื่องมือการเกษตร
การทำขนมไทยโบราณและอาหารพื้นบ้าน
หมู่ที่ 3 ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง การปรุงอาหารพื้นบ้านของชาวบ้านปะขาวเป็นที่เลื่องชื่อกับประชาชนทั่วไป อาทิ เมนูฉู่ฉี่กล้วยน้ำว้าใส่ปลาช่อน ขนมที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ “ขนมหันแก”

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น