ร้านอาหาร@นาตักเต่า จังหวัดเชียงราย

ที่ตั้ง ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

๑.ร้านอาหาร @นาตักเต่า ตั้งอยู่ตำบลศรีดอนชัย อำเภอ เชียงของ เชียงราย เป็นร้านอาหารไทลื้อประเภทข้าวซอยลื้อ น้ำเงี้ยว ส้มตำ และน้ำสมุนไพร
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
– ข้าวซอยลื้อ
– ก๋วยเตี๋ยวน้ำเงี้ยว
– ส้มตำน้ำปู
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
ทุกวันเวลา ๑๐.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๒๐๖๙ ๙๘๕๒
๕.ช่องทางออนไลน์
– Facebook : นาตักเต่า

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านปากบางนาคราช จังหวัดพัทลุง

บ้านปากบางนาคราช เดิมชื่อ บ้านบางนางลาด  ในอดีตมีตำนานเล่าว่าคลองนาคราชมีพญานาคเลื้อยผ่านมาทางทะเลสาบสงขลาและเลื้อยผ่านเข้าคลองปากบาง ชาวบ้านตั้งชื่อบ้านปากบางตามตำนานคลองนาคราช มีจำนวนประชากร จำนวน 387 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การประมงในทะเลสาบ ประชาชนในชุมชนมีการนับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ความเข้มเข็งของชุมชนคุณธรรมบ้านปากบางนาคราช ได้มีการน้อมนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตจึงทำให้คนชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

 “ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งตำนานพญานาค มากศิลปวัฒนธรรม ล้ำค่าทรายล้าง สร้างรายได้ให้ชุมชน  ผู้คนนับถือตาหลวงแมว”

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

เกาะสี่ – เกาะห้า (แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์) ในปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสทะเลสาบสงขลา และประทับแรมบนเกาะหมาก และปรากฏพระปรมาภิไธย ที่สลักบนผาหน้าถ้ำบนเกาะเทวดาชุมชนจึงได้มีการสร้างพระบรมรูป ร.๕ บนเกาะรังนก ซึ่งพระปรมาภิไธยจะอยู่บริเวณหลังพระบรมรูป

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

เกาะสี่ เกาะห้า ในปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสทะเลสาบสงขลา และประทับแรมบนเกาะหมาก และปรากฏพระปรมาภิไธย ที่สลักบนผาหน้าถ้ำบนเกาะเทวดาชุมชนจึงได้มีการสร้างพระบรมรูป ร.๕ บนเกาะรังนก ซึ่งพระปรมาภิไธยจะอยู่บริเวณหลังพระบรมรูป

เกาะกระ สักการะรูปเหมือนหลวงปู่ทวด  เจ้าแม่กวนอิม

คลองปากบางนาคราช ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่สวยงามของต้นลำภู ต้นสมอ ป่าชายเลน และนกนานาชนิด

หน่วยพิทักษ์ป่าอ่าว ท่ายาง แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำทะเล

เกาะโคบ
– ลานยอยักษ์
– ควายน้ำ
– นกหลากหลายชนิด

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านนายสมพร สุวรรณเรืองศรี เรียนรู้การปลูกพืชผักแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี เลขที่ 66 หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

ศูนย์เรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์ประมงอินทรีย์ บ้านช่องฟืน เรียนรู้การแปรรูปจากอาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง บ้านช่องฟืน ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

การแสดงมโนราห์ของกลุ่มเด็กเยาวชน มโนราห์คณะชาตรี  เลขที่ ๔๓/๔ หมู่ที่ ๕ ตำบลเกาะหมากเด็กเยาวชนฝึกซ้อมการแสดงมโนราห์ เพื่อนำไปแสดงในงานประเพณีต่าง ๆ ของชุมชน และต้อนรับนักท่องเที่ยว

ประติมากรรมทราย บ้านนายพิชัย จันทร์สว่าง เลขที่ ๙๔/๒ หมู่ที่ ๙ ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง  โทรศัพท์ ๐๙ ๘๐๑๕ ๒๘๑๘ ประติมากรรม และผลิตภัณฑ์จากทรายล้าง เช่น กรอบรูป กระถางต้นไม้ แจกัน

ไข่ในหิน บ้านนางปราณี ทองคำ  เลขที่ ๑๐ ม.๗ บ้านเขาชัน  ต.เกาะหมาก  อ.ปากพะยูน  จ.พัทลุง ไข่เค็ม นำกรวดทรายล้างมาพอกทำให้ไข่เค็มมีอร่อย ไม่เค็มมาก และใช้ไข่เปิดไล่ทุ่ง เลี้ยงแบบธรรมชาติ

ล่องเรือ คลองปากบางนาคราช และทะเลสาบสงขลารอบเกาะหมาก ล่องเรือชมธรรมชาติคลองปากบางนาคราช ป่าชายเลน วิถีชาวประมง และหมู่เกาะในทะเลสาบสงขลารอบ ๆ ตำบลเกาะหมาก

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านบากันเคย จังหวัดสตูล

ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรบ้านบากันเคยเป็นชุมชนขนาดเล็ก  มีลักษณะแหลมยื่นออกไปในทะเลอันดามัน  ทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดสตูล  พื้นที่ส่วนใหญ่  เป็นป่าชายเลนสภาพยังคงอุดมสมบูรณ์  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง  และแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากทะเล  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  พูดภาษามาลายู  มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจและเป็นที่เรียนศาสนา  และปัจจุบันได้จัดตั้งเป็นรีสอร์ทชุมชนด้านการท่องเที่ยว มีบ้านพักและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมลงมือทำหลากหลายกิจกรรมการล่องเรือไปเที่ยวชมสันหลังมังกร ตลอดจนกิจกรรมดำน้ำชมปะการัง  

หมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้านมุสลิม  บริการห้องพักหลากหลาย  มีนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลแหวกสันหลังมังกร  หาดหินเหล็กและสปาทรายดำกลางทะเลและของฝากจากชุมชนเคยหรือกะปิ  บริการอาหารทะเลสด ๆ ให้รับประทานกันถึงที่พัก  กิจกรรมที่โดดเด่นการได้ชมพระอาทิตย์ตกดิน  ณ  จุดชมวิวสองแผ่นดินที่สวยงาม

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

กลุ่มแม่บ้านประมง อาสาบ้านบากันเคย ๑๑๐  หมู่ที่  ๓ ตำบลตันหยงโปอำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล อาหารแปรรูป อาหารทะเล ปลาแดดเดียว กะปิ

บ่อน้ำโต๊ะฮาซัน (บ่อกามเทพ) หมู่ที่  ๓ ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล มีชายหญิงหลายคู่ได้แต่งงานกันมีเรื่องราวความเป็นมาจากบ่อน้ำแห่งนี้ คือ บ่อน้ำกามเทพ

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ทะเลแหวก สันหลังมังกร เป็นสันทรายคล้ายทะเลแหวก   มีความแตกต่างจากที่อื่นตรงที่แนวหาดที่เห็นไม่ใช่ทรายแต่เป็นเปลือกหอยนับล้าน ๆ ตัว  ที่ถูกเคลื่อนซัด   ทับถมเป็นระยะทางยาวกว่า  ๔  กิโลเมตร  เชื่อกันว่าเป็นทางยาวระหว่างเกาะหัวมันกับเกาะสาม

