ร้านศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง จังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้ง ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ร่มบ่อสร้าง
๒.ชื่อผู้ประกอบการ ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
ชื่อผลิตภัณฑ์ ร่มบ่อสร้าง และผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาร่มบ่อสร้างนั้นเป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากจะมีสาธิตการทำร่มการจำหน่ายร่มแล้ว ยังมีของที่ระลึกจากกระดาษสาและของพื้นเมืองต่างๆขายอีกด้วย
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.30 – 17.00 น. ทุกวัน
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5333 8195
๖.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุค : ร่มบ่อสร้าง โดย Umbrella Making Centre ศูนย์อตุสาหกรรมทำร่ม , ร่มถวิล
www.handmade-Umbrella.com

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์จักสานใหญ่ที่สุดในโลก อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

ที่ตั้ง : ๖๐ ถนนจันทร์อำนวย ตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๔๐
๑.นางปราณี มูลผลา ประธานกลุ่มจักสานชุมชนย่อยที่ ๑ มีแนวคิดนำเครื่องจักสานที่ใช้ในงานประเพณีของชุมชนมา จัดแสดงและตัดสินใจก่อตั้ง “ศูนย์จักสานใหญ่ที่สุดในโลก” ขึ้น เพื่ออนุรักษ์งานเครื่องจักสานให้คงอยู่ไม่สูญหายไป บ้านปราณีเป็นศูนย์รวมการจัดจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมจักสานทุกประเภท ทั้งสินค้าหัตถกรรมจากพนัสนิคม และจังหวัดอื่นโดยรอบ ภายในศูนย์ประกอบด้วยพื้นที่เรียนรู้งานหัตถกรรม พื้นที่จักสานผลิตภัณฑ์ของชุมชนในกลุ่มนิทรรศการประติมากรรมหัตถกรรมจักสานขนาดใหญ่ มีความสามารถเฉพาะในการประยุกต์เครื่องจักสานในการตกแต่งในรูปแบบที่น่าสนใจโดดเด่นบ้านปราณีจึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอพนัสนิคม ที่จำหน่ายเครื่องจักสานเป็นของฝาก ของที่ระลึก สร้างรายได้ สร้างชื่อเสียงให้กับท้องถิ่น
๒. ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับ หรือตกแต่ง)
๓. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๖๐๑๗ ๒๔๕๐
๕. ช่องทางออนไลน์
Lind id – 0860172450

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ตลาดบางคล้า ฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง ถนน ซอยเทศบาลพัฒนา 1 ตำบล บางคล้า อำเภอบางคล้า ฉะเชิงเทรา

๑. ลักษณะตลาด จะเป็นตลาดที่มีโป๊ะ ยื่นลงสู่แม่น้ำบางปะกง โดยมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายของอยู่ริมชายฝั่งแม่น้ำ และทางเทศบาล อ.บางคล้า ได้จัดพื้นที่โดยจัดโป๊ะยื่นลงไปในแม่น้ำ มีทั้งหมด 9 แพด้วยกัน เพื่อบริการนักท่องเที่ยว ตลาดน้ำบางคล้าจะอยู่บริเวณด้านหน้าของที่ว่าการ อ.บางคล้า สินค้าอย่างหลากหลายทั้งยังเป็นสินค้าที่ผสมผสานความเป็นไทยในอดีตกับปัจจุบันได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นหีบห่อของอาหารที่ทำจากใบตอง ภาชนะใส่เครื่องดื่มทำจากดินปั้น สินค้าส่วนใหญ่จะมีอาหาร, ของฝาก และของที่ระลึก หรือสินค้าโอทอป ที่มีชื่อเสียงของ อ.บางคล้า มาจัดซุ้มจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว น้ำตาลสด, มะม่วง รวมถึงผัก และผลไม้ตามฤดูกาล ถ้ามาตลาดน้ำบางคล้าแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดคือ กุ้งแม่น้ำเผา และ ปลาเผาตัวโต หรืออาหารทะเล ปลาหมึกย่าง หอยต่างๆ ปิ้งย่างเสร็จพร้อมเสิร์ฟ มีขนมหวาน หรือของทานเล่นต่างๆ จำหน่าย อย่างขนมครก หรือจะเป็นข้าวเหนียวมะม่วงร้านอาหาร เรียงรายหลายร้านให้เลือก มีที่นั่งรับประทานโดยทางตลาดน้ำมีบริการโต๊ะ เก้าอี้ เตรียมไว้ให้สำหรับนักท่องเที่ยว
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 ก๋วยเตี๋ยวนายเฮงท่าเรือเขียวเจ้าเก่า ๒.๒ ขนมไหมฟ้า/ขนมหนวดมังกร
2.3 ก๋วยเตี๋ยวซดแล้วซดอีก ๒.๔ ร้านกาแฟ คาเฟ่ต้องลอง ๒.๕ ส้มตำรสแซ่บนัว
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดบริการ เสาร์-อาทิตย์ 08.00-17.00น.

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านศูนย์สิ่งทอพระธรรมขันต์ผ้าไหมไทย จ.ขอนแก่น

ที่ตั้ง : 79/2-3 ถนนรื่นรมย์ ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40000

๑. ร้านจำหน่ายผ้าไหมและศูนย์สิ่งทอพระธรรมขันต์ผ้าไหม เป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้าฝ้ายต่าง ๆ ชนิดจากทุกพื้นที่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ที่ใหญ่ที่สุดและมีสินค้าที่ผลิตด้วยมือ ที่หลากหลประวัติความเป็นมาและความสำคัญ “พระธรรมขันต์” ชื่อนี้คือเป็นชื่อเดิมของร้านขายยาโดย นายโบ ตาชู ได้ก่อตั้งร้านพระธรรมขันต์โอสถขึ้น และต่อมาภายหลังนางอาภรณ์ ตราชู (บุตรสาว) ได้เปิดเป็นร้านพระธรรมขันต์ไหมไทย ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น ศูนย์สิ่งทอพระธรรมขันต์ ผ้าไหมไทย ขอนแก่น สินค้าและผ้าทุกชิ้นที่นำมาจำหน่ายภายในร้าน ได้ผ่านการคัดเลือกว่าเป็นฝีมือจากหัตถกรรมไทยทั่วทุกภาค ปัจจุบันได้กลายเป็น “ศูนย์รวมสินค้าคุณภาพทางวัฒนธรรม” เป็นที่เชื่อถือของลูกค้า ทุกท่าน ที่มาเยี่ยมเยือน และเลือกซื้อสินค้าเพื่อเป็นของฝากและของที่ระลึก
๒. ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับ หรือตกแต่ง)
ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ของฝากของที่ระลึก
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
วันจันทร์-วันอาทิตย์ เวลา 9:00–18:30 น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 4322 4 080
๕. ช่องทางออนไลน์-

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

กลุ่มจักสานไผ่ตะวัน จังหวัดขอนแก่น

ที่ตั้ง : ๑๕๓ หมู่ที่ ๑๓ บ้านยางคำ ตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ไผ่ตะวัน
๒. ชื่อผู้ประกอบการ นายกองมี หมื่นแก้ว
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ปิ่นโตจักสาน จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ การออกแบบรูปร่างผลิตภัณฑ์ที่สามารถสื่อสารแนวคิดของสินค้าที่ประกอบด้วยการใช้งานที่ควบคู่กับความสวยงามแต่คงคุณค่าของงานฝีมือที่เน้นศิลปหัตถกรรมพื้นถิ่นไว้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในลักษณะที่อเนกประสงค์มากกว่ากระติบข้าวแบบเดิม ทำให้สามารถขยายตลาดกลุ่มลูกค้า จากเดิมคือกลุ่มชาวบ้านทั่วไป ขยายครอบคลุมไปถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูงโดยการนำภูมิปัญญาดั้งเดิมมาปรับให้ทันสมัย ควบคู่การอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่น มีรูปทรง ลวดลาย ขนาดของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีความประณีต สามารถใช้เป็นของฝาก ของที่ระลึก สีที่ย้อมเป็นสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ที่หาได้ในชุมชน มีหลายลวดลาย ทั้งลายคุบ ลายสองยืน ลายข้างกระแต ลายสาม ลายโบว์ ลายผีเสื้อ ลายปลา ลายลูกเต๋า ฯลฯ
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ กระติบข้าวไฮไลท์ไม้ไผ่จักสานรายละเอียดความโดดเด่น การเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลักประยุกต์ใช้อย่างกลมกลืน ให้เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม โดยใช้ไม้ไผ่สีสุกหรือไผ่สีทองเป็นวัสดุที่ใช้ในการจักสาน การสร้างแนวคิดของผลิตภัณฑ์ใหม่”จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ มีรูปทรง ลวดลาย ขนาดของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีความประณีต สามารถใช้เป็นของฝาก ของที่ระลึก สีที่ย้อมเป็นสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ที่หาได้ในชุมชน
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. – ๑๙.๐๐ น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐๘ ๕๖๘๓ ๑๗๕๗ , ๐๙ ๑๔๒๐ ๕๕๒๖
๖. ช่องทางออนไลน์ Facebook : กระติบข้าวเหนียวไผ่ตะวัน

ร้านเมี่ยงชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร

ที่ตั้ง ๒๗๓ ถนนราชดำเนิน ๑ (ข้างวัดบาง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
๑.เมี่ยง หรือเมี่ยงชากังราวจังหวัดกำแพงเพชร มีวัฒนธรรมในการอมเมี่ยงหรือกินเมี่ยงมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะใบเมี่ยงจะมีคาเฟอินเล็กน้อย โดยส่วนมากจะพบในงานศพ ซึ่งชาวกำแพงเพชรจะนำมาต้อนรับผู้ที่มาร่วมงานด้วยเมี่ยงเพื่อให้แขกได้อมเมี่ยงไปพลางๆ ก่อน ปัจจุบันร้านเมี่ยงชากังราวได้เปิดจำหน่ายอาหารพื้นเมืองรวมถึงของฝากของที่ระลึกมานานกว่า ๓๐ ปี สินค้าส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จากกล้วยไข่ กล้วยน้ำหว้า เช่น กล้วยกวน กล้วย กระยาสารท เมี่ยงชากังราว กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด รวมถึงการจำหน่ายของที่ระลึก เช่น พวงกุญแจกล้วยไข่ ต้นกล้วยไข่ประดิษฐ์ ชุดพระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชร เครื่องเบญจรงค์ฯลฯ ให้กับนักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อเพื่อเป็นของฝากของจังหวัดกำแพงเพชร
๒.ประเภทผลิตภัณฑ์ ของฝากของที่ระลึก/ของรับประทาน
๓.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด
๐๗.๐๐ น. – ๒๐.๐๐ น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๙๙๓๒ ๑๘๘๗ นงนุช
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook: ๙๙ อุดมโชค

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดแสนเมืองมา จังหวัดพะเยา

ชุมชนคุณธรรมวัดแสนเมืองมา เป็นชุมชนไทลื้อที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองมาง ในสิบสองปันนา ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมไว้ สิ่งที่ยึดเหนี่ยวให้ชาวไทลื้อปฏิบัติตามจารีตเดิม คือการนับถือผีควบคู่กับพระพุทธศาสนามีการดำรงชีวิตอยู่กันอย่างสงบ เรียบง่าย และร่วมกันอนุรักษ์สืบสานวิถีวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของชาวไทลื้อเมืองมางให้คงอยู่  อาทิ การแต่งกายภาษา เป็นต้น 

ชุมชนคุณธรรมวัดแสนเมืองมาเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น คือ เป็นชุมชนไทลื้อที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองมาง ในสิบสองปันนาที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมไว้ ใช้ภาษาไทลื้อเป็นภาษาสื่อสารในปัจจุบันนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ “แอ่วเฮือนลื้อ แต่งกายชุดลื้อ กินอาหารลื้อ และพูดภาษาลื้อ” ชุมชนมีนักเล่าเรื่องของชุมชนคอยต้อนรับให้ข้อมูลและบริการนำเที่ยวในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง โดยทุกวันพุธแรกของเดือนมีตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง” ชิมอาหารไทลื้อ อาทิ จิ้นซ่ำพริก ปลาปิ้งอบ แอ่งแถะ ถั่วโอ่ (ถั่วเน่า) ชมการแสดงพื้นบ้าน การฟ้อนไทลื้อ การบรรเลงดนตรี “บ้านมางบันเทิงศิลป์” และมีของฝากจากชุมชน อาทิ ข้าวแคบ ข้าวแต๋นซี่ กะละแม ผ้าทอไทลื้อ และที่พักโฮมสเตย์ ในชุมชนไทลื้อใกล้เคียง เพื่อเรียนรู้และสัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วิหารไทลื้อวัดแสนเมืองมา
สร้างตามแบบศิลปะไทลื้อผสมล้านนา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หลังคามุงแป้นเกล็ดไม้งดงาม หน้าบันเป็นไม้แกะสลักรูปเทพพนม บนพื้นสลักลายสวยงาม บันไดทางเข้าเป็นรูปพญานาค ซึ่งมีเขากวางประดับด้วย ประตูด้านข้างทางเข้ามีรูปปั้นสิงห์คู่เฝ้าประตูภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารเป็นฝีมือของช่างพื้นบ้านบอกเล่าถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อ

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดแสนเมืองมา
เป็นพื้นที่จัดแสดงโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทลื้อและชาวล้านนาในอดีตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น รวมทั้งอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอด สร้างสรรค์ภายในพิพิธภัณฑ์แสดงเนื้อหา
แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
1. จัดแสดงภาพพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการเสด็จทรงงานในพื้นที่จังหวัดพะเยา
2.จัดแสดงนิทรรศการองค์ความรู้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
3.เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสนเทศ สืบสาน ถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง”
ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง” เป็นตลาดที่ให้คนในชุมชนนำพืชผักสวนครัว ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว และมีการแสดงดนตรี ศิลปะการแสดงไทลื้อ ทุกวันพุธแรกของเดือน 

เฮือนไทลื้อเมืองมาง
เป็นอาคารเรือนไทลื้อจำลองของชาวไทลื้อเมืองมาง ในอดีตที่แสดงลักษณะและองค์ประกอบของการสร้างเรือนไทลื้อเมืองมางในสิบสองปันนา เพื่ออนุรักษ์ มรดกภูมิปัญญาการสร้างเรือนไทลื้อให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าไปศึกษา  

หอเทวดาหลวงเมืองมาง
ชาวไทลื้อเมืองมางนับถือเทวดาหลวงเมืองมาง คือเจ้าเมืองที่ปกครอง เมืองมางใน อดีตซึ่งชาวเมืองมาง ให้ความเคารพยกย่อง และนับถือวิญญาณของเจ้าเมืองเหล่านั้นให้เป็นเทวดาผู้ดูแลความสงบร่มเย็น และถือเป็นต้นตระกูลของชาวเมืองมางทั้งหมด จะทำพิธีเลี้ยงเทวดาหลวงเมืองมาง ปีละ ๑ ครั้ง เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ความสามัคคีของคนในชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ฐานการเรียนรู้ภายในวัดแสนเมืองมา
กิจกรรมสาธิตและถ่ายทอดภูมิปัญญาในการทำข้าวแคบ ข้าวแต๋นซี่ และกะละแม การตัดตุงไส้หมู ทำของฝากของที่ระลึก พวงกุญแจแม่เหล็กติดตู้เย็น โดยกลุ่มภูมิปัญญาพื้นบ้าน 

นั่งรถราง เพื่อไปเรียนรู้ฐานกิจกรรมในชุมชน

  • ฐานการเรียนรู้ถั่วงอก
  • ฐานการเรียนรู้ภาพวาดวิถีไทลื้อ
  • ฐานการเรียนรู้ถั่วโอ่
  • ฐานการเรียนรู้หอเทวดาหลวงเมืองมาง
    นั่งรถราง ชมความงดงามของชุมชนวัดแสนเมืองมา และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น สวนสุขภาพ 100 ปี จากนั้นร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ภายในชุมชน อาทิ
    -การเพาะถั่วงอก
  • ภาพวาดวิถีไทลื้อ
  • การทำถั่วโอ่ และหอเทวดาหลวงเมืองมางเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของชุมชน


ชมการศิลปะแสดง และชมตลาดชุมชน ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง

ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง” ภายในวัดแสนเมืองมาเป็นพื้นที่ ที่คนในชุมชนนำพืชผักสวนครัว ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาจำหน่าย มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม มีขันโตกแคร่ไม้ไผ่ไว้บริการนักท่องเที่ยว ทุกวันพุธแรกของเดือน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม