ชุมชนคุณธรรมวัดสว่างอารมณ์กู่ จังหวัดร้อยเอ็ด

ชุมชนคุณธรรมฯ วัดสว่างอารมณ์กู่ เป็นชุมชนที่มีวิถีวัฒนธรรมของชาวอีสาน คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นสังคมแบบเครือญาติ มีคติความเชื่อที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สภาพหมู่บ้าน/ชุมชน นิยมตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มตามสายเครือญาติ เรียกว่าคุ้ม หลาย ๆ คุ้มรวมกันเป็นหมู่บ้าน

ชุมชนมีการแต่งกายที่เป็นอัตลักษณ์ โดยจะสวมใส่ชุดผ้าไหมลายเต่าทอง เป็นลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ นอกจากนี้คนในชุมชนยังมีความรัก ความสามัคคีกัน โอบอ้อมอารีย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มีมิตรไมตรีแก่ผู้มาเยือน เป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

โบราณสถาน กู่กาสิงห์
ปราสาทกู่กาสิงห์ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดบูรพากู่กาสิงห์น้อยลักษณะเป็นปราสาทอิฐสามหลังตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๘ มี.ค. ๒๔๓๘

โบราณสถาน กู่โพนระฆัง
กู่โพนระฆัง ตั้งอยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ประมาณ ๕๐๐ เมตร ปรางค์ประธานก่อด้วยหินศิลาแลง ล้อมรอบด้วยกำแพงสี่เหลี่ยม ซึ่งมีซุ้มประตู หรือโคปุระอยู่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กรุด้วยศิลาแลง

โบราณสถาน กู่โพนวิจ
กู่โพนวิจ ตั้งอยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ประมาณ ๓๐๐ เมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๓ งาน สภาพเป็นเนินดินขนาดใหญ่ ฐานก่อด้วยหินศิลาแลง 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

แปลงนาข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้
ทุ่งกุลาร้องไห้คือแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในประเทศ เป็นที่ราบอันมีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน เป็นข้าวหอมมะลิที่อร่อยที่สุดของไทย คือมีลักษณะความนุ่มของข้าวและกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ มีพื้นที่ทั้งหมด ๒๖ ไร่ ๓ งาน โดยจัดทำเป็นแปลงนาข้าวหอมมะลิ จำนวน ๑๐ ไร่ ทำสวน ปลูกผัก สร้างบ้าน บ่อเลี้ยงปลา โรงสีข้าว จำนวน ๑๖ ไร่ ๓ งาน 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญ
โบราณสถาน กู่กาสิงห์ เมื่อนักท่องเที่ยวเข้าไปถึงยังชุมชน จะมีมัคคุเทศก์แนะนำกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน โดยหนึ่งในกิจกรรมการท่องเที่ยวก็จะมีการบายศรีสู่ขวัญให้กับนักท่องเที่ยว

การรำต้อนรับ นักท่องเที่ยว
โบราณสถาน กู่กาสิงห์ การแสดงทางศิลปะวัฒนธรรม ที่ทางชุมชนจัดไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมก็คือ การรำซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวชุมชนกู่กาสิงห์ เป็นการแสดงความยินดีที่นักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนชุมชน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น