ชุมชนคุณธรรมวัดญาณเสน จังหวัดลพบุรี

ชุมชนคุณธรรมวัดญาณเสน มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม อยู่ริมแม่น้ำลพบุรี เดิมเรียก “วัดยาง” เพราะมีต้นยางอยู่มากถึง ๙๙๙ ต้น เป็นแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวในระบบนิเวศ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กและเยาวชนอีก 

ชุมชนคุณธรรมวัดญาณเสน มีความโดดเด่นในด้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง”  การบริหารจัดการขยะซึ่งได้รับรางวัลระดับประเทศ มีพระครูสันติญาณประยุตและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู ร่วมกันขับเคลื่อนจนเป็นพลังบวรที่เข้มแข็ง และมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดญาณเสน
-สักการะพระประธานในอุโบสถ
-สักการะหลวงพ่อธรรมจักร
-จุดเช็คอิน บวร On tour

วัดญาณเสน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี เดิมเรียก “วัดยาง” เพราะมีต้นยางอยู่มากถึง ๙๙๙ ต้น ในอุโบสถมีพระประธาน ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปูนปั่นลงรักปิดทอง และเช็คอิน ณ จุดเช็คอินบวร On tour ในลานปฏิบัติธรรมที่ต้นไม้ร่มรื่น 

วัดโบสถ์
-พระอุโบสถ (เก่า)
-หลวงพ่อพริ้ง

-พระอุโบสถ (เก่า) วัดโบสถ์ เป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดต่าง ๆ เป็นชุดหมู่
-พระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง มณีธาโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระเกจิอาจารย์ดังของจังหวัดลพบุรี ภายในวัดมีสรีระของหลวงพ่อซึ่งไม่เน่าเปื่อย ประดิษฐานอยู่ในโลงแก้ว ให้ประชาชนเดินทางมากราบไหว้ขอพร

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนยาง ๙๙๙ ต้น
ชมต้นไม้พูดได้ ในวัดญาณเสน จำนวน ๙๙๙ ต้น บรรยากาศร่มรื่น ถ่ายรูปกับชุดเช็คอิน บวร On Tour
ถ่ายรูป ชมวิวแม่น้ำลพบุรี
บริเวณหน้าวัดญาณเสน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้โครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ ๕ ตำบลโก่งธนู เป็นแหล่งเรียนรู้การดำเนินการชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำแปลงผักสวนครัว ปลูกผักปลอดภัย ไว้รับประทานในครัวเรือน เหลือจากรับประทานก็นำไปแลกผักอื่นกับเพื่อนบ้าน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ใส่บาตร
วัดญาณเสน ใส่บาตรอาหารคาว หวาน ณ วัดญาณเสน สัมผัสบรรยากาศยามเช้าริมแม่น้ำลพบุรี
จักสานพัด
กลุ่มจักสาน สาธิตการสานพัด การทำพวงหรีดพัด การสานตะกร้า และให้นักท่องเที่ยวได้ลองสานพัดด้วยตัวเอง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น