อุทยานพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๓ ตาบลพันท้ายนรสิงห์ อาเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
๑. อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์ ตั้งอยู่ตาบลพันท้ายนรสิงห์ ณ บริเวณสถานที่ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์หัวเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือหัก สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งเป็นชาวบ้านนรสิงห์ (ปัจจุบันคืออำเภอป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง) รับราชการเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยา ในคราวที่ คัดท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัย เมื่อเรือพระที่นั่งถึงบริเวณคลองโคกขาม คลองคดเคี้ยวมากเป็นเหตุให้หัวเรือชนกิ่งไม้ใหญ่ริมคลองโคกขาม ทาให้โขนเรือหักตกลงในน้า พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมทูลพระเจ้าเสือให้ประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาล พระเจ้าเสือทรงจาฝืนพระทัยตามพระราชกาหนด ที่วางไว้จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ และให้ทาศาลขึ้นสูงเพียงตา แล้วนาศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกชัยที่หักขึ้นพลีกรรมไว้บนศาล เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงความซื่อสัตย์จงรักภักดี ภายในอุทยานเป็นที่ตั้งของศาลพันท้ายนรสิงห์ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ กรมศิลปากรได้กันพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณรอบศาล ๑๐๐ ไร่ จัดตั้งเป็นอุทยาณพันท้ายนรสิงห์ พร้อมสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมประกอบด้วย ศาลพันท้ายนรสิงห์หลังใหม่ (อาคารคอนกรีตทรงไทย) ภายในศาลมีรูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าคนจริง ในลักษณะท่ายืนถือไม้พาย แต่งกายแบบนายท้ายเรือสมัยกรุงศรีอยุธยา) เป็นที่นับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก และเรือจาลองแบบโบราณที่ใช้ในขบวนเสด็จพระเจ้าเสือ หลักประหารพันท้ายนรสิงห์ และศาลเพียงตาพันท้ายนรสิงห์ และศาลเจ้าแม่ศรีนวล (คาดว่าสร้างขึ้นสืบเนื่องจากกระแสความนิยมในภาพยนตร์เรื่อง “พันท้ายนรสิงห์” ซึ่งเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล (เสด็จพระองค์ชายใหญ่) ได้ทรงนิพนธ์ “แม่นวล” เป็นตัวละครเพิ่มเติมขึ้น มาจากพงศาวดารเพื่อความสมบูรณ์ของภาพยนตร์
ศาลพันท้ายนรสิงห์เป็นศาลที่ชาวบ้านและผู้คนเคารพนับถือกันมาก โดยมักนารูปปั้นไก่มาถวายเพื่อขอพร รวมถึงมักจะมีผู้คนมาขอหวยขอพรต่าง ๆ จากสิ่งศักดิ์รอบศาลต่างๆ
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐ ๓๔๘๗ ๑๕๗๘
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอานวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม