ตะกร้าอเนกประสงค์ จังหวัดสกลนคร

ตั้งอยู่ที่ บ้านแป้น ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรน ตะกร้าเอนกประสงค์
สำหรับ ตั้งกระถางดอกไม้ ใส่วัสดุ ใส่เสื้อผ้า ดัดแปลงเป็นโคมไฟ
ความเป็นมา เนื่องจากกลุ่มทอเสื่อกกได้พัฒนาลวดลายและสีสันในการทอเสื่อกก รวมถึงความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายสวยงาม
๒.ชื่อผู้ประกอบการ นางวิจิตรา แสงพรมชาลี
๓.เบอร์โทรศัพท์ 08 3328 6486
line id 08 3328 6486

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ข้าวเปียกโบราณฟรานซิสโก จังหวัดสกลนคร

ที่ตั้ง ๒๘๐ หมู่ที่ ๖ บ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
๑. ร้านอาหารเช้า และอาหารอื่นๆ ที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมของชาวท่าแร่ และชาวสกลนคร โดยสถานที่ตั้งเป็นตึก ๒ ชั้น สถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส ผสมเวียดนาม ซึ่งยังคงความสวยงามของลวดลายแบบฉบับฝรั่งเศษ โดยปัจจุบันได้ต่อเติมและดัดแปลงเป็นร้านอาหาร
๒. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
๒.๑ กาแฟเวียดนาม
๒.๒ ข้าวเปียกเส้น (ก๊วยจั๊บญวณ)
๒.๓ สุกี้โบราณ
๒.๔ ไข่กะทะ
๓. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดทุกวัน เวลา ๐๖.๐๐ น. – ๑๘.๐๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
คุณพีน่า ๐๘ ๗๘๖๖ ๔๓๘๓
คุณนิตยา ๐๙ ๐๒๕๔ ๘๘๓๓
ป๋าโจ ๐๖ ๓๙๑๓ ๖๐๒๒
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : ข้าวเปียกโบราณฟรานซิสโก บ้านท่าแร่

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อาสนวิหารอัครเทวดา จังหวัดสกลนคร

ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
๑. อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล เป็นโบสถ์รูปทรงเรือใหญ่สวยงาม และสร้างเพื่อเป็นการระลึกถึงการอพยพมาตั้งถิ่นฐานของคริสตชนในหมู่บ้าน ท่าแร่ ใช้เป็นสถานที่ประกอบทำพิธีกรรมทางศาสนา แต่เดิมนั้นจะเป็นอาคารไม้ มีหอด้านหน้า 2 หอด้านหลังสุดอีก 1 หอ มีมุขด้านข้างๆ ละ 2 มุข จุคนได้มากกว่า 1,000 คนเลยค่ะ ต่อมาก็ได้มีผู้มีจิตศรัทธาซื้อระฆัง 3 ใบ ขนาดเล็กใหญ่กันตามลำดับมาถวายวัด ทางวัดเลยทำการดัดแปลงอาคารให้ใช้กับระฆัง 3 ใบนี้ได้ โดยการตัดหอด้านหน้าทั้ง 2 หลังออก และสร้างหอใหม่ตรงกลาง เพื่อแขวนระฆังทั้ง 3 ใบ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2521 นั้น ก็ได้ทำการสร้างพระวิหารขึ้นใหม่เพื่อทดแทนอาคารเก่าที่ทรุดโทรม โดยรื้ออาคารเก่าออก และออกแบบสร้างสถาปัตยกรรมอาคารหลังใหม่ให้เป็นรูปทรงเรือใหญ่ และเป็นวัดคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดสกลนคร
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 06.00 น.- 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
06 1364 5545 นายอัยการ จำปาราช กำนันตำบลท่าแร่
๕. ช่องทางออนไลน์ –
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร จังหวัดสกลนคร

ที่ตั้งตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
๑. พระธาตุเชิงชุมวรวิหาร เป็นวัดที่มีพระธาตุเชิงชุม ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองสกลนคร องค์พระธาตุสร้างขึ้นเพื่อครอบรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ ภายในวิหารยังเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อพระองค์แสน พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะเชียงแสนที่งดงาม องค์พระธาตุหันหน้าไปทางหนองหานในทางทิศตะวันออก เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์ มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ยอดฉัตรทองคำเหนือองค์พระธาตุเชิงชุมทำด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนัก 247 บาท ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท ข้างในทึบสร้างด้วยศิลาแลง และหินทรายแดง ซุ้มประตูหลอกแบบขอม ด้านทิศ เหนือ ใต้ และตะวันตก
ซุ้มประตูทางเข้าจริงด้านทิศตะวันออกแต่แรกเริ่มพระธาตุเชิงชุมคงเป็นปราสาทหินทรายศิลปะสมัยขอม ภายในกรอบประตูทางเข้าอุโมงค์ด้านขวามือ มีจารึกพระธาตุเชิงชุมอักษรขอมโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ 16 องค์พระธาตุในปัจจุบันเป็นศิลปะล้านช้าง เนื่องจากช่วงที่อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างแผ่เข้ามาบริเวณภาคอีสานของไทย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 และได้มีการบูรณะองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่ รวมถึงมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เล่ากันว่าเป็นทางเชื่อมระหว่างเมืองมนุษย์กับเมืองพญานาคที่จมอยู่ใต้หนองหาร ซึ่งชาวสกลนครเชื่อว่าการมาสักการะพระธาตุเชิงชุมจะช่วยให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง รวมถึงขอพรให้มีโชคลาภ
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
– ตลอด 24 ชั่วโมง ในการนมัสการองค์พระธาตุเชิงชุม และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
– 06.00 น. 18.00 น. ในการนมัสการหลวงพ่อพระองค์แสน
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 9416 3972 /0 4271 6247
๕. ช่องทางออนไลน์-
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านท่าวัดเหนือ จังหวัดสกลนคร

บ้านท่าวัดเหนือตั้งขึ้นมาเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปี สมัยขอม, มอญ สมัยนั้น มีวัตถุโบราณ พระพุทธรูปหิน พระธาตุมหาพรหม มีทิวทัศน์ริมฝั่งหนองหารที่สวยงาม มีคำขวัญว่าพระธาตุมหาพรหมคู่บ้าน งานสงกรานต์แห่พระ สักการะหลวงปู่สอน แหล่งบวรวัตถุโบราณ มีตำนานผาแดงนางไอ่ สุดเร้าใจงานแข่งเรือ

มีการแต่งกายและภาษาที่เป็นอัตลักษณ์ของเผ่าไทญ้อสกลนคร มีความสามัคคี โอบอ้อมอารี
มีมิตรไมตรีแก่ผู้มาเยือน มีทิวทัศน์ริมฝั่งหนองหารสวยงาม ชมพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้า
เป็นชุมชนเข้มแข็ง  พึ่งพาตนเองได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรทางธรรมชาติ 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์วัดมหาพรหมโพธิราช
เป็นสถานที่พบซากฐานอาคาร ปรากฏเป็นแนวศิลาแลงและเนินอิฐ ยาวประมาณ 25 เมตร กว้าง 10 เมตร สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของอุโบสถหรือสิมเก่า และมีโบราณวัตถุที่เก็บรักษา ได้แก่ พระพุทธรูปหินทราย สมัยทวารวดี ขนาด หน้าตักกว้าง ประมาณ 60 เซนติเมตร สูงประมาณ 120 เซนติเมตร ลักษณะพระเศียรหัก ปัจจุบันได้นำมาวางต่อกันโดยไม่ได้นำวัสดุใดมาเชื่อม พระบาทและท่อนองค์บางส่วนแตกหักไป ประทับนั่งปางสมาธิราบบนฐานรูปบัวหงาย สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ พระพุทธรูปหินทราย สมัยลพบุรี ขนาด หน้าตักกว้าง ประมาณ 40 เซนติเมตร สูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลักษณะ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย ประทับนั่งขัดสมาธิราบอยู่บนฐานบัวหงาย องค์พระพุทธรูปมีแผ่นหินทรายยึดติดเป็นแผ่นหลัง สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบเศษชิ้นส่วนประติมากรรมหินทรายอีกจำนวนหนึ่ง 

วัดมหาพรหมโพธิราช
(วัดบ้านท่าวัดเหนือ) อยู่บริเวณบ้านท่าวัดเหนือ ตำบลเหล่าปอ-แดง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นชุมชนคุณธรรมบวร On Tour ตั้งอยู่ริมหนอง-หาร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ทับซ้อนกับชุมชนโบราณยุคสมัยต่าง ๆ ผ่านมิติธรณีวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ การตั้งถิ่นฐานของบรรพชนก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์นำหน้าโดยอารย-ธรรมทวารวดี เปลี่ยนมือมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม ส่งต่อไปยังอาณาจักรล้านช้าง เข้าสู่อารยธรรม แห่งรัตนโกสินทร์ตอนต้น จวบจนปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสกลนคร

อนุสรณ์สถานปู่สอน
คือสถานที่ตั้งของปู่สอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านท่าวัดเหนือและตั้งอยู่ในบริเวณวัดมหาพรหมโพธิราช

วัดกลางศรีเชียงใหม่
วัดกลางศรีเชียงใหม่เป็นศาสนสถานที่ชาวบ้านท่าวัดใต้ให้ความเคารพนับถือและอยู่ติดกับบ้านท่าวัดเหนือเป็นหนึ่งในชุมชนรอบหนองหารที่มีพัฒนาการต่อเนื่องมาหลายสมัยตั้งแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมา โดยพบหลักฐานทางโบราณคดีที่มีความสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง คือ กลุ่มใบเสมาสมัยทวารวดี ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มใบเสมาที่ยังอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์และมิได้ถูกเคลื่อนย้ายไปจากตำแหน่งเดิม และฐานอาคารศิลาแลงในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก เช่น ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบแบบล้านช้างใช้สำหรับบรรจุกระดูก ชิ้นส่วนพระพุทธรูปและประติมากรรมรูปเคารพทำจากหินทราย ชิ้นส่วนเครื่องประกอบสถาปัตยกรรมแบบเขมร รวมถึงศิลาจารึกที่ระบุนามผู้สร้าง คือ พระมหาพรหมเทโวโพธิสัตว์และระบุถึงชื่อวัดกลางเชียงใหม่หนองหารคามเขต ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัดกลางศรีเชียงใหม่ในปัจจุบัน 

วัดป่า เอวขันธ์
โบราณวัดป่าเอวขันธ์ ตั้งอยู่บ้านท่าวัด ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ปรากฏหลักฐานเป็นแท่นฐานประติมากรรมหินทรายขนาดใหญ่ ตรงกลางเจาะรูกลมสำหรับเสียบเดือยประติมากรรม โบราณวัตถุจัดเป็นศิลปะขอม นอกจากนี้ภายในพื้นที่วัดยังพบชิ้นส่วนของอาคารและหินศิลาแลงที่ตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมอีกด้วย พื้นที่โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งหนองหาน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดป่าเอวขันธ์

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ล่องแพหนองหาร
ล่องแพหนองหารจะอยู่บริเวณท่าน้ำของบ้านท่าวัด ทั้งบ้านท่าวัดเหนือและท่าวัดใต้ เป็นแนวยาวตลอดแนวของฝั่งหนองหาร แพ ๑ ลำ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ ๑๐ คนต่อ ๑ ลำ มีบริการอาหารตลอดเวลาทั้งวัน

ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่หนองหาร
จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่หนองหารจะอยู่บริเวณท่าน้ำของบ้านท่าวัดเหนือ พระอาทิตย์จะขึ้นเหนือขอบน้ำหนองหารเป็นภาพที่สวยงามยามเช้า

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงปูนา กุ้ง หอยขม
ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๓๓๙ หมู่ที่ ๓ บ้านท่าวัดเหนือ ของนายมรุเดช  ซุยสูงเนิน

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงหนูพุก และทำปุ๋ยอินทรีย์
ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑๙๗ หมู่ที่ ๓ บ้านท่าวัดเหนือ ของนายแฉล้ม  มนต์อินทร์

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงโคขุน
ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑๒๙ หมู่ที่ ๓ บ้านท่าวัดเหนือ ของนายทองพูน  ทาวังลาด

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ล่องแพ
หนองหารริมฝั่ง วัดมหาพรหมโพธิราช นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมการล่องแพบริเวณบ้านท่าวัดเหนือได้ตลอดทั้งวัน มีอาหารบริการ รวมถึงสามารถเล่นน้ำได้

ร่วมการแสดง ศิลปวัฒนธรรม และการรำบวงสรวง ปู่สอน
บริเวณอนุสรณ์ สถานปู่สอน นักท่องเที่ยวที่มาบ้านท่าวัดเหนือจะต้องสักการะอนุสรณ์สถานหลวงปู่สอน  (สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านท่าวัดเหนือ) และสามารถร่วมรำบวงสรวงได้

การชมความงดงาม ทางธรรมชาติ
ริมหนองหารบริเวณ วัดมหาพรหมโพธิราช นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมบรรยากาศริมฝั่งหนองหารได้โดยใช้ถนนรอบหนองหาร สามารถปั่นจักรยาน หรือนั่งรถซาเล้งของชุมชนในการเยี่ยมชมได้

การเที่ยวชมศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
บริเวณศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านท่าวัด นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถซาเล้งเพื่อเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนได้ตามจุดต่าง ๆ เช่น ศูนย์การเลี้ยงปูนา กุ้ง หอยขม โคขุน และศูนย์การปลูกพืชผักสวนครัว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม