วัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 53210
 ๑. สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระแท่นศิลาอาสน์เป็น ศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานของพระแท่นโดยรอบประดับด้วยลายกลีบบัว ภายในบริเวณวัดมีพิพิธภัณฑ์ที่เดิมเป็นศาลาการเปรียญ สร้างด้วยไม้ มี 2 ชั้น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นวัดเก่าที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ สิ่งที่น่าเข้าไปเยี่ยมชม ได้แก่ พระแท่นศิลาอาสน์ เป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 8 ฟุต ยาว 10 ฟุต สูง 3 ฟุต ฐานของพระแท่นโดยรอบประดับด้วยลายกลีบบัว มีตำนานว่า พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์เคยเสด็จมาจำศีลบำเพ็ญพุทธบารมี ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาจึงมีการสร้างพระแท่นศิลาอาสน์ขึ้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ต่อมาใน พ.ศ. 2451 ไฟป่าไหม้มณฑปและวิหารเหลือแต่แท่นศิลาแลง รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ บานประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ ทำจากไม้สักนำมาแกะสลัก เดิมเคยเป็นบานประตูวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกมาก่อน ภาพวาดเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของราชวงศ์จักรี ที่ประดับภายในพระวิหาร ส่วนใหญ่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อยู่ในศาลาการเปรียญเก่าตกแต่งแบบล้านนา ที่แห่งนี้ก่อตั้งโดยนายเฉลิมศิลป์ ชยปาโล โดยด้านหน้าประดับประดาด้วยไม้ดอกและสวนสมุนไพร สร้างด้วยไม้ มี 2 ชั้น ชั้นล่าง เป็นที่แสดงเครื่องมือจับสัตว์น้ำโบราณ และเรือพายโบราณ ชั้นบนคุณจะได้ชื่นชมเรื่องราวชีวิตชาววังและชาวบ้านสมัยก่อน เครื่องจักสาน เครื่องมือตีเหล็กและก่อสร้าง เครื่องมือปรุงยาสมุนไพรแผนโบราณ เครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย ธรรมาสน์หลวง ธรรมาสน์โบราณฝีมือช่างสมัยอยุธยา พระพุทธรูปแกะจากต้นโพธิ์โบราณ และพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย-กรุงศรีอยุธยา รวมถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวเหนือ เปิดให้เข้าชมฟรี ทุกวัน งานน่าเที่ยว งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ จัดขึ้นในวันเพ็ญ เดือน 3 ของทุกปี
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา 07.00 น. – เวลา 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ 0 5545 3527
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : วัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม