ชุมชนคุณธรรมบ้านโนนเสลา จังหวัดชัยภูมิ

เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีก่อน มีพ่อเฒ่าโอ พ่อเฒ่าไกร และพ่อเฒ่ามั่น นำลูกหลานอพยพจากบุ่งอีโต้เพื่อหาที่ทำกิน เดินทางจนมาพบที่ดอนที่มีไม้ “กระเลา” ขึ้นริม “ห้วยโจด” จึงได้เรียนชื่อว่า บ้านโนนกระเลา ต่อมาเพี้ยนเป็นบ้านโนนเสลา มีพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นที่ราบและที่ราบลุ่ม บางส่วนเป็นภูเขา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพเสริมคือการทอผ้าไหม และทอผ้าขิด ประเพณีอุปสมบทหมู่แห่นาคโหด 

ชุมชนคุณธรรมบ้านโนนเสลา มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นทางด้านวัฒนธรรมประเพณีแห่นาคโหดที่มีการสืบทอดมายาวนาน “หนึ่งเดียวในโลก” โดยจะมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีการแสดงพื้นบ้าน เช่น กลองยาว ฟ้อนรำ  จัดอาหารพื้นบ้านสำหรับรับรองนักท่องเที่ยว เช่น ต้มเก้า หม่ำโบราณ และขนมไทยสูตรลับ ของฝากได้แก่ ผ้าทอขิดลายนาคโหด หมอนขิดทอมือ เสื้อลายขิด เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดตาแขก
วัดตาแขก (วัดใน) ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม เป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบประเพณีโบราณที่มีการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปี คือ ประเพณีแห่นาคโหด โดยชาวบ้านร่วมกันจัดพิธีอุปสมบทให้กับบุตรหลานที่มีอายุครบบวช ในพิธีจะมีการแห่นาค เพื่อนำนาคไปที่วัด โดยจะทำเป็นแคร่ ซึ่งมีคานหาม ผู้ร่วมงานและแบกแคร่ที่มีนาคนั่งอยู่ขณะที่เดินไปก็จะร้องรำทำเพลง และโยนแคร่หามขึ้นข้างบน นาคที่อยู่บนแคร่ต้องจับให้แน่นไม่ให้หล่นหรือได้รับอันตราย เพราะหากนาคหล่นหรือตกจากแคร่หาม ถือว่าไม่มีบุญไม่สามารถบวชได้

โบสถ์เก่า
เป็นโบสถ์โบราณตั้งอยู่ในบริเวณวัดตาแขก (วัดใน) บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ภายในมีพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี และมีใบเสมา โบราณตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน

หลักเส
หลักเส วัดตาแขก มีลักษณะคล้ายเสา มีความสูงประมาณ 1.5 – 3 เมตร ทำมาจากไม้ทั้งต้น ส่วนบนคล้ายดอกบัว และส่วนล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีอายุมากกว่า 300 ปี เพราะจากคำบอกเล่าว่า หลักเสนี้มีมาก่อนสร้างโบสถ์ สันนิฐานว่าเป็นอาณาเขตของการปฏิบัติธรรม เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ป่าพ่อสอน
เมื่อปี พ.ศ. 2539 พ่อสอน (นายสอน กล้าศึก) เห็นว่ารอบ ๆ หนองตูม ซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณะของตำบลไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่จะให้ร่มเงาแก่ผู้มาพักผ่อน จึงอาสาปลูกต้นไม้รอบหนองตูม มีเนื้อที่ประมาณ 250 ไร่ พ่อสอนใช้เวลาปลูกมากกว่า10 ปี ปลูกเพียงคนเดียว ปัจจุบันเป็นป่าที่มีต้นไม้จำนวนมาก

หนองตูม
เป็นบึงน้ำธรรมชาติ ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้านและนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ป่าพ่อสอน
ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองตูม บริเวณหนองน้ำสาธารณะที่ชื่อว่า “หนองตูม” มีเนื้อที่ประมาณ 250 ไร่ ปลูกโดย นายสอน กล้าศึก ซึ่งเป็นชาวบ้านตำบลหนองตูม โดยปลูกต้นไม้มาตั้งแต่ปี 2539 ปลูกเพียงคนเดียว ต้นไม้ที่ปลูก เช่น ต้นสัก ต้นยางนา ต้นสะเดา 

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านโนนเสลา 
เป็นศูนย์เรียนรู้สาธิตวิถีชีวิตตามแนวคิดทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโนนเสลา อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ภายในศูนย์ประกอบด้วยการปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา การทำนา และทำสวน ปลูกกล้วย มะละกอ เป็นต้น

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การเรียนรู้ประเพณีแห่นาคโหด
วัดตาแขก เป็นประเพณีดั้งเดิมหนึ่งเดียวในโลกของบ้านโนนเสลา จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีประมาณเดือน พฤษภาคม  ประเพณีแห่นาคโหดเป็นประเพณีที่ชาวบ้าน ร่วมกันจัดพิธีอุปสมบทให้กับลูกหลานที่มีอายุครบ 20 ปี และในพิธีแห่นาคก่อนจะเข้าโบสถ์จะให้นาคนั่งบนแคร่ไม้ไผ่แล้วชาวบ้านที่มาร่วมงานจะใช้วิธีแบกหามและโยม เหวี่ยง คานหามที่มีนาคนั่งอยู่ด้านบนซึ่งเชื้อว่าถ้านาคคนใดตกลงมาก็จะไม่มีบุญที่จะเข้าพิธีอุปสมบทได้

การทำของที่ระลึก
ศูนย์เรียนรู้ไทบ้าน ของที่ระลึกชุมชนบ้านโนนเสลาเป็นการพัฒนาต่อยอดจากประเพณีที่โดดเด่น และอัตลักษณ์ของบ้านโนนเสลา นำไปทำของที่ระลึก ของฝาก ให้แก่นักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมชม เช่น คานหามจิ๋ว สมุดบันทึกผ้าขิด ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขิด เป็นต้น

การเรียนรู้วิถีชีวิตคนทอผ้าขิด
ศูนย์เรียนรู้ไทบ้าน ชาวบ้านโนนเสลา มีอัตลักษณ์ท้องถิ่น ที่สำคัญและทำกันมานานกว่า 100 ปี คือ การทอผ้าขิด และเป็นผ้าขิดที่ขึ้นแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเหนือ ผ้าขิดบ้านโนนเสลาเป็นการทอมือ มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์สมัยโบราณ และมีการประยุตลายในปัจจุบัน สีที่ย้อมเน้นสีจากธรรมชาติ

นั่งรถชมทุ่งมุ่งสู่ป่าพ่อสอน
ป่าพ่อสอน ป่าพ่อสอน เป็นผืนป่าที่นายสอน กล้าศึก ชาวบ้านบ้านโนนเสลาปลูกขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ในพื้นที่มากว่า 250 ไร่ จะได้ชมความร่มรื่น สัมผัสบรรยากาศเย็นสบาย พร้อมกับสายลมและความสงบ จากเสน่ห์ธรรมชาติ ป่าพ่อสอน กล้าศึก “คนปลูกต้นไม้” แห่งบ้านโนนเสลา จากความเชื่อและศรัทธาสู่การปฏิบัติเพื่อแสวงหาซึ่งประโยชน์สูงสุด

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น