หาดหินเหล็ก เป็นประติมากรรมทางธรรมชาติ  ที่ถูกสรรค์สร้าง  บนพื้นหิน  มีลักษณะเป็น รูปสี่เหลี่ยม  หกเหลี่ยมมีแร่เหล็กแทรกบนชั้นหิน สีแดง  เหมือนมีเหล็กครอบเอาไว้เรียงรายอัดแน่น เป็นแท่ง ๆ

ผานางคอย ถัดออกมาด้านบนของหินเหล็กไฟ  จะมีจุดชมวิว  ชาวบ้านเรียกว่าผานางคอย  ซึ่งเป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ตกและวิวเกาะลังกาวี  รวมทั้งมองเห็น สันหลังมังกรจากมุมสูงได้อย่างชัดเจน

สปาหาดทรายดำ หาดทรายดำ  ที่นี่ไม่ใช่ทรายธรรมดา  เป็นทรายที่มีสีดำละเอียดคล้ายกับโคลน  นักท่องเที่ยวสามารถทำสปาได้  ส่วนใหญ่ผู้ที่นำโคลนมาพอกจะมีความรู้สึกเย็นสบายผิว  ผิวจะมีความชุ่มชื้น  แต่ไม่อนุญาตให้นำโคลน  กลับบ้าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กลุ่มแม่บ้านประมง อาสาบ้านบากันเคย 110 หมู่ที่ 3  ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล  จังหวัดสตูล ผลิตภัณฑ์กะปิ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

เกาะหัวมัน ทะเลแหวก นั่งเรือหางยาวตั้งอยู่ ณ อ่าวสตูล หมู่บ้านตันหยงโป ใช้เวลา ประมาณ 15 นาที เกาะหัวมัน ทะเลแหวก โดยเวลาที่น้ำลงนั้น จะเห็นทะเลแหวกทอดยาวไกลข้ามจากอีกเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่ง

เกาะกวางล่องเรือสู่เกาะกวาง ประมาณ 10 นาที สัมผัสหาดเปลือกหอยล้านปีเป็นหาดที่เรียกได้ว่าเป็นหาดเปลือกหอยที่มีอายุนานล้านปีก่อน รวมตัวกันเป็นหาดสวรรค์ ชมทัศนียภาพบนจุดชมวิวที่สวยที่สุดกลางเกาะและเดินลัดเลาะ เดินตามชายหาดซึ่งอยู่กลางทะเลเพราะที่นั่นเปรียบเสมือนทะเลแหวกที่มีหนึ่งเดียวในสตูลที่มีความยาวกว่า 5กิโลเมตรซึ่งถูกขนานนามว่าทางเดินเจ้าสมุทร

เกาะมดแดง เป็นเกาะที่มีทรายสีดำละเอียดคล้ายกับโคลน ตรวจสอบ พบว่าทรายดำชนิดนี้มีแร่ธาตุเหล็กที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านผัง ๗

เป็นชุมชนคุณธรรมฯ  ต้นแบบ  ที่นำพลังบวร  อันประกอบด้วย  บ้าน  วัดหรือศาสนสถาน  โรงเรียนและราชการมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ทุกคนทุกครอบครัวอยู่ดี  มีความสุข  มีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันข่าวสาร  และเป็นศูนย์ร่วมจิตใจให้ยึดมั่นในหลักศีล ๕  ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา  รักและเทิดทูนสถาบันชาติ  ศาสนา และพระมหากษัตริย์

เป็นชุมชนชาวพุทธนำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในชีวิตประจำวัน  ถือเป็นแนวปฏิบัติมาตลอดปกติชาวบ้านมีการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ในครัวเรือน  ทำให้ชาวบ้านประหยัดรายจ่าย  พัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม  เชื่อมโยงการท่องเที่ยววิถีไทย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดนิคมพัฒนาราม
วัดนิคมพัฒนาราม  อยู่หมู่ที่ ๓  ตำบลนิคมพัฒนา  อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล  เป็นศูนย์กลางชองชุมชนคุณธรรมฯ ขับเคลื่อนด้วยพลังบวรบ้านผัง ๗ เป็นสถานที่จัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา  ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น  โดยในวัดนิคมพัฒนารามมีศึกษาและเรียนรู้ ดังนี้
๑. รูปปันหลวงปูทววด   
๒.  เจดีย์ศรีสตูล     
๓.  โรงเรียนพระพุทธสาสนาวันอาทิตย์     
๔.  แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนป่าร้อยปี เขาควนล้วน อยู่หมู่ที่ ๓  ตำบลนิคมพัฒนา  อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล เส้นทางเดินป่าที่ผ่าน  ป่าทึบ  มีต้นไม้สูงใหญ่ ตลอดเส้นทาง เหมาะ สำหรับการศึกษาธรรมชาติ  พืชพันธุ์ดั้งเดิม เป็นพื้นที่สูงสุดในชุมชน สามารถชมทิวทัศน์ของชุมชน ได้โดยรอบ ชมทะเลหมอกในยามเช้า และชมดวงอาทิตย์ตกในยามเย็น

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง วัดนิคมพัฒนาราม อยู่หมู่ที่ ๓     ตำบลนิคมพัฒนา  อำเภอมะนัง จังหวัดสตูลเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษบกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางให้คนในชุมชนและบุคคลที่สนในนำไปปฏิบัติลดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้ให้กัยตนเอ

สัมมาชีพผักปลอดสารพิษ อยู่หมู่ที่ ๓  ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูลบ้านตัวอย่างพึ่งตนเอง  กิจกรรมหลักคือการปลูกผักปลอดสารพิษ การทำขยะหลุม ปลูกพืชสมุนไพร

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชุมชนคุณธรรมฯ ขับเคลื่อนด้ยพลังบวรบ้านผัง ๗
เป็นชุมชนชาวพุทธ กิจกรรมที่โดดเด่นได้แก่ 
๑. กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา                             
๒.  กิจกรรมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น                   
 – วันสารทเดือนสิบ                 
 –  ประเพณีชักพระ                        
 –  กิจกรรมลอยกระทง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านโตนปาหนัน จังหวัดสตูล

บ้านโตนปาหนัน ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล  เป็นหมู่บ้านที่อยู่กลางธรรมชาติ  ปกคลุมด้วยภูเขา  มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้หลากหลายพันธุ์ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติน้ำตกโตนปาหนันที่ขึ้นชื่อ โฮมสเตย์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโตนปาหนัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการผลิตกาแฟโบราณจากต้นกาแฟโบราณ  การหลามข้าวแบบดั้งเดิม กับอาหารพื้นถิ่น ที่ตั้งวงกิน (ข้าว) กลางสายน้ำ  ผลไม้สดจากต้นในช่วงหน้าผลไม้   แล้วชิมกาแฟโบราณ (โกปี้) 

ชุมชนอยู่กับป่า  ป่าอยู่ได้  คนอยู่ได้ และพัฒนาได้  มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในชุมชน  เพื่อให้คนในชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่น  วิถีชีวิตและหลักคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์มาบูรณาการ  ที่ก่อให้เกิดปัญญา  สังคมอยู่เย็นเป็นสุข  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  มีความสัมพันธ์เป็นญาติพี่น้องกันทั้งหมู่บ้าน 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ร้านกาแฟและโรงคั่วโกปี้โบราณบ้านโตน อยู่หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล  การผลิตกาแฟโบราณ แปรรูป   เป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้  แบรนด์ “โกปี้บ้านโตน” ซึ่งมีความสดใหม่อยู่ตลอด แสดงถึง   อัตลักษณ์ของท้องถิ่นและชุมชน รวมถึงมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

น้ำตกโตนปาหนัน น้ำตกอยู่หมู่ที่ 5  ตำบลทุ่งนุ้ย  อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล สภาพทั่วไปของ น้ำตกโตนปาหนัน เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสตูล ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หัวกาหมิงและเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ในบริเวณ ที่ตั้งของน้ำตกโตนปาหนัน น้ำตกโตนปาหนัน เป็นต้นน้ำที่ล่อเลี้ยงชีวิตของหมู่บ้านในการดำรงชีวิตและการเกษตรของผู้คนและสัตว์ในหมู่บ้านโตน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนผักกูด อยู่หมู่ที่  ๕  บ้านโตนปาหนัน ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
-พืชปลอดสารเคมี
-เป็นวัตถุดิบการทำอาหารบ้านโตน
-เป็นพืชเศรษฐกิจชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชุมชนคุณธรรมฯ ขับเคลื่อนด้วยพลังบวรบ้านโตนปาหนัน หมู่ที่ ๕ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว
ทางธรรมชาติมากมาย  ดังนี้
1. ฐานโกปี้บ้าน​โตน
2. ฐานสะบ้า
3. ฐานเก็บผักกูด
4.  น้ำตกโตนปาหนัน
๕.  ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
๖.  บ่อตกปลา – จาหรูด
๗.  หน่วยพิทักษ์ปาหนัน
๘.  HOMESTAY
๙.  บ่อน้ำร้อนทุ่งนุ้ย
๑๐.  มัสยิด

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหงาว จังหวัดระนอง

ตำบลหงาวเกิดจากการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวบ้านจากอำเภอกะเปอร์ และจังหวัดภูเก็ต คือมีชาวบ้านเชื้อสายจีน     ที่เดินทางมาจากจังหวัดภูเก็ต  กลุ่มใหญ่เข้ามาประกอบอาชีพทำเหมืองแร่ บางส่วนก็เลี้ยงวัวไว้บริเวณเชิงเขา จึงเรียกทุ่งหญ้าเลี้ยงวัว เป็นภาษาจีนว่า “ทุ่งโหงว” แปลเป็นไทยว่า “ทุ่งวัวป่า” จากนั้นชาวบ้านและคนรุ่นหลังได้เรียกชื่อหมู่บ้านนี้ “บ้านทุ่งหงาว”      สืบต่อกันมา

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหงาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสภาพภูมิประเทศ มีทั้งที่ราบ ภูเขา และทะเล ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ และหลากหลายทางธรรมชาติ และวิถีวัฒนธรรมอันดีงาม มีวัดบ้านหงาวเป็นศูนย์รวมจิตใจ โดยเฉพาะ หลวงพ่อดีบุก “พระติปุกะพุทธมหาศากยมุนีศรีระณังค์” พระประธานในอุโบสถ มีประเพณีตักบาตรเทโว มีกิจกรรมด้านการพัฒนาอาชีพเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ (ไม้โกงกาง)  การแสดงพื้นบ้าน “หงาวบ้านเรา” และมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในวัด  และแหล่งเรียนรู้ด้านการประกอบอาชีพ ได้แก่ การทำกะปิกุ้ง การทำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

“หลวงพ่อดีบุก” พระประธานในอุโบสถวัดบ้าน หงาว “หลวงพ่อดีบุก”หรือ พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยแร่ดีบุก   ซึ่งเป็นโลหะธาตุหล่อองค์พระพุทธรูป อันมีนัยแห่งความดี หมายถึง  “ความ “ดี” ที่ “บุก”  เอาชนะความชั่ว” หรือ “ดี บุก ชั่ว”  แร่ดีบุกมีอยู่มากมายในจังหวัดระนอง จนได้ชื่อว่า “เมืองแร่นอง” และต่อมาเพี้ยนมาเป็น “ระนอง”ประกอบกับตำบลหงาวเป็นแหล่งแร่ดีบุก อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง การสร้างพระประธานในอุโบสถด้วยแร่ดีบุกทำให้คนรุ่นใหม่รู้จักแร่ดีบุก  องค์พระประธานนี้มีชื่อสามัญว่า “หลวงพ่อดีบุก” ส่วนชื่อที่เป็นทางการคือ “พระติปุ-กะพุทธมหาศากยมุนีศรีระณังค์” อันมีความหมาย ว่า“พระพุทธรูปดีบุกองค์ใหญ่เป็นสิริมงคลและศักดิ์ศรีของเมืองระนอง”

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช เฉลิมพระเกียรติฯ ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช  ตำบลหงาว จังหวัดระนอง เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงวัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งความเป็นอยู่ วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนให้คงอยู่สืบไป ภายในศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช มีวัตถุโบราณมากมาย ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวตำบลหงาว

ภาพเขียนรอบอุโบสถ ที่ตั้ง 63/2 หมู่ที่ 1 ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง 85000 บริเวณรอบ ๆ อุโบสถ มีหินแกะสลักเป็นเรื่องเล่าของเมืองระนอง

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวภูเขาหญ้า ภูเขาหญ้า ระนอง ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง ระนอง เป็นภูเขาที่  ไม่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นมีแต่ต้นหญ้า ปกคลุมแนวเขาที่ทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ภูเขาที่เต็ม ไปด้วยหญ้าต่างสีต่างวันเวลาและเนินเขางดงาม ในช่วงฤดูแล้งภูเขาหญ้าจะแปรเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวยิ่งในช่วงในตกใหม่ ๆ อาจมีโอกาสได้เห็นสายหมอกฝนลอยไปมาอีกด้วย  จึงนิยมเรียกกันว่า “ภูเขาหญ้าสองสี” การชม ภูเขาหญ้านอกจากจะชมได้จากลานกว้างด้านล่างแล้ว ยังสามารถขึ้นไปชมวิวในมุมสูงมีทางราบเชิงเขา มีทางเดินเท้าสำหรับนักท่องเที่ยวขึ้นสู่บนสันเขาเพื่อชมทิวทัศน์โดยรอบ ซึ่งภูเขาแต่ละลูกไม่สูงมาก สามารถเดินเท้าขึ้นไปตามทางจากลูกนี้เดินต่อไปยังอีกลูกซึ่งเชื่อมต่อกัน

ศูนย์วิจัยทรัพยากร ป่าชายเลนที่ ๓ ๑๘๕ หมู่ ๔ ตำบลหงาว  อำเภอเมืองระนอง  จังหวัดระนอง

อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ที่ตั้ง ๑๗๖/๕  ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง โทร ๐ ๗๗๘๑ ๐๖๕๑

อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว เดิมชื่อ อุทยานแห่งชาติคลองเพรา มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔๑๗,๕๐๐ ไร่ หรือ ๖๖๘ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมที่ดินป่าละอุ่น และป่าราชกรูด ในท้องที่อำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง และที่ดินป่าทุ่งระยะ ป่านาสัก      ป่าเขาตังอา ป่าคลองโชน ป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และ ป่าปากทรง อำเภอสวี อำเภอหลังสวน  และอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒ นับเป็นอุทยานฯ ลำดับที่ ๙๓ ของประเทศ

ยอดภูหงาวดาวดึงส์ มีบันไดขึ้นยอดภูหงาว จำนวน ๓๔๓ ขั้น บนยอดเขามีจุดชมวิวที่สวยงามมาก  โดยเฉพาะตอนเย็นจะมองเห็นพระอาทิตย์ตก และท้องฟ้าสวยงามมาก
ที่ตั้ง วัดบ้านหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมือง  จังหวัดระนอง

วังมัจฉา ตั้งอยู่ในวัดบ้านหงาว ทางขึ้น ภูหงาวดาวดึงส์ วังมัจฉา เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ มีปลาอาศัยอยู่จำนวนมาก ได้แก่ปลาบึก ปลาจาระเม็ดน้ำจืด ปลาดุกยักษ์ ปลาตะเพียน ปลานิล ฯลฯ และเป็นสถานที่ให้อาหารปลา ปล่อยปลา นักท่องเที่ยวสามารถซื้ออาหารให้ปลาได้ ราคาชุดละ 10 บาท

อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะระนอง ๑๙๒  หมู่ ๔ ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง  จังหวัดระนอง โทร  ๐ ๗๗๘๑ ๓๘๔๐

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง / ศาสตร์พระราชา ตั้งอยู่เลขที่ 178/5 หมู่ที่ 1 ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง     จังหวัดระนอง ครอบครัวบ้านนายสุเทพ รอดคง ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรม “โคก หนอง นา โมเดล”  มีการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อใช้ประกอบอาหาร เช่น ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง พริกไทย สามารถลดรายจ่ายจากการซื้อผักกินกว่าเดือนละ 1,000 บาท มีผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคในครัวเรือน และเหลือนำไปขายสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว เดือนละ 2,000 – 3,000 บาท ส่วนครอบครัวที่อยู่ติดทะเลก็จะประกอบอาชีพทำการประมงชายฝั่ง หาปลา หาปู หากุ้งมาทำกะปิ ขายในตลาดหงาว สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ได้เงินมาเพื่อซื้อข้าวสาร ผักจากชาวสวน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำผ้ามัดย้อม ชื่อผู้ประกอบการ นางสุริยา ทิพย์บุญทอง ที่ตั้ง ๖๒/๑๗ หมู่ ๑    ตำบลหงาว อำเภอเมืองจังหวัดระนอง เบอร์โทรศัพท์  ๐๙ ๕๐๓๖ ๓๕๙๗, ๐๙ ๙๓๐๕ ๑๐๑๑ ในพื้นที่ตำบลหงาว มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล มีพื้นที่ป่าชายเลนเยอะ จึงเป็นพื้นที่ที่มีป่าโกงกางจำนวนมาก ผู้ประกอบการ จึงมีแนวคิดในการนำยางไม้โกงกางมาทำสีผ้ามัดย้อมจากไม้โกงกาง ได้แก่ ทำผ้าชิ้นสำหรับตัดชุดทำงาน ตัดเสื้อทั่วไป ทำกระเป๋า ผ้าปูโต๊ะ และผ้าเช็ดหน้า

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านไร่ใน จังหวัดระนอง

ชุมชนคุณธรรมบ้านไร่ใน เดิมเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของหมู่ที่ ๔ บ้านควนไทรงาม  ตำบลนาคา ต่อมา พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้แยกหมู่บ้านมาเป็นหมู่ที่ ๗ บ้านไร่ใน ราษฎรในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ย้ายถิ่นมาจากหลายจังหวัดทางภาตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ปัจจุบันราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน สวนกาแฟ และสวนผลไม้เป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ในชุมชนมีสภาพภูมิอากาศมีทั้งอากาศร้อนและฝนตกชุก มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕,๙๘๕ ไร่  ชุมชนคุณธรรมบ้านไร่ใน มีจำนวน ๑๕๗ ครัวเรือน จำนวนประชากร ๔๗๐ คน คนส่วนใหญ่ 80% นับถือศาสนาอิสลาม และ 20% นับถือศาสนาพุทธ

ในชุมชนมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ สำนักสงฆ์บ้านไร่ใน เป็นสถานศูนย์รวมด้านจิตใจที่สำคัญของคนในชุมชน นักท่องเที่ยวที่มาถึงจะไปกราบนมัสการหลวงปู่ทวดเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล ที่สำนักสงฆ์บ้านไร่ในเป็นสถานที่จัดงานประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ของชุมชน อาทิ ประเพณีสงกรานต์ งานวันกตัญญู งานประเพณีลากพระ  ซึ่งจัดในช่วงวันออกพรรษา ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานประเพณีรับส่ง ตา – ยาย และมีศิลปะการแสดงพื้นบ้าน  สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว และยังมีจุดเด่นที่รับนักท่องเที่ยว เช่น ดอกพลับพลึงธาร ออกดอกให้ชมเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

สำนักสงฆ์บ้านไร่ใน หมู่ที่ 7 ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง

วัดควนไทรงาม (เชื่อมโยง หมู่ที่ ๔) หมู่ที่ ๔ ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง วัดควนไทรงาม เป็นวัดในพื้นที่ของอำเภอสุขสำราญ ที่มีชาวไทยพุทธในพื้นที่่ให้ความเคารพในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปรับบุญเติมความเป็นสิริมงคล กราบไหว้พระนอน พระธาตุบุญสูง ศาลาพระเกจิอาจารย์ดัง อย่างสมเด็จพระพุฒจารย์โต พ่อท่านคล้าย และรูปปั้นเจ้าอาวาสวัดควนไทรงาม ศาลพญาไม้ (ย่าไม้) และเทพารักษ์ อีกทั้งยังมีศาลพระแม่ธรณีอีกด้วย บรรยากาศภายในวัดมีความร่มรื่น มีต้นไม้น้อยใหญ่ให้ได้นั่งพักผ่อน และสามารถสนทนาธรรมกับเจ้าอาวาสเพื่อรู้ซึ้งถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ศูนย์เรียนรู้ พลับพลึงธาร ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๗ ตำบลนาคา  อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ศูนย์เรียนรู้พลับพลึงธารเป็นแหล่งสำรวจแหล่งกระจายพันธุ์พลับพลึงธาร ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ การเพาะเลี้ยง วัสดุเพาะชำ วิธีการเก็บรักษาพันธุกรรม ทั้งในและนอกถิ่นอาศัย รวมถึงการศึกษารูปแบบการปลูกและทดลองปลูกต้นกล้า   เพื่อฟื้นฟูคืนชีวิตและเพิ่มจำนวนพลับพลึงธารกลับคืนสู่ธรรมชาติ   

จุดอนุรักษ์พลับพลึงธารคลองเรือ ตั้งอยู่ พื้นที่บ้านคลองเรือ หมู่ที่ 7  และคลองนาคา ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และ    จัดให้คลองเรือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นจุดชมพลับพลึงธารและให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกันปลูกและฟื้นฟูต้นพลับพลึงธาร

น้ำตกห้วยน้ำใส ตั้งอยู่ ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง น้ำตกห้วยน้ำใสหนึ่งในจุดท่องเที่ยวของบ้านไร่ใน น้ำตกลับซ่อนอยู่กลางป่า​เดินเท้าเข้าไปประมาณ 1 กม.​ จะได้สัมผัสความสมบูรณ์ของผืนป่า ก็จะมีประชาชนในพื้นที่เข้าไปเที่ยวพักผ่อน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตั้งอยู่ ตำบลนาคา อำเภอ     สุขสำราญ  จังหวัดระนอง โทร 08 9289 9447 เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแบบครบวงจร ระดับอำเภอ ของนายวินัย ทองพร้อม เป็นแหล่งเรียนรู้ให้พี่น้องชาวเกษตรกร หลากหลายสาขามาศึกษาเรียนรู้การจัดการสวนยาง การจัดการสวนปาล์ม สวนมังคุด สวนผลไม้ต่าง ๆ และการทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ ทั้งนี้ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องการเกษตรแบบพอเพียง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมฟื้นฟูพลับพลึงธาร จุดอนุรักษ์พลับพลึงธาร คลองเรือ หมู่ที่ 7 ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง พื้นที่คลองเรือ หมู่ที่ 7  และคลองนาคาในท้องที่ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และจัดให้คลองเรือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นจุดชมพลับพลึงธารและให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกันปลูกและฟื้นฟูต้นพลับพลึงธาร

จุดชมพลับพลึงธาร จุดอนุรักษ์พลับพลึงธาร คลองเรือ หมู่ที่ 7 ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง คลองเรือนอกจากเป็นจุดฟื้นฟูพลับพลึงธารนักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวชมถ่ายรูปกับดอกพลับพลึงธารอีกด้วย

สาธิตการคั่วกาแฟไร่ใน กลุ่มกาแฟคั่วบดมือ ณ ศูนย์เรียนรู้พลับพลึงธาร นางไข่ บุตรวิชา  ประธานกลุ่มกาแฟคั่วบดมือ จะเป็นผู้สาธิตการคั่วกาแฟให้นักท่องเที่ยวได้รับชม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง

ตำบลหาดส้มแป้น เดิมเป็นแหล่งแร่ดีบุกที่สำคัญของจังหวัดระนอง และได้มีชาวจีนกลุ่มหนึ่งเดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ แล้วกลับออกไป และได้บอกกับเจ้าเมืองระนองในขณะนั้นว่า “ห้วยซัมเปี้ยน” มีแร่อุดมมาก คำว่า ”ห้วยซัมเปี้ยน” เป็นภาษาจีน แปลว่าลึกเข้าไปในหุบเขา ชาวบ้านเรียกว่า “ห้วยซัมเปี้ยน” ต่อมา เพี้ยนเป็น “หาดส้มแป้น” และชื่อนี้เป็นที่แปลกใจของผู้มาท่องเที่ยวจังหวัดระนองเป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยวส่วนมากคิดว่าเป็นชื่อหาดทราย ทำให้ต้องเข้ามาเยี่ยมชมในตำบลหาดส้มแป้น เป็นสาเหตุให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดระนอง

ชุมชนคุณธรรมบ้านหาดส้มแป้น มีวิถีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตที่โดดเด่น ในด้านการประกอบอาชีพทำเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งปัจจุบันมีการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ในการประกอบอาชีพมารวบรวมเป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดให้มีการสาธิต วิถีการร่อนแร่แบบโบราณ และนำวิถีมาสืบทอดเชิงสร้างสรรค์ โดยจัดเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชุมชน สำหรับถ่ายทอดแก่ผู้มาเยือนและต้อนรับนักท่องเที่ยวในลักษณะการแสดง ได้แก่ การแสดงระบำร่อนแร่ และในชุมชนยังมีทรายสีขาวเรียกว่าแร่ดินขาว นำมาผลิตเป็นของใช้เซรามิก เช่น แก้วกาแฟ แก้วน้ำฯลฯ  ซึ่งให้นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมได้

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดหาดส้มแป้น ตั้งอยู่ ๒๒๖/๒๕ ตำบลหาดส้มแป้นอำเภอเมืองระนอง  จังหวัดระนองอยู่เส้นทางเดียวกับบ่อน้ำร้อนรักษะวาริน ตรงเข้าไปอีกประมาณ ๖ กิโลเมตรจะเจอกับวัดหาดส้มแป้น มาถึงวัดหาดส้มแป้น ต้องเข้าไปสักการะขอพรรูปเหมือนพ่อท่านคล้าย พระภิกษุที่ประชาชนในภาคใต้ให้ความเคารพนับถือมาก ซึ่งท่านมรณภาพที่วัดนี้ บรรยากาศของวัดหาดส้มแป้นสงบ ร่มรื่น นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดมีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รอยพระพุทธบาทจำลอง

สถานที่ให้อาหารปลา ตั้งอยู่บริเวณวัดหาดส้มแป้น เป็นสถานที่ทำบุญ และมีสิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้อยู่ที่ฝูงปลาพลวงหน้าวัด เป็นฝูงปลาพลวงขนาดใหญ่ ที่คลองหาดส้มแป้น ชาวบ้านจะไม่จับปลาชนิดนี้โดยถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ และที่บริเวณริมน้ำจะมีอาหารปลาขาย สามารถซื้อให้ปลาได้ และทำบุญปล่อยปลาในวันสำคัญ และวันอื่น ๆ ซึ่งของโปรดของปลาพลวงจะเป็นแตงโมสุกสีแดง ส่วนอาหารปลาแบบเม็ดปลาจะไม่ค่อยชอบ

ตลาดเก่าแก่ชุมชน หัวหลาด ตั้งอยู่ ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง  “ชุมชนหัวหลาด” ถือเป็นชุมชนเก่าแก่ที่สุดของตำบลหาดส้มแป้น แต่เดิมประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นคนจีนหรือคนไทยเชื้อสายจีนที่เข้ามาบุกเบิกพื้นที่ประกอบอาชีพทำเหมืองแร่ดีบุก ในสมัยโบราณชุมชนนี้ถือเป็นย่านเศรษฐกิจของตำบล ซึ่งปัจจุบัน      ยังสามารถเห็นบ้านเรือนที่เป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่นอกจากนี้      ในพื้นที่ตำบลหาดส้มแป้นยังมีธรรมชาติที่สวยงาม อีกทั้งอาหารพื้นบ้าน และผลิตภัณฑ์ของชุมชนอีกมากมาย เช่น ไข่เค็มดินขาว ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เซรามิก     ไม้กวาดดอกอ้อ เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

“ระนองแคนย่อน” ตั้งอยู่ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง  จังหวัดระนอง ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองระนองประมาณ ๑๕ กิโลเมตร แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยถูกใช้เป็นเหมืองแร่เก่าในยุคที่การขุดแร่ยังคงเฟื่องฟู ซึ่งเหมืองแห่งนี้ทำแร่ด้วยการฉีดน้ำแล้วปล่อยให้แร่ธาตุไหลปะปนลงมากับเศษดินเศษหินจากด้านบน จนทำให้เกิดเป็นพื้นที่บึงน้ำขนาดใหญ่  ใจกลางหุบเขาลักษณะแปลกตา เดิมทีชาวบ้านเคยเรียกที่นี่ว่า      “บึงมรกต” ตามลักษณะสีของน้ำซึ่งเป็นสีเขียวเข้มใสแจ๋วนั่นเอง ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกจุดหนึ่ง   ที่เหมาะสำหรับการพักผ่อนทั้งในยามเช้าและยามเย็น มีพื้นที่ที่แวดล้อม      ไปด้วยภูเขา หินขาว บรรยากาศ    ยามเช้าสามารถนั่งชม “น้ำไล่หมอก” ได้ที่ระนองแคนย่อน 

อ่างเก็บน้ำคลองหาดส้มแป้น ตั้งอยู่ ตำบลหาดส้มแป้น  อำเภอเมืองระนอง  จังหวัดระนอง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางมีความจุน้ำขนาด ๑๐ ล้าน ลูกบาศก์เมตร โดยอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ จากการนำน้ำไปใช้ในการเกษตร สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้ และยังเป็นแหล่งน้ำดิบอีกแหล่งน้ำหนึ่ง ในการสูบน้ำขึ้นมาเพื่อการผลิตน้ำประปา เพื่อจำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ อำเภอเมืองระนอง อ่างเก็บน้ำหาด   ส้มแป้นด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม  ตั้งอยู่ในที่สูงโอบล้อมด้วยหุบเขาเขียวขจีรอบด้าน และมีบรรยากาศที่เงียบสงบ 

ชมวิวทะเลหมอกเหมือง MRD ตั้งอยู่  บนยอดเขาหินเหมืองดินขาว  หมู่ที่ ๓ ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เป็นแหล่งชม “ทะเลหมอก” ที่ถือเป็น “Unseen in Ranong” ที่มีความสวยงามที่สุด โดยนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปเที่ยวชมทะเลหมอกและชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของชุมชนหาดส้มแป้นได้ที่บริเวณจุดชมวิว ๓๖๐ องศา โดยมุมที่สวยที่สุดจะอยู่ทางทิศตะวันออก ในยามเช้าจะมีมวลหมอกปกคลุมอย่างมหาศาลผสมผสานไปกับแสงอาทิตย์     สีเหลืองทองที่สาดส่อง ทำให้ถ่ายภาพออกมาได้อย่างงดงาม ส่วนทางด้านทิศตะวันตกจะมีแนวเทือกเขาสีเขียว     เป็นฉากหลัง มีหมอกซึ่งกดลงต่ำลอยปกคลุมไปทั่วทั้งตำบล และจะสลายตัวประมาณ ๐๘.๐๐ น. 

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาการร่อนแร่ชุมชนบ้านหาดส้มแป้น ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลหาดส้มแป้น  อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง “ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาการร่อนแร่” ต.หาดส้มแป้น เป็นสถานที่เรียนรู้ วิถีการร่อนแร่ในอดีต และเป็นแหล่งเก็บเครื่องมือในการร่อนแร่ ที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เก็บไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัส และเรียนรู้ วิถีแร่วิถีคนชุมชนหาดส้มแป้น และยังเป็นสถานที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตผ่านการแสดงพื้นบ้านระบำร่อนแร่

กลุ่ม “เซรามิกบ้าน หาดส้มแป้น ตั้งอยู่ ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เนื่องจากบริเวณหาดส้มแป้น    จังหวัดระนองเป็นแหล่งดินแร่ดีบุก แร่ดินขาว กลุ่มชาวบ้านจึงได้มีการนำแร่ดินขาวมาพัฒนาทำเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกขึ้นมา เพื่อให้คนในชุมชนได้มีกิจกรรมทำร่วมกันอีกทั้งยังสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอีกด้วย ปัจจุบันเป็นพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกิจกรรมปั้นเซรามิกด้วยตัวเอง ชิ้นงานที่เสร็จแล้วจะขาวเนียนจากดินคุณภาพ เมื่อนำไปเคลือบด้วยสี  ที่สกัดจากธรรมชาติ ได้ผลงานที่สวยงามที่สุด

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ปีนเขาชมวิวทะเลหมอกเหมือง MRD จุดชมวิวทะเลหมอกเหมือง MRD Ranong ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลหาดส้มแป้นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวตำบลหาดส้มแป้นกับกิจกรรม   “ชมทะเลหมอก” โดยจัดให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นชมทะเลหมอก ณ จุดชมวิว ๓๖๐ องศา เหมือง    ดินขาว Mrd Ranong ซึ่งมีอายุเก่าแก่ ๑๕๐ ปีของเมืองระนอง

แหล่งเรียนรู้ วิธีการร่อนแร่ดีบุก ที่ยังเป็นอาชีพสืบสานมาจนปัจจุบัน ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาการร่อนแร่ชุมชนบ้านหาดส้มแป้น ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลหาดส้มแป้น ชุมชนร่อนแร่ เสน่ห์แห่งวิถีชาวบ้านหาดส้มแป้น ชุมชนที่มีชื่อเสียงด้านการทำเหมืองแร่มากว่า ๑๐๐ ปี สู่การสร้างสรรค์ประสบการณ์ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านกิจกรรมการร่อนแร่ ทำขนมไทย รวมถึงศิลปะการแสดงระบำร่อนแร่ วัฒนธรรมท้องถิ่นที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ จนเป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่บอกเล่าเรื่องราวของคนร่อนแร่ชาวระนองในอดีตได้อย่างแจ่มชัด 

ทดลองปั้นเซรามิกดินขาว แร่ในดินที่มีค่าของระนอง กลุ่มเซรามิกบ้านหาดส้มแป้น ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลหาดส้มแป้น บ้านหาดส้มแป้น ถือเป็นแหล่งแร่ที่สำคัญของจังหวัดระนอง ในสมัยก่อนจึงมีการตั้งรกรากกันในบริเวณนี้ เพื่อทำเหมือง “แร่ดีบุก” ซึ่งถือเป็นทรัพยากร ธรรมชาติที่สำคัญ แต่ในปัจจุบัน แร่ดีบุกกลับมีราคาถูกและจำนวนลดลง แต่ได้มีการพบ “แร่ดินขาว” ที่ได้ชื่อว่า แร่ดินขาวจากบ้านหาดส้มแป้นนั้น มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย จึงมีการรวมกลุ่มกันของชาวบ้าน และนำแร่ดินขาวมาผลิตเป็นงานเซรามิก จำพวกแก้ว จานชาม ชุดกาแฟ ในสไตล์ตัวเอง ภายใต้ “กลุ่มเซรามิกบ้านหาดส้มแป้น”

ไหว้พระขอพร วัดหาดส้มแป้น สักการะรูปเหมือนหลวงพ่อคล้ายซึ่งประดิษฐานอยู่ในศาลา หลวงพ่อคล้ายท่านนี้เป็นพระเกจิที่ ชาวระนองให้ความเคารพนับถือมาก ซึ่งท่านได้มรณภาพที่วัดนี้ 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพะโคะ จังหวัดสงขลา

ชุมชนวัดพะโคะ    เป็นชุมชนโบราณ   โดยปรากฏร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน  และเป็นชุมชนที่เกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระอริยะสงฆ์ชื่อดังที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ   ประกอบอาชีพทางการเกษตร  เช่น ทำนา  ทำน้ำตาลโตนด ทำไร่นาสวนผสม เลี้ยงสัตว์ รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป  

ชุมชนมีพืชเศรษฐกิจคือต้นตาลโตนดจำนวนมากที่สามารถนำมาสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน เช่น น้ำตาลแว่น,น้ำตาลผง น้ำตาลโตนดเหลว ขนมดู ขนมโก่ ซึ่งเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสงขลา สำหรับเป็นของฝากจากชุมชน  เป็นชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ทำให้นำมาจัดการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ  

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดพะโคะ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลชุมพลสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นวัดที่มีบทบาทสำคัญในสมัยที่เมืองพัทลุงตั้งอยู่ที่สทิงพระ เป็นศูนย์กลางการปกครองชุมชน และเป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด คือเป็นวัดที่หลวงปู่ทวดเคยจำพรรษาและบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพะโคะมีโบราณสถานและโบราณวัตถุประดิษฐานอยู่มากมาย 

วัดดีหลวง ตั้งอยู่ที่ ๒ ตำบลดีหลวง  สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวด และเป็นสำนักเรียนใหญ่มาแต่โบราณ  เป็นวัดที่หลวงปู่ทวดเคยบวชเป็นสามเณร และศึกษาวิชาต่าง ๆ ในวัดจนหมดสิ้นและเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านสถาปัตยกรรม   (หากได้มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดดีหลวงจะช่วยเสริมสร้างบุญบารมีและเป็นมงคลต่อชีวิตในด้าน”ความเฉลียวฉลาด รอบรู้ และประสบความสำเร็จทางการศึกษา)

วัดต้นเลียบ วัดต้นเลียบ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลดีหลวง  เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวด กล่าวคือ เป็นบ้านเกิดและเป็นสถานที่ฝังรกหลวงปู่ทวด มีต้นเลียบซึ่งมีอายุยืนยาวมานานมากกว่า ๕๐๐ กว่าปี ปัจจุบันยังยืนต้นเด่นตระหง่าน แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่วมเงาและความร่มรื่นอยู่ภายในวัดต้นเลียบ  ซึ่งถือกันว่าเป็นต้นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์  และเป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญกับประวัติหลวงปู่ทวด 

ที่พักสงฆ์นาเปล ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลชุมพล เป็นสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวด กล่าวคือ เป็นสถานที่ที่พญางูคายลูกแก้วคู่บารมีให้กับหลวงปู่ทวดขณะที่ยังเป็นทารก กล่าวขานกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันเป็นที่พักสงฆ์ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติท้องทุ่งนาและต้นตาลโตนด มีการสร้างปติมากรรมปูนปั้นจำลองเหตุการณ์เมื่อครั้งพญางูคายลูกแก้วคู่บารมี (หากได้มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดต้นเลียบจะช่วยเสริมสร้างบุญบารมีและเป็นมงคลต่อชีวิตในด้าน “เลี้ยงลูกง่าย เป็นเด็กดี และสุขภาพแข็งแรง”)

โบราณสถานถ้ำเขาคูหา-ตระพังพระ

-โบราณสถานถ้ำเขาคูหาเป็นหลักฐาน ที่แสดงถึงความเป็นชุมชนเก่าแก่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ประมาณ ๑,๒๐๐ ปี มาแล้ว โดยการขุดเจาะหินหรือหน้าผาเข้าไปเป็นถ้ำ เพื่อใช้สถานที่เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู ซึ่งมีอยู่ ๒ ถ้ำติดกัน ถ้ำที่ ๑ อยู่ทางด้านทิศเหนือถ้ำที่ ๒ อยู่ทางด้านทิศใต้

-โบราณสถานตระพังพระ เป็นสระน้ำขนาดใหญ่มีเกาะอยู่ตรงกลางตระพัง ขุดขึ้นเพื่อนำน้ำจากตระพังพระนี้ไปใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู ในถ้ำคูหา ต่อมาบริเวณเกาะกลางตระพังแห่งนี้ พุทธศาสนิกชนยังได้ใช้เป็นสถานที่อุปสมบทพระภิกษุที่เรียกว่า     “อุทกเสมา” ที่มีการกำหนดอาณาเขตไว้ว่า “ในการวักน้ำทั้งสี่ด้านต้องไม่ให้ถึงตลิ่งก็ถือว่าเป็นเขตทำสังฆกรรมได้” เพราะฉะนั้นสถานที่แห่งนี้จึงถือได้ว่าเป็นศาสนสถานที่สำคัญของสองศาสนา 

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ตำบลชุมพล
ตั้งอยู่ที่วัดนางเหล้า หมู่ที่ ๔ ตำบลชุมพล จัดตั้งขึ้นตามโครงการ“ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช”ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา และเพื่อเป็นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้เป็นแหล่งรวบรวมมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ ในรูปของพิพิธภัณฑ์ และแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นเพื่อให้เยาวชนและประชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักรักและหวงแหนในมรดกภูมิปัญญาของท้องถิ่น ภายในจัดแสดงวิถีชีวิตโหนดนา และพระราชประวัติพระมหากษัตริย์ราชวงจักรี และห้องสมุดสำหรับศึกษาค้นคว้า

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หรือ พิพิธภัณฑ์สมเด็จเจ้า  พะโคะ ตั้งอยู่ที่วัดพะโคะ หมู่ที่ ๖ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่ จัดแสดงชีวประวัติประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดหรือสมเด็จเจ้าพะโคะทั้งหมด และเก็บรวบรวมวัตถุโบราณที่แสดงถึงวิถีชีวิตของประชาชนในคาบสมุทรสทิงพระ

กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลชุมพล  จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ ๓๐ คน มีภารกิจหลักในการแปรรูปน้ำตาลโตนดเป็นผลิตภัณฑ์น้ำตาลแว่น ภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ดาวราย” จนได้รับการยอมรับให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือโอท็อป ระดับ ๕ ดาวของจังหวัดสงขลา ภายในกลุ่มมีการจัดและสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น น้ำตาลแว่น น้ำตาลโตนดผง และผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนครูโรจน์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลชุมพล เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (ชมวิวและถ่ายรูป) ที่ตั้งอยู่ท่ามกลาง ท้องทุ่งนาและทุ่งตาลโตนด เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตการทำน้ำตาลโตนด และการทำนาโดยจัดปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับฤดูกาลต่าง ๆ ที่เป็นไปตามธรรมชาติเพื่อให้มีการท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล รวมถึง ได้ร่วมกิจกรรมและสัมผัสวิถีชีวิตตามฤดูกาลต่าง ๆ การสัมผัสภูมิปัญญาพื้นบ้านต่าง ๆ   รวมถึงได้จัดให้มีอาหารและเครื่องดื่มไว้บริการ ด้วย

นายายเอิม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลชุมพล เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (ชมวิวและถ่ายรูป) ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติของท้องทุ่งนาและทุ่งตาลโตนด เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสธรรมชาติของท้องทุ่งนาและป่าตาลโตนด และอาหารพื้นบ้าน และเครื่องดื่มที่มีไว้บริการตลอดเวลา

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนผู้ใหญ่เอ็ม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลชุมพล เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตร ประเภทศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดทำสวนมะพร้าวที่ประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างในการทำสวน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะสวนมะพร้าวน้ำหอม สามารถสร้างรายได้ให้ตลอดปี จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ได้ตลอดฤดูกาล (วิทยากร: นายอภิชาติ  ยุพยงค์)

สวนลุงโรจน์ (โคกหนำ หนองนกเภา) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลดีหลวง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตร ประเภทไร่นาสวนผสม รวมถึงการทำนา และการทำสวนสมรม มีผลไม้ เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร กล้วย และพืชผักสวนครัว ต่าง ๆ เช่น มะเขือเทศ ฟักแฟง แตงโม ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู ตามฤดูกาล ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสตลอดปี  โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตามฤดูกาล สามารถจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานได้ตลอดฤดูกาล (วิทยากร : นายโรจน์  คชสาร)

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การร่วมหยอดน้ำตาลแว่น กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมการกระบวนการทำน้ำตาลแว่น /ทำน้ำตาลผง ได้ที่กลุ่มกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด ทุกขั้นตอน กระบวนการผลิต

การนั่งรถท้องถิ่นชมสถานที่ต่าง ๆ
-โบราณสถานถ้ำเขาคูหา-ตระพังพระ
– ที่พักสงฆ์นาเปล
– วัดต้นเลียบ
– วัดดีหลวง
– วัดพะโคะ นักท่องเที่ยวร่วมสนุกและตื่นเต้นกับการสัมผัสธรรมชาติกับกิจกรรมนั่งรถท้องถิ่นชมสถานที่ต่าง ๆ รอบ ๆ ชุมชนการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในชุมชน เช่น รถรางนำเที่ยว และรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง (ซาเล้ง)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดคูเต่า จังหวัดสงขลา

ชุมชนคุณธรรมวัดคูเต่า ตั้งอยู่ชุมชนบ้านหัวนอนวัด ตั้งอยู่ริมคลองอู่ตะเภา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ก็มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามปะปนกันไป ชาวบ้านประกอบอาชีพที่หลากหลาย ได้แก่ อาชีพรับจ้างทั่วไป อาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกอ้อย เลี้ยงสัตว์ และอาชีพประมง บริเวณทะเลแถบบ้านแหลมโพธิ์

ชุมชนคุณธรรมวัดคูเต่า มีวัดคูเต่าเป็นศูนย์รวมจิตใจ โบราณสถานที่สำคัญของวัดคูเต่า ได้แก่ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง และศาลาท่าน้ำ “ศาลา ๑๐๐ ปี วัดคูเต่า” ภายในบริเวณวัดมีพิพิธภัณฑ์วัดคูเต่า มีสะพานแขวนคูเต่า มีประเพณีการชักพระทางน้ำ ประเพณีการแข่งเรือ และเพลงเรือแหลมโพธิ์

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดคูเต่า วัดคูเต่า  เป็นศาสนสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา ที่ยังคงอนุรักษ์ความเก่าแก่ของโบราณสถานไว้หลายจุดด้วยกัน  โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถซึ่งมีจิตรกรรมฝาผนังพระเวสสันดรชาดกศาลาการเปรียญ หอระฆัง และศาลาท่าน้ำ ซึ่งมีอายุหลายร้อยปี   

สะพานแขวนวัดคูเต่า เป็นสะพานแขวนที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๖   ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองอู่ตะเภาเชื่อมต่อระหว่าง​ ตำบล      แม่ทอม อำเภอบางกล่ำ กับ ตำบลคูเต่า​ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  มีอายุ ๑๐๔ ปี เป็นสะพานเชื่อม ๒ อำเภอ แห่งแรกของลุ่มน้ำ คลองอู่ตะเภา  ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและจุดเช็คอินแห่งใหม่​ ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว

ตลาดนัดร้อยปี ตลาดนัดร้อยปี วัดคูเต่า ตั้งอยู่ในวัดคูเต่าจะเปิดเฉพาะวันพฤหัสบดีตั้งแต่เช้าตรู่ จนถึง สาย ๆ ประมาณ สามโมงเช้า หรือ ๐๙.๐๐ น. ตลาดก็จะเริ่มวาย มีขายตั้งแต่สินค้าพื้นถิ่นไปจนถึงสินค้าต่างถิ่นทั่วไปที่พ่อค้าแม่ค้านำมาขายนับว่าเป็นตลาดพหุวัฒนธรรมเป็นศูนย์รวมสินค้าต่าง ๆ

พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำคลอง อู่ตะเภาตอนล่าง ตั้งอยู่ในวัดคูเต่า เป็นแหล่งรวบรวมและแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ผูกพันกับวิถีชีวิต ความเชื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาตอนล่าง  

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คลองแหวะ เป็นสถานที่เช็คอิน ถ่ายรูป และชมทัศนียภาพทางธรรมชาติ  ส่องดูนกและดูความสวยงามของดอกบัวผุด

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนปันสุข เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ผสมผสาน

สวนลุงรมย์ เป็นแหล่งเรียนรู้ โคกหนองนา โมเดล เกษตรทฤษฎีใหม่

         กิจกรรมการท่องเที่ยว

พายเรือคายัคชมธรรมชาติ คลองอู่ตะเภา แหล่งเรียนรู้ หมู่ที่ ๔ ชุมชนบ้านหัวนอนวัด พายเรือชมธรรมชาติคลองอู่ตะเภาถ่ายรูป 

พายเรือคายัคเก็บขยะในคลองอู่ตะเภา แหล่งเรียนรู้ หมู่ที่ ๔ ชุมชนบ้านหัวนอนวัน พายเรือเก็บขยะริมคลองเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในคลองอู่ตะเภา

กิจกรรมดำนาปลูกข้าว แหล่งเรียนรู้อาชีพทำนาหมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓  และหมู่ที่ ๖ ตำบลแม่ทอม สัมผัสกิจกรรมดำนาปลูกข้าวโดยเรียนรู้วิธีการตั้งแต่ต้นจนกระทั่งมีการเกี่ยวข้าว การจัดกิจกรรมจะจัดขึ้นตามฤดูกาล

กิจกรรมสานเตยปาหนัน กลุ่มวิสาหกิจจักสานเตยปาหนันตำบลแม่ทอม กิจกรรมเรียนรู้วิธีการจักสานจากเตยปาหนันร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจจักสานเตยปาหนันในตำบลแม่ทอม

กิจกรรมแปรรูปสมุนไพร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่า กิจกรรมที่ร่วมกับกลุ่มสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่าที่มาสาธิตวิธีการแปรรูปสมุนไพรให้มาเป็นผลิตภัณฑ์

กิจกรรมเรียนรู้ขั้นตอนการทำข้าวหลาม กลุ่มข้าวหลามตำบลแม่ทอม กิจกรรมเรียนรู้กระบวนการ/ขั้นตอนการทำข้าวหลามสัมผัสถึงวิธีการทำทุกขั้นตอนจนถึงการทดลองชิมรสชาติของข้าวหลามแม่ทอม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม