ชุมชนคุณธรรมบ้านนาตัง

ชื่อร้าน รุ่งเรืองเครื่องประดับทองเหลือง ที่ตั้ง ๖๙ หมู่ที่ ๘ บ้านนาตัง ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
๑. ชื่อแบรนด์ รุ่งเรืองเครื่องประดับ
๒. ชื่อผู้ประกอบการ นายรุ่งเรือง พิศโสระ
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ชื่อผลิตภัณฑ์ เครื่องประดับทองเหลือง
อำเภอเขวาสินรินทร์มีชื่อเสียงด้านการทำเครื่องประดับ นอกจากเครื่องประดับเงินแล้ว ยังมีชื่อเสียงในการทำเครื่องประดับทองเหลือง โดยกลุ่มหัตถกรรมเครื่องประดับทองเหลืองของบ้านนาตัง ก่อตั้งโดยกลุ่มชาวบ้าน บ้านนาตัง อำเภอเขวาสินรินทร์ และดำเนินงานมากว่าสิบปีแล้ว ปัจจุบันมีสามาชิกกลุ่มประมาณ 40 คน และเน้นผลิตเครื่องประดับทองเหลืองคราวละมาก ๆ ตามที่ลูกค้าสั่ง โดยมีลูกค้าจากในประเทศคือกรุงเทพฯ นครราชสีมา และกาญจนบุรี และลูกค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและกัมพูชา และยังได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากกระแสละครและการแต่งกายย้อนยุคในงานต่างๆทั่วประเทศที่ผ่านมา การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลืองจึงเป็นลักษณะการคงความเป็นเครื่องประดับโบราณไว้ แล้วพัฒนาโลโก้สินค้า และบรรจุภัณฑ์ ให้เพิ่มคุณค่าของตัวผลิตภัณฑ์ และเก็บรักษาเครื่องประดับเป็นของตกแต่ง ประดับโชว์ในบ้านได้อีกด้วย
๔. วัน เวลา ช่วงเวลา ปิด เปิด ของสถานที่
๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 8185 7618
๖. ช่องทางออนไลน์
เพจ Facebook รุ่งเรือง พิศโสระ , เพจ CPOTSHOP

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สวนลุงกำนัน/ สวนลุงกำนันวิเชียร จังหวัดสุรินทร์

ที่ตั้ง ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

๑. สวนลุงกำนัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งเป็นการทำทำเกษตรแบบผสมผสาน พืชไม้ผล พืชเศรษฐกิจ เลี้ยงวัว เลี้ยงปลาดุก ปลานิล ใช้น้ำจากการขุดบ่อบาดาล และเป็นที่ขยายกิ่งพันธ์ ไม้ผลพระราชทานในโครงการ”เพื่อนช่วยเพื่อน” สนับสนุนโครงการ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สวนลุงกำนันปลูกต้นทุเรียนเจ้าแรกของ อำเภอศีขรภูมิ โดยซึ่งสามารถปลูกทุเรียนในพื้นที่นาของตนได้สำเร็จ ได้ผลผลิตจำนวนมาก อกจากนี้ในพื้นที่ของสวนลุงกำนันวิเชียร ยังมีพืชไม้ผลอีกหลากหลายชนิด อาทิ เงาะ ฝรั่ง ขนุน น้อยหน่า มะพร้าว และมะม่วงกว่า 20 สายพันธุ์
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดรับนักท่องเที่ยวทุกวัน เวลา 06.00 – 18.00 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 1771 4805
๗.ช่องทางออนไลน์ –
8.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

“ซแรย์ อทิตยา” จังหวัดสุรินทร์

ที่ตั้ง บริเวณอ่างเก็บน้ำอำปึล ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
๑. ที่มาของชื่อซแรย์อทิตยามาจากภาษาเขมรท้องถิ่นซึ่งแปลได้ว่า “นาของพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ” ที่นี่เกิดขึ้นมาจากความคิดริเริ่มของพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณซึ่งได้ทรงตั้งพระทัยว่าจะให้สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เน้นในเรื่องของการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกันกับพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดชซึ่งในปัจจุบันที่นี่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ “โครงการเกษตรอทิตยาทร” ในส่วนของพื้นที่ภายในนั้นที่นี่มีการจัดแบ่งพื้นที่ไว้เพื่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดวิชาการทางการเกษตรและยังมีอีกหลายจุดที่จัดสรรไว้ให้เป็นพื้นที่พักผ่อนและเยี่ยมชมธรรมชาติที่มากไปกว่านั้นแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ยังมีพื้นที่ส่วนรวมที่คนในชุมชนจากพื้นที่ใกล้เคียงสามารถเข้ามาใช้สอยได้อย่างอิสระได้รับความร่วมมือทั้งจากทางภาครัฐนักปราชญ์ชาวบ้านรวมไปถึงภาคเอกชนที่ต้องการจะมีส่วนร่วมในการสร้างสาธารณประโยชน์
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดรับนักท่องเที่ยวทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
06 2391 5906
๗. ช่องทางออนไลน์
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Page: โครงการเกษตรอทิตยาทร
8. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วังทะลุ จังหวัดสุรินทร์

ที่ตั้ง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

๑. วังทะลุห่างจากหมู่บ้านช้างเพียง 3 กิโลเมตรที่นี่เป็นบริเวณที่แม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกันที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานีในอดีตเป็นสถานที่สำคัญที่เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธี “บวชนาคช้าง” ของชาวบ้านตากลางและหมู่บ้านใกล้เคียง แม้ในปัจจุบันจะเลิกใช้“วังทะลุ”ประกอบพิธีกรรมดังกล่าวแล้ว แต่ด้วยบริเวณ “วังทะลุ” ยังมีความอุดมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอีกทั้งยังเป็นที่อาบน้ำของช้างในหมู่บ้านยามเย็นท่ามกลางสายน้ำที่แวดล้อมไปด้วยป่าที่กว้างใหญ่ไพศาลก่อให้เกิดเป็นทัศนียภาพที่งดงามซึ่งหาชมได้ยาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดรับนักท่องเที่ยวทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
– ชมช้างอาบน้ำ
– ให้อาหารช้าง
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม-
๗. ช่องทางออนไลน์-

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาลหลักเมืองสุรินทร์

ที่ตั้ง ถนนเทศบาล 3 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
๑. ศาลหลักเมืองสุรินทร์เดิมเป็นศาลที่ยังไม่มีเสาหลักเมือง แต่มีความศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่วไปมาเป็นเวลานานนับ 100 ปี พ.ศ. 2511 จังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการขอให้กรมศิลปากรออกแบบแปลนก่อสร้างตัวศาลหลักเมืองเสาหลักเมือง ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ มีความสูง 3 เมตรวัดรอบได้ 1 เมตรแกะสลักตกแต่งด้วยเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากร ต่อมาวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธี เจิมเสาหลักเมือง ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ต่อมาจังหวัดสุรินทร์ได้มีการบูรณะปรับปรุงรูปแบบศาลหลักเมืองโดยการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบเขมรและศิลปะแบบไทยเข้าด้วยกัน ทำให้ศาลหลักเมืองมีความสวยงามและใหญ่โตอลังการ ในอดีตเคยมีเหตุการณ์มหัศจรรย์เกิดขึ้นที่บริเวณศาลหลักเมืองเมื่อเกิดรอยแยกบนพื้นถนนทำให้มีการขุดลงไปพบพระพุทธรูปนาคปรกและวัตถุโบราณ เช่น พระเครื่องดินเผาและกำไลโบราณจำนวนมาก รวมถึงเครื่องปั้นภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุราว 1,500 – 2,000 ปี ชาวบ้านจึงได้นำไปบูชาที่ศาลหลักเมือง
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดรับนักท่องเที่ยวทุกวัน
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 4451 1117 (เทศบาลเมืองสุรินทร์)
๕. ช่องทางออนไลน์ –
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก – 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์

ที่ตั้ง ถนนจิตรบำรุง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

๑. วัดบูรพาราม นับเป็นวัดสำคัญของเมืองสุรินทร์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ใกล้เคียงกับอายุของเมืองสุรินทร์ สร้างโดย พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์ จางวาง (ปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรกต่อมาใน ปี พ.ศ. 2476 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าคณะมณฑล ได้ตั้งให้วัดบูรพารามเป็นวัดในสังกัดคณะธรรมยุตแห่งแรกของสุรินทร์ และได้นิมนต์พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) พระสงฆ์สายปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน ให้มาประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และร่วมเป็นคณะพระสังฆาธิการ
ภายในวัดบูรพาราม เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพระชีว์ (หลวงพ่อประจี) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของสุรินทร์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม ประดิษฐานอยู่ในมณฑปจัตุรมุข นับเป็นปูชนียวัตถุที่ชาวสุรินทร์เคารพบูชาอย่างมาก
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดรับนักท่องเที่ยวทุกวัน
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 4451 4447
๕.ช่องทางออนไลน์-
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ /ทางลาด /ที่จอดรถ /ศูนย์บริการนักท่อง เที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองบัว จังหวัดสุรินทร์

บ้านหนองบัว มีหนองน้ำขนาดใหญ่มี เนื้อที่จำนวน 24 ไร่ อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านในหนองน้ำมีบัวหลวงขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองบัว” สภาพหมู่บ้านถนนเป็นทางเกวียนถนนดิน เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2498 ประมาณ 50 กว่าปีมาแล้ว

บ้านหนองบัว เป็นชุมชนชาวส่วย หรือ กูย หรือ กวย ชาวกูยมีภาษาพูดเป็นของตนเอง จัดอยู่กลุ่มภาษาตระกูลมอญ เขมร ไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง สถานที่ตั้งชุมชน เดิมชื่อ “วังทะลุ”เป็นบริเวณที่แม่น้ำมูลและแม่น้ำชีมาบรรจบกัน มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ และมีทำเลเหมาะ ในการทำการเกษตร ชาวกวยมีความเชี่ยวชาญในการ “คล้องช้าง”มีวิถีชีวิตผูกพันกับช้าง  ประเพณี วิถีชีวิต วัฒนธรรม จึงมีช้างเข้ามาเกี่ยวข้องในทุก ๆ กิจกรรม

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดป่าอาเจียง
ศาสนสถานที่ร่วมอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวกวยเลี้ยงช้าง

ศูนย์คชศึกษา
ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ เป็นศูนย์รวมของสมาชิกช้างทั้งในบ้านกะโพ ตากลาง และจากหมูบ้านอื่น ๆ ในจังหวัดสุรินทร์มากกว่า 200 ตัว 

คชอาณาจักร
คชอาณาจักร ก่อสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือช้างเร่ร่อนที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน พระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดให้มีการดูแลและอนุรักษ์พันธุ์ช้างไทยเนื่องจากช้างเป็นสัตว์สำคัญ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

วังทะลุ
เป็นบริเวณที่แม่น้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำมูล กับ ลำน้ำชี ในเขตพื้นที่ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และเป็นจุดที่สำคัญในการชมช้างอาบน้ำของนักท่องเที่ยว

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ทุ่งนารอบชุมชน
ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านหนองบัว เนื่องจากมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับช้าง ชาวบ้านจะใช้พื้นที่ในการปลูกหญ้า  ให้ช้าง นอกจากนี้ชาวบ้านจะมีอาชีพทำนา เสริมด้วยการเลี้ยงปศุสัตว์ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และเน้นการปลูกผัก สวนครัว รั่วกินได้ เป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในแต่ละครัวเรือน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน)
บุญเหลือโฮมสเตย์ เป็นโฮมสเตย์ในบ้านหนองบัว สามารถทำกิจกรรม ได้ดังนี้
1. ร่วมกิจกรรมทำอาหารและขนมพื้นบ้าน
2. ให้อาหารช้างบุญเหลือ
3. ตักบาตรร่วมกับช้างแสนรู้

งานประดิษฐ์ /งานฝีมือ
โฮมสเตย์ : โฮมวรรณา เป็นโฮมสเตย์ในบ้านหนองบัว สามารถทำกิจกรรม ได้ดังนี้
 -ร่วมกิจกรรมทำผลิตภัณฑ์จากหางช้าง

เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมกับช้าง
วัดป่าอาเจียง วัดป่าอาเจียง เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตคนกับช้าง ตลอดทั้งช้างกับพระพุทธศาสนา ดังนี้
1. สุสานช้างหนึ่งเดียวในโลก
2. ศาลประกำ
3. ศาลาเอราวัณ
4. พิพิธภัณฑ์ชาวกวย
5. เป็นโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อไว้สำหรับทอผ้า
6. การผลิตกระดาษสาจากขี้ช้าง
7. การทำกระถางจากขี้ช้าง

การชมความงดงามทางธรรมชาติ
สระหนองบัว สามารถร่วมกิจกรรมดังนี้
1. กิจกรรมถ่ายภาพกับช้าง ณ ต้นก้ามปูริมสระหนองบัว
2.นั่งช้างชมเส้นทางธรรมชาติชมวิวป่าทาม  ลามแม่น้ำชี – มูล

ปั่นจักรยาน
บริเวณชุมชนบ้านหนองบัว ชมวิถีชีวิตคนกับช้างในชุมชน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านภูมิโปน จังหวัดสุรินทร์

เป็นชุมชนที่มีปราสาทเก่าแก่ที่มีอารยธรรมของ “ขอม” บริเวณปราสาทปรากฏร่องรอยการทำชลประทานในสมัยโบราณ คือ มีน้ำสองชั้น เป็นลักษณะคันดินล้อมรอบน้ำ และรอบคันดิน ซึ่งเป็นภูมิศาสตร์ที่หลงเหลือไว้ให้เห็น คำว่า “ภูมิโปน” มาจากภาษาเขมร “ปูม” ซึ่งแปลว่าแผ่นดินหรือสถานที่ และ คำว่า “โปน” มาจากคำว่า “ปูน” แปลว่าหลบซ่อน จากความหมายของชื่อก็มีความสัมพันธ์กับตำนานท้องถิ่น ที่เกี่ยวกับปราสาทแห่งนี้คือ ตำนานเรื่อง “เนียงด็อฮธม” ซึ่งแปลว่า “นางนมใหญ่” 

ชุมชนคุณธรรมบ้านภูมิโปน ผู้คนมีความโอบอ้อมอารี พร้อมทั้งยินดีต้อนรับผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมเยือนภายในชุมชนด้วยความเป็นมิตรตลอดเวลา ชุมชนมีอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ชาวไทยเชื้อสายเขมรที่แสดงออกมาอย่างเด่นชัด ทั้งเรื่องการแต่งกาย ภาษา อาหาร การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ปราสาท ภูมิโปน
ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วย โบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้าง อย่างน้อย 2 สมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่ และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาท แบบศิลปะเขมร ที่มีอายุเก่าที่สุด ในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13
ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็ก ที่ตั้งตรงกลาง และปราสาทที่มีฐานศิลาแลง ด้านทิศใต้นั้น สร้างขึ้นในสมัย หลังปราสาทภูมิโปน คงจะสร้างขึ้น เป็นศาสนสถาน ในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน แม้จะไม่พบ รูปเคารพ ซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์ อยู่ภายในองค์ปรางค์แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ ยังมีท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนต์ ที่ต่อออกมา จากแท่นฐานรูปเคารพ ในห้องกลาง ติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง

พิพิธภัณฑ์โรงเรียนดมวิทยาคาร
พิพิธภัณฑ์โรงเรียนดม วิทยาคาร จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและผู้ที่สนใจด้านประวัติศาสตร์โดยได้รับการสนับสนุนจากชุมชนในบริเวณใกล้เคียง เช่น บ้านภูมิโปน บ้านดม ในการบริจาควัตถุสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดแสดง

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สระน้ำโบราณ
เป็นลักษณะคูกำแพงเมือง เขื่อนดินโบราณ และสระน้ำ โดยเฉพาะน้ำเป็นระบบชลประทานที่ถูกออกแบบมา มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สระลำเจียก สระตา สระกนาล สระตราว และสระปรือ 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

โครงการเศรษฐกิจพอเพียงสวนมะนาว คุณสุจิน ยวนจิต
เป็นสวนมะนาวที่ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ซึ่งเป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่ต้องการให้มะนาวสามารถออกลูกนอกฤดู และง่ายต่อการจัดการ เนื่องจากการปลูกในบ่อซีเมนต์สามารถปลูกให้มีขนาดทรงพุ่มเท่ากับการปลูก ใน แปลงดินได้ และง่ายต่อการงดน้ำ   เพื่อบังคับให้ออกลูก นอกฤดู

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญ
ลานวัฒนธรรม ปราสาทภูมิโปน เป็นกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญแบบพื้นบ้าน โดยใช้บายศรี ข้าวตอก

ร่วมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม เช่น เรือมอันเร
ลานวัฒนธรรม ปราสาทภูมิโปน   เรือม แปลว่า “รำ” ลู้ด แปลว่า “กระโดดหรือเต้น” อันเร แปลว่า “สาก” ฉะนั้นคำว่า เรือมอันเร หรือ ลู้ดอันเร แปลว่า “รำสาก” หรือ “เต้นสาก” เรือมอันเรหรือ ลูดอันเร เป็นการละเล่นของชาวไทยเชื้อสายเขมรจังหวัดสุรินทร์ที่เล่นกันในเดือนห้า(แคแจด) ซึ่งถือเป็นวันพักผ่อนประจำปี

ปั่นจักรยาน/ นั่งรถซาเล้ง
บริเวณชุมชนบ้านภูมิโปน กิจกรรมปั่นจักรยาน/นั่งรถซาเล้ง ตามเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน

ร่วมรับประกอบอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน)
ลานวัฒนธรรม ปราสาทภูมิโปน /สุจินโฮมสเตย์ ร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้านอันแสนอร่อย กบยัดไส้ ไก่อบสมุนไพร น้ำพริกแคบหมู ขนมปะการันเจก ขนมเนียล

งานฝีมือ/งานประดิษฐ์
ฐานการเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์   ผ้าไหม ณ บ้าน นาง รัตติยา จินดาวงษ์ รวมทำงานฝีมือ /งานประดิษฐ์ เช่น การปักกระเป๋าใส่แก้ว
ฐานการเรียนรู้งานจักสาน การสานตั๊กแตนจากใบลาน ใบมะพร้าว และสามารถนำกลับไปเป็นของฝากได้

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะแก้วพัฒนา จังหวัดสุรินทร์

เป็นชุมชนที่มี 3 ชาติพันธุ์ ลาว กูย(ส่วย) เขมร มาอยู่ร่วมกัน  อย่างสันติ และยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ทั้ง 3 ชาติพันธุ์ไว้อย่างเหนียวแน่น มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ลำห้วยทับทันที่เชื่อมต่อจากจังหวัดศรีสะเกษ ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชนบ้านเกาะแก้วพัฒนา 

มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น รำแกลมอ หรือการรำผีฟ้าของชาวลาว การรำแม่มดของชาวเขมร และรำสามเผ่า ประกอบด้วย เขมร กูย (ส่วย) ลาว  และรำสาวไหมชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะแก้วพัฒนา  มีผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นคือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปเสื่อกก และมีอาหารพื้นถิ่นรองรับการบริการนักท่องเที่ยว อาทิ แปรรูปน้ำพริก ข้าวต้มใบมะพร้าว  ขนมเทียนสมุนไพร ไข่เค็มผู้พัน 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดเกาะแก้ว
วัดเกาะแก้ว เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งวัดเกาะแก้วเป็นศูนย์รวมจิตใจ รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว
อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว สร้างโดยกรมชลประทาน เมื่อปี พ.ศ. 2530 มีเนื้อที่ทั้งหมด 6.50 ตารางกิโลเมตร (246.15 ไร่) พื้นที่การจัดเก็บน้ำ 5,000,000 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้วถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและเงียบสงบ มีภูมิทัศน์สวยงาม มีความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

โครงการ ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน
เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมา จากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

ฐานการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์
เป็นการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี และนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลของสินค้า

กิจกรรมการท่องเที่ยว

อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว
อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว สร้างโดยกรมชลประทาน เมื่อปี พ.ศ. 2530 มีเนื้อที่ทั้งหมด 6.50 ตารางกิโลเมตร (246.15 ไร่) มีน้ำตลอดทั้งปี อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้วถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและเงียบสงบ มีภูมิทัศน์สวยงาม มีความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ

โครงการ ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน
เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมา จากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

ฐานการเรียนรู้การทอเสื่อกก
ได้เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบตัว และ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย มีการนำเส้นกกมาทอเป็นของใช้ในครัวเรือน 

ฐานการเรียนรู้ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว
เรียนรู้การห่อขนมต้มด้วยใบมะพร้าว ซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของชุมชน

ฐานการเรียนรู้การทำไข่เค็มสมุนไพร, ดินสอพอง
เรียนรู้การทำไข่เค็มสมุนไพร และชมเกษตรอินทรีย์

ล่องเรือชมป่าชุมชน ลำห้วยทับทัน
ล่องเรือชมป่าชุมชน ลำห้วยทับทัน ชมอีกาบินกลับรัง

ปั่นจักรยานในป่าชุมชน 182 ไร่
ปั่นจักรยานในป่าชุมชน 182 ไร่ ประกอบไปด้วย
– ป่าเห็ด
– ป่าต้นพยูง
– ป่าต้นพะยอม
– ป่าต้นมะดัน
– ป่าต้นกันเกรา

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม