กลุ่มทอผ้าเทวาผ้าไทยหนองบัวลำภู

264 หมู่ที่2 บ้านนาคำไฮ ตำบลนาคำไฮ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ : เทวาผ้าไทย
๒. ชื่อผู้ประกอบการ นายกิตติพันธ์ สุทธิสา
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ : ผ้าทอมือ
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ : เครื่องแต่งกายบุรุษแปรรูปจากผ้าทอมือ
๓.๓ ชื่อผลิตภัณฑ์ : เครื่องแต่งกายสตรีแปรรูปจากผ้าทอมือ
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 06.00 น. – 20.00 น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 5668 8911
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook : เทวาผ้าไทย – ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าทอมือ ผ้าซิ่น ผ้ายกดอก ผ้ามัดหมี่ คลุมไหล่

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

กลุ่มผ้าทอมือไทยพวน

ณ ศูนย์ภูมิปัญญามนุษย์ วัดบ้านใหม่ ชมการสาธิตการทอผ้าไทยพวนด้วยกี่กระตุกแบบโบราณ ซึ่งป็นผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นที่ได้มีการถ่ายทอดมาจากบรรพชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยส่งเสริมให้เกิดการสืบสานอนุรักษ์ ฟื้นฟู สนับสนุนสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม รักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ ทั้งนี้ สามารถยึดเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมให้กับชาวบ้านในชุมชน ปัจจุบันมีการพัฒนาลายผ้าในรูปแบบต่างๆ มากมาย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านกลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองขาว จ.กาญจนบุรี

ที่ตั้ง ชุมชนชาวหนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ผ้าขาวม้าร้อยสีบ้านหนองขาว
๒.ชื่อผู้ประกอบการ กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองขาว
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าขาวม้าร้อยสีบ้านหนองขาว
รายละเอียดความโดดเด่น สั้นๆ
ผ้าขาวม้าร้อยสี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของชุมชนชาวหนองขาว เกิดจากการร่วมมือร่วมใจถักทอขึ้นด้วยวิธีการทอกี่กระตุก ซึ่งเป็นวิธีการทอผ้าแบบโบราณ ใช้มือในการกระตุกคันกระตุก ที่มีการถักทออย่างประณีต นิยมใช้ด้ายสีต่าง ๆ กว่า 100 สี ในการถักทอ ทำให้เกิดความวิจิตรงดงามบนลายผ้าที่โดดเด่น อีกทั้งผ้าขาวม้าในชุมชนยังมีสีสดใส ลวดลายแปลกตา เนื้อผ้าเป็นมันวาวคล้ายผ้าไหม  ดูแลรักษาง่าย ทนทาน สีไม่ตก สามารถใช้งานได้ยาวนาน
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 09.00 -18.00 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 3458 6061
08 9612 2553 (คุณอารีย์รัตน์)
๖.ช่องทางออนไลน์
– Facebook : ผ้าขาวม้าร้อยสี อารีย์รัตน์ บ้านหนองขาว

ชุมชนคุณธรรมบ้านสันทางหลวง จังหวัดเชียงราย

บ้านสันทางหลวง เป็นอีกหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และทางวัฒนธรรมมีจุดเด่นเกี่ยวกับ “วิถีชีวิต ชาวไทยอง” คนในชุมชนบ้านสันทางหลวงส่วนใหญ่ยังคงสืบสานและดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมไทยอง จนมีคำพูดติดปากของชาวสันทางหลวงว่า “กิ๋นอย่างยอง อู้อย่างยอง อยู่อย่างยอง”  

ชุมชนบ้านสันทางหลวง ร้อยละ ๙๐ เป็นชาวไทยอง มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทยองที่โดดเด่น อาทิ อาหาร เครื่องแต่งกาย ภาษา วิถีชีวิต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นคือการปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP, โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง ร่วมกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสันทางหลวง
เป็นศาสนสถานสำคัญของชุมชนและเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมทางศาสนาของชุมชน

ฐานการเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมชุมชนบ้านสันทางหลวง
ฐานการเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมชุมชน จำนวน ๑๘ ฐาน เช่น กลุ่มผ้าทอมือ กลุ่มผ้าปัก กลุ่มหมอนดูดกลิ่น (หมอนใบชา) กลุ่มตุ๊กตา กลุ่มจักสานจิ๋ว กลุ่มลาบ กลุ่มข้าวแคบ กลุ่มดาวอินคา กลุ่มขนมพื้นบ้าน และกลุ่มระบายสีร่ม เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวธรรมชาติบ้านสันทางหลวง
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของชุมชนบ้านสันทางหลวง เป็น บรรยากาศทุ่งนาตามธรรมชาติ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถปั่นจักรยานเยี่ยมชมและรับบรรยากาศแบบท้องทุ่งในยามเช้าตรู่หรือยามเย็น  เพื่อชมวิถีชีวิตของคนบ้านสันทางหลวง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้วิถีเกษตรปลอดสารพิษชุมชนบ้านสันทางหลวง
ชุมชนคุณธรรมบ้านสันทางหลวง ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ปลอดภัย โดยมีโครงการ สำคัญร่วมกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืช จักรพันธ์เพ็ญศิริ คือ โครงการปลูกผักปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP, โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน
ลานวัฒนธรรมลานขันโตก วิถีไท วิถียองสัมผัสวิถีวัฒนธรรมไทยอง และรับชมการแสดงที่ได้มีการนำเอาวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมในการทอผ้าของคนไทยองในขั้นตอนต่าง ๆ ของการทอผ้า มาปรับประยุกต์ และออกแบบท่าฟ้อนตามยุคสมัยที่สื่อถึงขั้นตอนของการทอผ้าในสมัยก่อนของคนไทยอง นำมาแสดงร่วมกับดนตรีล้านนาผ่านทางท่วงท่าลีลาความอ่อนช้อยในการฟ้อนสาวไหม พร้อมกับรับประทานอาหารขันโตกตามแบบวัฒนธรรมไทยอง

การบายศรีสู่ขวัญ
ลานวัฒนธรรมลานขันโตก วิถีไท วิถียอง การบายศรีสู่ขวัญหรือเรียกขวัญ โดยกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนบ้านสันทางหลวง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานในการต้อนรับผู้มาเยือนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ ให้เกียรตินักท่องเที่ยว/คณะศึกษาดูงานในการที่มาเยือน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม