“เจียวกี่ อาหารเช้า” จังหวัดศรีสะเกษ

ที่ตั้ง 489 – 492 วงเวียนแม่ศรีสระเกษ ถนนกลางเมือง ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
๑.ร้านเจียวกี่ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2485 โดยนายเจียวพงษ์ ได้อพยพครอบครัว มาจากจังหวัดอุบลราชธานีมาอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ และเปิดร้านเจียวกี่ขึ้นที่บริเวณวงกลมหลังสถานีรถไฟศรีสะเกษ ซึ่งปัจจุบัน คือ วงเวียนแม่ศรีสระเกศ ต่อมา นายเจียวพงษ์ ได้ย้ายกลับไปอยู่จังหวัดอุบลราชธานีและได้มอบให้ “นายบุ่นเคง แซ่ด่าน” เพื่อนรัก ที่อพยพมาจากประเทศจีนด้วยกัน กับ “นางกิมหลั่น” ภรรยา เป็นผู้ดำเนิน หลังจากนายบุ่นเคงเสียชีวิต “เจ๊อ่าง” บุตรสาว ก็สืบทอดกิจการแทน ทั่งปี พ.ศ. 2527 ร้านเริ่มเสื่อมโทรม จึงสร้างอาคารพาณิชย์ 3 ชั้นขึ้นแทน ดำเนินกิจการ จาก พ.ศ. 2485 มาถึง พ.ศ. 2560 “เจียวกี่” อยู่คู่วงเวียนแม่ศรีฯ มากว่า 70 ปี ปัจจุบันนี้รุ่นหลานของบรรพบุรุษ “เจียวกี่” คือ “คุณเจี๊ยบ – พนิดา ศักดิ์เศรษฐ์” บุตรสาวของ “เจ๊อ่าง” เข้ามาปรับปรุงอาคารสถานที่ ให้คงเอกลักษณ์ความเป็น “เจียวกี่” ดั้งเดิม รักษามาตรฐานคุณภาพและรสชาติอาหารให้อร่อย และเมนูดั้งเดิมสำหรับชาวเมืองศรีสะเกษ มาถึงปัจจุบัน
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่กระทะ น้ำชา กาแฟโบราณ
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน 06.00 น.- 14.00 น. (ของทุกวัน)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม นางพนิดา ศักดิ์เศรษฐ์
0 4596 6898 , 08 1849 4242
๕.ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สวนทุเรียนภูเขาไฟบ้านซำตารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

ที่ตั้ง ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
๑.ทุเรียนภูเขาไฟจังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ในการปลูกทุเรียนเป็นดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เหมาะแก่การเพาะปลูกและเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต ส่งผลให้ได้ผลผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ รสชาติดี ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ (Lava Durain Sisaket) หมายถึงทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์ก้านยาว มีรสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมปานกลาง เนื้อละเอียด แห้ง สีเหลืองสม่ำเสมอทั้งผล ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ซึ่งเป็นเครื่องมือการันตีคุณภาพ ด้วยความที่มีรสชาติ กรอบนอก นุ่มใน และมีกลิ่นฉุนน้อย ถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของทุเรียนภูเขาไฟศรีวสะเกษที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายซึ่งปลูกมากในพื้นที่อำเภอขุนหาญ อำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอศรีรัตนะ
สวนทุเรียนบ้านซำตารมย์ ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ มีหลากหลายสวนให้เลือกซื้อตลอดสองข้างทางจะมีร้านจำหน่ายทุเรียนและผลไม้นานาชนิด เช่น เงาะ ลองกอง มังคุด ฯลฯ อยู่หน้าสวนและนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมภายในสวนทุเรียนได้ และมีจุดเชคอิน มีร้านกาแฟร้านอาหารให้ถ่ายภาพสวยๆเป็นที่ระลึกอีกด้วย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐๙.๐๐ น. – ๑๕.๐๐ น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนมิถุนายน – เดือนสิงหาคม
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ 
ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเข้าสถานที่
๕.เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม
– สวนทศพล เบอร์โทร ๐๘ ๓๗๙๗ ๘๘๕๖
– บ้านสวนวินกะวา เบอร์โทร ๐๘ ๐๐๑๗ ๘๘๗๘
– สวนอิงธาร เบอร์โทร ๐๖ ๔๗๘๙ ๗๑๖๑
๖.ช่องทางออนไลน์
เพจ facebook “สวนทศพล”
เพจ facebook “บ้านสวนวินกะวา สวนทุเรียนภูเขาไฟ & Café อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ”
เพจ facebook “สวนอิงธาร”
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สวนทุเรียนภูเขาไฟ ในตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ที่ตั้ง ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
๑.ทุเรียนภูเขาไฟจังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ในการปลูกทุเรียนเป็นดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เหมาะแก่การเพาะปลูกและเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต ส่งผลให้ได้ผลผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพ รสชาติดี ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ (Lava Durain Sisaket) หมายถึงทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์ก้านยาว มีรสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมปานกลาง เนื้อละเอียด แห้ง สีเหลืองสม่ำเสมอทั้งผล ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ซึ่งเป็นเครื่องมือการันตีคุณภาพ ด้วยความที่มีรสชาติ กรอบนอก นุ่มใน และมีกลิ่นฉุนน้อย ถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของทุเรียนภูเขาไฟศรีวสะเกษที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ซึ่งปลูกมากในพื้นที่อำเภอขุนหาญ อำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอศรีรัตนะ
สวนทุเรียนตำบลพราน อำเภอขุนหาญ มีหลากหลายสวนให้เลือกซื้อตลอดสองข้างทางจะมีร้านจำหน่ายทุเรียนและผลไม้นานาชนิด เช่น เงาะ ลองกอง มังคุด ฯลฯ อยู่หน้าสวนและนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมภายในสวนทุเรียนได้ และมีจุดเชคอิน มีร้านกาแฟร้านอาหารให้ถ่ายภาพสวยๆเป็นที่ระลึกอีกด้วย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐๙.๐๐ น. – ๑๕.๐๐ น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนมิถุนายน – เดือนสิงหาคม
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการเข้าสถานที่
๕.เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม
– สวนลุงเสริม เบอร์โทร ๐๘ ๘๓๔๔ ๘๔๑๑
– สวนแสงสว่าง๒๔๙๙ เบอร์โทร ๐๘ ๕๒๐๖ ๖๖๙๑
– สวนรัชตา เบอร์โทร ๐๙ ๘๑๖๒ ๓๗๓๘
๖.ช่องทางออนไลน์
เพจ facebook “สวนลุงเสริม”
เพจ facebook “สวนแสงสว่าง๒๔๙๙”
เพจ facebook “สวนรัชตา ทุเรียนภูเขาไฟ”
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก / ห้องน้ำ / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสำโรงเกียรติ จังหวัดศรีสะเกษ

ชุมชนคุณธรรมฯ วัดสำโรงเกียรติ ประกอบด้วย บ้านสำโรงเกียรติ หมู่ที่ ๘ และบ้านสำโรงเกียรติใต้ หมู่ที่ ๒๐ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และประกอบอาชีพทำสวน ทำไร่ ทำนา เป็นอาชีพหลัก เลี้ยงสัตว์ปลูกพืชผักสวนครัว เป็นอาชีพเสริม ชุมชนมีการอนุรักษ์ สืบสาน และถ่ายทอดภูมิปัญญา ประเพณี พิธีกรรม และวิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่าเขมร มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ความโดดเด่นของชุมชนที่สร้างรอยยิ้ม และความสุขแก่ผู้มาเยือน

ชุมชนคุณธรรมฯ วัดสำโรงเกียรติ  เดิมเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอกันทรลักษ์ ชื่อตำบลสำโรงเกียรติ ภายหลังถูกยุบไปรวมกับตำบลบักดอง ขึ้นกับอำเภอขุนหาญ เป็นชุมชนเผ่าเขมร ๑ ใน ๔ ชนเผ่าของจังหวัด ศรีสะเกษ ที่มีวัฒนธรรม ประเพณีที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น อัตลักษณ์การแต่งกาย อาหารพื้นถิ่น เช่น ยำแตงโม แกงขนุนอ่อน แกงคั่วหอยขม และแกงไข่ผำ ข้าวต้มด่าง ข้าวต้มโดง ขนมเนียล ขนมก๊อบสกอล ไข่เค็มภูเขาไฟ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสำโรงเกียรติ
สำโรงเกียรติ วัดเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ ของจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันมี พระครูอรุณปุญฺโญภาส เป็นเจ้าอาวาสวัดภายในวัดมีสิ่งเคารพสักการะ คือ “หลวงพ่อพระตาตน” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปแบบขอม ปางสมาธิสะดุ้งมาร ขนาดหน้าตักกว้าง 4 นิ้ว สูง 5 นิ้ว เป็นที่เคารพ ศรัทธาและยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน

ปราสาทหินตำหนักไทร
เป็นโบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวที่ มีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยวรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยอิฐย่อมุมไม้สิบสองบนฐานศิลาทราย ขนาดกว้างยาวประมาณ ๔x๔ เมตร  มีประตูเข้าออกได้ทางเดียว คือ ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นด้านหน้า อีกสามด้านเป็นประตูหลอกสลักเป็นรูปบานประตูลงในเนื้ออิฐ กรอบประตูด้านหน้าสร้างด้วยศิลาทราย ทับหลังเป็นภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ เหนือพระยาอนันตนาคราช ๗ เศียร มีพระชายา คือ พระลักษมี นั่งอยู่หลังพระชงฆ์ และพระพรหม ผุดมาจากพระนาภี สองข้างพระพรหมขนาบด้วยรูปฤาษีและบุคคลนั่งในซุ้มเรือนแก้ว ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

น้ำตกสำโรงเกียรติ
น้ำตกสำโรงเกียรติ เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ  ­๘๑ กิโลเมตร และห่างจากชุมชน ๓ กิโลเมตร อยู่ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ชื่อเดิมของน้ำตกแห่งนี้ออกจะน่ากลัวนิด ๆ กับ “น้ำตกปีศาจ” ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามหน่วยทหารพรานชื่อ “หน่วยปีศาจ” ที่ได้ใช้บริเวณน้ำตกตั้งเป็นฐานที่ตั้งหน่วยปฏิบัติการ จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวพร้อมเปลี่ยนชื่อน้ำตกตามชื่อหมู่บ้านว่า “น้ำตกสำโรงเกียรติ” ในปัจจุบัน

กลุ่มต้นสมพงสี่พี่น้อง
เป็น“รุกข มรดกของแผ่นดิน” อยู่บริเวณ สวนรุกขชาติน้ำตกสำโรงเกียรติ กลุ่มต้นสมพงนี้มีทั้งหมดสี่ต้น อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน  เป็นพันธุ์ไม้เด่นประจำสวนรุกขชาติน้ำตกสำโรงเกียรติ ขนาดลำต้นวัดเส้นรอบวงได้ ๕.๗๗ – ๘.๒๐ เมตร ความสูง ๓๐-๓๕ เมตร อายุมากกว่า ๑๐๐ ปี 

ทุ่งกะบาลกระไบ
ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากชุมชนประมาณ ๑๖ กิโลเมตร เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ มีสถานที่ที่น่าสนใจ เช่น จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่จุดชมวิว “ตะวันทอแสงผาชมพูเขียว” ชมพระอาทิตย์ตกดินที่จุดชมวิว “ตะวันยอแสงช่อง   กะบาลกะไบ

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์ปฏิบัติธรรม ตามรอยพ่อ
เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมของวัดสำโรงเกียรติ ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมท่ามกลางธรรมชาติที่งดงาม และเงียบสงบ และเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยศาสตร์พระราชา การเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายในศูนย์ฯมีการปลูกทุเรียนดินภูเขาไฟ  สวนองุ่น พืชสมุนไพร และพืชผักนานาชนิด

สวนทุเรียนในชุมชน
ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนวัดสำโรงเกียรติ จะประกอบอาชีพหลักคือ การทำสวน ทำไร่ ทำนา โดยเฉพาะสวนผลไม้ สวนทุเรียนดินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของชาวอำเภอขุนหาญ ทำให้ชาวชุมชนมีรายได้  

ไร่เฌอปรี อัศวินคาวบอย
คำว่า เฌอปรี เป็นภาษาถิ่น (เขมร) แปลว่า  “ไม้กับป่า” เป็นพื้นที่มีความหลากหลาย  สภาพป่าสมบูรณ์ ประมาณ ๕ ไร่ เนื้อที่ทั้งหมด  ๒๐ ไร่  มีน้ำลำห้วยตะแบงไหลผ่าน มีหอคอยดูภูมิทัศน์รอบด้าน มีการเลี้ยงม้า แพะ และหมูป่า มีที่นา บ่อปลา โดยมีกิจกรรม ขี่ม้า มีที่กางเต็นท์ กิจกรรมรอบกองไฟ  รับประทานอาหารพื้นบ้าน

ศูนย์เรียนรู้ตามรอยศาสตร์พระราชา โรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ
โรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ และยังเป็นโรงเรียนแกนนำ ขับเคลื่อนในการพัฒนาด้วยพลัง ‘บวร’ “ตามรอยพ่อ อย่างพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ 88 พรรษาพระพันปีหลวง” ประจำปี 2563 โดยใช้หลัก “บวร” บ้าน/วัด/โรงเรียน สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

พิธีบายศรีสู่ขวัญ และร่วมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
นักท่องเที่ยวที่มาเยือนชุมชนวัดสำโรงเกียรติจะได้เข้าร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อเรียกขวัญและสิ่งดี ๆ และความเป็นสิริมงคลแก่ผู้มาเยือน ตลอดทั้งร่วมการแสดงศิลปวัฒนธรรม เช่น รำสามเผ่าขุนหาญ , รำมะม้วด , รำปังอ๊อกเปรี๊ยะแค

ร่วมชมและร่วมกิจกรรมการสาธิตตามฐานการเรียนรู้
ร่วมชมและร่วมกิจกรรมการสาธิตตามฐานการเรียนรู้ เช่น ทอผ้า การทำอาหาร/ขนมพื้นบ้าน/ทำไม้กวาดทางมะพร้าว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม