ศาลหลักเมืองปราจีนบุรี

ที่ตั้ง ตรงข้ามกับซอยเทศบาล ๑ ถนนปราจีนอนุสรณ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี
๑. อาคารพระหลักเมืองก่อสร้างตามแบบของกรมศิลปากร เป็นสถาปัตยกรรมทรงไทย หลังคาจตุรมุขยอดปรางค์ หลังคาทรงไทยเป็นชั้นลด ๒ ชั้น ทรงจั่ว ๔ ด้าน หลังคามุขเป็นทรงจั่ว มุงด้วยกระเบื้องหางมนสีแดง ตรงกึ่งกลางหลังคามุขเป็นยอดปรางค์ ส่วนยอดปรางค์ประดับฝักเพกา (ลำภุขัน) มีลักษณะคล้ายวชิราวุธ อันเป็นอาวุธของพระอินทร์ นำมาซ้อนกัน ๓ ชั้น ที่หน้าบันของมุขทั้ง ๔ ด้าน สลักไม้ปิดทองประดับกระจกเป็นลวดลายเทวดาและช่อดอกไม้ตัวศาลถึงยอดปรางค์มีลวดลายขึ้นนูนและปั้นดินถอดพิมพ์ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน
ภายในประดิษฐานเสาหลักเมือง ลักษณะเป็นเสากลมทำจากไม้มงคลชัยพฤกษ์ ฐานแกะสลักเป็นกลีบดอกบัวรองรับ ปลายยอดเสาหลักเมืองแกะสลักเป็น ๔ เศียร ๔ พักตร์ จัดสร้างโดยกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา ๐๗.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๕. ช่องทางออนไลน์ –
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.ปราจีนบุรี

ที่ตั้ง พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ครอบคลุม อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม และอำเภอเมืองปราจีนบุรี
๑. ความโดดเด่น/ความสำคัญ
เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๕ และได้สมญานามว่า “อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน” อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีเนื้อที่ ๒,๒๑๕.๔๒ ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า อยู่ในระดับความสูง ๔๐๐ – ๑,๐๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีเทือกเขาสลับซับซ้อนกัน ได้แก่ เขาร่ม, เขาแหลม, เขาเขียว, เขาสามยอด และเขาฟ้าผ่า ด้านทิศเหนือ และตะวันออกเป็นพื้นที่ลาดลง ทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชัน เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ๕ สาย ได้แก่ แม่น้ำปราจีน, แม่น้ำนครนายก, ลำตะคอง, ลำพระเพลิง และห้วยมวกเหล็ก
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีพืชพรรณ ๓,๐๐๐ ชนิด, ผีเสื้อ ๑๘๙ ชนิด, นกป่า ๓๕๐ ชนิด และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๗๑ ชนิด


๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา ๐๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนพฤศจิกายน – เดือนมกราคม ของทุกปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
– นักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้ใหญ่ ๔๐ บาท / คน เด็ก ๒๐ บาท / คน
– นักท่องเที่ยวต่างชาติ ผู้ใหญ่ ๔๐๐ บาท / คน เด็ก ๒๐๐ บาท / คน
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
– พักแรมแบบแคมป์ปิ้ง
– ชมธรรมชาติ พืชพรรณ และสัตว์ป่า
– ท่องเที่ยวล่องแก่ง ชมความสวยงามของน้ำตกต่าง ๆ
– เส้นทางเดินป่า
๖. เบอร์โทรศัพท์
– ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ๐๘๖ ๐๙๒ ๖๕๒๗
– บ้านพัก ๐๘๖ ๐๙๒ ๖๕๒๙
– ด่านตรวจศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ๐๔๔ ๒๔๙ ๓๐๕
– ด่านตรวจเนินหอม ๐๙๐ ๗๘๒ ๑๙๒๙
๗. ช่องทางออนไลน์
http://www.khaoyainationalpark.com/
https://www.facebook.com/KhaoYaiNationalPark
๘. สิ่งอำนวยความสะดวก
/ ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพิทักษ์โสภณ จังหวัดปราจีนบุรี

ชุมชนคุณธรรมวัดพิทักษ์โสภณ (หนองงูเหลือม) เป็นชุมชนขนาดเล็ก ที่มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นชุมชนที่มีความสะอาด อากาศและสภาพแวดล้อมดี ในชุมชนชาวบ้านอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยใช้หลักการปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถืออย่างสม่ำเสมอ นำมาปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย คนในชุมชนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ชุมชน โดยยึดหลัก “พึ่งตนเอง” 

ชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดพิทักษ์โสภณ เป็นชุมชนสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นพื้นบ้าน เป็นชุมชน “บ้าน 3 นา” มีนากก นาข้าว และนาหนอง (บ่อปลาขนาดใหญ่) มีการน้อมนำหลักปรัชญาพอเพียงด้วยการขับเคลื่อนพลังบวร บ้าน วัดและโรงเรียนมีส่วนร่วมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ชุมชนมีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีชีวิตพื้นบ้าน กิจกรรมท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วม เช่น การการทำอาหารพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ” 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์เรียนรู้การทอเสื่อกกบางพลวง
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยนำต้นกกมาแปรรูปได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น กระเป๋า รองเท้า เสื่อพับ เสื่อผืน หมอน กล่องใส่ทิชชู ที่รองแก้ว รองจาน และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 98 คน ซึ่งปกติแล้วชาวบ้านจะมีการปลูกต้นกกหลังคาละ1-2 ไร่ ระยะการปลูกประมาณ 2-3 เดือน โดยประมาณ หลังจากที่ต้นกกโตเต็มที่ชาวบ้านก็จะตัดต้นกกมาให้ทางวิสาหกิจชุมชนเพื่อทำการเข้าขั้นตอนการแปรรูป

กิจกรรมชมวัด นมัสการหลวงพ่อกนก
วัดพิทักษ์โสภณ ที่ตั้ง หมู่ที่  9 ตำบล  บางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

วิถีชีวิตบ้านบางพลวง ลำคลองบัวเผื่อน/ชมนกน้ำ “นกงู/กาน้ำ”
หมู่ ๙ ตำบลบางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัด  ปราจีนบุรี
วิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี
กิจกรรมล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี ล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี” (อำเภอเมืองปราจีนบุรี – อำเภอบ้านสร้าง) ชมวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำกับการทำประมงพื้นบ้าน ชมทิวทัศน์สองฟากฝั่งลำน้ำ  นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามสายน้ำแห่งชีวิต  ชิมอาหารพื้นบ้าน

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ “โคกหนองนาโมเดล” สวน ๓ ก
หมู่ ๙ ตำบลบางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัด  ปราจีนบุรี

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ปั่นจักรยานชมทุ่งนาข้าว นากก นาโซล่าเซลล์

บ้านบางพลวง
สะพานไม้ไผ่ทุ่งบางสนม ม.7 ต.บางกระเบา  อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ประจำ  อ.บ้านสร้าง ซึ่งชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นบ้านคลองบางสนม ได้ร่วมแรงร่วมใจทำสะพานไม้ไผ่ ผุดแลนด์มาร์กใหม่สะพานไม้ไผ่ชมทุ่งบางสนม ด้วยการรวมใจของชาวบ้านด้วยระยะทางยาวกว่า 150 เมตร
กินกุ้งตกปลา
ร้านป้าชุ่ม/แม่น้ำปราจีนบุรี บ้านหนองงูเหลือมตำบลบางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี กิจกรรมล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี ล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี” (อำเภอเมืองปราจีนบุรี – อำเภอบ้านสร้าง) ชมวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำกับการทำประมงพื้นบ้าน ชมทิวทัศน์สองฟากฝั่งลำน้ำ  นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามสายน้ำแห่งชีวิต  ชิมอาหารพื้นบ้าน
ล่องเรือ ชมวิถีชีวิตริมฝั่งน้ำปราจีนบุรี
ร้านป้าชุ่ม/แม่น้ำปราจีนบุรี บ้านหนองงูเหลือมตำบลบางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี กิจกรรมล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี ล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี” (อำเภอเมืองปราจีนบุรี – อำเภอบ้านสร้าง) ชมวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำกับการทำประมงพื้นบ้าน ชมทิวทัศน์สองฟากฝั่งลำน้ำ  นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามสายน้ำแห่งชีวิต  ชิมอาหารพื้นบ้าน
ชมบึงบัวแดง และคลองบัวสี
บ้านหนองงูเหลือมตำบล  บางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี พายเรือชมบึงบัวแดง บัวสี
พายเรือชมหิ่งห้อย คลองบางสนม
บ้านป้าชุ่ม ทุ่งนากก ตำบล  บางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี ชุมชนคลองบางสนม เป็นชุมชนที่มีการอนุรักษ์ สืบสานและต่อยอด มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านอาหารไทย และงานหัตกรรม การทอเสื่อกก โดยมีคำขวัญชุมชนว่า ” ปั่นจักยานชมทุ่ม กินกุ้งตกปลา ชมวิถีชีวิตชาวนาไทย เรืองไสวหิ่งห้อย น้ำคลองบางสนม “
ชมแปลงเกษตรอินทรีย์
บ้านหนองงูเหลือม ตำบล  บางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี ศึกษาเรียนรู้วิธีการทำแปลงเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมงานหัตถกรรมการทอเสื่อกกบางพลวง
บ้านป้าชุ่ม ทุ่งนากก ตำบล  บางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยนำต้นกกมาแปรรูปได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น กระเป๋า รองเท้า เสื่อพับ เสื่อผืน หมอน กล่องใส่ทิชชู ที่รองแก้ว รองจาน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดใหม่ดงกระทงยาม จังหวัดปราจีนบุรี

ชื่อดงกระทงยามมีคำอธิบายจากคนในท้องถิ่นว่าหมายถึงดงไม้ที่อยู่กลางทุ่งซึ่งเมื่อถึงฤดูน้ำหลากมาท่วมจะเวิ้งว้างแลดูคล้ายกับเป็นกระทงที่ลอยอยู่กลางน้ำกับมีเรื่องของเสียงคล้ายฆ้องยามที่ดังขึ้นทางชายดง เป็นประจำประชากรส่วนใหญ่ยังคงมีเชื้อสายชาวพวนซึ่งเล่ากันว่าอพยพมาจากทางนครเวียงจันท์ตั้งแต่ราวสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ 

เป็นชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน มีชาวไทยพวน ที่มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี ขนมธรรมเนียม ที่ไม่เหมือนที่อื่น เช่น ภาษา การแต่งกาย อาหาร ความเชื่อ แนวปฏิบัติวัฒนธรรมประเพณี มีที่พักโฮมสเตย์ มีการจัดการท่องเที่ยว ๑ วัน มาที่เดียวเที่ยวครบทุกมิติ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนบ้านดงกระทงยาม
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมของใช้โบราณ และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ทรงบริจาคทรัพย์ ห้าแสนบาทในการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

น้ำตกเขาอีโต้ และเดินทางขึ้นเขาใหญ่ เพื่อพักผ่อน หรือแวะชมธรรมชาติได้ตามอัธยาศัย
น้ำตกธรรมชาติ สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อน 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฐานเศรษฐกิจพอเพียงชมการปลูกพืชผักสมุนไพรใช้เป็นยา โดยนางครองขวัญ ช่างเก็บ
มีการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อรับประทานเองในครัวเรือน และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน ถ้าเหลือจำหน่าย 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กลุ่มเรียนรู้ทำตะกร้อตะแกรงจากเส้นลวด
ชุมชนบ้านดงกระทงยาม ชมการทำตะกร้อตะแกรงจากเส้นลวด สานเป็นต่างหู กล่องกระดาษทิชชู่ ฯลฯ โดยนางบรรยาย คมคาย

กลุ่มการแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณี ไทยพวนบ้านดงกระทงยาม

รร.บ้านดงกระทงยาม

๑. มีการสอนการฟ้อนรำไทยพวน
๒. มีการสอนภาษาไทยพวน
๓. มีการอนุรักษ์การแต่งกายไทยพวน
๔. มีการทำอาหารคาว-หวานไทยพวน
๕. มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทยพวน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม