พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

ตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 13 ถนนสุทธิพงษ์ ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 41320
๑. จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง มาจากการพบภาชนะลายเขียนสี เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยชาวบ้านเชียง ต่อมาปี พ.ศ. 2509 ชาวอเมริกัน ได้พบภาชนะดินเผาที่บ้านเชียงโดยบังเอิญจึงนำไปแจ้งที่กรมศิลปากร ปีพ.ศ. 2510 จึงได้มีการขุดค้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกปี พ.ศ.2515 ได้ขุดค้นเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จทอดพระเนตรแหล่งขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีในพร้อมกับแหล่งอื่นในบ้านเชียง และครั้งสุดท้ายปีพ.ศ. 2517-2518
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดทุกวันจันทร์)
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท ยกเว้น นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ผู้สูงอายุ (ชาวไทย) ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร : 0 4220 8340
โทรสาร : 0 4220 8341
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : https://www.facebook.com/bcnmfinearts
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง : Banchiang National Museum
https://www.finearts.go.th/banchiangmuseum/categorie/history
e-mail : nm_banchieng@finearts.go.th
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ( ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา

ที่ตั้ง เลขที่ ๑๓ ถนนวิเชียรชม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
๑. เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ตอนล่าง ภายในอาคารจัดแสดงมี ๒ ชั้นชั้นล่าง แบ่งการจัดแสดงเป็น ๘ ส่วน ได้แก่ วิถีชีวิตสงขลาภูมิลักษณ์คาบสมุทรสงขลาสงขลายุคก่อนประวัติศาสตร์สงขลาสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมืองสงขลาหัวเขาแดงเมืองสงขลาแหลมสนเมืองสงขลาบ่อยางสงขลาย้อนยุค ชั้นที่ ๒ มีห้องจัดแสดง ๕ ห้อง ได้แก่ความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ บันทึกสงขลาศิลปกรรมสงขลา ประวัติศาสตร์โบราณคดีภาคใต้ตอนล่างสุนทรียภาพในวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ตอนล่าง อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา เป็นโบราณสถานของชาติ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมตะวันตก อายุกว่า ๑๐๐ ปีเดิมเป็นคฤหาสน์ของผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) และเป็นที่พำนักและว่าราชการของพระยาวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาซึ่งต่อมาก็คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นได้ใช้เป็นศาลาว่าการมณฑล นครศรีธรรมราช และเป็นศาลากลางจังหวัดตามลำดับ ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานของชาติสงขลา
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
– เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
ชาวไทย ๓๐ บาท
ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท
นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : ๐ ๗๔๓๑ ๑๗๒๘
โทรสาร : ๐ ๗๔๓๑ ๑๘๘๑
๕.ช่องทางออนไลน์
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/songkhlamuseum/
อีเมล : songkhlamuseum@gmail.com
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการ
นักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง ถนนโรจนะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๐ ทรงมีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า “โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษาและตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่” กรมศิลปากร จึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นเพื่อเก็บรักษา จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ รวมถึงโบราณวัตถุที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาคารก่อสร้างด้วยเงินบริจาคจากประชาชน ซึ่งผู้บริจาคจะได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
อังคาร-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.ปิดทุกวันจันทร์
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
ชาวไทย 30 บาท
ชาวต่างประเทศ 150 บาท
นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ / ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม**
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. ๐ 3524 4570
๕. ช่องทางออนไลน์
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chaosamphraya
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ที่ตั้ง ๑๒๐ ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
๑.กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานประจำแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี เพื่อรวบรวม สงวนรักษา และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชร เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมท้องถิ่นของจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกำแพงเพชรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และเน้นสื่อจัดแสดงให้มีรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์สัมผัสหน้าจอ หุ่นจำลอง เป็นต้น การจัดแสดงแบ่งเป็น ๓ อาคาร โดย อาคารนิทรรศการ

-จัดแสดงเรื่องราวเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคประวัติศาสตร์ โดยแบ่งยุคสมัยเป็น ทวารวดี ลพบุรี ศรีวิชัย อาคารนิทรรศการ

-จัดแสดงยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ อาคารนิทรรศการ
-จัดแสดงกำแพงเพชรในปัจจุบัน และชนกลุ่มน้อย
๒.วันเวลา เปิด/ปิด วันพุธ- วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
ปิด วันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่
ชาวไทย ๒๐ บาท
ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท
นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ นักบวชคนพิการ ผู้สูงอายุ (เข้าชมฟรี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๙๗๓ ๘๐๑๓
๕.ช่องทางออนไลน์
www.//finearts.go.th/kamphaengphetmuseum
Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ /ทางลาด /ลานจอดรถ /ร้านอาหาร /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม