ตูบแก้วมา จ.ลำปาง

ที่ตั้ง 198 ม .6 ตำบล เสริมซ้าย อำเภอ เสริมงาม ลำปาง
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์
๒.ชื่อผู้ประกอบการ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเส้นใยครบวงจรบ้านนาเดา
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายลาย “สร้อยดอกหมาก”
รายละเอียดความโดดเด่น สั้นๆ เอกลักษณ์ของกลุ่มทอผ้าบ้านนาเดา
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าฝ้ายลาย “ลายดอกพริกไทย”
รายละเอียดความโดดเด่น สั้นๆ เอกลักษณ์ของกลุ่มทอผ้าบ้านนาเดา
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.00 – 18.00 น. ทุกวัน
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 9553 4390
๖.ช่องทางออนไลน์
https://m.facebook.com/profile.php?id=927255430718366

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เมืองลำปาง (มิวเซียมลำปาง)

ที่ตั้ง ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง
๑.พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เมืองลำปาง หรือ มิวเซียมลำปาง คือ หนึ่งในต้นแบบของการสร้างสรรค์แหล่งเรียนรู้ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้(Discovery Museum) ประเภทพิพิธภัณฑ์เมือง (City Museum) ในระดับจังหวัดลำปาง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการสร้างโครงข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในภูมิภาค มิวเซียมลำปาง จัดแสดงนิทรรศการชุด “คน-เมือง-ลำปาง” โดยนำเสนอผ่านหัวข้อหลักๆ ว่าด้วยเรื่อง “คน” ที่มีบทบาทสำคัญปรากฎอยู่ในเรื่องราวของจังหวัดลำปาง โดยเฉพาะผู้มีส่วนสำคัญต่อประวัติศาสตร์ โบราณคดี เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หัวข้อที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของ “เมือง” ลำปาง ที่จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับนครลำปางตั้งแต่อดีตจนถึงลำปางในอนาคต การเปลี่ยนผ่าน และเหตุการณ์สำคัญในอดีตส่งผลอย่างไรมาถึงภาพของลำปางในยุคปัจจุบัน และสุดท้ายในหัวข้อ “ลำปาง”
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5420 9855
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/lampangmuseum/
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วิหารพระนางจามเทวี วัดปงยางคก จ.ลำปาง

ที่ตั้ง ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
๑.เป็นโบราณสถานที่สำคัญมีการเขียนลายคำที่เป็นอัตลักษณ์ โดดเด่นที่สุดในภาคเหนือ สันนิษฐานว่าวัดปงยางคก สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1243 มีตำนานเล่าว่า ครั้งเมื่อพระนางจามเทวี ผู้ครองนครหริภุญชัย มาเยี่ยมเจ้าอนันตยศ ราชบุตร ผู้มาครองนครเขลางค์ลำปาง ระหว่างเดินทางนำฉัตรทองไปบูชาที่พระธาตุลำปางหลวง ช้างพระที่นั่งย่อตัวหมอบชูงวงคารวะ พระนางเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงพักพล ณ ที่นั้น ตกกลางคืน พระนางอธิษฐานว่าอธิษฐานว่า หากมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ปรากฏขึ้น จากนั้นมีแสงพุ่งออกมาจากจอมปลวก จากนั้นพระนางจามเทวีจึงทรงให้ปลูกมณฑปปราสาท ครอบจอมปลวกไว้ ตลอดจนสร้างสิงห์คาบนาง สร้าง กู่จ๊างนบ แต่ต่อมาเพี้ยนมาเป็น “วัดปงยางคก”
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 6921 3068
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมชุมชนท่ามะโอ จังหวัดลำปาง

ชุมชนบ้านท่ามะโอ มีประชากรหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ อาทิ ไทใหญ่ พม่า จีน ฝรั่ง ขมุ ไทลื้อ ฯลฯ ชุมชนท่ามะโอ มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดในช่วงของการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ จนเกิดเป็นชุมชนที่มีความเจริญ   ดูได้จากหลักฐานที่มีบ้านเรือน อันมีเอกลักษณ์ ต้นสักสูงตระหง่าน วัดเก่าที่แทรกตัวอยู่ในชุมชน วิถีชีวิตผู้คนที่เรียบง่าย

เป็นชุมชนเก่าแก่ของลำปางนับตั้งแต่ก่อตั้งเมืองเขลางค์นคร ที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ มาอยู่รวมกัน ทำให้มีการผสมผสานวัฒนธรรมไว้อย่างลงตัว มีแหล่งท่องเที่ยวอันประกอบไปด้วยแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอย่างมากมาย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

กู่เจ้าย่าสุตา (วัดกากแก้วร้าง)
กู่เจ้าย่าสุตาเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในย่านนั้น และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โบราณคดี โดยกรมศิลปากรได้ขุดแต่งแสดงฐานรากอาคารต่าง ๆ และอนุรักษ์ซ่อมแซมซุ้มประตูโขง โดยเฉพาะประติมากรรมปูนปั้นประดับซุ้มประตูเอาไว้

วัดประตูป่อง
วัดประตูป่องตั้งอยู่ระหว่างเมืองรุ่นที่ 1 และเมืองรุ่นที่ 2 วัดนี้สร้างตรงประตูเมือง จึงตั้งชื่อว่า
“วัดประตูป่อง” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2220 วิหารสร้างปี พ.ศ. 2409 โดยเจ้าวรญาณรังสี เจ้าเมืองนครลำปาง วิหารโปร่งไม่มีฝาผนัง สร้างแบบโบราณช่างหลวง หน้าบรรณเป็นลวดลายจีนสวยงาม พบว่ามีการบูรณะปฏิสังขรณ์วิหารหลังนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2432 ก่อผนังปิดรอบบูรณะวิหารครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2514 ได้นำภาพฝาผนังเก่าที่ชำรุดรื้อทิ้งเปลี่ยนเป็นภาพฝาผนังน้ำแต้ม ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้จดทะเบียนกรมศิลปากร และได้ทำการบูรณะในครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ. 2540 โดยเจ้าอาวาสได้ทำหนังสือขออนุญาตกรมศิลปากรในการบูรณะซ่อมแซม เขียนภาพฝาผนังเป็นวิถีชีวิตของชาวลำปาง 12 เดือน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

บ้านหลุยส์
บ้านหลุยส์ เป็นเรือนไม้โบราณกึ่งปูนทรงปั้นหยาสองชั้น อดีตบ้านของหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์
มีกลิ่นอายโคโลเนียล ด้านหน้ามีมุขแปดเหลี่ยม (ยื่นออกมาหกด้าน) ตีเกล็ดไม้ระบายอากาศโปร่งพร้อมบานหน้าต่างมองเห็นได้โดยรอบ ตัวเรือนด้านล่างก่อด้วยปูน ซุ้มประตูโค้งแบบฝรั่งพร้อมช่องระบายอากาศไม้แกะสลักที่ละเอียดสวยงาม ด้านข้างมีอาคารสำนักงานเก่าและมีต้นเหลืองอินเดียที่จะผลิดอกบานสะพรั่งในช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคมและเมษายนของทุกปี 

บ้านเสานัก
บ้านเสานัก เป็นบ้านที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นมากหลังหนึ่งในจังหวัดลำปาง เป็นบ้านไม้ที่มี
เสาไม้สัก มากถึง 116 ต้น จึงเรียกว่าบ้านเสานัก ตามภาษาพื้นเมือง “นัก” มีความหมายว่า “มาก” สร้างด้วย ศิลปะพม่าผสมล้านนา รูปแบบ และความเก่าของบ้านเสานัก สะท้อนให้เห็น ถึงวิถีชีวิต รสนิยม แบบแผนประเพณีพื้นเมืองของชาวลำปางเป็นอย่างดีดังนั้นบ้านเสานักจึงเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า

ถนนสายวัฒนธรรม
ถนนสายวัฒนธรรมลำปางเป็นถนนมรดกวัฒนธรรมที่มีความสวยงาม เก่าแก่และยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน เดิมทีถนนสายนี้เป็นแนวกำแพงเมืองเดิม คือ กำแพงเมืองเขลางค์นครรุ่นที่ 1 สองข้างทางประกอบไปด้วยชุมชนที่มีผู้คนอาศัยมาตั้งแต่โบราณ มีโบราณสถานที่สำคัญในบริเวณใกล้เคียง ถือเป็นถนนคนเดินในแบบพื้นเมืองของชาวลำปางเกิดจากความร่วมมือของเทศบาลนครลำปางและชุมชนในพื้นที่รอบ ๆ จัดกิจกรรมกาดหมั้วคัวแลง ในทุกเย็นวันศุกร์ เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

แม่น้ำวัง
ชุมชนมีแม่น้ำวัง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านมีจุดชมวิวให้ชมทัศนียภาพที่สวยงามผ่านคุ้งน้ำ บริเวณ  ท่าเก๊าม่วง ตรงข้ามจวนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

โครงการเดินตามรอยเท้าพ่อเกษตรอินทรีย์ และ โครงการทหารพันธุ์ดี ค่ายสุรศักดิ์มนตรี
เป็นโครงการของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ต้องการให้ทหารกองประจำการมีองค์ความรู้จากการทำเกษตรปลอดสารเคมี การเพาะกล้าผัก ฯลฯ สามารถนำไปดำเนินการ และส่งเสริมให้ชุมชน เรียนรู้การทำเกษตรปลอดสารเคมี และต่อยอดสู่การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ทำสวยกาบ
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวชุมชนท่ามะโอ กิจกรรมวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือทำ ซึ่งเป็นเครื่องสักการะ เพื่อการถวายเป็นพุทธบูชา

ตัดตุงพญายอ

ทำผางประทีป

ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวชุมชนท่ามะโอ กิจกรรมวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือทำ ซึ่งเป็นเครื่องสักการะ เพื่อการถวายเป็นพุทธบูชา

ทำต้นผึ้ง
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวชุมชนท่ามะโอ กิจกรรมวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือทำ ซึ่งเป็นเครื่องสักการะเพื่อการถวายเป็นพุทธบูชา

ปั่นจักรยาน
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวชุมชนท่ามะโอปั่นจักรยานตามเส้นทางในชุมชนเยี่ยมชมบ้านเก่าที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามและทรงคุณค่า

นั่งรถราง
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวชุมชนท่ามะโอนั่งรถรางเยี่ยมชมนครลำปาง อันเป็นดินแดนที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เยี่ยมชมโบราณสถาน และสิ่งปลูกสร้างที่สวยงามและมีความสำคัญ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม