โรงแรมฝ้ายขิด

ที่ตั้ง ๔๔๙ หมู่ที่ ๑๒ ซอยสำราญราษฎร์ ถนนอรุณประเสริฐ ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
๑. ประเภทของที่พัก โรงแรม
๒. จำนวนห้อง 61 ห้อง
๓. ประเภทห้องพัก/ราคา 450-1200
ห้องพัก Standard 500 บาท/Superior 600 บาท/Deluxe 800 บาท/Suit 1,200 บาท
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
ฟรี Wi-Fi ทุกห้อง, ระบบความปลอดภัย 24 ชั่วโมง,
แผนกต้อนรับ 24 ชั่วโมง, Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ ฟรี Wi-Fi ทุกห้อง, ระบบความปลอดภัย 24 ชั่วโมง, แผนกต้อนรับ 24 ชั่วโมง, Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๔๕๕๑ ๑๒๒๒
๖. ช่องทางออนไลน์
โรงแรมฝ้ายขิดอำนาจเจริญ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้ สาธิตการทอเสื่อกก จังหวัดอำนาจเจริญ

ที่ตั้งวัดบูรพา บ้านนาหมอม้า ตำบลนาหมอม้า อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
1. ด้วยวิถีชีวิตที่ผูกพันกับการทอเสื่อมาตั้งแต่อดีต และสืบทอดต่อมากันจนถึงปัจจุบัน ทำให้หมู่บ้านนาหมอม้าเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการผลิตเสื่อกก โดยเฉพาะลายมัดหมี่ โดยนำผลิตภัณฑ์เสื่อกกลายมัดหมี่ มาแปรรูป เช่น เสื่อพับ หมอน ที่รองแก้ว ที่รองจาน กระเป๋า กล่องใส่ทิชชู่ กล่องใส่ไม้จิ้มฟัน เป็นต้น
๒. ชื่อผู้ประกอบการ
นางนิ่ม นวลขาว
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ เสื่อกก ลวดลายต่าง ๆ
๓.๒ กระเป๋า ชนิดต่าง ๆ
๓.๓ รองเท้า ชนิดต่าง ๆ
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา 08.00 – 17.00 น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นางนิ่ม นวลขาว ภูมิปัญญาเสื่อกก
เบอร์โทรศัพท์ 08 7879 3978
เว็บไซต์/เฟซบุ๊ก ฯลฯ Website
บ้านนาหมอม้า https://www.tourismlocallife.com/1842

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านลาบไก่ จังหวัดอำนาจเจริญ

ที่ตั้ง 186 หมู่ที่ ๑ ถนนชยางกูร ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
๑. ร้านลาบไก่ เป็นร้านอาหารเพียงไม่กี่ร้านในจังหวัดอำนาจเจริญ ที่มีห้อง จัดเลี้ยงและห้องคาราโอเกะ รวมทั้งบริเวณที่เป็นซุ้มนั่งเป็นส่วนสัด อาหารมีหลายประเภท ทั้งอิสานและอาหารทั่วไปที่นิยมมักเป็นอาหารอิสาน ปลาดุกตัวเล็กทอดกรอบ ลาบเป็ด ต้มยำปลาคัง ราคาไม่แพง
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 ลาบเป็ด ลาบไก่
2.2 ต้มไก่ใบมะขามปลาแดดเดียว
2.3 ปลาดุกทอด
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เวลา 10.00 – 21.00 น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 1470 6384
0 4554 1235
๕. ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สวนวิมานดิน จังหวัดอำนาจเจริญ

ที่ตั้งบ้านปลาค้าว เลขที่ 28 หมู่ที่ 3 ถนน ตำบลปลาค้าว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
๑.สวนวิมานดินเกษตรอินทรีย์ เป็นแหล่งรวบรวมพืชผลเกษตรอินทรีย์ และภูมิปัญญาด้านการเพาะเมล็ดพันธ์พืชและพืชเกษตรอินทรีย์
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.30 – 17.00น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
นายสมาน ต้นจันทน์ ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลปลาค้าว
09 4307 9152
๖.ช่องทางออนไลน์-
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เขาคีรีวงกรต จังหวัดอำนาจเจริญ

ที่ตั้ง ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
๑. วัดเขาคีรีวงกต ตั้งอยู่ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นวัดตั้งอยู่เทือกเขาภูมะโรง มีหินภูเขาสลับซับซ้อน มีทางเดินวกไปเวียนมารอบภูเขาเพราะร่องรอยน้ำเซาะ ถ้าเป็นฤดูฝนจะมีน้ำไหลตลอดเวลา น้ำไหลลัดเลาะไปตามซอกหิน ลอดถ้ำไปทะลุภูเขาอีกฟากหนึ่ง เมื่อหมดฤดูฝนน้ำก็จะแห้งกลายเป็นทางเดินให้ผู้คน นักท่องเที่ยวได้เข้าไปสัมผัส กลายเป็นเขาคีรีวงกต สถานที่ท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติอย่างน่าทึ่งอีกแห่งของอำเภอชานุมาน ว่ากันว่าสมัยก่อนมีชาวบ้านเข้าไปหาของป่า พลัดลงเข้าไปในเขาคีรีวงกต เดินหาทางออกกลับบ้านไม่เจอเป็นเวลา 3 วัน จนปัญญาที่จะหาทางกลับบ้านจึงต้องจุดไฟเป็นควันไฟ ส่งสัญญาณให้เพื่อนบ้านรู้จุดที่อยู่ และเพื่อนบ้านเข้ามาช่วย จึงสามารถออกจากเขาวงกตได้โดยปลอดภัย
ปัจจุบันนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติที่ขึ้นชื่ออีกแห่งของอำเภอชานุมาน หากเดินเข้าไปในเขาวงกตก็ไม่หลงทางอีกแล้ว เพราะมีป้ายบอกทางเข้าออกอย่างชัดเจน ท่ามกลางป่าไม้ นานาพันธุ์ สงบร่มรื่น พร้อมเสียงนกกา จิ้งหรีด ขับบรรเลงเพลง น่าฟังอย่างไพเราะระหว่างที่ท่องในเขาวงกต ก็จะทำให้สนุกตื่นเต้น เพลิดเพลินไปอีกแบบ ที่สำคัญก่อนเข้าทางเดินเขาคีรีวงกตควรกราบขอพรหลวงพ่อบรรพตพิทักษ์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางเข้าเขาคีรีวงกต เพื่อให้ปลอดภัยระหว่างเที่ยวชมเขาคีรีวงกต
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ไม่กำหนดช่วงเวลา
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
พฤศจิกายน – มิถุนายน
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ชมแหล่งโบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นายผางทอง แสงนันท์ ประธานชุมชนคุณธรรมบ้านคำเดือย
09 2627 5855
๗. ช่องทางออนไลน์-
8.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดภูพนมดี จังหวัดอำนาจเจริญ

ที่ตั้ง ตำบลหนองไฮ อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
๑. ปี พ.ศ.2542 พระอาจารย์ปัญญา เจ้าอาวาสองค์แรก ร่วมกับชาวบ้าน ก่อสร้างเจดีย์ ทำจากหินภูเขาสีขาว ที่ชาวบ้าน คัดแยก ขนาด ตามต้องการ ติดกับโครงสร้างรูปร่างเจดีย์ นับพัน นับล้านก้อน กลายเป็นรูปร่างเจดีย์หินพันล้านก้อน มีความสูง 30 เมตร ฐานกว้าง 20 เมตร ซึ่งภายในเจดีย์ เป็นที่สำหรับปฏิบัติธรรม ประกอบพิธีทางศาสนา และยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและรูปหล่อพระเกจิอาจารย์ชั้นนำ ที่มรณภาพไปแล้ว เช่น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ชา เป็นต้น และภาพเขียนประวัติพระพุทธเจ้าอย่างสวยงาม อย่างที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ไม่กำหนดช่วงเวลา
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
พฤศจิกายน – มิถุนายน
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ชมแหล่งโบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ 0 4555 0589
ที่ทำการกำนันตำบลหนองไฮ นายสมสมัย อุณาภาค
08 5269 1519
๗. ช่องทางออนไลน์ –
8.สิ่งอำนวยความสะดวก 
ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดอำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

ที่ตั้ง บ้านอำนาจ ตำบลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ
๑. พระเจ้าใหญ่ลือชัย หรือพระฤทธิ์ลือชัย ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ วัดอำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ก่อด้วยอิฐ ถือปูน ลงรักปิดทองเป็นศิลปะ ล้านช้าง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ด้วยบริเวณวัดอำนาจ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่ลือชัยนั้น มีลักษณะเป็นชุมชนเก่าแก่ และเป็นที่ตั้งเมืองอำนาจเจริญมาก่อน จึงมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์และปาฏิหาริย์ของพระเจ้าใหญ่ลือชัยมากมาย จากผู้คนที่มากราบไหว้บูชาแล้วประสบความเจริญรุ่งเรือง มีชื่อเสียงเลื่องลือ ความเชื่อถือและศรัทธา คนโบราณเล่าลือกันว่าใครที่ได้มากราบไหว้ ขอพรจะได้รับความสำเร็จ ได้รับชัยชนะจากศัตรูหมู่มารมีอำนาจบารมีเป็นที่ ยำเกรง ชีวิตผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคนานาประการได้อย่างน่าอัศจรรย์
ศาลเจ้าปู่ลือชัย ตามความเชื่อและศรัทธา เนื่องจากบริเวณที่ตั้งวัดอำนาจ เป็นชุมชนโบราณ เป็นที่ตั้งศาลเจ้าปู่และเป็นที่ตั้งเมืองอำนาจเจริญมาก่อน จึงมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์และปาฏิหาริย์มากมาย เช่น “ผีจ้างหมอลำ
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ไม่มีกำหนด
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ –
พระครูสิริสีลวัตร รองเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านคำเดือย จังหวัดอำนาจเจริญ

บ้านคำเดือย แต่ดั้งเดิมเป็นชาวผู้ไท ที่อพยพมาจากเมืองเซโปน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งอพยพมาถึงพื้นที่นี้ เป็นที่ราบลุ่ม มีลำห้วยสายหนึ่งชื่อ “ลำห้วยน้ำคำ”และมีป่าไม้นานาพรรณ มีไม้ไผ่ขึ้นอยู่หนาแน่น ที่สำคัญคือ มีต้นลูกเดือยเป็นจำนวนมาก เห็นว่าพื้นที่เหมาะสมจึงตั้งหลักปักฐาน และจัดตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2398  และตั้งชื่อเป็นหมู่บ้าน “คำเดือย” ตามชื่อของลำห้วยและต้นลูกเดือยและเรียกขานเป็นชาวผู้ไท เซโปน

ชาวหมู่บ้านคำเดือย คือ ภาษาพูดแบบผู้ไท เซโปน การแต่งกายหญิงจะนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ และเสื้อย้อมคราม มีสไบสีขาวเป็นเอกลักษณ์ ชายจะนุ่งโสร่ง ใส่เสื้อย้อมคราม ชาวผู้ไท เซโปน ได้ร่วมกันรักษาขนบประเพณีสืบต่อกันอย่างยาวนาน  วิถีวัฒนธรรมที่ดีงามบ้านคำเดือย จึงมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว    ไม่ว่าจะเป็นภาษา การแต่งกาย อาหารการกินที่เป็นแบบฉบับของชาวภูไท 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้าน ภูไทบ้านคำเดือย
ศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้านภูไทบ้านคำเดือย เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ พื้นที่ 18 ไร่ โดยประมาณ ดูแลโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคำเขื่อนแก้ว พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในการจัดงานบุญประเพณี ของบ้านคำเดือย โดยมีแหล่งน้ำ แปลงสาธิตเกษตรผสมผสาน ห้องน้ำสาธารณะ และโฮมสเตย์ 

วัดศรีมงคล เป็นแหล่งโบราณสถานรวบรวมองค์ความรู้มูลมังอิสาน ของผู้คนในชุมชน โดยมีพระมหาทินกร อิสสโร เป็นเจ้าอาวาส

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ภูคำเดือย ภูคำเดือย ห่างจากบ้านคำเดือย ประมาณ 3 กิโลเมตร ปกคลุมด้วยป่าไม้เต็งรังและป่าไม้เบญจพรรณ มีสถานที่สำหรับชมทิวทัศน์ และถ้ำ อันสวยงาม บรรยากาศร่มรื่น เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ โดยมีลานหินกว้างในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้บานตามลานหิน เช่น ดุสิตา กระดุมเงิน กระดุมทอง ในบริเวณภูคำเดือยมีจุดท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น ถ้ำมีพระพุทธรูปอยู่ภายในถ้ำและเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้าน ภูไทบ้านคำเดือย
การเกษตรผสมผสาน (เกษตรทฤษฎีใหม่) มีแหล่งน้ำสำหรับเลี้ยงปลาและเพาะปลูก

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

ต้อนรับด้วยขบวนฟ้อนภูไท คำเดือย
ณ จุดเช็คอินบริเวณกลางศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้านภูไทบ้านคำเดือย ต้อนรับด้วยขบวนฟ้อนภูไท คำเดือย

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมหมู่บ้านภูไทคำเดือย
ณ บริเวณ ศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้านภูไทบ้านคำเดือยกิจกรรมการบายศรีสู่ขวัญ ร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้าน

ทำบุญตักบาตร
บริเวณด้านหน้าวัดศรีมงคลร่วมทำบุญตักบาตรถนนสายวัฒนธรรมบริเวณหน้าวัดศรีมงคล

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม