ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้“โครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” จังหวัดลพบุรี

หมู่ที่ 5 ตำบลโก่งธนู อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้โครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หมู่ที่ ๕ ตำบลโก่งธนู เป็นแหล่งเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำแปลงผักสวนครัว ปลูกผักปลอดภัยไว้รับประทานในครัวเรือน เหลือจากรับประทานก็นำไปแลกผักอื่นกับเพื่อนบ้าน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ ทุกวัน เวลา 08.30 – 16.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน) ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู โทรศัพท์ 0 3678 1642
๖.ช่องทางออนไลน์ – Facebook : องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู
– Website : www.kongthanu.go.th
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านสีกายเหนือ จังหวัดหนองคาย

มีทัศนีย์ภาพติดแม่น้ำโขง และหมู่บ้าน นวัตวิถี สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์และถือว่าเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของสถานที่ดังกล่าวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี 

ชุมชนติดริมฝั่งแม่น้ำโขง มีต้นทุนทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ บรรยากาศผ่อนคลายเหมาะแก่ การพักผ่อนและถ่ายภาพ ชุมชนมีความเข้มแข็งของบวรใน ๓ มิติ ประกอบด้วย การตักบาตรริมฝั่งแม่น้ำโขง การปลูกผักสวนครัวใช้ในครัวเรือนและการปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีอยู่สม่ำเสมอ

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดล่องเรือ เป็นวัดโบราณที่ชาวบ้านสีกายเหนือให้ความเคารพ นับถือ 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ริมโขง หมู่บ้านสีกายเหนือมีทัศนีย์ภาพติดแม่น้ำโขง สามารถมองเห็นประเทศลาวได้

ไร่มะเขือเทศ ชาวบ้านจะปลูกมะเขือเทศในฤดูหนาว โดยจะปลูกบริเวณริมแม่น้ำโขง

หาดสีกาย ในฤดูร้อน แม่น้ำโขงจะมีปริมาณลดลงทำให้เห็นหาดทรายขึ้นบริเวณริมฝั่ง  แม่น้ำโขง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถลงไปเล่นน้ำได้

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สาธิตการทำนาโยนและการปลูกพืชผักต่าง ๆ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

สาธิตการทำนาโยนและการปลูกพืชผักต่าง ๆ ศูนย์โฮมสเตย์บ้านสีกาย เป็นกิจกรรมตอนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือน 

สาธิตการแปรรูปต่าง ๆและเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์โฮมสเตย์บ้านสีกายและกลุ่มต่าง ๆ เรียนรู้ ชมวิธีการสาธิต และทดลองทำ เช่น การแปรรูปมะเขือเทศเชื่อม การทำนาโยน

ล่องเรือชมแม่น้ำโขง แม่น้ำโขง นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมวิถีชีวิตไทย-ลาว ตามลำแม่น้ำโขงได้ 

ปั่นจักรยาน บริเวณถนนริมโขง นักท่องเที่ยวสามารถปั่นจักรยานชมบรรยากาศในชุมชนและริมแม่น้ำโขงได้

ตักบาตร บริเวณถนนริมโขง ตื่นเช้าสูดอากาศริมโขง ใส่บาตรยามเช้า บริเวณริมแม่น้ำโขง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสว่างอารมณ์กู่ จังหวัดร้อยเอ็ด

ชุมชนคุณธรรมฯ วัดสว่างอารมณ์กู่ เป็นชุมชนที่มีวิถีวัฒนธรรมของชาวอีสาน คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นสังคมแบบเครือญาติ มีคติความเชื่อที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สภาพหมู่บ้าน/ชุมชน นิยมตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มตามสายเครือญาติ เรียกว่าคุ้ม หลาย ๆ คุ้มรวมกันเป็นหมู่บ้าน

ชุมชนมีการแต่งกายที่เป็นอัตลักษณ์ โดยจะสวมใส่ชุดผ้าไหมลายเต่าทอง เป็นลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ นอกจากนี้คนในชุมชนยังมีความรัก ความสามัคคีกัน โอบอ้อมอารีย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มีมิตรไมตรีแก่ผู้มาเยือน เป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

โบราณสถาน กู่กาสิงห์
ปราสาทกู่กาสิงห์ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดบูรพากู่กาสิงห์น้อยลักษณะเป็นปราสาทอิฐสามหลังตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๘ มี.ค. ๒๔๓๘

โบราณสถาน กู่โพนระฆัง
กู่โพนระฆัง ตั้งอยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ประมาณ ๕๐๐ เมตร ปรางค์ประธานก่อด้วยหินศิลาแลง ล้อมรอบด้วยกำแพงสี่เหลี่ยม ซึ่งมีซุ้มประตู หรือโคปุระอยู่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กรุด้วยศิลาแลง

โบราณสถาน กู่โพนวิจ
กู่โพนวิจ ตั้งอยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ประมาณ ๓๐๐ เมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๓ งาน สภาพเป็นเนินดินขนาดใหญ่ ฐานก่อด้วยหินศิลาแลง 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

แปลงนาข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้
ทุ่งกุลาร้องไห้คือแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในประเทศ เป็นที่ราบอันมีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน เป็นข้าวหอมมะลิที่อร่อยที่สุดของไทย คือมีลักษณะความนุ่มของข้าวและกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ มีพื้นที่ทั้งหมด ๒๖ ไร่ ๓ งาน โดยจัดทำเป็นแปลงนาข้าวหอมมะลิ จำนวน ๑๐ ไร่ ทำสวน ปลูกผัก สร้างบ้าน บ่อเลี้ยงปลา โรงสีข้าว จำนวน ๑๖ ไร่ ๓ งาน 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญ
โบราณสถาน กู่กาสิงห์ เมื่อนักท่องเที่ยวเข้าไปถึงยังชุมชน จะมีมัคคุเทศก์แนะนำกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน โดยหนึ่งในกิจกรรมการท่องเที่ยวก็จะมีการบายศรีสู่ขวัญให้กับนักท่องเที่ยว

การรำต้อนรับ นักท่องเที่ยว
โบราณสถาน กู่กาสิงห์ การแสดงทางศิลปะวัฒนธรรม ที่ทางชุมชนจัดไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมก็คือ การรำซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวชุมชนกู่กาสิงห์ เป็นการแสดงความยินดีที่นักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนชุมชน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

บ้านผาบ่องประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ (ไต) และปกาเกอญอ อยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี และใช้ชีวิตร่วมกันบนความแตกต่างทางวัฒนธรรม ด้วยความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน บ้านผาบ่องมีวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีที่งดงาม เรียบง่าย และมีเอกลักษณ์

ชุมชนผาบ่องแลกเปลี่ยนและเรียนรู้กิจกรรมศูนย์เรียนรู้ชุมชนคุณธรรมฯ(สาธิตภูมิปัญญาพื้นบ้านและวิถีชีวิต)นักท่องเที่ยวจะได้ลิ้มรสอาหารไทยใหญ่และได้ร่วมเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นชมกิจกรรมกาดซอก กิจกรรม “ป๋างน้ำเน้ง”ฟังเรื่องเล่าชุมชนพร้อมจิบชาสมุนไพร เที่ยวชมชุมชน และชมศาสนสถาน เป็นแหล่งเรียนรู้ทำต้องลายโลหะ ชิมผลิตภัณฑ์ถั่วลายเสือ 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชตำบลผาบ่อง
แหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่และมีพิพิธภัณฑ์ผ้ากะเหรี่ยงปักลูกเดือย 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

น้ำพุร้อนผาบ่อง
มีบ่อน้ำแร่ธรรมชาติอุณหภูมิ ๓๙ -๔๒ องศาเซลเซียสมีบริการนวดผ่อนคลายและห้องอาบน้ำสำหรับนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วยการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวทับทิมชุมแพ
เป็นต้น

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ร่วมเรียนรู้กิจกรรมชุมชนวิถีคนไต การตอกน้ำมันลิสง
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนคุณธรรม ชมการการสาธิตวิถีชีวิตของชาวไต ชมการตอกน้ำมันถั่วลิสงภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เคยสูญหายไปเกือบ ๔๐ ปี และถูกฟื้นขึ้นมาใหม่โดยชาวบ้านชุมชนผาบ่อง

ช้อป ชิม ชมอาหารไทใหญ่
กาดซอกจ่า ตลาดนัดอาหาร ผลิตภัณฑ์ อาหารพื้นถิ่น และการสาธิตภูมิปัญญาของชาวไทใหญ่ ซึ่งเปิดเฉพาะวันศุกร์ – วันเสาร์

ชุมชนคุณธรรมบ้านก๋ง จังหวัด น่าน

บ้านก๋ง ในอดีตเรียกว่าชาวเมืองยมชาวเมืองยมนี้  เป็นชาวเชื้อสายไทลื้อ ชาวยอง ชาวไทยวน อพยพมาจากทางเหนือ และกระจัดกระจายไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ มีเจ้าหลวงปกครองเมืองตลอดมา ในสมัยพญามังคาวนั้น มีวัวดุร้ายตัวหนึ่งเที่ยวไล่ขวิดผู้คน จนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต วัวนั้นจะดูดกินเลือดของผู้ตาย จนเป็นที่น่าหวาดกลัวของชาวบ้าน ทำให้เจ้าหลวงพญามังคาว คิดหาวิธีป้องกันไม่ให้วัวโพงเข้ามาทำร้าย ชาวบ้าน โดยให้ขุดคือเมืองล้อมรอบหมู่บ้านและคิดทำก๋งธนู ทำด้วยเหล็กอย่างดี จากเมืองอวนลูกดอกอาบยาพิษร้ายแรง เจ้าหลวงใช้ก๋งธนูยิงวัวโพง ตัวนั้นจนได้รับบาดเจ็บสาหัสหนี ในที่สุดก็พบวัวโพงนอนตายในป่าใกล้กับหมู่บ้านที่มีผู้คนอาศัยอยู่ เจ้าหลวงพญามังคาว จึงเอาก๋งธนูไปฝังไว้ ในบริเวณบ้านของท่าน หมู่บ้านแห่งนี้จึงเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านก๋ง สืบมาจนถึงปัจจุบัน  

ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านก๋งเป็นชุมชนที่มีความรัก ความสามัคคี ชุมชนมีความเอื้ออาทร มีการรักษาศิลปวัฒนธรรม มีพิพิธภัณฑ์ในหมู่บ้าน มีวัดศรีมงคลที่สร้างด้วยไม้สักเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีจิตรกรรมฝาผนัง
ที่สวยงาม มีผู้นำชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนให้ความเคารพนับถือผู้นำ ปราชญ์ชุมชน และมีการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่น รดน้ำดำหัว ผู้สูงอายุ ,ประเพณีวันสงกรานต์, ทานสลากภัตร ตานธรรมหลวง เข้ากรรม   รุกขมูล  หมอพื้นบ้านและอื่น ๆ

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดศรีมงคล ( ก๋ง )
วัดศรีมงคล (ก๋ง) ตั้งอยู่ที่ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน  เป็นวัดเก่าแก่ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2395 ด้านหลังวัด มีลานชมวิว ซึ่งมีทัศนียภาพที่งดงาม มองเห็นทุ่งนาเขียวขจี และทิวเขาของดอยภูคา เรียงรายสลับซับซ้อน บริเวณนาข้าวมีที่พัก และร้านกาแฟฮักนาน่าน มีสะพานไม้ไผ่เชื่อมจากตัววัดสามารถลงไป เดินเล่นถ่ายภาพได้ 

พิพิธภัณฑ์มงคลธรรมรังสี วัดศรีมงคล(ก๋ง )
พิพิธภัณฑ์มงคลธรรมรังสี วัดศรีมงคล อ.ท่าวังผา จ.น่าน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2557 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ได้สร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจของท่านพระครูรังสีธรรมานันท์ เจ้าอาวาสวัดศรีมงคล(ก๋ง) แต่เดิมเป็นกุฏิเก่าของหลวงปู่ครูบาบ้านก๋ง พิพิธภัณฑ์มงคลธรรมรังสี สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังเป็นแบบเรือนไม้ศิลปะล้านนา 2 ชั้น เป็นที่เก็บรวมรวมวัตถุโบราณต่าง ๆ และของเก่าแก่หายาก 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อ่างเก็บน้ำชุมชนบ้านก๋ง
อ่างเก็บน้ำชุมชนบ้านก๋งเป็นอ่างเก็บน้ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนบ้านก๋งในการเก็บน้ำเพื่อทำการเกษตรของชุมชน หมู่บ้าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงวัดศรีมงคล (ก๋ง )
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงวัดศรีมงคล ( ก๋ง ) เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทางวัดได้ดำเนินการเพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยพืช เป็นต้นแบบของการปลูกพืชเชิงเดี่ยวผักปลอดสารพิษในชุมชนบ้านก๋ง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมปั่นจักรยานท่องเที่ยวชุมชนบ้านก๋ง วัดศรีมงคล
ชุมชนบ้านก๋งวัดศรีมงคล เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านก๋งที่ให้นักท่องเที่ยวได้ชมความงามของธรรมชาติ สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาในชุมชน กลุ่มอาชีพต่าง ๆ สวนเกษตร
แหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ชุมชนบ้านก๋ง

กิจกรรมแอนข้าวแคบ
ชุมชนบ้านก๋งวัดศรีมงคลกิจกรรมแอนข้าวแคบเป็นกิจกรรมที่ทางชุมชนจัดทำขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยว
ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสาธิตการแอนข้าวแคบเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของชุมชน

กลุ่มคนเฒ่าเฝ้าวัด
ชุมชนบ้านก๋งวัดศรีมงคล กลุ่มคนเฒ่าเฝ้าวัดเป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชน ได้จัดแสดงการสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทำตุง ทำโคม สาธิตการทำขนม อาหารพื้นบ้านจัดแสดงให้แก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนบ้านก๋งได้ชื่นชม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดไผ่โรงวัว จังหวัดสุพรรณบุรี

ชุมชนคุณธรรมวัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ของวัดแต่เดิมเป็นดงป่าไผ่ที่ชาวบ้านนำวัวมาผูกไว้ระหว่างทำนา จึงเป็นที่มาของชื่อวัดไผ่โรงวัว โดยมีคลองที่ขุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน

วัดไผ่โรงวัว เป็นศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา มีพระกกุสันโธ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นแหล่งเรียนรู้ สังเวชนียสถาน 4 เมืองสวรรค์ นรก โดยมีเนื้อที่ประมาณ ๒๖๐ ไร่

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดไผ่โรงวัว
เป็นวัดที่มีพุทธวัตถุและโบราณสถานสำคัญให้เยี่ยมชมมากมาย เช่น “พระพุทธโคดม” พระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างโดยท่านพระครูอุทัยภาคาธร (หลวงพ่อขอม) นอกจากนี้ยังมี สังเวชนียสถาน 4 คือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและปรินิพพาน มีส่วนที่แสดงงานประติมากรรม เกี่ยวกับพุทธประวัติเมืองสวรรค์ เมืองนรกจำลอง ส่วน “พระกกุสันโธ” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 

ตลาดชุมชน (ตลาดต้องชม)
ตั้งอยู่ภายในวัดไผ่โรงวัว เป็นตลาดซึ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน โดยมีของฝากขึ้นชื่อ คือ ปลาสลิดตากแห้ง ปลาช่อนแดดเดียว ปลาดุกแดดเดียว และยังมีปลาอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีของกิน ของใช้ในครัวเรือน ให้เลือกอีกมากมาย

สะพานแขวน
สะพานแขวนที่ทางวัดไผ่โรงวัวได้สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมตลาดแหล่งท่องเที่ยวกับดินแดนนรก​ภูมิ พร้อมจุดเช็คอินให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูป

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ ๕ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นศูนย์การเรียนรู้การเกษตรพอเพียงแบบครบวงจร ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ภายในสถานที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาชนิด มีกิจกรรมเรียนรู้ที่น่าสนใจให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตร  

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ให้อาหารเต่า ปลา
วัดไผ่โรงวัว มีจุดให้นักท่องเที่ยวให้ทานแก่สรรพสัตว์ ได้แก่ ปลา เต่า

ชม และเรียนรู้การทำสิ่งไม่ดี
เมืองนรกภูมิ วัดไผ่โรงวัว นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชมเปรตผลของการกระทำต่าง ๆ ที่ไม่ดี และคอยเตือนให้ทำความดี เพื่อไม่ให้เจอบาปกรรมที่ได้ทำไว้

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านใหม่ไทยพัฒนา จังหวัดสระแก้ว

ประมาณ ปี พ.ศ. 2525 มีครัวเรือนชาวนครราชสีมา จำนวน 6 ครัวเรือน ได้อพยพมาตั้งบ้านเรือน อยู่ที่หมู่บ้านหนองหมอบ (ชื่อตามชาวบ้านเรียก) กลุ่มชนนี้ได้นำวัฒนธรรมการทอผ้า ซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษและได้อนุรักษ์ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน ต่อมามีครัวเรือนย้ายตามกันมาและตั้งถิ่นฐาน อยู่มากขึ้น ปัจจุบันทางราชการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านใหม่ไทยพัฒนา

เป็นหมู่บ้านที่มีวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมในด้านทอผ้า เป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ  ในปัจจุบันศูนย์ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้สั่งทอผ้าไหมจากบ้านใหม่ไทยพัฒนาและสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานกระบือจำนวน 25 ตัว ให้กับเกษตรกรบ้านใหม่ไทยพัฒนาเพื่อใช้ในการเกษตรและทำมาหาเลี้ยงชีพ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

แหล่งเรียนรู้การทอผ้าไหม
แหล่งเรียนรู้การทอผ้าไหม เกิดจากการรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน เพื่อทอผ้าไหม ซึ่งผ้าไหมของบ้านใหม่ไทยพัฒนามีกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนภายในชุมชน ตั้งแต่การเลี้ยงไหม การสาวไหม การย้อมไหม และการทอผ้าไหม ซึ่งความโดดเด่นของผ้าไหมทอมือบ้านใหม่ไทยพัฒนา คือ ใช้เส้นไหมแท้มาย้อมสี ทอเป็นผ้าที่มีลายสวยงาม เนื้อผ้าละเอียดเรียบ สีไม่ตก เนื้อแน่นเป็นเงางาม ซักแล้วไม่หดตัว ลายผ้ามีทั้งลายดั้งเดิม ลายประยุกต์ 

แหล่งเรียนรู้การจักสาน
แหล่งเรียนรู้การจักสาน มีนายทักษิณ เสนาน้อย และนายบุญเลิศ บันอุมาลี ซึ่งเป็นคนในชุมชน ที่มีความรู้ความสามารถด้านการจักสาน (ตะกร้าโบราณ, กระด้ง, ไซ) และมีนายยนต์ ละวิเวก มีความรู้ด้านการทำซุ้มไก่ และมีนางสาวสุมิตรา ทองไทย และนางคำปอง ทองไทย และนายแก้ว ทวดทอง จักสานชะลอมไม้ไผ่ โดยการจักสานไม้ไผ่นั้น เมื่อก่อนทำเพื่อขายเลี้ยงชีพ และใช้ในครัวเรือน แต่ในปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจักสาน 

แหล่งเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้าน (หมอลำ, หมอแคน)
เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านมรดกภูมิปัญญาของคนในชุมชน ที่ได้รับการสืบทอดมาจากคนอีสาน โดยคนในชุมชนคุณธรรมบ้านใหม่ไทยพัฒนา ย้ายถิ่นฐานมาจากอีสาน และมีการเล่นหมอลำ หมอแคนสืบทอดกันมาภายในชุมชน โดยปัจจุบันได้มีการนำหมอลำ หมอแคน มาใช้ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว

แหล่งเรียนรู้งานฝีมือจากเศษผ้าไหม
นางบุญมี ปกพันธ์ นางทองดี พาชื่น และนางทิพย์ ปกพันธ์ เป็นผู้บุกเบิกการทำผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหม และรังไหม ซึ่งทั้ง ๓ คน เห็นว่าเศษผ้าไหมและรังไหมนั้น ทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงเกิดไอเดียที่จะนำเศษผ้าไหม และรังไหมมาสร้างมูลค่า โดยการผลิตเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ สบู่จากรังไหม เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก
อ่างเก็บน้ำท่ากระบากมีจุดเริ่มต้นมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการปรับปรุงระบบชลประทาน ในเขตพื้นที่ราบเชิงเขาอ่างเก็บเป็นแหล่งน้ำ สำหรับเกษตรกรเพื่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร มีสภาพแวดล้อมที่งดงาม ของป่าโปร่ง รายรอบด้วยต้นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมทั้งชนิดพันธุ์ที่นำมาปลูกประดับ ที่นี่จึงเป็น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีบรรยากาศสวยงาม โดยเฉพาะในยามเย็นที่ดวงอาทิตย์ใกล้ลาลับนั้น วินาทีที่ ท้องฟ้าแปรเปลี่ยนเป็นสีทองเหนือผืนน้ำขนาดใหญ่ในอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ 

สวนสัตว์ช่องก่ำบน
สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน เป็นสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ของจังหวัดสระแก้ว อยู่ที่ตำบลหนองหมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร ได้เริ่มจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2526 เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายากที่ใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทย ภายในมีสัตว์หลากหลายชนิด เช่น กวาง ละมั่ง หมี หมา นกเงือกปากย่น นกแก๊ก นกเงือกกรามช้าง นกขุนทอง ไก่ฟ้าหลังเทา

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นอาคารสำหรับการเรียนรู้ การจัดอบรมคนในชุมชน และผู้ที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง

แหล่งเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชุมชนสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อศึกษาเรียนรู้ที่จะทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โดยชุมชนเริ่มคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบัน นอกจากทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรแล้ว ทางชุมชนไดดำเนินการปลูกสมุนไพรในชุมชน เพื่อลดต้นทุนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งการดำเนินการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ปทุมธานี

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ต้อนรับผู้มาเยือน
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรม หมอรำพื้นบ้าน หมอพิณ หมอแคน พร้อมแนะนำชุมชน และกราบนมัสการหลวงพ่อไพศาล และศาลปู่ตา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน จากนั้นนั่งมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง ชมวิถีชุมชนที่แสนเรียบง่าย
ทดสอบงานฝีมือ
แหล่งเรียนรู้งานฝีมือจากเศษผ้าไหม ศึกษาเรียนรู้วิธีการทำผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหม รังไหม และทดลองปฏิบัติ

จักตอก สานชะลอม
แหล่งเรียนรู้การจักสาน ศึกษาเรียนรู้วิธีการจักตอก และวิธีการสานชะลอม จากผู้เชี่ยวชาญด้านงานจักสานของชุมชน และทดลองจักตอก สานชะลอม
กว่าจะเป็นผ้าไหม
แหล่งเรียนรู้การทอผ้าไหม ศึกษากระบวนการขั้นตอนการเลี้ยงไหม การสาวไหม การย้อมไหม และการทอผ้าไหม ทุกกระบวนการ ตั้งแต่ต้นจนจบ 
พืชผัก ปลอดสารพิษ
ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง เยี่ยมชมสวนผักผลไม้ในชุมชน ซึ่งเป็นพืชผักปลอดสารพิษ พร้อมเรียนรู้เทคนิคการปลูกผักไร้สารอย่างไร ให้รอดพ้นจากแมลง
เรียนรู้วิถีชาวนา
ศูนย์การเรียนรู้วิถีชาวนา ศึกษาเรียนรู้ วิถีชาวนาในอดีต ตั้งแต่การไถนาด้วยกระบือ การดำนา การลงแขกเกี่ยวข้าว การสีข้าว การยาลานด้วยมูลกระบือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เป็นต้น ทั้งนี้พร้อมลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

สมุนไพรไทย ทำอะไรได้บ้าง
แหล่งเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ศึกษาเรียนรู้ประโยชน์ของสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพร และกระบวนการขั้นตอนในการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตั้งแต่ต้นจนจบ
ควายแสนรู้
ศูนย์การเรียนรู้อนุรักษ์กระบือบ้านใหม่ไทยพัฒนา สนุกเพลิดเพลินกับการแสดงของควายแสนรู้ในชุมชน ขั้นตอนการฝึกควาย และการออกคำสั่งให้ควายทำตาม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดปานประสิทธาราม จังหวัดสมุทรปราการ

ชุมชนคุณธรรมวัดปานประสิทธาราม มีสภาพภูมิประเทศที่มีคลองและทางน้ำไหลผ่าน และเป็นป่าชายเลน ป่าไม้โกงกาง ในส่วนของสภาพภูมิอากาศนั้นเป็นอากาศแบบชายทะเล โดยอากาศเย็นสบาย ไม่ร้อนจัดในช่วงฤดูร้อน มีความชื้นในอากาศสูง เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมทะเลของอ่าวไทย และสมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

ชุมชนคุณธรรมวัดปานประสิทธาราม มีสภาพภูมิประเทศที่มีคลองและทางน้ำไหลผ่าน และเป็นป่าชายเลน ป่าไม้โกงกาง ในส่วนของสภาพภูมิอากาศนั้นเป็นอากาศแบบชายทะเล โดยอากาศเย็นสบาย ไม่ร้อนจัดในช่วงฤดูร้อน มีความชื้นในอากาศสูง เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมทะเลของอ่าวไทย และสมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดปานประสิทธาราม
กิจกรรมไหว้พระหลวงพ่อปานองค์ใหญ่วัดปานประสิทธาราม

ฐานการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม
บ้านของเก่า พิพิธภัณฑ์ชาวบ้าน แหล่งรวบรวมของเก่า

ตลาดน้ำปีกกา หรือตลาดน้ำวัดปานประสิทธาราม
บริเวณตลาดน้ำปีกกาวัดปานประสิทธาราม

ศูนย์เรียนรู้ จำหน่าย สาธิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน
บริเวณตลาดน้ำปีกกา วัดปานประสิทธาราม

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ตลาดน้ำปีกกา
กิจกรรมการตักบาตรทางเรือ ทุกเช้าวันเสาร์ ณ ตลาดน้ำปีกกา
สะพานไม้ที่เชื่อมสองจังหวัดคือ จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดฉะเชิงเทรา

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมล่องเรือ

๑. จุดเริ่มต้น ณ ตลาดน้ำปีกกา, สักการะหลวงพ่อปานองค์ใหญ่, ชมสินค้าพื้นบ้าน
๒. ล่องเรือชมบ้านของเก่า พิพิธภัณฑ์ชาวบ้าน แหล่งรวบรวมของเก่า พื้นบ้าน เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ, ชมวิธีการทำปลาสลิดแดดเดียว ณ ชุมชนเกาะมอญ เยี่ยมชมสาธิตการทำปลาสลิดภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชน
๓. ชมบ้านเกษตร (เลี้ยงปลา), ผักปลอดสารพิษ (เก็บผักด้วยตนเอง)
๔. ตักบาตรทางเรือ โดยจัดขึ้นในทุกวันเสาร์ เวลา ๐๖.๓๐ น. บริเวณตลาดน้ำ วัดปานประสิทธาราม (ปีกกา

การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม
ตลาดน้ำปีกกาวัดปาน ประสิทธารามศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
๑. มวยทะเล
๒. ดนตรีไทย

ขนมบ้าบิ่น ขนมไทย และน้ำพริกปลาสลิด

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม