ผ้ามัดย้อมธรรมชาติจากลูกจาก (Cpot)

หมู่ที่ ๒ ตำบลบางชนะ อำเภอเมือง ฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. ชื่อผู้ประกอบการ นางสาวจิราภรณ์ สุดสิน
๒. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๒.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้ามัดย้อมสีจากลูกจาก
ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้ามัดย้อมสีจากลูกจาก เป็นการพัฒนาต่อยอดจากการนำผ้ามัดย้อมมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยมัดย้อมสีจากลูกจากที่มีอยู่ในชุมชน เป็นสีธรรมชาติไม่มีสารเคมี นำมาออกแบบเป็นกระเป๋าที่มีความทันสมัย สวยงาม ราคาไม่สูง เหมาะกับหลายวัย สร้างรายได้ให้กับชุมชน เหมาะสำหรับเป็นของใช้และของที่ระลึก
๓. วัน/เวลา /ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของสถานที่
เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๒๒๗๓ ๒๓๙๙
๕. ช่องทางออนไลน์ เพจ ผ้ามัดย้อมจากใจ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านกลุ่มหัตกรรมเทพพนม

ที่ตั้ง ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ กลุ่มหัตถกรรมเทพพนม / SAWA
๒.ชื่อผู้ประกอบการ นางอัมพร โตคะสาร
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้ามัดย้อมสะเลียม
รายละเอียดความโดดเด่น
ผ้ามัดย้อมสะเลียมสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลายทั้งผลิตภัณฑ์ของผู้ชายและผลิตภัณฑ์ของผู้หญิง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และไม่ซ้ำกับใคร ทางกลุ่มจึงปรับแนวคิดสร้างเป็นคอลเลคชั่นเพื่อให้เกิดความน่าสนใจและสามารถจำหน่ายเป็นเซต หรือเป็นเซตครอบครัวได้ จึงทำให้สินค้าที่ออกแบบมานั้นไมซ้ำกับที่มีในท้องตลาดและสร้างแบรนด์ของตัวเองได้
๓.๑ชื่อผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์นวดนิ้วจากผักตบชวา
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
8.00 น. – 17.30 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 5630 4652
๖.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/panawanGruop/?ref=page_internal

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

บ้านธูปสมุนไพร จ.สมุทรปราการ

ที่ตั้ง 22 หมู่ 3 ซอยวัดบางน้ำผึ้งนอก บางน้ำผึ้ง พระประแดง สมุทรปราการ
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ธูปสมุนไพร
๒. ชื่อผู้ประกอบการ
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางน้ำผึ้ง
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ธูปสมุนไพร
ใช้วัตถุดิบ จากสมุนไพรในท้องถิ่น ทั้งตะไคร้หอม ใบสะเดา มะกรูด โดยคุณสมบัติสามารถใช้จุดไล่ยุงได้และมีกลิ่นหอมสมุนไพร
๓.2 ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้ามัดย้อม
ผ้ามัดย้อมสีสดใส ให้นักท่องเที่ยวลองทำด้วยตนเอง ได้สีสวยใสตามใจชอบ
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-16.00 น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 2815 0729
๖. ช่องทางออนไลน์
facebook บ้านธูปหอมสมุนไพร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านค้าชุมชนวัดหนองโพ จ.นครสวรรค์

ที่ตั้ง ๒๖๐ ม.๑ ต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
๑.เป็นแหล่งรวมสินค้าจากชาวบ้านตำบลหนองโพและผลิตภัณฑ์ที่ของดีของเด่นในชุมชน และของที่ระลึกจากการมาสักการะหลวงพ่อเดิม เป็นการร่วมแรงร่วมใจของ บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ ที่ร่วมแรงร่วมจัดจัดสถานที่ภายในวัดให้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้า ของที่ระลึกให้แก่แขกผู้มาเยี่ยมเยือนมาสักการะหลวงพ่อเดิม นำโดยเจ้า พระครูนิปุณพัฒนวงศ์(อาวาสคนปัจจุบันของวัดหนองโพ) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ ผู้อำนวยการโรงเรียน และชาวบ้านชาวหนองโพทุกคน ผู้ร่วมแรงร่วมใจกันอย่างสมัคร สามัคคี
๒.ประเภทของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร พวงกุญแจตอกหนัง พวงกุญแจปลาตะเพียน ผ้ามัดย้อม ภาพลงรักปิดทอง ถุงผ้ามงคลสิงห์ มีดหลวงพ่อเดิม ผลิตภัณฑ์จากกะลา หินแมกเน็ตช้าง วัดหนองโพหินแมกเน็ตสิงห์ นางกวัก เป็นต้น
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้านทุกวัน ๘.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 08 5050 7207
๕.ช่องทางออนไลน์ www.facebook.com/วัดหนองโพ-หลวงพ่อเดิม-699980620106867

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านท่าเชียงเครือ จังหวัดบึงกาฬ

ชุมชนบ้านท่าเชียงเครือชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ภูไท ที่อพยพมาจาก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษกว่า 60 ปีมาแล้ว อดีตกาลเมื่อหมู่บ้านหรือชุมชมใดเกิดการอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น ทรัพยากรธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต เป็นเหตุผลที่ผลักดันให้ชาวบ้านเกิดการอพยพหาที่อยู่อาศัย และที่ทำมาหากินที่มีความอุดมสมบูรณ์

กลุ่มทอผ้าบ้านท่าเชียงเครือ ได้นำเอาวัฒนธรรมการทอผ้าแบบภูไท มาผสมผสานกับวีถีชีวิตความเป็นอยู่ของตน ที่มีความสัมพันธ์กับลำน้ำฮี้ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง หอย ปู ปลาจึงได้ออกแบบลวดลายลงบนพื้นผ้าทออย่างสวยงาม ที่เรียกว่า “ผ้ามัดหมี่ลายสาวภูไทล่องน้ำฮี้” เป็นการแสดงถึงวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิต ที่แท้จริงของชาวภูไท บ้านท่าเชียงเครือ ตามคำที่ว่า “ท่าเชียงเครือคือบ้าน ถิ่นฐานแห่งภูไท นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ลมหายใจแห่งน้ำฮี้ ประเพณีเซิ้งกระโด้ โอ้งามตาผ้าทอมือ”

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดศิริมงคลวนาราม
เมื่อปี พ.ศ. 2503 มีหลวงพ่ออ่อนเป็นผู้ก่อตั้งวัดเป็นรูปแรก และเป็นโรงเรียนของชาวบ้านได้ศึกษาวิชาเรียนถึง ป.4 แต่ไม่มีศาลายังอาศัยเพิงหญ้าป็นที่หลบแดดฝน ต่อมาหลวงปู่ประเสริฐ ปัญญาธโร ร่วมสร้างหลวงพ่อพระใหญ่ศรีศากยมุนีขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2556 สร้างแล้วเสร็จในปีเดียว เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน

วัดป่าเนินแสงทอง
วัดป่าเนินแสงทองเดิมที่เป็นป่าก่อเพราะมีต้นก่ออยู่มากมาย บริเวณในป่ามีหินแข็งอยู่มาก หน้าฝนหน้าแล้งไม่ค่อยอับชื้น ในป่ามักมีพระธุดงค์มาปักกลดจำพรรษาอยู่บ่อย ๆ เพราะในป่าน่าอยู่มากเพราะเหตุนี้หลวงปู่ธรรมาจึงบวช และย้ายศาลาเก่าจากวัดศิริมงคล ไปสร้างเป็นที่พักสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. 2518 และท่านได้มรณภาพลงเมื่อ พ.ศ. 2538 จึงมีพระอาจารย์พวน ชุตินธโร หรือท่านพระครูประโชติธรรมคุณ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐท่านได้มาสร้างต่อจากหลงปู่ธรรมา

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

แม่น้ำฮี้
แม่น้ำฮี้ถือได้ว่าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติของชาวบ้าน ท่าเชียงเครือ นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรืชมวิถีชาวบ้าน ชมธรรมชาติลำน้ำ โดยเรือของชาวบ้าน ระหว่างทางมีจอดให้ขึ้นไปชมและชิมกาแฟที่ปลูกโดยชาวบ้าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนดอกไม้ตาวัง
จำหน่ายพันธุ์ดอกไม้ เมล็ด ท่องเที่ยว ถ่ายภาพ มีเต็นท์ให้เช่าพักแรม ที่ตั้ง บ้านท่าเชียงเครือ ม.2 ต.ป่งไฮ อ.เซกา จ.บึงกาฬ หมายเลขโทรศัพท์ 06 1464 0500

ไร่กาแฟอุ่นวิเศษ
นายบุญหนา อุ่นวิเศษ เจ้าของสวนยางพาราที่ปลูกกาแฟ ที่อยู่ติดกับสะพานข้ามแม่น้ำฮี้ บ้านท่าเชียงเครือ หมู่ที่ 2 ตำบลป่งไฮ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เปิดเผยว่าเริ่มปลูกกาแฟมาตั้งแต่ปี 2554 เป็นสายพันธุ์อาราบิก้า และสายพันธุ์โรบัสต้า โดยทยอยปลูกเพิ่มเรื่อยๆ โดยการทดลองปลูกแซมในสวนยางพารา เป็นแปลงแรก เมื่อได้ผลจึงขยับขยายมาปลูกในสวนผสมผสาน เพื่อต้องการหารายได้เสริมนอกเหนือจากการทำสวนยาง Youtube ช่อง อุ่นวิเศษ ต้นตํารับกาแฟบึงกาฬ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่_08 7145 5373,
08 2111 6739
ID LINE:09 8118 0341

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

บายศรีสู่ขวัญ
โฮมสเตย์/ศาลาประชาคมหมู่บ้าน บายศรีสู่ขวัญเอเป็นขวัญ กำลังใจและเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนชุมชน

ชมการสาธิตและทดลองฝึกงานฝีมือ เช่น การถักทอจักสาน ทอเสื่อกก การทำผ้ามัดย้อม
กลุ่มอาชีพต่างๆ ฝึกประลองฝีมือด้านการถักทอจักสาน ทำของเล่น เครื่องประดับ

นั่งเรือล่องแม่น้ำฮี้
แม่น้ำฮี้ ล่องลำน้ำฮี้ ชมทัศนียภาพธรรมชาติอันสวยงาม

การแสดงเซิ้งกระโด้
ภายในชุมชน เป็นการแสดงที่นำเอาวิถีชีวิต การทำมาหากิน มาประยุกต์เป็นท่ารำ เช่น การหาปลา สัตว์น้ำต่างๆ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหาดสองแคว จังหวัดอุตรดิตถ์

“บ้านหาดสองแคว” เป็นชุมชนลาวเมืองเวียงจันทน์ที่เข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 “บ้านหาดสองแคว”ตั้งชื่อตามลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นทางออกของลำน้ำสองสายที่ไหลมาบรรจบกันคือ แม่น้ำน่าน กับคลองตรอน มีลักษณะเป็นลำน้ำสองสายไหลมาบรรจบกันจึงเรียกกันว่า “สองแคว” 

มีประเพณี และวิถีชีวิตด้านการแต่งกาย ภาษา และอาหาร ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของคนลาวเวียงจันทร์ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย คนในชุมชนมีความสามัคคี โอบอ้อมอารีย์ มีมิตรไมตรีแก่ผู้มาเยือน มีแม่น้ำน่านซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักไหลผ่านหมู่บ้าน ซึ่งแสดงถึงความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ของคนในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดหาดสองแคว ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
เป็นอาคารกึ่งปูนกึ่งไม้สองชั้น ตั้งอยู่ในบริเวณวัดหาดสองแคว เป็นที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยโบราณ ของคนในชุมชน

อุโบสถ์เก่าวัดคลึงคราช ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
โบสถ์เก่าแก่อายุ 109 ปี มีศิลปะแบบลาวเวียงจันทร์ หลวงพระบาง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร สูง 10 เมตร โบสถ์เป็นแบบมหาอุด มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว มีหน้าต่าง 2 ด้าน รวม 6 ช่อง มีสิงห์คู่ตั้งอยู่ด้านหน้าบันไดประตูทางเข้า หลังคามุงด้วยสังกะสี

ถนนสายวัฒนธรรมชุมชนลาวเวียง
เป็นการจำลองตลาดย้อนยุคของชาวลาวเวียง โดยกำหนดให้ร้านค้าทุกร้านแต่งกายด้วย ผ้าพื้นเมืองเสื้อสีขาว นุ่งผ้าซิ่น สีต่าง ๆ ใส่งอบ ใช้ร่มผ้าสีขาว และแคร่ไม้ไผ่ ในการตั้งร้านจำหน่ายสินค้า ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวลาวเวียง ใช้วัสดุทางธรรมชาติเป็นภาชนะใส่อาหารแทนกล่องโฟม สินค้าที่จำหน่ายภายในตลาด เป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์และอาหารพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม งานประดิษฐ์ งานแฮนด์เมด

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ถนนปั่นจักรยานริมน้ำน่าน
ตั้งอยู่บริเวณท่าน้ำหลังวัด  หาดสองแคว เหมาะสำหรับ  ให้นักท่องเที่ยวได้ทำกิจกรรม เช่น เดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยานออกกำลังกายและชมวิวทิวทัศน์ริมแม่น้ำน่านยามเช้าและเย็น

สะพานชมวิวริมน้ำน่าน
เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์บรรยากาศชุมชนหาดสองแควริมฝั่งแม่น้ำน่าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แหล่งเรียนรู้ สวนไผ่ซางหม่น
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๒ ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ มีนายพงษ์เทพ ไชยอ่อน เป็นเจ้าของและ      ผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้การขยายพันธุ์และจำหน่ายไผ่ซางหม่น พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ดี

สวนอินทผาลัม “บ้านสวนดวงดัน”
ตั้งอยู่ที่ บ้านสวนดวงดัน ต.หาดสองแคว อ.ตรอน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ตักบาตรหาบจังหัน
ชุมชนบ้านหาดสองแคว หมู่ที่ 1-๗ การหาบอาหารคาว-หวาน ไปถวายพระสงฆ์ที่วัดในตอนเช้า กล่าวคือขณะที่พระสงฆ์ออกบิณฑบาตตอนเช้าชาวบ้านจะตักบาตรด้วยข้าวสวยอย่างเดียว ส่วนอาหารคาว-หวาน จะมีนางหาบ/นายหาบ แต่งตัวชุดลาวเวียงวันละ 5-10 คน ทำหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนหาบอาหารด้วยสาแหรกเดินตามพระเข้าวัด ซึ่งอาหารคาว-หวานที่หาบไป จะได้จากชาวบ้านนำอาหารไปวางไว้ที่แป้นเสาหน้าบ้านของแต่ละหลัง โดยนางหาบ/ นายหาบ จะเดินเก็บอาหารตามแป้นเสาหน้าบ้านแต่ละหลังไปตามเส้นทางไปจนถึงวัด จากนั้นจะนำอาหารที่ได้ถวายพระที่วัดในตอนเช้า ถือเป็นการเชื่อมบุญมาสู่คนในชุมชน หลังจากถวายพระแล้ว นางหาบ/นายหาบ จะนำภาชนะใส่อาหารกลับไปวางคืนไว้ที่แป้นเสาหน้าบ้านของแต่ละหลังตามเดิม ซึ่งจะปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน ยกเว้นวันพระหรือสำคัญทางศาสนาชาวบ้านจะไปตักบาตรที่วัด

ขอบคุณพืชพันธุ์ธัญญาหารและสายน้ำน่าน
วัดหาดสองแคว หมู่ที่ ๑เป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญู ต่อพืชพันธุ์ธัญญาหาร ต่อแม่โพสพ แม่คงคา อีกทั้งเป็นการขอบคุณที่นำความอุดมสมบูรณ์มายังคนในชุมชนตำบลหาดสองแคว และอำเภอตรอน รวมถึงเป็นการขอขมาที่ได้ล่วงเกิน ต่อผู้มีพระคุณซึ่งในชุมชนได้มีการสืบสานประเพณีนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จนถึงปัจจุบัน

ไหลแพไฟ เฉลิมพระเกียรติ
วัดหาดสองแคว หมู่ที่ ๑ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2541 ในอดีตการไหลแพไฟจะเริ่ม ทำพิธีปล่อยแพที่ท่าน้ำวัดวังแดง หมู่ 3 ตำบลวังแดง ล่องตามลำน้ำน่านถึงท่าน้ำวัดสองแคว ตำบลหาดสองแคว ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ระหว่างทางจะมีประชาชนเที่ยวชมแพไฟอยู่ตาม จุดชมแพตลอดสองฝั่งแม่น้ำ และจะมีพิธีถวายพระพรชัยมงคล ตีกลองย่ำฆ้องกลอง จุดพลุ ประดับไฟริมถนนและ ริมแม่น้ำ แต่ในปัจจุบัน ได้จัดให้มีขึ้นทั้งหมด 3 วัน คือ เริ่มตั้งแต่วันที่ 3-5 ธันวาคม ของทุกปี 

เรียนรู้การทำสาแหรกจิ๋ว และไม้กวาดทางมะพร้าว
ศูนย์เรียนรู้การทำสาแหรกจิ๋ว และไม้กวาดทางมะพร้าว ตั้งอยู่เลขที่ ๗๒ หมู่ที่ ๒ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ มีนายสมาน ประดับเพ็ชร ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นเจ้าของและถ่ายทอดความรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านจักสานไม้ไผ่ หวาย และไม้กวาดทางมะพร้าว

เรียนรู้ทำ ผ้ามัดย้อม
ศูนย์เรียนรู้การทำผ้ามัดย้อม ตั้งอยู่เลขที่ 81/2 หมู่ที่ ๓ ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เป็นแหล่งเรียนรู้การทำผ้ามัดย้อม ตัด เย็บ ย้อม ตาก และสามารถนำกลับบ้านได้เลยโดยมีนางมานิตถา เพ็ชรศิลา เป็นเจ้าของและถ่ายทอดความรู้ 

เรียนรู้ทำผ้าด้นมือ
ศูนย์เรียนรู้การทำผ้าด้นมือและการปกกระเป๋าผ้า ๙๗ หมู่ที่ ๓ ต.หาดสองแคว อ.ตรอน
จ.อุตรดิตถ์ เป็นแหล่งเรียนรู้การปักผ้าลวดลายเป็นรูปหาบจังหันลงบนผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้ารูปแบบต่าง ๆ โดยมี นางวันเพ็ญ กลมดวงซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นเจ้าของและถ่ายทอดความรู้

เรียนรู้ทำอาหารพื้นบ้าน
ศูนย์เรียนรู้ทำอาหารพื้นบ้าน 16/5 หมู่ที่ 3 ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เป็นแหล่งเรียนรู้การทำอาหารพื้นบ้านคาว-หวาน   ของชุมชนหาดสองแควที่ได้รับการ  สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพ มาจากลาวเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยมีนางอรุณี นันทโชติ และนางบุญส่วน เรืองเดช
เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้

เรียนรู้แปรรูปกล้วยฉาบ เผือกฉาบ มันฉาบ
ศูนย์เรียนรู้การแปรรูป กล้วยฉาบ เผือกฉาบ มันฉาบ ตั้งอยู่เลขที่ 16 หมู่ที่ 2 ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ด้าน การแปรรูปอาหาร และร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร  แปรรูป ได้แก่ กล้วยฉาบ  เผือกฉาบ มันฉาบ ฯลฯ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านธรรมชาติล่าง จังหวัดตราด

ชุมชนคุณธรรมบ้านธรรมชาติล่าง ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ เกิดจากการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านในหมู่บ้านและตำบลที่มองเห็นโอกาสสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ด้วยกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน จากการเห็นเหตุการณ์รถติดยาวและนักท่องเที่ยวรอขึ้นเรือเฟอร์รี่เพื่อข้ามไปเกาะช้างเป็นเวลานานในช่วงเทศกาลวันหยุด

มีที่พักโฮมสเตย์ที่มีมาตรฐาน ได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการที่พักโรงแรมในพื้นที่ 3 แห่งซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ในบรรยากาศติดริมทะเล มีศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ทั้งละครเท่งกุ๊ก และแม่ไม้มวยไทย  ที่เตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีกิจกรรมทำผ้ามัดย้อม 3 ป่า จากสีธรรมชาติที่นอกจากจะเป็นกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ทำแล้ว ยังเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น เป็นของฝากของที่ระลึกได้อีกด้วย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ฐานเรียนรู้การทำผ้ามัดย้อม
“มัดย้อม 3 ป่า” เทคนิคการทำผ้ามัดย้อมด้วยสีจากพืชพรรณในป่าของชุมชน ป่าชายเลน ป่าสมุนไพร หมักด้วยน้ำเค็มจากทะเลเพื่อให้ได้สีสด
ฐานการเรียนรู้บ้านสมุนไพร
สมุนไพร 10 อย่าง ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายและผิวพรรณ นำมาแช่เท้าให้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า ไฮไลท์คือ “ต้นกระดูกไก่ดำ” สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย

ฐานเรียนรู้การทำขนมจีนเส้นมงคล
เรียนรู้ภูมิปัญญาผ่านกิจกรรมการทำขนมจีนบ้านเส้นมงคล ทำให้เส้นเหนียวนุ่ม อยู่ได้นานถึง 36 ชั่วโมง ตั้งแต่กระบวนการผลิตแป้ง นวดแป้ง โรยแป้ง และจับเส้น จนเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของชุมชน
วัดธรรมชาติล่าง
วัดประจำชุมชนที่ชาวชุมชนร่วมกันสร้าง เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมทางศาสนาของชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวทะเล 7 สี
จุดชมวิว 180 องศา ที่อยู่บนภูเขาสูงหันหน้าออกทะเลมองเห็นวิวของเกาะช้าง กับปรากฏการณ์การสะท้อนแสงพระอาทิตย์กับผืนน้ำทะเลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีสันได้อย่างสวยงาม
จุดชมปะการังบก
ปะการังบก หรือปะการังน้ำตื้นที่แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติของชุมชน น่าอัศจรรย์ใจยิ่ง

ต้นกระบก 200 ปี
ต้นกระบกโบราณที่อยู่คู่กับชุมชนมายาวนาน เป็นเสมือนสัญลักษณ์การบอกทิศทางให้นักเดินเรือ สูงตระหง่านบนเนินเขาสามารถมองเห็นได้ไกลจากท้องทะเล

ธนาคารปูม้า
เรียนรู้กระบวนการอนุรักษ์ปูม้าของชุมชนเพื่อให้ปูม้าคงอยู่ทะเลไทยเติมเต็มระบบนิเวศสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชาวประมงและคนรุ่นหลัง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บ้านสมุนไพร
สมุนไพร 10 อย่าง ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายและผิวพรรณ นำมาแช่เท้าให้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า ไฮไลท์คือ “ต้นกระดูกไก่ดำ” สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมการแสดงละครเท่งกุ๊ก
ที่ทำการวิสาหกิจชุมชน ละครเท่งกุ๊ก หรือละครชาตรี เป็นการแสดงพื้นบ้านที่สะท้อนให้เห็นถึงการแผ่ขยายทางวัฒนธรรมโนราจากภาคใต้ ทำให้สามารถสันนิษฐานถึงชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์ของจังหวัดตราดได้ โดยการแสดงได้ประยุกต์ใช้ภาษาและวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวตราดจนเป็นเอกลักษณ์การแสดงพื้นบ้านของจังหวัดตราด แสดงโดยลูกหลานในชุมชน

ชมการแสดงแม่ไม้มวยไทย
ที่ทำการวิสาหกิจชุมชน การแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มความสุขและความสนุกสนาน อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของไทย
ทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ
ที่ทำการวิสาหกิจชุมชน “มัดย้อม 3 ป่า” เทคนิคการทำผ้ามัดย้อมด้วยสีจากพืชพรรณในป่าของชุมชน ป่าชายเลน ป่าสมุนไพร หมักด้วยน้ำเค็มจากทะเลเพื่อให้ได้สีสด
ทำลูกปะคบสมุนไพร
บ้านสมุนไพร สมุนไพร 10 อย่าง ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายและผิวพรรณ นำมาแช่เท้าให้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า ไฮไลท์คือ “ต้นกระดูกไก่ดำ” สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย
ทำกระเป๋าภาษาตราด
ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนเรียนรู้ภาษาตราด ภาษาถิ่นผ่านการเพนท์กระเป๋าผ้าไปเป็นของที่ระลึก ค่อย ๆ บรรจงวาดลวดลายและระบายสีตามจินตนาการ ลงข้อความเป็นภาษาตราดให้ทุกคน “ตกตะหลุกรัก”

ปล่อยปูสู่ทะเล ธนาคารปู
แหล่งเรียนรู้ธนาคารปู เรียนรู้กระบวนการอนุรักษ์ปูม้าของชุมชนเพื่อให้ปูม้าคงอยู่ทะเลไทยเติมเต็มระบบนิเวศสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชาวประมงและคนรุ่นหลัง
ทำเส้นขนมจีนมงคล
บ้านขนมจีนเส้นมงคล เรียนรู้ภูมิปัญญาผ่านกิจกรรมการทำขนมจีนบ้านเส้นมงคล ทำให้เส้นเหนียวนุ่ม อยู่ได้นานถึง 36 ชั่วโมง ตั้งแต่กระบวนการผลิตแป้ง นวดแป้ง โรยแป้ง และจับเส้น จนเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของชุมชน

เรียนรู้การทำภาชนะกาบหมากและใบไม้ในชุมชน
ที่ทำการวิสาหกิจชุมชน ฐานการเรียนรู้ภาชนะจากกาบหมากและใบไม้ ลงมือเปลี่ยนกาบหมากที่ร่วงหล่นและใบไม้ในชุมชนได้ด้วยการอัดพิมพ์ร้อนให้กลายเป็นภาชนะใส่ของที่เป็นการเพิ่มมูลค่าของวัสดุในธรรมชาติ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสุทธิวาตวราราม (บ้านท่าฉลอม) จังหวัดสมุทรสาคร

บ้านท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาครในสมัยอยุธยาเคยเป็นบ้านท่าจีน ซึ่งมีคนจีนมาเทียบท่าค้าขายจนเกิดเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งต่อมาได้ตั้งชื่อเป็นเมืองสาครบุรี แล้วเจริญขึ้นจนเป็นจังหวัดสมุทรสาคร หนึ่งในย่านสำคัญที่ขยายจากบ้านท่าจีนเป็นพื้นที่ที่มีเรือฉลอมจอดอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า“ท่าฉลอม”และเป็นชุมชนประมงที่สำคัญของจังหวัด
ชุมชนท่าฉลอม เป็นชุมชนชาวจีนที่ใหญ่จังหวัดสมุทรสาครในสมัยอยุธยา ความโดดเด่นของที่นี่ คือ ความสวยงามของการนั่งรถสามล้อถีบของท่าฉลอมเพื่อชมเมืองท่าฉลอม ยังคงรักษาความดั้งเดิมไว้ได้อย่างดีเยี่ยม และเป็นชุมชนประมงที่สำคัญของจังหวัดจึงมีอาหารทะเลแห้งที่โดเด่นของจังหวัด และสามารถนั่งเรือชมปากอ่าวทางออกสู่ทะเลของเรือประมงจังหวัดสมุทรสาคร

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดแหลมสุวรรณาราม
เดิมชื่อว่า “วัดหัวบ้าน” เป็นวัดที่มีอุโบสถไม้เก่าแก่และสวยงามด้วยศิลปะจีนผสมไทยอย่างลงตัว วัดมีความแตกต่างจากวัดไทยทั่วไป คือ มีศาลเจ้าไต้ฮงกงและสุสานจีนตั้งอยู่ในบริเวณวัด ซึ่งสะท้อนให้เห็นการอยู่ร่วมกันได้อย่างดีของคนไทยและคนจีนในชุมชนท่าฉลอม
วัดสุทธิวาตวราราม
เดิมชื่อ “วัดท้ายบ้าน” เพราะอยู่ช่วงท้ายบ้านของท่าฉลอม วัดนี้อยู่ตรงบริเวณปากอ่าวซึ่งมีลมแรงพัดเข้ามา ต่อมาจึงเรียกว่า “วัดช่องลม” ถือว่าเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสมุทรสาคร
Street Art ท่าฉลอม
Street Art ที่มีการกระจายอยู่ในจุดต่างๆรอบเมือง ซึ่งในแต่ละภาพเกิดขึ้นจากศิลปินชื่อดังและนักศึกษาบางกลุ่มที่มาช่วยกันสร้างสรรค์ความสวยงามนี้ภาพต่างๆจะสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวและวิถีชีวิตของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ล่องเรือชมวิถีชีวิตชุมชนและชาวประมงในแม่น้ำท่าจีน
นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมบรรยาการทะเลอ่าวไทยทางออกสู่ทะเลของเรือประมง โดยการนั่งเรือชมวิถีชีวิตชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ชุมชนท่าฉลอม
หมู่บ้านชาวประมงท่าฉลอมเป็นตำบลใหญ่เรียกว่าตำบลท่าฉลอม เป็นเขตสุขาภิบาลแห่งแรก ในประเทศไทย มีผู้ประกอบอาชีพประมงเป็นจำนวนมาก มีตลาดและกิจการต่อเรือที่ตั้งเรียงรายอยู่บนฝั่ง แม่น้ำท่าจีน การเดินทางไปบ้านท่าฉลอม

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ทำลูกประคบสมุนไพรสูตรโบราณ
บ้านท่าฉลอม ศูนย์การท่องเที่ยวและกิจกรรมชุมชน กิจกรรมนี้สอนตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การห่อลูกประคบ การนึ่งลูกประคบ และการใช้ลูกประคบ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับลูกประคบที่ตนเองได้ลงมือทำกลับบ้านเพื่อนำไปทดลองใช้
เรือฉลอมจำลอง
บ้านท่าฉลอม ศูนย์การท่องเที่ยวและกิจกรรมชุมชน กิจกรรมนี้เป็นการสอนประกอบเรือฉลอมจำลองโดยป้าแจง ตั้งแต่การแนะนำลักษณะและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเรือฉลอม จากนั้นจึงนำชิ้นส่วนประกอบเข้าด้วยกันจนเป็นเรือฉลอม หลังเสร็จกิจกรรมแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับเรือฉลอมจำลองที่ตนเองได้ประกอบกลับบ้านเป็นที่ระลึกด้วย
ผ้ามัดย้อม
บ้านท่าฉลอม ศูนย์การท่องเที่ยวและกิจกรรมชุมชน กิจกรรมนี้เป็นการสอนทำผ้ามัดย้อมโดยพี่จิตร ตั้งแต่การแนะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ และสีจากธรรมชาติที่ใช้ทำผ้ามัดย้อม การมัดผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่าง ๆ ที่สวยงาม และการย้อมผ้า หลังเสร็จกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ผ้ามัดย้อมที่ตนเองได้ลงมือทำกลับบ้านไว้ใช้ด้วย
กระถางต้นไม้ด้วยผ้าขนหนู
บ้านท่าฉลอมการ์เด้น กิจกรรมนี้เป็นการสอนทำกระถางต้นไม้ด้วยผ้าขนหนูที่ไม่ใช้แล้วโดยน้าป้อม ตั้งแต่การเตรียมผ้าขนหนูที่ไม่ใช้แล้วและน้ำปูนซีเมนต์ที่ใช้ชุบ การชุบผ้าขนหนูลงในน้ำปูนซีเมนต์ การใส่ผ้าลงในแบบเพื่อขึ้นรูปเป็นกระถาง และการลงสีที่กระถางผ้าซึ่งแห้งและแข็งตัวแล้วให้มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม
ขนมเทียนสูตรโบราณ
บ้านท่าฉลอม ศูนย์การท่องเที่ยวและกิจกรรมชุมชน กิจกรรมนี้เป็นการสอนทำขนมเทียนสูตรโบราณโดยพี่อุ๊ ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การห่อ และการนึ่ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ทราบขั้นตอนการทำและได้ลองห่อขนมเทียน หลังเสร็จกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ชิมและได้รับขนมเทียนจำนวนหนึ่งกลับบ้านด้วย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม