วัดอุภัยภาติการาม (ชำปอกง) จังหวัดฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง เลขที่ ๔๗๕/๗ก ถนนศุภกิจ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

๑. วัดอุภัยภาติการามหรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า “วัดซำปอกง” เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์อนัมนิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน ๒ไร่ ๓ งาน ๔๐ ตารางวา ซึ่งปรากฏประวัติว่าสร้างในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 5 เมื่อ ร.ศ.125 (พ.ศ.2449) โดยขุนพิพิธพานิชกรรมได้สละที่ดินที่ ตลาดบ้านใหม่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา สร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขึ้นในปี ร.ศ.126 (พ.ศ.2450) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพ-ฉะเชิงเทราและได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมายังวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปด้วย ทรงมีพระราชศรัทธาบริจาคเงินจำนวน 200 บาทพระราชทานสมทบในการสร้างอารามและปฏิสังขรณ์พระพุทธศาสนา กับได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดอุภัยภาติการาม”ส่วนพระพุทธรูปในวิหารพระราชทานนามว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก”
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวัน เวลา 07.00 – 17.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 3881 6904
๕. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/watsampokong/
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /)
/ ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมตลาดบ้านใหม่

ชุมชนคุณธรรมตลาดบ้านใหม่ ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำบางปะกง ริมถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นตลาดที่อยู่คู่กับชาวแปดริ้วมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นย่านเศรษฐกิจเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 150 ปี แต่เดิมเรียกกันว่า “ตลาดริมน้ำ” เดิมเป็นชุมชนที่มีชาวไทย – จีน อาศัยอยู่ 

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) มีอาคารบ้านเรือนที่ยังคงสภาพบ้านไม้โบราณปลูกเป็นตึกแถว 2 ชั้นติดต่อกันจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยยังรักษาสภาพและความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารอร่อย ขนมและของขบเคี้ยวนานาชนิด รวมถึงอาหารคาวหวานโบราณหลากหลายชนิด

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดเทพนิมิตร

เริ่มสร้างพระอุโบสถขึ้นใน พ.ศ.2418 แล้วเสร็จใน พ.ศ.2422 เมื่อพระอุโบสถแล้วเสร็จได้เรียกชื่อวัดว่า “วัดเทพนิมิตร” และมอบให้พระ อาจารย์ท้วมเป็นผู้ปกครองวัด

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)  ปัจจุบันเป็นพุทธสถานมหายานแบบอานัมนิกาย (ญวน) ตามประวัติกล่าวว่า ขุนอัษฎาริวานุวัตร  (จีนฮี้) กับขุนพิพิธพาณิชย์กรรม  (จีนแดง ) คหบดีชาวจีนพ่อลูกแซ่เล้าเจ้าของ ตลาดล่าง มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างขึ้นในพ.ศ.2449 เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อซําปอกง ซึ่งจําลองมาจากวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จประพาสวัดอุภัยภาติการาม เมื่อ พ.ศ.2450 ในคราวเสด็จพระราชดําเนินเมืองฉะเชิงเทรา

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่) ตั้งอยู่ถนนศุภกิจตรงข้ามตลาดบนของ ย่านตลาดบ้านใหม่ เป็นพุทธสถานจีนฝ่ายมหายาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2449 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยนายเทียนอิง     แซ่ลี้ และพระอาจารย์จีน วังส์ สมาธิวัตร หรือหลวงจีนสกเหง ศิษย์ของวัด มังกรกมลาวาส  (เล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร ที่ตั้ง ของวัดเป็นไปตามหลักความเชื่อ เรื่องฮวงจุ้ยมังกร

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่)

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) ตั้งอยู่ริมน้ำ มีอาคารบ้านเรือนที่ยังคงสภาพบ้านไม้โบราณปลูกเป็นตึกแถว 2 ชั้นติดต่อกันจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยยังรักษาสภาพและความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารอร่อย ขนมและของขบเคี้ยวนานาชนิด รวมถึงอาหารคาวหวานโบราณหลากหลายชนิด

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

รับประทานอาหาร/เครื่องดื่มในพื้นที่ตลาดริมน้ำ ๑๐๐ ปี (ตลาดบ้านใหม่) ซึ่งมีให้เลือกหลายร้านที่มีพื้นที่ริมน้ำ  โดยรับประทานอาหาร/เครื่องดื่มและสามารถชมบรรยากาศสายน้ำ และวิถีชีวิตริมน้ำที่สวยงามได้ 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน “เล่าขานตำนาน ๑๐๐ ปี ชุมชนไทยจีนตลาดบ้านใหม่”

ชุดการแสดงที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนคุณธรรมตลาดบ้านใหม่  ชื่อชุด “เล่าขานตำนาน ๑๐๐ ปี ชุมชนไทยจีนตลาดบ้านใหม่” การแสดงชุด..เล่าขานตำนาน ๑๐๐ ปี ชุมชนไทย – จีน ตลาดบ้านใหม่ เมืองแปดริ้ว เป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวแปดริ้วรวมถึงคนไทยเชื้อสายไทยจีนในชุมชน

ล่องเรือชมวิถีชีวิตริมน้ำ

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) นั่งเรือชมวิถีชีวิตริมน้ำ ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) บ้านเรือนแบบโบราณดั้งเดิม และป่าชายเลน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม