“ซแรย์ อทิตยา” จังหวัดสุรินทร์

ที่ตั้ง บริเวณอ่างเก็บน้ำอำปึล ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
๑. ที่มาของชื่อซแรย์อทิตยามาจากภาษาเขมรท้องถิ่นซึ่งแปลได้ว่า “นาของพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ” ที่นี่เกิดขึ้นมาจากความคิดริเริ่มของพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณซึ่งได้ทรงตั้งพระทัยว่าจะให้สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เน้นในเรื่องของการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกันกับพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดชซึ่งในปัจจุบันที่นี่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ “โครงการเกษตรอทิตยาทร” ในส่วนของพื้นที่ภายในนั้นที่นี่มีการจัดแบ่งพื้นที่ไว้เพื่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดวิชาการทางการเกษตรและยังมีอีกหลายจุดที่จัดสรรไว้ให้เป็นพื้นที่พักผ่อนและเยี่ยมชมธรรมชาติที่มากไปกว่านั้นแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ยังมีพื้นที่ส่วนรวมที่คนในชุมชนจากพื้นที่ใกล้เคียงสามารถเข้ามาใช้สอยได้อย่างอิสระได้รับความร่วมมือทั้งจากทางภาครัฐนักปราชญ์ชาวบ้านรวมไปถึงภาคเอกชนที่ต้องการจะมีส่วนร่วมในการสร้างสาธารณประโยชน์
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดรับนักท่องเที่ยวทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
06 2391 5906
๗. ช่องทางออนไลน์
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Page: โครงการเกษตรอทิตยาทร
8. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สวนศรียานครนายก จังหวัดนครนายก

ที่ตั้ง 44/2 หมู่ที่ 6 ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
 ๑. สวนศรียา มีลุงไสว ศรียา เป็นเจ้าของสวนสั่งสมประสบการณ์มากว่า 30 ปี เป็นที่รู้จักของคนวงการเกษตรทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างดี เพราะเป็นผู้จุดประกายความคิดในการปรับแต่งกิ่งก้านให้ต้นไม้ธรรมดาๆ กลายเป็นต้นไม้แฟนซีได้อย่างน่าทึ่ง นอกจากนี้ยังเป็นคนคิดการทำผลไม้ในขวดแก้ว การทำบวบยาวที่สุดและการทำขนุนหกเหลี่ยมจนประสบความสำเร็จ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ไม้ผล สร้างรายได้ใก้แก่การทำเกษตรอย่างเป็นกอบเป็นกำ อีกทั้งเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านวิทยาการเกษตรผู้ที่สนใจ เข้ามาศึกษาดูงานที่สวนศรียาอีกด้วย
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน 09.00-17.00. น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว ( เที่ยวได้ทุกเดือน)
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 3738 4093/08 6320 5358
๖. ช่องทางออนไลน์ –
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น

ที่ตั้ง : 177 หมู่ที่ 5 บ้านนาน้ำซำ ตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น

๑. ศพก. อำเภอภูผาม่าน มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน และ เน้นการทำเกษตรแบบปลอดภัย โดยการใช้ใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี อีกทั้งยังมีภูมิประเทศที่สวยงาม
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา 08.30 – 16.30 น ทุกวัน
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
พฤศจิกายน – ธันวาคม
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 5670 8467 , 08 0401 2111
๖. ช่องทางออนไลน์
เว็ปไซต์ : สำนักงานเกษตรอำเภอภูผาม่าน
phuphaman.khonkaen.doae.go.th
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ไร่นาสวนผสม หาดสวนแก้ว จังหวัดกาฬสินธุ์

ที่ตั้ง บ้านวังมะพลับ หมู่ที่7 ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

๑. เป็นไร่นาสวนผสม มีพื้นที่ติดกับเขื่อนลำปาวตรงกันข้ามกับแหลมโนนวิเศษ มีพื้นที่ประมาณ 60 ไร่ โดยจะปลูกพืชผัก และผลไม้ยืนต้นหลายชนิด ที่ลงมือทำอย่างต่อเนื่อง และตั้งอยู่บนพื้นที่ติดเขื่อนลำปาว จึงทำให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการเกษตร ควบคู่ไปกับการพักผ่อนหย่อนใจ มีกิจกรรมการเรียนรู้ ที่พร้อมทั้งที่พัก ฐานกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เตรียมพร้อมสำหรับกิจกรรมเพื่อสานสัมพันธ์ร่วมกันภายในครอบครัวได้เป็นอย่างดีมีโฮมสเตย์, แค้มป์ไฟ อาหารพื้นบ้านนั่งเรือหางยาวชมวิถีชาวประมงและทิวทัศน์เขื่อนลำปาว
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 16.00 – 22.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว เดือนตุลาคม-เดือนกุมภาพันธ์

๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ -ค่าบริการสถานที่ปิกนิก/ชมสวน ผู้ใหญ่คนละ 40 บาท/ครั้ง(ออกไม่เกิน 22.00น.) เด็กเล็ก ฟรี
-ค่าบริการสถานที่พักแรม/กางเต็นท์ คนละ 80 บาท/คืน
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 5169 1165/09 5662 1379
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook: หาดสวนแก้วแคมป์(สวนตาเข็มทิศ @Suankaew2563
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม