พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา

ที่ตั้ง เลขที่ ๑๓ ถนนวิเชียรชม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
๑. เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ตอนล่าง ภายในอาคารจัดแสดงมี ๒ ชั้นชั้นล่าง แบ่งการจัดแสดงเป็น ๘ ส่วน ได้แก่ วิถีชีวิตสงขลาภูมิลักษณ์คาบสมุทรสงขลาสงขลายุคก่อนประวัติศาสตร์สงขลาสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมืองสงขลาหัวเขาแดงเมืองสงขลาแหลมสนเมืองสงขลาบ่อยางสงขลาย้อนยุค ชั้นที่ ๒ มีห้องจัดแสดง ๕ ห้อง ได้แก่ความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ บันทึกสงขลาศิลปกรรมสงขลา ประวัติศาสตร์โบราณคดีภาคใต้ตอนล่างสุนทรียภาพในวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ตอนล่าง อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา เป็นโบราณสถานของชาติ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมตะวันตก อายุกว่า ๑๐๐ ปีเดิมเป็นคฤหาสน์ของผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) และเป็นที่พำนักและว่าราชการของพระยาวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาซึ่งต่อมาก็คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นได้ใช้เป็นศาลาว่าการมณฑล นครศรีธรรมราช และเป็นศาลากลางจังหวัดตามลำดับ ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานของชาติสงขลา
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
– เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
ชาวไทย ๓๐ บาท
ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท
นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : ๐ ๗๔๓๑ ๑๗๒๘
โทรสาร : ๐ ๗๔๓๑ ๑๘๘๑
๕.ช่องทางออนไลน์
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/songkhlamuseum/
อีเมล : songkhlamuseum@gmail.com
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการ
นักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง ถนนโรจนะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๐ ทรงมีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า “โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษาและตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่” กรมศิลปากร จึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นเพื่อเก็บรักษา จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ รวมถึงโบราณวัตถุที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาคารก่อสร้างด้วยเงินบริจาคจากประชาชน ซึ่งผู้บริจาคจะได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
อังคาร-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.ปิดทุกวันจันทร์
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
ชาวไทย 30 บาท
ชาวต่างประเทศ 150 บาท
นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ / ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม**
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. ๐ 3524 4570
๕. ช่องทางออนไลน์
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chaosamphraya
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด จังหวัดตราด

ที่ตั้ง เลขที่ 9 ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ตั้งอยู่บริเวณถนนสันติสุข ใกล้กับศาลากลางจังหวัดตราด และอนุสาวรีย์เสด็จพ่อ ร.5 โดดเด่นด้วยอาคารไม้เก่าแก่ มีลักษณะเป็นเรือนไม้เสาปูน ยกพื้น ใต้ถุนสูง หลังคาทรงปั้นหยา ภายในจัดแสดงถึงประวัติของเมืองตราด เรื่องราวสำคัญต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดตราด โดยมีห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร แบ่งออกเป็น 6 หัวข้อประกอบด้วย 1.มรดกธรรมชาติและวัฒนธรรมเมืองตราด จัดแสดงเรื่องภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของจังหวัดตราด 2.ผู้คนเมืองตราด จัดแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดตราด อาทิ ไทย จีน เขมร ญวน ชอง 3.ลำดับทางโบราณคดีและประวัติเมืองตราด จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดตราดตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต้นสมัยประวัติศาสตร์ สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์(สมัยรัชกาลที่ 1-4) 4.เหตุการณ์สำคัญในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดแสดงเรื่องการส่งมอบเมืองตราดคืนจากฝรั่งเศส การพระราชทานพระแสงราชศาสตราประจำเมือง และการเสด็จประพาสเมืองตราด 5.เหตุการณ์ยุทธนาวีเกาะช้าง จัดแสดงเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ยุทธนาวี โดยจำลองห้องจัดแสดงเป็นเรือรบ 6.ตลาดเมืองตราด จัดแสดงเรื่องราวการค้าในตลาดเก่าและสภาพปัจจุบันของตลาดเมืองตราด
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. (พักเที่ยงเวลา 12.00 – 13.00 น.) หยุดวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
คนไทย เด็กส่วน สูงเกินกว่า 100 เซนติเมตรขึ้นไป (5 บาท) ผู้ใหญ่ (10 บาท)
ชาวต่างชาติ เด็กต่างชาติ สูงเกินกว่า 100 เซนติเมตรขึ้นไป (10 บาท) ผู้ใหญ่ต่างชาติ (30 บาท)
**กรณีศึกษาดูงานเป็นหมู่คณะให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาเก็บค่าเข้าชมเป็นรายๆ ไป**
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 6450 5263 
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.museumthailand.com/th/museum/The-town-of-Trat-museum .
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก / ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว – ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท

ที่ตั้ง หมู่ 6 ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท

1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ตั้งขึ้นด้วยความสนใจของพระชัยนาทมุนี (นวม สุทัศโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาทและอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ วรวิหาร ซึ่งได้รวบรวมศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ที่พบในเขตจังหวัดชัยนาทและบริเวณใกล้เคียงมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานของวัดเป็นจำนวนมาก ต่อมาพระชัยนาทมุนีได้ยินดีมอบศิลปวัตถุ โบราณวัตถุดังกล่าวให้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทย ในพุทธศักราช 2509 กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานขึ้นในบริเวณใกล้กับวัดพระบรมธาตุ วรวิหาร ตั้งชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแด่พระชัยนาทมุนี เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2512 เป็นต้นมา
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. – 16.00 น.
ปิดวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ชาวไทย 10 บาท/ชาวต่างประเทศ 50 บาท
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. 0 5640 5621
๕. ช่องทางออนไลน์ Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี
E-mail : chainatmuni@hotmail.com
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ

ที่ตั้ง ถนน ปิ่นดำริห์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
๑.พิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ภายในเขตกำแพงเมืองเก่าของจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ ๙ เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี สร้างด้วยไม้สักเป็นเรือนไทยหมู่ที่แบบเรือนไทยภาคกลาง พิพิธภัณฑ์จัดแสดง ๓ ส่วน คือ ส่วนของประวัติศาสตร์เมือง ส่วนของมรดกดีเด่น เช่น หินอ่อน แหล่งน้ำมัน และส่วนของชาติพันธุ์วิทยา แสดงถึงชนเผ่าต่าง ๆ เช่น มูเซอ กะเหรี่ยง ลีซอ และการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น มีห้องโสตทัศนูปกรณ์ และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้ระบบมัลติมีเดีย มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองของจังหวัด ผลิตภัณฑ์ชาวเขาและกลุ่มแม่บ้าน นอกจากนั้นมีศูนย์จริยศึกษาซึ่งดำเนินการสอนเยาวชนจากโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัด ด้านพุทธศาสนา งานศิลปประดิษฐ์ งานแกะสลัก และในปัจจุบันได้ส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้สายพันธุ์กล้วยมากกว่า ๑๐๐ ชนิด
๒.วันเวลา เปิด/ปิด
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๕๕๗๑ ๒๙๑๙
๕.ช่องทางออนไลน์
– พิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติฯ
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ลานจอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม