ศูนย์หัตถกรรมบ้านเขาเต่า

ที่ตั้ง เลขที่ 54 ถนนเพชรเกษม ต.หนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110
1.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ผ้าฝ้ายทอมือบ้านเขาเต่า
2.ชื่อผู้ประกอบการ กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเขาเต่า
3.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
3.1 ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าฝ้ายทอมือ
รายละเอียดความโดดเด่น กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเขาเต่า เป็นโครงการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงริเริ่มขึ้นและเป็นพระราชกรณียกิจด้านการส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมให้แก่ราษฎรแห่งแรก ผ้าเขาเต่ามีอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ด้วยผ้าขาวม้า 9 เส้น และผ้าฝ้ายยกดอกลายเต่า ทั้งนี้ ผ้ายกดอกยังมีลายอื่น ๆ อีก คือ ลายสี่ทิศ ลายดาหล้า ลายบานชื้น ลายขอ
๔4.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 09.00 – 17.00
5.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 9743 2559
6.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/fabricskhaotao.handmand

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ถ้ำม้าร้อง จ.ประจวบคีรีขันธ์

ที่ตั้ง บ้านเลขที่ ๖๔/๓ หมู่ที่ ๔ ต.พงศ์ประศาสน์ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77140
๑.ภายในถ้ำม้าร้องมีหลายคูหา มีหินงอกหินย้อย และมีผู้ดูแลติดตั้งไฟฟ้าเพื่อให้ส่องสว่างแก่นักท่องเที่ยว โดยภายในถ้ำจะมีพระพุทธรูปปางสมาธิเรียงรายตลอดแนวอยู่ชิดผนังถ้ำ และมีหินย้อยรูปร่างลักษณะคล้ายหัวม้าอยู่ภายในถ้ำ หากเดินตรงเข้าไปในถ้ำแล้วเลี้ยวไปทางขวามือ ประมาณ 20-30 เมตร และเลี้ยวซ้ายจะเห็นลักษณะหินย้อยที่มีรูปร่างคล้ายหัวม้า และมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่นำไปใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ เช่น งานพิธีครบรอบ 60 พรรษา , 72 พรรษา และพิธีบรมราชาภิเษก ร.10 และที่น่าแปลกใจคือน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้จะไม่มีวันแห้ง ปัจจุบัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาสัมผัสความสวยงามของหินงอกหินย้อยและบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.30 – 16.30 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
กิจกรรมเดินขึ้นเขาชมความสวยงามภายในถ้ำ
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0๘ ๑๒๙๒ ๘๑๔๑ หรือ ๐๘ ๒๓๘๕ ๓๘๕๖
๗.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/pages/category/Community/ชุมชนต้นแบบบ้านม้าร้อง-593498730991651/
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

หาดหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ที่ตั้ง 9 ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110
๑.เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนตากอากาศที่มีชื่อเสียงแห่งแรกของเมืองไทย มีโขดหิน อันเป็นสัญลักษณ์กระจัดกระจายอยู่บริเวณชายหาด เป็นสถานที่พักผ่อนชายหาดเก่าแก่ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ หาดทรายขาว น้ำทะเลใส สะอาด และมีบริการขี่ม้าชายหาดไว้บริการ หัวหิน เป็นอำเภอที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเมศ เดิมมีชื่อว่า “บ้านสมอเรียง” หรือ “บ้านแหลมหิน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน และปัจจุบันมีพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาประทับพักผ่อนอยู่เนื่อง ๆ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.30 – 16.30 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน) ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ กิจกรรมขี่ม้าริมชายหาด
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 3251 1047, 0 3251 1347, 0 3253 2433
๗.ช่องทางออนไลน์
https://www.huahin.go.th/new/frontpage
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ถนนสละชีพ ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๑.ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวประจวบคีรีขันธ์ พากันมาสักการะอยู่เป็นประจำ เพราะถือว่าเป็นมงคล และหลักชัยคู่บ้านคู่เมือง ทำให้ประชาชนอยู่ร่มเย็นเป็นสุข รุ่งเรืองตลอดเวลา สร้างขึ้นในสมัยที่ ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ องค์หลักเมืองแกะสลักลวดลายประณีตสวยงาม วิจิตรบรรจง ตามรูปแบบศิลปะลพบุรี เป็นศาลหลักเมืองที่ได้ชื่อว่าสวยและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมยอดชัยหลักเมือง และแผ่นดวงเมือง ตรงกับวันที่ 8 ธันวาคม พุทธศักราช 2536 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเปิดศาลหลักเมือง
ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2537
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.30 – 16.30 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 3253 4255 , 0 3261 1491 หรือ 08 1401 6003
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองกา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นในหมู่บ้านและมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อประโยชน์ของชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะความเป็นอยู่ในระดับปานกลาง มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา ๑ แห่ง คือ โรงเรียนบ้านหนองกา ระดับอาชีวศึกษา ๑ แห่ง คือ วิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี และหน่วยงานราชการ 
ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองกาเป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงที่ยังคงความเป็นอยู่อย่างพอมีพอกินและรักษาศิลปะวัฒนธรรมที่ดีงาม มีศาลตายายเป็นศาลประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นที่ให้ยึดเหนี่ยว ความเคารพ และสมานสามัคคีของคนในชุมชน นอกจากนี้ ยังมีภูมิปัญญาของชุมชนในด้านต่าง ๆ 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

แม่น้ำปราณบุรี
เป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของชีวภาพ เป็นแม่น้ำที่ยังประโยชน์แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น โดยมีการสร้างเป็นพื้นที่ชลประทาน และเป็นสถานที่สำหรับล่องเรือเพื่อการท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดนาห้วย
วัดนาห้วย เป็นวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่ชุมชนมาตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ มีอายุรวม 200 ปี มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดนาห้วยซึ่งเกิดขึ้นโดยความร่วมมือกันของชุมชนกับวัด ในการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีในชุมชน โดยมีการจัดแสดงวัตถุโบราณที่ทางเจ้าอาวาสวัดมอบให้กับทางพิพิธภัณฑ์ และวัตถุเก่าแก่ที่ชาวบ้านได้นำมามอบให้ รวมถึงนิทรรศการชีวประวัติ เจ้าอาวาสวัดนาห้วยองค์ก่อนถึง 10 องค์ ทั้งในรูปแบบของภาพถ่ายและของใช้ ประวัติและวิวัฒนาการทางด้านโบราณคดี 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
โดย นายสมาน ทิพเนตร เป็นผู้ทำการเกษตรจนได้รับรางวัลจากหลายหน่วยงานจนได้เป็นผู้นำต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่รูปแบบประยุกต์ “โคก หนอง นา โมเดล” 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การร่วมรำกลองยาว
ศาลาประชาคมบ้านหนองกา เป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรม ที่สืบสานและสืบทอด รวมทั้งบูรณาการประยุกต์ให้น่าสนใจ และมีหน่วยงานต่าง ๆ เชิญไปร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 
การร่วมประกอบการทำ ผลไม้กวน ผลไม้หยี
อาคารกลุ่มเกษตรกรบ้านหนองกาสามัคคี เป็นกลุ่มที่แปรรูปสินค้าทางการเกษตรอาทิ กล้วยกวน สับปะรดหยี มะเขือเทศหยี มะขามหยี ขนุนกวน เป็นต้น ซึ่งได้รับรางวัลจากหลายหน่วยงานในเรื่องรสชาติ และมีช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย

ชุมชนคุณธรรมบ้านทุ่งสะท้อน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และหมู่บ้านเครือข่ายท่องเที่ยวเกษตรครบวงจร ภาคตะวันตก โดยมีนายวีระวุฒิ กลมเกลี้ยง ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน อาชีพส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม มะพร้าว ยางพารา เลี้ยงสัตว์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอบางสะพานน้อย  

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดถ้ำเขาลักษณ์จันทน์
วัดตั้งอยู่บนที่ราบติดภูเขาลักษณ์จันทน์ เป็นวัดที่มีความ เงียบ สงบ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้านและจะมาประกอบพิธีสำคัญ ๆ ณ วัดแห่งนี้ โดยด้านหลังวัด เป็นภูเขามีต้นจันทน์ผาขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก และมีถ้ำที่สวยงามอยู่ภายในภูเขา ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำเขาลักษณ์จันทน์

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ถ้ำเขาลักษณ์จันทน์
เป็นถ้ำเขาหินปูนขนาดใหญ่ หน้าปากถ้ำมีพระพุทธรูป ภายในถ้ำมืดสนิท มีหินงอก หินย้อย รูปร่างแปลกตา มีค้างคาวอาศัยอยู่มากมาย มีทางเดินทะลุออกไปยังด้านหลังเขา เดินขึ้นไปยอดเขาได้ ป่าบนเขาสภาพยังสมบูรณ์มาก เถาวัลย์มีขนาดใหญ่

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนหอมหวล
เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่มีการจัดการพื้นที่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งที่อยู่อาศัย การปลูกผัก ผลไม้ เลี้ยงไก่ เลี้ยงผึ้ง ทำให้ผู้เข้าไปเยี่ยมชมเห็นการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม
วิสาหกิจชุมชน 100 พัน มะพร้าวไทย
ชุมชนบ้านทุ่งสะท้อนเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกมะพร้าวจำนวนมาก จึงสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ครีมน้ำมันมะพร้าว สบู่น้ำมันมะพร้าว เซรั่มบำรุงผมน้ำมันมะพร้าว เป็นต้น

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ร่วมทำขนมโก๋โบราณ ด้วยมือทุกขั้นตอน
บ้านขนมโก๋คุณย่า ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ ๔๘ โดยมีคุณย่าบุญถ้วนเป็นวิทยากรด้วยตนเอง เป็นขนมโก๋สูตรโบราณที่ทำกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทุกขั้นตอนทำด้วยมือ เช่น การโม่แป้งด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าโม่หิน เป็นต้น ดังนั้น รสชาติของขนมจะเป็นรสชาติเฉพาะของที่ร้านขนมโก๋คุณย่าเท่านั้น ซึ่งเป็นสินค้าโอท็อปของหมู่บ้านด้วย
ร่วมทำขนมทองม้วนสูตรเฉพาะของบ้านทุ่งสะท้อน
บ้านขนมทองม้วน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๒๔/๑ โดยมีนางทองพัฒน์ เล่าปิวรรณ เป็นวิทยากร ผู้เข้าเยี่ยมชมจะได้ร่วมทำขนมทองม้วน เช่น การหยอดแป้งลงเตา การม้วนแป้ง เป็นต้น รสชาติจะมีความละมุน หอม เป็นรสชาติเฉพาะของที่บ้านทุ่งสะท้อนเท่านั้น ซึ่งขนมทองม้วนได้เป็นสินค้าโอทอป นวัตวิถีของบ้านทุ่งสะท้อนอีกด้วย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหินเทิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โดยทั่วไปชุมชนคุณธรรมบ้านหินเทิน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดเอียง เนื่องจากทางด้านทิศตะวันตกติดกับภูเขา ประชากรในหมู่ บ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การปลูกมะพร้าวเป็นหลัก

ชุมชนคุณธรรมบ้านหินเทินขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งมะพร้าวพันธุ์ดีของทับสะแก ทำให้มีหัตถกรรมจักสานจากทางมะพร้าว มีการปลูกต้นบอนไซมะพร้าว และวิถีชีวิตมีความเกี่ยวข้องกับมะพร้าวจนเป็น อัตลักษณ์ของชุมชนไปแล้ว อีกทั้งยังมีองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นอีกมากมาย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดบ้านทุ่งเคล็ด
โบสถ์วัดบ้านทุ่งเคล็ด (โบสถ์เหรียญบาท) ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๓ ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นวัดที่มีพระอุโบสถ “เหรียญบาท” แห่งแรกของประเทศไทย โดยใช้เหรียญบาทติดที่ผนังด้านนอกจำนวน ๓.๗ ล้านเหรียญ และเหรียญ ๑๐ บาท ภายในอาคารอีกประมาณ ๓ แสนเหรียญ มีการตกแต่งฝ้าเพดานด้วยไม้สักทองและพื้นอุโบสถเป็นหินแกรนิต และมีการรับบริจาคสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือลอตเตอรีทั้งเก่าและใหม่ที่ไม่ถูกรางวัล 

วัดอ่างสุวรรณ (วัดหนองหอย)
วัดอ่างสุวรรณ หรือวัดหนองหอย ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๖ บ้านหนองหอย ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีโบสถ์ขนาดใหญ่ทำด้วยไม้ตาลถือเป็นโบสถ์ไม้ตาลแห่งเดียวในโลก และโบสถ์ที่ทำมากจากต้นตาลนั้นมีความพิเศษตรงที่การสร้างบ้านเรือนหรือโบสถ์ส่วนใหญ่นั้นจะทำมาจากไม้สักหรือไม้ตะเคียนเพราะไม้จากต้นตาลนั้นจะมีเสี้ยนและมีลำต้นที่ผอมสูง จึงไม่นิยมมาสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ 

วัดนาหูกวาง
วัดนาหูกวาง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร มีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๒ งาน ๓๒ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือจดลำห้วย ทิศใต้และทิศตะวันออกจดถนน ทิศตะวันตกจดที่ดินใกล้เคียง อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง ๕.๕๐ เมตร ยาว ๑๗.๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบจัตุรมุข มีพระประธานประจำอุโบสถ และรูปหล่อหลวงพ่อปู่ทอง

โบสถ์แม่พระฟาติมา
วัดแม่พระฟาติมา บ้านแสงอรุณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นวัดคาทอลิกสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ ๓๕๔-๒๕๕ ถนนเพชรเกษม ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวทิวเขา ผากิ้งก่า และชมทัศนียภาพสวนมะพร้าว
ผากิ้งก่าบ้านหินเทิน ตั้งอยู่บนเขาซึ่งอยู่ในแนวเทือกเขาตะนาวศรี ด้านบนมีลานหินกว้าง สามารถขึ้นไปชมวิวทิวทัศน์ในพื้นที่อำเภอทับสะแก ชมทัศนียภาพสวนมะพร้าว มองไปทางทิศตะวันออกเห็นท้องทะเลสวยงาม 
ฝายมีชีวิตและหิ่งห้อย หมู่ที่ ๓ บ้านยุบหวาย
ฝายมีชีวิต ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านยุบหวาย และบ้านหินเทิน เป็นการทำงานร่วมกันของทั้งสองหมู่บ้าน  เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ฝายมีชีวิตเป็นการยกระดับน้ำเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำหลากรุนแรง ป้องกันการพังทลายของดิน อาศัยรากไทรสร้างสายน้ำซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบนิเวศน์ 
ป่าชายเลน เกาะแก้ว หมู่ที่ ๔ บ้านแสงอรุณ
เกาะแก้ว เป็นแหล่งอนุรักษ์ป่าชายเลน และสัตว์น้ำต่าง ๆ  ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือชมป่าชายเลน  และร่วมกิจกรรมการปลูกป่าชายเลน หรือนำสัตว์น้ำ เช่น ปู ปลา มาปล่อยที่เกาะแก้วได้
ชายหาดบ้านแสงอรุณ หมู่ที่ ๔ บ้านแสงอรุณ
ชายหาดแสงอรุณ เป็นชายหาดที่ขาวสะอาด สามารถลงเล่นน้ำได้ และสามารถไปชมวิถีชีวิตของชาวประมงได้

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฐานเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรง
ฐานผึ้งโพรงของนายพนม อยู่สุข ชื่อฐานเรียนรู้ “มหัศจรรย์หมู่ชนคนเลี้ยงผึ้ง” คือ การทำอาชีพเสริมจากการเลี้ยงผึ้งโพรงในบ้าน จนสามารถต่อยอดธุรกิจแบ่งขายน้ำผึ้งบรรจุขวด การทำกระเทียมดองน้ำผึ้ง และการขายกล่องของผึ้งโพรงแก่เกษตรกรที่ต้องการเลี้ยงผึ้งโพรง 
ฐานเรียนรู้การปลูกกุยช่าย
ฐานเรียนรู้การปลูกกุยช่าย โดยพี่น้องสามสาว มีชื่อฐานว่า “สามใบเถาสาวกุยช่าย” ฐานนี้มีการปลูกกุยช่ายเพื่อเป็นอาชีพเสริมให้คนในบ้านได้มีอาชีพในช่วงที่มะพร้าวราคาตกต่ำ จนตอนนี้เป็นเสมือนอาชีพหลักไปแล้ว 
ฐานเรียนรู้การทำน้ำตาลมะพร้าว
เป็นฐานเรียนรู้การทำน้ำตาลมะพร้าวแท้ ๆ แบบดั้งเดิมของนายสายันต์ ถ้วยทอง เป็นแหล่งทำน้ำตาลมะพร้าวแท้แหล่งเดียวของบ้านหินเทิน โดยใช้ชื่อฐานว่า “เฒ่าทรนงคนทำตาล”

กิจกรรมการท่องเที่ยว

หัตถกรรมจากกะลามะพร้าว (แก้ว/เข็มขัด/ต่างหู)
ฐานเรียนรู้ร้อยเรียงเม็ดกะลาพาเพลิน เป็นฐานเรียนรู้ที่มีนางประกายฟ้า ฤทธิ์สารพิทักษ์ เป็นวิทยากร โดยการนำกะลามะพร้าวมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น โคมไฟ หัวเข็มขัด สร้อยคอ เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน และการทำเป็นลูกปัดเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ ต่างหู เป็นต้น นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมได้ลงมือหัดทำได้ด้วย
การทำสบู่จากน้ำมันมะพร้าว
ฐานเรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์จากน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ฐานเรียนรู้นี้ ใช้ชื่อฐานว่า “ฐานคนช่างคิดผลิตสินค้า” มีผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวบริสุทธิ์ เช่น สบู่น้ำมันมะพร้าว ลิปมัน น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น น้ำมันมะพร้าวสกัดร้อน ครีมน้ำมันมะพร้าว เซรั่มน้ำมันมะพร้าว และการทำมะพร้าวบอนไซ เป็นต้น
ปลูกป่าชายเลน เกาะแก้ว หมู่ที่ ๔ บ้านแสงอรุณ
ป่าชายเลน เกาะแก้ว หมู่ที่ ๔ บ้านแสงอรุณ ป่าชายเลนเกาะแก้ว เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งประกอบอาชีพของประชาชนในตำบลแสงอรุณ นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลน เพื่อสร้างความสมบูรณ์แก่ระบบนิเวศน์ 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม