ชุมชนคุณธรรมวัดศรีดอนคำ จังหวัดแพร่

ชุมชนคุณธรรมวัดศรีดอนคำ (ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลห้วยอ้อ) เป็นชุมชนที่มีทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีคุณค่าหลาย ๆ ด้านของเมืองลอง อาทิ คุณค่าทางประวัติศาสตร์คุณค่าในด้านการเป็นแหล่งเรียนรู้ คุณค่าด้านความงามและสุนทรียศาสตร์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ พัฒนาให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวมีปราชญ์ชาวบ้าน และมีการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วมโดยคนในชุมชน

เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของเมืองลองได้แก่ พระธาตุห้วยอ้อ พิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคำ พิพิธภัณฑ์พระเจ้าพร้าโต้ซึ่งเป็นพระพุทธรูปไม้ศิลปะล้านนา สร้างโดยการใช้มีดพร้า หรือมีดโต้ซึ่งสร้างเสร็จภายใน 1 วัน ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน และนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พระเจ้าทันใจ”  พระเจ้าไม้ ๑,๐๐๐ องค์ พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปสำคัญ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จุดถ่ายภาพระฆังลูกระเบิดเหตุเกิดที่เมืองลองห้องภาพฉลองศิลป์โฮงซึงหลวง

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พระธาตุห้วยอ้อ
เมื่อครั้งพระนางจามเทวีได้เสด็จจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) มาครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) เรือพระที่นั่งจะขึ้นไปตามลำน้ำปิง แต่ได้หลงขึ้นมาตามลำน้ำยมพระนางจามเทวีจึงตรัสว่า “ไหน ๆ ก็ลงมาแล้ว ลองขึ้นไปดูก่อน” จึงเป็นที่มาของชื่อ “เมืองลอง” หรืออำเภอลอง และก่อนที่จะเสด็จกลับ ได้ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนกระดูกอก ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ พระธาตุห้วยอ้อเมื่อปี พ.ศ. 1078 เป็นบันทึกตำนานเก่าจาก พระมหาสังฆราชา วัดฟ่อนสร้อยเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2142 พระธาตุห้วยอ้อองค์ปัจจุบัน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2167 โดยพระสังฆราชาเจ้า วัดยอดใจ เมืองแพล (แพร่) แต่สร้างได้เพียงฐาน 3 ชั้น ต่อมาถึงปี พ.ศ. 2193 พระสังฆราชาเจ้าวัดร่องน้อย เมืองแพล (แพร่) และพระหลวงเจ้า วัดดอนไฟ เมืองนครลำปาง ได้สร้างต่อจนถึง พ.ศ. 2202 แต่ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2215 พระมหาเถรเจ้าสุทธนะ วัดนาหลวง เมืองลอง (ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีดอนคำ) ได้สร้างต่อจนสำเร็จ

พิพิธภัณฑ์พระเจ้าพร้าโต้
พระเจ้าพร้าโต้ แกะสลักด้วยไม้สัก เป็นพระพุทธรูปไม้ศิลปะล้านนาประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศรีดอนคำ ขนาด หน้าตัก 74 ซม. ฐานกว้าง 34 ซม. สูง 8.84 ซม. สร้างโดย การใช้มีดพร้า หรือ มีดโต้ ซึ่งสร้างเสร็จภายใน 1 วัน ก่อนพระอาทิตย์ตกดินและนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พระเจ้าทันใจ” สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2236 เป็นศิลปะแบบพื้นบ้านโดยฝีมือช่างท้องถิ่นชาวเมืองลองมีทั้งหมด 5 องค์ (องค์ใหญ่ 1 องค์ องค์เล็ก 4 องค์) ปัจจุบันเหลือประดิษฐานที่วัด 3 องค์ (องค์ใหญ่ 1 องค์ องค์เล็ก 2 องค์) ส่วนองค์เล็กได้นำทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จย่า 1 องค์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย อีก 1 องค์ ถูกโจรกรรมไป และยังมีพระพุทธรูปองค์เล็กที่แกะจากไม้อีกจำนวนมากกว่า 1,000 องค์ ประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปสำคัญ
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นโดยปรับปรุงจากกุฏิของพระครูเกษมรัตคุณอดีตเจ้าอาวาส ภายในจัดแสดงพุทธรูปที่สำคัญต่าง ๆ ของทางวัดที่ได้รวบรวมจัดแสดงไว้ เช่น “พระเจ้าเงินพระเจ้าทอง” พระพุทธรูปที่บุด้วยทองคำ และพระพุทธรูปที่บุด้วยเงิน “พระเจ้าแก้วเมืองลอง” พระพุทธรูปที่แกะสลักจากแก้วโป่งข่าม “พระเจ้าเชียงตุง” พระพุทธรูปที่สร้างจากดินเผา “พระเจ้าหน้าคำ” พระพุทธรูปที่บุพระพักตร์ด้วยทองคำ พระเจ้าแกะสลักจากงาช้างตลอดจนพระพุทธรูปอีกมากมาย และที่น่าสนใจคือภาพวาดพระธาตุประจำปีเกิดที่วาดบนกระจกด้วยเทคนิคการวาดจากด้านหลังของกระจก

หอไตร
สร้างเมื่อปี 2540 เป็นที่เก็บคัมภีร์พระพุทธศาสนา ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมเรียกว่า “พระธรรม” หอไตรครึ่งตึกครึ่งไม้ฝาและบานประตูหน้าต่างแกะลายจำหลัก และมีรอยเขียนลายรดน้ำดำฝีมือสร้างแสดงถึงความประณีตวิจิตรบรรจงงดงาม

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดศรีดอนคำ
เป็นแหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นแหล่งรวบรวมกิจกรรมที่เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ควรแก่การอนุรักษ์สืบทอด

ระฆังลูกระเบิด
ระฆังลูกระเบิด หรือชาวแพร่แห่ระเบิด เป็นกรณีประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดที่เมืองลองระฆังลูกระเบิดนี้ ทำจากลูกระเบิดสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้นำติดเครื่องบินมาทิ้งทำลายสะพานรถไฟห้วยแม่ต้าเพื่อจะสกัดกั้นการเดินทางของกองทัพทหารญี่ปุ่น
ที่เดินทางขึ้นสู่ภาคเหนือแต่ลูกระเบิดไม่แตก สันนิษฐานว่า ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตัดส่วนหาง นำดินปืนด้านในทิ้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 นายชาญณรงค์ อินปันดี และนายมา สุภาแก้ว ได้ขุดพบ จึงนำมาไว้ที่บ้านจนถึงปี พ.ศ. 2516 ได้นำมาถวายวัดศรีดอนคำเพื่อทำเป็นระฆัง โดยนำเข้าร่วมกับขบวนแห่กระทง บ้านดอนทราย หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยอ้อ

โฮงซึงหลวง
“โฮงซึงหลวง” แหล่งอนุรักษ์เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของอำเภอลองเกิดขึ้นมาจากการผลักดันของคุณจีระศักดิ์ ธนูมาศ ที่เริ่มจากความชื่นชอบ และฝึกเล่นดนตรีพื้นเมืองมาแต่เล็กฝึกฝนกับคนเฒ่าคนแก่จนตั้งเป็นวงดนตรีขึ้นไปเล่นตามโรงเรียน แต่เพราะเครื่องดนตรีมีราคาแพง จึงรวมกลุ่มกับครูทำดนตรีมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน รวมถึงตระเวนหาความรู้จากผู้รู้เรื่องเครื่องดนตรีล้านนา 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเกษตรอินทรีย์
พืชผักสวนครัวในชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การนั่งรถรางนำเที่ยว
นั่งรถรางชมสถานที่ท่องเที่ยวตามเส้นทางที่กำหนด

การทอผ้าตีนจก

ศาลเจ้าแม่ทับทิม ศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสายจีน บ้านวังส้มซ่า เรียนรู้ประวัติและประเพณีลอยเรือสำเภากราบไหว้ขอพรเจ้าแม่ทับทิม ตามความเชื่อของคนไทย เชื้อสายจีน ในเรื่องของความรู้ สติ ปัญญา ความเจริญรุ่งเรือง นำไปสู่การดำเนินชีวิตอันประสบความสำเร็จในทุกด้านประกอบกิจการค้าชมการสาธิตกระบวนการทอผ้าตีนจก ศูนย์เรียนรู้การทอผ้าจกเมืองลองบ้านศิลปินแห่งชาติ (นางประนอม ทาแปง)
หมายเหตุ : สถานที่ท่องเที่ยวเชื่อมโยงก็จะเจริญรุ่งเรือง พบแต่ความสุข และเป็นสิริมงคล

การทำเครื่องดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซึง พิณเปี๊ยะ)
ชมการสาธิตขั้นตอนการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน (สะล้อ ซึง พิณเปี๊ยะ) โฮงซึงหลวง (นายจีรศักดิ์ ธนูมาศ)

การแกะสลักไม้
ชมการสาธิตการแกะสลักไม้สัก กลุ่มอาชีพ (นายสุรพันธ์ หลวงตุมมา)

การทำข้าวปัน
ชมการสาธิตการทำข้าวปัน ร้านข้าวพันผัก (นางสุมาลี ปุ๋มปัญญา)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น