ปราสาทเขาน้อยสีชมพู

ที่ตั้ง ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
๑. สันนิษฐานว่า ปราสาทนี้สร้างในพุทธศตวรรษที่ 12 และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในพุทธศตวรรษที่ 15 และคงความสำคัญจนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 เชื่อว่าเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูตัวปราสาทเป็นโบราณสถานก่ออิฐไม่ผสมปูน ประกอบด้วยปราสาทก่อด้วยอิฐ 3 หลังคือ ปรางค์ทิศเหนือ ปรางค์องค์กลาง และวิหารทิศใต้ แต่คงเหลือเพียงปรางค์องค์กลางเท่านั้นที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนปรางค์ทางทิศเหนือ และวิหารทิศใต้เหลือเพียงฐานเท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2478 ปราสาทเขาน้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติจากกรมศิลปากร และมีการสำรวจ ขุดพบโบราณวัตถุจำนวนมาก ปราสาทหลังนี้เป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูแต่ยังไม่อาจระบุได้ว่าเป็นลัทธิใด เป็นอาคารก่ออิฐไม่ผสมปูน 3 หลัง พังทลายเหลือแต่ปรางค์องค์กลาง กับเนินดินอีก 2 เนิน พบโบราณวัตถุหลายชิ้นบริเวณบริเวณโบราณสถาน ได้แก่ ทับหลัง ศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก (พุทธศตวรรษที่ 12-13) ติดอยู่เหนือกรอบประตูทางเข้าองค์กลาง พบจารึก อยู่บนแผ่นวงกบประตูปรางค์องค์กลาง ระบุมหาศักราช 559 ตรงกับ พ.ศ. 1180 นอกจากนี้เสา ประดับกรอบประตูเป็นศิลปะเขมรแบบกุเลน (พุทธศตวรรษที่ 14-15) ประติมากรรมรูปบุคคลมี 4 กร แต่โบราณวัตถุเหล่านี้สูญหายและบางส่วน ถูกย้ายไปเก็บรักษาจนหมดสิ้น นอกจากนี้ยังพบทับหลัง4 ชิ้นที่ปราสาทองค์ทิศเหนือบริเวณหน้าซุ้มประตูเป็นศิลปะเขมรแบบต่าง ๆ และพบโบราณวัตถุ ทำจากหินทรายจำนวนมาก อาทิ ศิวลึงค์ ฐานรูปเคารพศิลาฤกษ์ ธรณีประตู ประติมากรรมบุคคุล ชิ้นส่วนประติมากรรม หินลับ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ เช่น หม้อ ไห จานมีเชิงสังข์ดินเผา เครื่องโลหะและชิ้นส่วนเครื่องโลหะ เช่น ตราประทับทำจากเหล็กหุ้มด้วยสำริด มีจารึกอยู่ที่ดวงตราเป็นตัวอักษรในพุทธศตวรรษที่ 16 ด้ามมีดทำด้วยเหล็ก ห่วงเหล็ก เชิงเทียน เป็นต้น ที่หน้าเขาน้อยมีการสร้างศาลไว้ เรียกว่า ศาลเจ้าพ่อเขาน้อย หรือ เจ้าพ่อขุนดาบ และมีการเซ่นไหว้ทุกเดือน 6 และเดือน 12 ของทุกปี และยังมีประเพณีขึ้นเขาเป็นการนมัสการเจ้าพ่อทุกปี
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.30 – 16.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม