ชุมชนคุณธรรมวัดมหาธาตุวชิรมงคล จังหวัดกระบี่

ชุมชนฯ ที่นำทุนทางวัฒนธรรมของความงดงามของศาสนสถาน ความงดงามทางธรรมชาติ ประเพณี วิถีชีวิต วีถีพอเพียง ผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญา มาเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมเยือน และสร้างรายได้จากสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ให้ชุมชนคุณธรรมอยู่ดีมีสุข

พระมหาธาตุเจดีย์ของวัดมหาธาตุวชิรมงคล ได้รับอิทธิพลมาจาก มหาเจดีย์พุทธคยา สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในเมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย สถานที่ดึงดูดให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศแวะเวียนเดินทางมาชื่นชมกันอย่างไม่ขาดสาย 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดมหาธาตุวชิรมงคล วัดมหาธาตุวชิรมงคล หรือชื่อเดิมวัดบางโทง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๓ ตำบลบางโทง อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ จนมีฐานะเป็นวัดที่มั่นคงและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ได้รับการพัฒนา   อีกครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ หลังจากที่พระวิสิฐพัฒนวิธาน (พิศาล ปุรินทโก) เดินทางมาพำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔5 พระพรหมวรญาณ กรรมการมหาเถระสมาคม       วัดยานนาวา ได้เดินทางมาเยี่ยมวัดบางโทงเพื่อจะจัดสร้าง     พุทธสถานและพระมหาเจดีย์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชอิสริยยศในสมัยนั้น

ตลาดบางโทง หรือ ตลาดใต้ต้นปาล์ม ที่ตั้ง หมู่ที่ ๓ บ้านบางโทง (บริเวณหน้าวัดมหาธาตุวชิรมงคล) เป็นตลาดวัฒนธรรม เปิดบริการในวันเสาร์วันอาทิตย์ และวันหยุด       นักขัตฤกษ์ เป็นตลาดชุมชนส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน สินค้าที่วางจำหน่าย ได้แก่ สินค้าหัตถกรรม อาหารพื้นถิ่น พืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ ฯลฯ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเจ้าเตก ที่ตั้ง หมู่ที่ ๑ บ้านปากลาว นอกจากการเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่แล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามทางธรรมชาติ เช่น วิวท้องนา บ่อบัวปลูก และยังมีจุดถ่ายภาพต่าง ๆ มีเครื่องดื่ม อาหารจำหน่าย รวมไปถึง เครื่องจักสาน ของที่ระลึก ผักปลอดสารพิษ และไม้ประดับนานาชนิด จำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว เรียกได้ว่ามาที่เดียวแต่ครบทั้ง แชะ ชิม   ช้อป

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ศิลปะการแสดงมโนราห์ โรงเรียนบ้านบางเจริญ หมู่ที่ ๕ ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ในชุมชนคุณธรรมฯ มีการส่งเสริมและการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงมโนราห์ โดยมีปราชญ์ชาวบ้านที่มี  ความสามารถ ด้านการแสดงมโนราห์ คือ นายเงี้ยน ศิลป์สุวรรณ (มโนราห์เงี้ยน) เป็นผู้สอนการแสดงมโนราห์ให้กับเด็กและเยาวชนในชุมชน รวมทั้งกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น