วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่

ที่ตั้ง 2 ถนน สามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50280

๑.เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญคู่เมืองเชียงใหม่ภายในวัดมีศิลปกรรมที่สร้างด้วยช่างฝีมือชาวล้านนาที่สวยงาม เช่นวิหารหลวงที่สร้างเมื่อครั้งครูบาศรีวิชัย, หอไตรศิลปะแบบล้านนา, เจดีย์ทรงระฆังคว่ำศิลปกรรมล้านนาและวิหารลายคำที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปเก่าแก่คู่เมืองเชียงใหม่อีกองค์หนึ่ง

ความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมล้านนาในวัดพระสิงห์นั้น ได้ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติพากันมาเยี่ยมชมความสวยงาม ของวัดนี้เป็นจำนวนมาก จนชื่อเสียงของวัดพระสิงห์แผ่ขยายออกไปทั่วโลก สำหรับความเป็นมาของการสร้างวัดอันยาวนาน หลักฐานท้องถิ่น เช่น ตำนานมูลศาสนา ,ตำนาน 15 ราชวงศ์ ได้ระบุว่า พญาผายู (พ.ศ.1879 -1898) โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ.1887 เพื่อประดิษฐานเจดีย์บรรจุพระอัฐิธาตุของพระราชบิดาคือ พญาคำฟู (พ.ศ.1877-1879) แต่เดิมวัดนี้มีชื่อเรียกว่า วัดพระเชียง แต่เนื่องจากที่ตั้งของวัดนี้อยู่หน้าตลาดกลางเวียง (กาดลี) ชาวบ้านในสมัยนั้นจึงเรียกว่า วัดลีเชียงพระ ซึ่งแปลว่า วัดตลาดเมือง

ในสมัยพญาแสนเมืองมา พระองค์ได้ทำการสู้รบกับพญาพรหมแห่งเมืองเชียงรายจนชนะ พระองค์จึงได้นำพระพุทธสิหิงค์จากเชียงรายมาประดิษฐานที่วัดพระเชียง หรือ วัดลีเชียงพระตั้งแต่นั้นมา วัดพระสิงห์ผ่านยุคสมัยมาหลายกาลเวลา โบราณสถานต่างๆ ภายในวัดจึงปรากฏคล้ายเดิมของรูปแบบศิลปกรรมของช่างในสมัยก่อน

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกที่อยู่คู่เชียงใหม่มาทุกยุคสมัย ถือเป็นวัดเก่าแก่สำคัญวัดหนึ่งของเชียงใหม่มีประวัติการก่อสร้างยาวนานถึง 640 ปี วัดนี้ในอดีตเคยเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงใหม่ ความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชื่อวัดพระสิงห์ที่สำคัญเห็นจะได้แก่
เมื่อครั้งที่ท้าวมหาพรหม เจ้าเมืองเชียงรายไปได้พระพุทธสิหิงค์ หรือที่ชาวเชียงใหม่เรียกว่า พระสิงห์ มาจากเมืองกำแพงเพชรและได้นำขึ้นมาถวายให้พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์เมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงเรือขึ้นมาตามแม่น้ำปิง เมื่อขบวนเรือมาถึงเชียงใหม่ เป็นเวลาค่ำแล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ขึ้นจากเรือ แล้วนำไปประดิษฐานไว้บนบกที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งทางฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 05.00 – ๑๘.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เป็นสถานที่ที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
ไม่มี
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
สักการะพระพุทธสิหิงค์ ชมซุ้มประตูโขง และจิตรกรรมฝาผนัง
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 5341 6027
๗.ช่องทางออนไลน์ –
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /) ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น