ร้านมีเขามีเรา คาเฟ่ จังหวัดสระแก้ว

ที่ตั้ง ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
๑. ร้านกาแฟและขนมหวานสไตล์เอาดอร์ท่ามกลางสวนดอกไม้ ร้านมีเขามีเรามีทุ่งดอกไม้นานาชนิด มีเขาหินปูนลูกใหญ่ชื่อว่าเขาฉกรรจ์เป็นฉากหลัง ทางร้านจะสลับปลูกดอกไม้ในแต่ละเดือนแต่ละช่วงเวลา จะได้เห็นความสวยของดอกไม้นานาพรรณต่างกัน โดยสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่ไว้สำหรับนั่งจิบกาแฟและทานขนมหวานมีลักษณะเป็นกระท่อมเถียงนา สร้างจากไม้ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา โดยมีสะพานไม้ไผ่ที่ทอดยาวคอยเชื่อมต่อจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และในตอนเย็นยังสามารถชมฝูงค้างคาวที่จะบินจากถ้ำบนเขาออกมาหากินเป็นทางยาวได้อีกด้วย
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 เครื่องดื่มร้อน เย็น ชา กาแฟ โซดา
2.2 เค้ก เบเกอรี่
2.3 อาหารไทย อาหารอิสาน
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 – 20.00 น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 6386 9715
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : Mee Khao Mee Rao Café&Dessert

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ละลุ จ.สระแก้ว

ที่ตั้ง ม.12 บ้านคลองยาง ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว
๑. ละลุ เป็นประติมากรรมที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทางธรณีวิทยามีความสวยงามแปลกตาลักษณะคล้ายแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ หรือเสาดินนาน้อยและคอกเสือ จังหวัดน่าน
ละลุมาจากภาษาเขมรแปลว่าแผ่นดินทะลุ เกิดจากการพังทลายของดินที่เกิดจากน้ำฝนและลมจนยุบตัวลงจนเกิดเป็นแท่งหินรูปร่างต่างๆ บ้างมีรูปร่างคล้ายจอมปลวกบ้าง ดอกเห็ดบ้าง หรือมีรูปร่างแบบเจดีย์ มียอดแหลมหรือเป็นแท่ง หรือเป็นหน้าผาเตี้ยที่มีหลืบ บริเวณที่ตั้งของละลุมีลักษณะเป็นท้องกระทะ กว้างประมาณ 200 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร โดยทั่วไปแล้ววัดจากพื้นจนถึงส่วนบนสุดที่เป็นหน้าผาจะมีความสูงไม่เกิน 5 เมตร ซึ่งถือว่าไม่สูงมากนัก พื้นที่ของประมาติมากรรมละลุนี้ครอบคลุมหลายหมู่บ้านของอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดในช่วงเวลาประมาณ 10,000-30,000 ปีที่แล้ว ซึ่งพื้นที่ยุบตัวของละลุนี้เกิดขึ้นต่อเนื่องทุกๆปี ในทุกๆปี ละลุจะเปลี่ยนรูปร่างของมันไปเรื่อย ๆ ตามแต่ลมและฝนที่ช่วยกันตกแต่งชั้นดิน และในบางพื้นที่ ก็จะมีละลุที่มีสีน้ำตาลทองตัดกับสีเขียวสดของต้นข้าวกลางพื้นที่ทำนาของชาวบ้านซึ่งเป็นสิ่งที่สวยงามมากจนได้รับขนานนามว่าเป็นแกรนด์แคนยอนของเมืองไทยเลยทีเดียวนักท่องเที่ยวที่สนใจอยากชมปรากฏการณ์ธรรมชาติละลุจะต้องจอดรถไว้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเพื่อป้องกันการยุบตัวและเสียหาย จากการขับรถเข้าไปเอง แต่จะมีการให้บริการรถอีแต๊กของศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเพื่อเข้าไปชมละลุและจะมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นรวมถึงยุวมักคุเทศก์มาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของละลุอีกด้วย
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00-18.00 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี มีมุมให้ถ่ายทั้งช่วงเช้าและบ่ายแต่มุมที่ถ่ายรูปได้มากกว่าคือช่วงบ่าย ควรหลีกเลี่ยงช่วงเที่ยงและช่วงเวลาที่แดดร้อนจัด นอกจากนั้นช่วงพระอาทิตย์ตก หากฟ้าเปิดแสงยามเย็นจะกระทบละลุมีความสวยงาม
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
– แต่มีค่ารถนำเที่ยว รถอีแต๋น 200 บาท/คัน(นั่งได้ 6 คน) เนื่องจากรถยนต์ไม่สามารถเดินทางเข้าไปได้
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ปั่นจักรยาน นั่งรถอีแต๋นชมละลุและวิถีชุมชน เช่น ทำนา ทำไร่สวนพริก เกษตรตามทฤษฎีเกษตรพอเพียง บ่อปลา ชมธารน้ำไหลวังครก วังกระทะ เป็นต้น
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านคลองยาง ต.ทัพราช อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว โทร. 0 3724 9708-9
๗.ช่องทางออนไลน์
FaceBook : ละลุ บ้านคลองยาง จังหวัดสระแก้ว
Youtube : ชุมชนคุณธรรมบ้านคลองยาง
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อุทยานแห่งชาติปางสีดา จ.สระแก้ว

ที่ตั้ง ต.ท่าแยก อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว
๑. สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนปกคลุมไปด้วยผืนป่า ทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าหายากและนกกว่า 300 ชนิด จึงเหมาะแก่การมาศึกษาเรื่องสัตว์ป่าเป็นอย่างยิ่ง ภายในเขตอุทยานฯ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอยู่มากมาย เช่น น้ำตกปางสีดา เป็นน้ำตกที่ทิ้งตัวจากหน้าผาสูง 8 เมตร น้ำตกผาตะเคียนอยู่ห่างจากน้ำตกปางสีดา ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ลักษณะเป็นหน้าผาสูง 20 เมตร ในช่วงฤดูฝนสายน้ำจะไหลทิ้งตัวลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ดูสวยงามมาก ทุ่งหญ้าบุตาปอด เป็นทุ่งหญ้าที่มีสัตว์ป่าจำนวนมากเข้ามาอาศัยหากินเหมาะสำหรับศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ป่า จุดชมวิวลักษณะเป็นหุบเขากว้างมีทิวทัศน์ที่สวยงามสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้เป็นอย่างดี น้ำตกแควมะค่าตั้งอยู่ลึกจึงเหมาะสำหรับผู้ที่รักการเดินป่า และบริเวณใกล้เคียงมีน้ำตกรากไทรน้อยด้วย เทศกาลดูผีเสื้อปางสีดาจัดขึ้นทุกปีในช่วงต้นเดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม โดยมีกิจกรรมต่างๆมากมายเช่น การประกวดหุ่นผีเสื้อ และขบวนแห่หุ่น ผีเสื้อ กิจกรรมทำโป่งเทียมให้ผีเสื้อ เรียนรู้ร่วมกันกับกิจกรรมดูผีเสื้อและแนะนำการถ่ายภาพผีเสื้อจากนักดูผีเสื้อและนักถ่ายภาพ ชมนิทรรศการภาพถ่ายผีเสื้อ รวมทั้งพาดูผีเสื้อตามจุดต่าง ๆของอุทยาน ฯอย่างใกล้ชิดและถูกต้องพร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับสายพันธุ์ ผีเสื้อที่มีอยู่กว่า350 สายพันธุ์ นำนักท่องเที่ยวที่ได้แวะมาเยือนผืนป่าปางสีดาได้เดินศึกษาธรรมชาติ และชมผีเสื้อนานาพันธุ์ตามเส้นทางดูผีเสื้อ การชมผีเสื้อควรเริ่มต้นตั้งแต่ เช้าช่วงเวลาประมาณ 09.00 น. แสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ต้นเดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ชมผีเสื้อ
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 3724 7948 , 08 1862 1511
(ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานเเห่งชาติปางสีดา)
๗.ช่องทางออนไลน์ –
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ปราสาทเขาน้อยสีชมพู

ที่ตั้ง ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
๑. สันนิษฐานว่า ปราสาทนี้สร้างในพุทธศตวรรษที่ 12 และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในพุทธศตวรรษที่ 15 และคงความสำคัญจนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 เชื่อว่าเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูตัวปราสาทเป็นโบราณสถานก่ออิฐไม่ผสมปูน ประกอบด้วยปราสาทก่อด้วยอิฐ 3 หลังคือ ปรางค์ทิศเหนือ ปรางค์องค์กลาง และวิหารทิศใต้ แต่คงเหลือเพียงปรางค์องค์กลางเท่านั้นที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนปรางค์ทางทิศเหนือ และวิหารทิศใต้เหลือเพียงฐานเท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2478 ปราสาทเขาน้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติจากกรมศิลปากร และมีการสำรวจ ขุดพบโบราณวัตถุจำนวนมาก ปราสาทหลังนี้เป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูแต่ยังไม่อาจระบุได้ว่าเป็นลัทธิใด เป็นอาคารก่ออิฐไม่ผสมปูน 3 หลัง พังทลายเหลือแต่ปรางค์องค์กลาง กับเนินดินอีก 2 เนิน พบโบราณวัตถุหลายชิ้นบริเวณบริเวณโบราณสถาน ได้แก่ ทับหลัง ศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก (พุทธศตวรรษที่ 12-13) ติดอยู่เหนือกรอบประตูทางเข้าองค์กลาง พบจารึก อยู่บนแผ่นวงกบประตูปรางค์องค์กลาง ระบุมหาศักราช 559 ตรงกับ พ.ศ. 1180 นอกจากนี้เสา ประดับกรอบประตูเป็นศิลปะเขมรแบบกุเลน (พุทธศตวรรษที่ 14-15) ประติมากรรมรูปบุคคลมี 4 กร แต่โบราณวัตถุเหล่านี้สูญหายและบางส่วน ถูกย้ายไปเก็บรักษาจนหมดสิ้น นอกจากนี้ยังพบทับหลัง4 ชิ้นที่ปราสาทองค์ทิศเหนือบริเวณหน้าซุ้มประตูเป็นศิลปะเขมรแบบต่าง ๆ และพบโบราณวัตถุ ทำจากหินทรายจำนวนมาก อาทิ ศิวลึงค์ ฐานรูปเคารพศิลาฤกษ์ ธรณีประตู ประติมากรรมบุคคุล ชิ้นส่วนประติมากรรม หินลับ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ เช่น หม้อ ไห จานมีเชิงสังข์ดินเผา เครื่องโลหะและชิ้นส่วนเครื่องโลหะ เช่น ตราประทับทำจากเหล็กหุ้มด้วยสำริด มีจารึกอยู่ที่ดวงตราเป็นตัวอักษรในพุทธศตวรรษที่ 16 ด้ามมีดทำด้วยเหล็ก ห่วงเหล็ก เชิงเทียน เป็นต้น ที่หน้าเขาน้อยมีการสร้างศาลไว้ เรียกว่า ศาลเจ้าพ่อเขาน้อย หรือ เจ้าพ่อขุนดาบ และมีการเซ่นไหว้ทุกเดือน 6 และเดือน 12 ของทุกปี และยังมีประเพณีขึ้นเขาเป็นการนมัสการเจ้าพ่อทุกปี
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.30 – 16.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สกายวอล์ควัดเขาสิงโต จ.สระแก้ว

ที่ตั้ง ต.บ้านแก้ง อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว
๑. เขาสิงโตเป็นภูเขาลูกเตี้ยๆอยู่ติดกับบริเวณวัดเขาสิงโตด้านทิศเหนือสูงประมาณ 250 เมตร ด้านล่างมีถ้ำวังนาคา ด้านบนยอดเขามีรอยพระพุทธบาท พระครูประโชติ สีหบรรพต เจ้าอาวาสวัดเขาสิงโต ได้ร่วมกับคณะกรรมการฯ ญาติโยม กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง สร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้น โดยทำบันไดทางขึ้นจนถึงยอดเขา และจัดทำสกายวอร์ค (sky walk) บนยอดเขาซึ่งเป็นแห่งแรกของภาคตะวันออก สามารถชมวิวได้ 360 องศา เมื่อขึ้นถึงยอดเขาเคาะระฆัง 3 ครั้ง และสั่นกระดิ่ง เมื่อขึ้นไปถึงจะพบธงหลากสีคือธงฉัพพรรณรังษี ที่เป็นธงพระพุทธศาสนาสากล มีทั้งหมด 6 สี คือ แถบที่ 1 สีน้ำเงิน แถบที่ 2 สีเหลือง แถบที่ 3 สีแดง แถบที่ 4 สีขาว แถบที่ 5 สีแสด ส่วนแถบสุดท้ายหรือแถบสีประภัสสร เป็นแถบสีที่เกิดจากการนำแถบสีทั้ง 5 สีแรกในตอนต้นมาเรียกลำดับใหม่ในแนวนอน นอกจากนี้ ด้านบนสกายวอร์คมีเจ้าหน้าที่กำกับดูแลความปลอดภัยให้เข้าไปได้ครั้งละ 5 คน เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 06.00 – 17.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ – ทางลาด / ที่จอดรถ-/ จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม