Warning: Constant WP_DEBUG already defined in /home2/cp962929/public_html/jk.tours/wp-config.php on line 41
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช Archives - JK.TOURS

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช วัดศรีฐานปิยาราม จังหวัดเพชรบูรณ์

ที่ตั้ง เลขที่ ๑๕๕ หมู่ที่ ๑๕ ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ๖๗๑๒๐
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ –
๒.ชื่อผู้ประกอบการ พระครูปริยัติพัชรกิจ เจ้าอาวาส วัดศรีฐานปิยาราม
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่าน
เป็นผลิตภัณฑ์ผ้านุ่ง สำหรับสุภาพสตรี โดยเฉพาะชาวไทหล่ม มีลักษณะสามส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น ตีนซิ่น เป็นผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) เหรียญทอง ประจำปี ๒๕๕๙
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ กระเป๋าถือ จากผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่าน
รายละเอียดความโดดเด่น เป็นการนำผ้าซิ่นมาพัฒนา
ต่อยอด โดยตัดเย็บให้เป็นกระเป๋า สำหรับถือ หลากหลายดีไซต์
สำหรับการแต่งกายกับผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่าน
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 2164 9315, 09 2416 2754
๖.ช่องทางออนไลน์
www.facebook.com วัดศรีฐานปิยารามวังบาล

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ชุมชนคุณธรรมเมืองลับแล มีวิถีชีวิตชุมชนที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ทั้งในเรื่องของการตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมในแต่ละชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน การประกอบอาชีพเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นจุดเด่นในการที่จะสร้าง และพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองน่าอยู่เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวนลับแล ผ้าทอลับแล ย่ามลับแล ข้าวแคบ ข้าวพันผัก เส้นขนมจีนทอด และไม้กวาดตองกง เป็นต้น 

ชุมชนคุณธรรมเมืองลับแล ดำรงรักษาวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อยู่อย่างพอเพียงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นไว้อย่างเข้มแข็ง มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีนักเล่าเรื่องของชุมชนเมืองลับแลให้บริการต้อนรับนักท่องเที่ยว มีศิลปะการแสดง รำกลองยาว ของกินพื้นถิ่น ได้แก่ ข้าวแคบ ข้าวพันผัก หมี่พัน เส้นขนมจีนทอด ลอดช่อง และผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวนลับแล ผ้าทอลับแล ย่ามลับแล ข้าวแคบ ข้าวพันผัก เส้นขนมจีนทอด ไม้กวาดตองกง สำหรับซื้อเป็นของฝากจากชุมชนคุณธรรมเมืองลับแล

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช
พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล ตั้งอยู่บริเวณซุ้มประตูเมืองลับแลเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตชองชาวลับแล

ตลาดถนนวันวานเมือง ลับแล
ตั้งอยู่บริเวณถนนวันวานในพื้นที่บริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล ตำบลศรีพนมมาศ เปิดทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น. จนถึง ๒๑.๐๐ น. จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารพื้นบ้าน

วัดม่อนปรางค์
เป็นวัดเก่าแก่ มีวิหาร คาดว่าสร้างในสมัยสุโขทัยตอนปลายอุโบสถ มีใบเสมาทำด้วยหินชนวนอยู่รอบทั้ง 8 ทิศ ผนังเปิดโล่ง ไม่มีหน้าต่าง และไม่มีประตู ตามแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านผสมล้านนา เรียกว่า อุโบสถปัจจันตะประเทศ(อุโบสถชายแดน) มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ มีอายุอยู่ราวกรุงศรีอยุธยาตอนต้น 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวชุมชนเมืองลับแล
เที่ยวชมวิววิถีชีวิตชาวลับแลยามเช้าที่ตลาดสดแวะ ช้อป ชิม และถ่ายภาพเป็นที่ระลึก       
  -ชมวิวทิวทัศน์บริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล และตลาดวันวาน

วิถีชีวิตการทำหอมลับแล
ชมวิถีชีวิตการทำหอมเป็นพืชเศรษฐกิจทำรายได้ให้กับชาวลับแล บรรยากาศยามเช้าที่สวยงามตามธรรมชาติ

อุโมงค์ดอกลีลาวดี
ปั่นจักรยานชมอุโมงค์ดอกลีลาวดี อุโมงค์ดอกไม้ที่สร้างจากธรรมชาติที่มีความ สวยงาม บรรยากาศร่มรื่น ณ บริเวณวัดม่อนปรางค์ อำเภอลับแล

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนหอมเมืองลับแล
สวนเกษตรอินทรีย์การปลูกหอมเมืองลับแลเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับชาวลับแลเป็นส่วนมาก 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การปั่นจักรยานชมวิถีเมืองลับแล เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ลดภาวะโลกร้อน
๑) พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล
๒) วิถีชีวิตตลาดสดยามเช้า
๓) วัดเสาหิน
๔) วัดม่อนปรางค์
๕) วัดป่ายาง
๖) วัดดอนไชย ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๗) ซุ้มลีลาวดี วัดม่อนปรางค์
๘) กลุ่มอาชีพการทำข้าวแคบ
๙) การทำผักดอง
๑๐) การทอผ้าซิ่นตีนจก
๑๑) การทำไม้กวาดตองกง
๑๒) บ้านเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์
-นักท่องเที่ยวได้รับการต้อนรับจากนักเล่าเรื่องของชุมชนนำชมประวัติความเป็นมา และวิถีชีวิตของชาวลับแล นิทรรศการเล่าเรื่องตลาดวันวานและการสาธิตผลิตภัณฑ์ชุมชน ชมทิวทัศน์ รูปปั้นปฏิมากรรมสัญลักษณ์เมืองแม่หม้าย และปั่นจักรยานไปท่องเที่ยวในชุมชน
-ชมบรรยากาศยามเช้าที่ตลาดสดภาพวาดแสดงวิถีชีวิตชาวลับแล
-ชมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน
-ชมซุ้มลีลาวดี วัดม่อนปรางค์ ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
-การสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่นและอาหารพื้นบ้านวัฒนธรรมการกินจากถนนสายวัฒนธรรมกลุ่มอาชีพการทำข้าวแคบ การทำผักดอง สาธิตการ ทอผ้าซิ่นตีนจก สาธิตการทำไม้กวาดตองกง
-ชมวัฒนธรรมบ้านเรือนไทย ๑๐๐ ปี และเชื่อมโยงไปเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดแสนเมืองมา จังหวัดพะเยา

ชุมชนคุณธรรมวัดแสนเมืองมา เป็นชุมชนไทลื้อที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองมาง ในสิบสองปันนา ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมไว้ สิ่งที่ยึดเหนี่ยวให้ชาวไทลื้อปฏิบัติตามจารีตเดิม คือการนับถือผีควบคู่กับพระพุทธศาสนามีการดำรงชีวิตอยู่กันอย่างสงบ เรียบง่าย และร่วมกันอนุรักษ์สืบสานวิถีวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของชาวไทลื้อเมืองมางให้คงอยู่  อาทิ การแต่งกายภาษา เป็นต้น 

ชุมชนคุณธรรมวัดแสนเมืองมาเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น คือ เป็นชุมชนไทลื้อที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองมาง ในสิบสองปันนาที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมไว้ ใช้ภาษาไทลื้อเป็นภาษาสื่อสารในปัจจุบันนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ “แอ่วเฮือนลื้อ แต่งกายชุดลื้อ กินอาหารลื้อ และพูดภาษาลื้อ” ชุมชนมีนักเล่าเรื่องของชุมชนคอยต้อนรับให้ข้อมูลและบริการนำเที่ยวในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง โดยทุกวันพุธแรกของเดือนมีตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง” ชิมอาหารไทลื้อ อาทิ จิ้นซ่ำพริก ปลาปิ้งอบ แอ่งแถะ ถั่วโอ่ (ถั่วเน่า) ชมการแสดงพื้นบ้าน การฟ้อนไทลื้อ การบรรเลงดนตรี “บ้านมางบันเทิงศิลป์” และมีของฝากจากชุมชน อาทิ ข้าวแคบ ข้าวแต๋นซี่ กะละแม ผ้าทอไทลื้อ และที่พักโฮมสเตย์ ในชุมชนไทลื้อใกล้เคียง เพื่อเรียนรู้และสัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วิหารไทลื้อวัดแสนเมืองมา
สร้างตามแบบศิลปะไทลื้อผสมล้านนา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หลังคามุงแป้นเกล็ดไม้งดงาม หน้าบันเป็นไม้แกะสลักรูปเทพพนม บนพื้นสลักลายสวยงาม บันไดทางเข้าเป็นรูปพญานาค ซึ่งมีเขากวางประดับด้วย ประตูด้านข้างทางเข้ามีรูปปั้นสิงห์คู่เฝ้าประตูภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารเป็นฝีมือของช่างพื้นบ้านบอกเล่าถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อ

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดแสนเมืองมา
เป็นพื้นที่จัดแสดงโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทลื้อและชาวล้านนาในอดีตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น รวมทั้งอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอด สร้างสรรค์ภายในพิพิธภัณฑ์แสดงเนื้อหา
แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
1. จัดแสดงภาพพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการเสด็จทรงงานในพื้นที่จังหวัดพะเยา
2.จัดแสดงนิทรรศการองค์ความรู้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
3.เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสนเทศ สืบสาน ถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง”
ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง” เป็นตลาดที่ให้คนในชุมชนนำพืชผักสวนครัว ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว และมีการแสดงดนตรี ศิลปะการแสดงไทลื้อ ทุกวันพุธแรกของเดือน 

เฮือนไทลื้อเมืองมาง
เป็นอาคารเรือนไทลื้อจำลองของชาวไทลื้อเมืองมาง ในอดีตที่แสดงลักษณะและองค์ประกอบของการสร้างเรือนไทลื้อเมืองมางในสิบสองปันนา เพื่ออนุรักษ์ มรดกภูมิปัญญาการสร้างเรือนไทลื้อให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าไปศึกษา  

หอเทวดาหลวงเมืองมาง
ชาวไทลื้อเมืองมางนับถือเทวดาหลวงเมืองมาง คือเจ้าเมืองที่ปกครอง เมืองมางใน อดีตซึ่งชาวเมืองมาง ให้ความเคารพยกย่อง และนับถือวิญญาณของเจ้าเมืองเหล่านั้นให้เป็นเทวดาผู้ดูแลความสงบร่มเย็น และถือเป็นต้นตระกูลของชาวเมืองมางทั้งหมด จะทำพิธีเลี้ยงเทวดาหลวงเมืองมาง ปีละ ๑ ครั้ง เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ความสามัคคีของคนในชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ฐานการเรียนรู้ภายในวัดแสนเมืองมา
กิจกรรมสาธิตและถ่ายทอดภูมิปัญญาในการทำข้าวแคบ ข้าวแต๋นซี่ และกะละแม การตัดตุงไส้หมู ทำของฝากของที่ระลึก พวงกุญแจแม่เหล็กติดตู้เย็น โดยกลุ่มภูมิปัญญาพื้นบ้าน 

นั่งรถราง เพื่อไปเรียนรู้ฐานกิจกรรมในชุมชน

  • ฐานการเรียนรู้ถั่วงอก
  • ฐานการเรียนรู้ภาพวาดวิถีไทลื้อ
  • ฐานการเรียนรู้ถั่วโอ่
  • ฐานการเรียนรู้หอเทวดาหลวงเมืองมาง
    นั่งรถราง ชมความงดงามของชุมชนวัดแสนเมืองมา และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น สวนสุขภาพ 100 ปี จากนั้นร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ภายในชุมชน อาทิ
    -การเพาะถั่วงอก
  • ภาพวาดวิถีไทลื้อ
  • การทำถั่วโอ่ และหอเทวดาหลวงเมืองมางเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของชุมชน


ชมการศิลปะแสดง และชมตลาดชุมชน ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง

ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง” ภายในวัดแสนเมืองมาเป็นพื้นที่ ที่คนในชุมชนนำพืชผักสวนครัว ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาจำหน่าย มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม มีขันโตกแคร่ไม้ไผ่ไว้บริการนักท่องเที่ยว ทุกวันพุธแรกของเดือน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม