ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำ จังหวัดลำพูน

ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำ ครั้งในสมัยอดีตมีขบวนไพร่พลของพระนางจามรี ที่หนีศึกสงครามเดินทางมาจากหลวงพระบางเพื่อหาสถานที่สร้างเมืองใหม่ โดยมีช้างคู่บารมีชื่อ พลายสุวรรณมงคล ติดตามมาด้วย เมื่อครั้งขบวนผ่าน ณ สถานที่แห่งนี้เครื่องประดับของพญาช้างที่ทำมาจากทองคำ มีลักษณะเป็นพวงตกหล่นลง ต่อมาจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านพวงคำ หรือ บ้านปวงคำ ตามภาษาท้องถิ่น

ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำ เป็นชุมชนท่องเที่ยว บวร On Tour ที่มีการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนในทุกด้านสู่ความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ผ้าซิ่นจกโหล่งลี้ ที่มีความงดงามด้วยลวดลายสร้างสรรค์ตามจินตนาการของผู้ทอในอดีต และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีที่พักโฮมสเตย์คุ้มภูหมื่นลี้บนพื้นที่ทางธรรมชาติที่สวยงามล้อมรอบ มีความสะอาด ตลอดถึงผู้ให้บริการที่พักมีไมตรี ให้บริการนักท่องเที่ยวด้วยความอบอุ่นดุจญาติมิตร มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดพวงคำ
ถือเป็นสถานที่สำคัญของชุมชนที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนบ้านปวงคำแห่งนี้
อีกทั้ง ยังเป็นลานกิจกรรมของชุมชนในการจัดงานต่าง ๆ งานประเพณีสำคัญ งานทางศาสนารวมถึงต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนอีกด้วย

ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลลี้ ณ วัดพวงคำ
ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าจกโหล่งลี้ ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องของการทอผ้าของชุมชน อาทิ การย้อมสี การทอ การปัก เป็นต้น

ตลาดนัดชุมชน “กาดนัดพอเพียง หล่อเลี้ยงวิถีชีวิต”
เป็นตลาดซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร และสินค้าพื้นถิ่นของชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ภูหมื่นลี้
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม สามารถมองเห็นวิวสวนลำไยที่เขียวขจีทิวทุ่งนาข้าวสีเหลืองทอง จึงถือว่าเป็น Landmark ที่สำคัญของชุมชนที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภูหมื่นลี้
ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำเป็นชุมชนที่มีการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีพ มีการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เป็นการสร้างรายได้ให้ครัวเรือน โดยการจำหน่ายพืชผักสวนครัว ถือเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือนอีกด้วย

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น การฟ้อนเล็บ การฟ้อนใต้ฟ้าปวงคำ เป็นต้น
ลานกิจกรรมของ ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำเป็นการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชนแบบล้านนา เช่น การฟ้อนเล็บ การฟ้อนใต้ฟ้าปวงคำ เป็นต้น ซึ่งเป็นการแสดงที่มีความอ่อนช้อย งดงาม และสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

กิจกรรมการสาธิตและฝึกปฏิบัติการประกอบอาหารพื้นบ้าน
ลานกิจกรรมของชุมชนวัดพวงคำ เป็นกิจกรรมการสาธิต และร่วมฝึกปฏิบัติประกอบอาหารพื้นบ้านของชาวบ้านปวงคำ เช่น น้ำพริกถั่วเน่า น้ำพริกปลาย่าง ฯลฯ

กิจกรรมนั่งรถรางนำเที่ยวชุมชน
ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำ เป็นกิจกรรมที่นำพานักท่องเที่ยวเยี่ยมชมบริบท ภูมิทัศน์โดยรวมของชุมชน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ตามสภาพความเป็นจริงโดยจะมีมัคคุเทศก์ของชุมชนที่คอยแนะนำสถานที่สำคัญ รวมถึงให้ความรู้แต่ละสถานที่กับนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดป่าบุก จังหวัดลำพูน

ชุมชนคุณธรรมวัดป่าบุก บรรพบุรุษดั้งเดิมเป็นไท-ยองที่อพยพมาจากรัฐฉาน (ประเทศพม่า) เมื่อก่อนบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านนี้เป็นป่าที่มีต้นบุกขึ้นหนาแน่น จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านป่าบุก” เป็นชุมชนขนาดเล็ก เป็นชุมชนที่มีการน้อมนำหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรมอันดีงามเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ชุมชนคุณธรรมบ้านป่าบุกได้รับรางวัลมากมาย อาทิ ชุมชนคุณธรรมฯ ต้นแบบ หมู่บ้านรักษาศีล 5 ชุมชนปลอดขยะ (Zero waste) เป็นต้น

ชุมชนคุณธรรมบ้านป่าบุก เป็นชุมชนท่องเที่ยว บวร On Tour ที่มีการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนในทุกด้านสู่ความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียง เช่น กระเป๋านกฮูกจาก เศษผ้า กระเป๋าผ้าใส่แก้วน้ำ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นบ้าน เป็นต้น ที่พักโฮมสเตย์ ที่มีบรรยากาศที่เน้นความสะอาด ใช้วัสดุพื้นถิ่นในการตกแต่ง ตลอดถึงผู้ให้บริการที่พักมีไมตรี ให้บริการนักท่องเที่ยวด้วยความอบอุ่นดุจญาติมิตร การแสดงศิลปวัฒนธรรมแบบชาวไทยองในการให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว และผู้มาเยี่ยมเยือน อาหารพื้นถิ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์ รสชาติดี อาทิ น้ำพริกนอนออง ปู้เขียวหางดอก กิมจิยอดผักกาด เป็นต้น 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดป่าบุก : พิพิธภัณฑ์วัดป่าบุก
ชุมชนคุณธรรมวัดป่าบุกได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และเป็นที่เก็บรวบรวมภูมิปัญญาต่าง ๆ ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ของชุมชน ประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรม  วิถีชีวิต ท้องถิ่นและได้มีการพัฒนาทำเป็นฐานข้อมูลขึ้น โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ ณ วัดป่าบุก ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

เสื้อบ้าน เสาใจบ้าน
เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนคุณธรรม บ้านป่าบุก อีกทั้งยังเป็นลานกิจกรรม เพื่อจัดงานต่าง ๆ ของชุมชน

ตลาดม่วนใจ๋
เป็นตลาดสินค้าเกษตร และสินค้าพื้นถิ่นของชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในลักษณะของสะพานทอดยาวตามแนวท้องทุ่งรวงทอง ซึ่งตอนเย็นชมพระอาทิตย์ตกงดงามมาก จึงถือว่าเป็น Landmark ที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของชุมชนที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น ฟ้อนยอง รำกลองหลวง เป็นต้น
ลานกิจกรรมของ ชุมชนคุณธรรม วัดป่าบุก การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชนชาวยอง เช่น ฟ้อนยอง รำกลองหลวง เป็นต้น ซึ่งเป็นการแสดงที่สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวยองได้เป็นอย่างดี

กิจกรรมการสาธิตและฝึกปฏิบัติการประกอบอาหารพื้นบ้าน
ลานกิจกรรมของชุมชนวัดป่าบุก เป็นกิจกรรมการสาธิต และร่วมประกอบอาหารพื้นบ้านแบบชาวยอง บ้านป่าบุก เช่น ปู้เขียวหางดอก น้ำพริกนอนออง ฯลฯ

กิจกรรมการสาธิตและฝึกปฏิบัติการ ลงแขกเกี่ยวข้า
ทุ่งเศรษฐี การสร้างความร่วมมือให้คนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคีในการร่วมกิจกรรม ทั้งในการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยวและผู้มาศึกษาดูงานอีกด้วย เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว การลงแขกเก็บลูกลำไย เป็นต้น

กิจกรรม “ชุมชนปลอดขยะ หน้าบ้านน่ามอง”

ชุมชนคุณธรรมวัดป่าบุก การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ร่วมสร้าง โดยอาศัยความร่วมมือคนในชุมชน ให้เกิดความตระหนักร่วมกัน ในการรณรงค์ การรักษาความสะอาด สถานที่ท่องเที่ยว และการพัฒนาสถานที่ อาคาร บ้านเรือน ถนนสาธารณะตลอดจนหน้าบ้านให้มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสะอาด สวยงาม น่าอยู่อาศัย จึงมีกิจกรรม “ชุมชนปลอดขยะ หน้าบ้านน่ามอง” ทำให้ปัญหาขยะในชุมชนได้รับการแก้ไข โดยเริ่มจากการคัดแยก เปลี่ยนขยะเป็นเงิน เป็นปุ๋ย ทำเส้นทางขยะ 

กิจกรรม “ชุมชนปลอดขยะ หน้าบ้านน่ามอง” กิจกรรม 4 ฐาน การเรียนรู้

ชุมชนคุณธรรมวัดป่าบุก ชุมชนต้นแบบ สามารถเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดให้กับชุมชนอื่น ๆ เข้ามาศึกษาดูงานได้ ประกอบด้วย
1.แหล่งเรียนรู้การจัดการขยะในบ้าน และขอบคันหินเบาจากโฟม (บ้านอาจารย์นพรัตน์ อุพงค์)
2.แหล่งเรียนรู้พื้นที่ว่างสร้างอาหาร (บ้านนางสายสุภาพ มณีกรรณ์)
3.แหล่งเรียนรู้การจัดการเศษผ้า สร้างอาชีพ สร้างรายได้ (บ้านนางจรรยา กันทาทรัพย์)
4.แหล่งเรียนรู้ก้านตาลแปลงร่าง (บ้านนายอินทร ยะรินทร์)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม