ร้านเฌอฟ้า จังหวัดสตูล

ที่ตั้ง ถนนสตูลธานี ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
๑. ร้านตั้งอยูใจกลางเมืองสตูล ตรงข้ามกับโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ เป็นศูนย์รวมของที่ระลึก ของขวัญ แจกันดอกไม้ ของฝากและสินค้าเพื่อสุขภาพครบวงจร ในทุกๆ เทศการและโอกาสสำคัญต่างๆ บริการเป็นกันเอง
๒. ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับ หรือตกแต่ง) ของที่ระลึก ของขวัญ แจกันดอกไม้ ของฝาก และสิ้นค้าเพื่อสุขภาพครบวงจร
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา๐๘.๐๐ – ๒๐.๓๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๕๔๒ ๓๙๔๘/09 1849 8834
๕. ช่องทางออนไลน์ Email Cher.fah1@gmail.com ,Line.ID CHER-FAH

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ภาพจิตกรรมฝาผนังเมืองเก่าสตูล

ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
๑. Street Art Satun เป็นภาพวาดริมถนนสายพหุวัฒนธรรมจังหวัดสตูล เริ่มตั้งแต่บริเวณหน้าวัดชนาธิปเฉลิม ตลาดสดเทศบาลเมืองสตูล ศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง และซอยบรรจบ มัสยิดมำบัง ถนนบุรีวานิช สิ้นสุดที่คฤหาสน์กูเด็น เน้นภาพที่สื่อถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของจังหวัดสตูล และโซนภาพที่มีความทันสมัย เพื่อเป็นเส้นทาง ให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกและคาดว่าจะเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในจังหวัดสตูลให้มากขึ้นในอนาคต และประชาชนในบริเวณดังกล่าวเกิดรายได้ทั้งร้านอาหารที่พัก รวมถึงการนำสินค้าหรือของที่ระลึกวางจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวต่อไป
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการ ๒๔ ชั่วโมง
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม คุณศมานนท์ พฤษพิเนต
๐๘ ๓๕๓๗ ๔๒๙๙
๕. ช่องทางออนไลน์ เฟซบุ๊ก ไลน์ แผ่นผับ สื่อประชาสัมพันธ์
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ที่จอดรถ / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสตูล (คฤหาสน์กูเด็น)

ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
๑. เป็นอาคารเก่าแก่สร้างขึ้นสมัยพระยาภูมินารถภักดีเป็นผู้ว่าราชการเมืองลักษณะของอาคารเป็นตึก2ชั้นโดดเด่นด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นการผสมผสานกันทางศิลปะได้อย่างสวยงาม คืออาคารตัวตึกเป็นแบบตะวันตก ประตูหน้าต่างได้รูปโค้งตามสถาปัตยกรรมโรมัน หลังคาใช้กระเบื้องดินเผารูป กาบกล้วย ตรงช่องลมหน้าบันไดตกแต่งรูปดาวซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบมุสลิม ตัวอาคารมีอายุ 100ปีเศษ นับเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดสตูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีได้เสด็จมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2543 ภายในห้องมีการจัดแสดงของโบราณวัตถุและนิทรรศการ ที่ให้ความรู้เรื่องศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัดสตูล
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ วันพุธ ถึงวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
คนไทย ๑๐ บาท คนต่างชาติ ๕๐บาท นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ ผู้สูงอายุ ไม่เก็บค่าเข้าชม
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 7472 3140
๕. ช่องทางออนไลน์ ไลน์ เฟซบุ๊ก แผ่นผับ สื่อประชาสัมพันธ์
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ที่จอดรถ / ศูนย์บริกานักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านบากันเคย จังหวัดสตูล

ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรบ้านบากันเคยเป็นชุมชนขนาดเล็ก  มีลักษณะแหลมยื่นออกไปในทะเลอันดามัน  ทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดสตูล  พื้นที่ส่วนใหญ่  เป็นป่าชายเลนสภาพยังคงอุดมสมบูรณ์  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง  และแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากทะเล  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  พูดภาษามาลายู  มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจและเป็นที่เรียนศาสนา  และปัจจุบันได้จัดตั้งเป็นรีสอร์ทชุมชนด้านการท่องเที่ยว มีบ้านพักและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมลงมือทำหลากหลายกิจกรรมการล่องเรือไปเที่ยวชมสันหลังมังกร ตลอดจนกิจกรรมดำน้ำชมปะการัง  

หมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้านมุสลิม  บริการห้องพักหลากหลาย  มีนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลแหวกสันหลังมังกร  หาดหินเหล็กและสปาทรายดำกลางทะเลและของฝากจากชุมชนเคยหรือกะปิ  บริการอาหารทะเลสด ๆ ให้รับประทานกันถึงที่พัก  กิจกรรมที่โดดเด่นการได้ชมพระอาทิตย์ตกดิน  ณ  จุดชมวิวสองแผ่นดินที่สวยงาม

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

กลุ่มแม่บ้านประมง อาสาบ้านบากันเคย ๑๑๐  หมู่ที่  ๓ ตำบลตันหยงโปอำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล อาหารแปรรูป อาหารทะเล ปลาแดดเดียว กะปิ

บ่อน้ำโต๊ะฮาซัน (บ่อกามเทพ) หมู่ที่  ๓ ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล มีชายหญิงหลายคู่ได้แต่งงานกันมีเรื่องราวความเป็นมาจากบ่อน้ำแห่งนี้ คือ บ่อน้ำกามเทพ

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ทะเลแหวก สันหลังมังกร เป็นสันทรายคล้ายทะเลแหวก   มีความแตกต่างจากที่อื่นตรงที่แนวหาดที่เห็นไม่ใช่ทรายแต่เป็นเปลือกหอยนับล้าน ๆ ตัว  ที่ถูกเคลื่อนซัด   ทับถมเป็นระยะทางยาวกว่า  ๔  กิโลเมตร  เชื่อกันว่าเป็นทางยาวระหว่างเกาะหัวมันกับเกาะสาม

หาดหินเหล็ก เป็นประติมากรรมทางธรรมชาติ  ที่ถูกสรรค์สร้าง  บนพื้นหิน  มีลักษณะเป็น รูปสี่เหลี่ยม  หกเหลี่ยมมีแร่เหล็กแทรกบนชั้นหิน สีแดง  เหมือนมีเหล็กครอบเอาไว้เรียงรายอัดแน่น เป็นแท่ง ๆ

ผานางคอย ถัดออกมาด้านบนของหินเหล็กไฟ  จะมีจุดชมวิว  ชาวบ้านเรียกว่าผานางคอย  ซึ่งเป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ตกและวิวเกาะลังกาวี  รวมทั้งมองเห็น สันหลังมังกรจากมุมสูงได้อย่างชัดเจน

สปาหาดทรายดำ หาดทรายดำ  ที่นี่ไม่ใช่ทรายธรรมดา  เป็นทรายที่มีสีดำละเอียดคล้ายกับโคลน  นักท่องเที่ยวสามารถทำสปาได้  ส่วนใหญ่ผู้ที่นำโคลนมาพอกจะมีความรู้สึกเย็นสบายผิว  ผิวจะมีความชุ่มชื้น  แต่ไม่อนุญาตให้นำโคลน  กลับบ้าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กลุ่มแม่บ้านประมง อาสาบ้านบากันเคย 110 หมู่ที่ 3  ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล  จังหวัดสตูล ผลิตภัณฑ์กะปิ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

เกาะหัวมัน ทะเลแหวก นั่งเรือหางยาวตั้งอยู่ ณ อ่าวสตูล หมู่บ้านตันหยงโป ใช้เวลา ประมาณ 15 นาที เกาะหัวมัน ทะเลแหวก โดยเวลาที่น้ำลงนั้น จะเห็นทะเลแหวกทอดยาวไกลข้ามจากอีกเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่ง

เกาะกวางล่องเรือสู่เกาะกวาง ประมาณ 10 นาที สัมผัสหาดเปลือกหอยล้านปีเป็นหาดที่เรียกได้ว่าเป็นหาดเปลือกหอยที่มีอายุนานล้านปีก่อน รวมตัวกันเป็นหาดสวรรค์ ชมทัศนียภาพบนจุดชมวิวที่สวยที่สุดกลางเกาะและเดินลัดเลาะ เดินตามชายหาดซึ่งอยู่กลางทะเลเพราะที่นั่นเปรียบเสมือนทะเลแหวกที่มีหนึ่งเดียวในสตูลที่มีความยาวกว่า 5กิโลเมตรซึ่งถูกขนานนามว่าทางเดินเจ้าสมุทร

เกาะมดแดง เป็นเกาะที่มีทรายสีดำละเอียดคล้ายกับโคลน ตรวจสอบ พบว่าทรายดำชนิดนี้มีแร่ธาตุเหล็กที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านผัง ๗

เป็นชุมชนคุณธรรมฯ  ต้นแบบ  ที่นำพลังบวร  อันประกอบด้วย  บ้าน  วัดหรือศาสนสถาน  โรงเรียนและราชการมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ทุกคนทุกครอบครัวอยู่ดี  มีความสุข  มีภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันข่าวสาร  และเป็นศูนย์ร่วมจิตใจให้ยึดมั่นในหลักศีล ๕  ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา  รักและเทิดทูนสถาบันชาติ  ศาสนา และพระมหากษัตริย์

เป็นชุมชนชาวพุทธนำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในชีวิตประจำวัน  ถือเป็นแนวปฏิบัติมาตลอดปกติชาวบ้านมีการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ในครัวเรือน  ทำให้ชาวบ้านประหยัดรายจ่าย  พัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม  เชื่อมโยงการท่องเที่ยววิถีไทย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดนิคมพัฒนาราม
วัดนิคมพัฒนาราม  อยู่หมู่ที่ ๓  ตำบลนิคมพัฒนา  อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล  เป็นศูนย์กลางชองชุมชนคุณธรรมฯ ขับเคลื่อนด้วยพลังบวรบ้านผัง ๗ เป็นสถานที่จัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา  ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น  โดยในวัดนิคมพัฒนารามมีศึกษาและเรียนรู้ ดังนี้
๑. รูปปันหลวงปูทววด   
๒.  เจดีย์ศรีสตูล     
๓.  โรงเรียนพระพุทธสาสนาวันอาทิตย์     
๔.  แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนป่าร้อยปี เขาควนล้วน อยู่หมู่ที่ ๓  ตำบลนิคมพัฒนา  อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล เส้นทางเดินป่าที่ผ่าน  ป่าทึบ  มีต้นไม้สูงใหญ่ ตลอดเส้นทาง เหมาะ สำหรับการศึกษาธรรมชาติ  พืชพันธุ์ดั้งเดิม เป็นพื้นที่สูงสุดในชุมชน สามารถชมทิวทัศน์ของชุมชน ได้โดยรอบ ชมทะเลหมอกในยามเช้า และชมดวงอาทิตย์ตกในยามเย็น

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง วัดนิคมพัฒนาราม อยู่หมู่ที่ ๓     ตำบลนิคมพัฒนา  อำเภอมะนัง จังหวัดสตูลเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษบกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางให้คนในชุมชนและบุคคลที่สนในนำไปปฏิบัติลดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้ให้กัยตนเอ

สัมมาชีพผักปลอดสารพิษ อยู่หมู่ที่ ๓  ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูลบ้านตัวอย่างพึ่งตนเอง  กิจกรรมหลักคือการปลูกผักปลอดสารพิษ การทำขยะหลุม ปลูกพืชสมุนไพร

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชุมชนคุณธรรมฯ ขับเคลื่อนด้ยพลังบวรบ้านผัง ๗
เป็นชุมชนชาวพุทธ กิจกรรมที่โดดเด่นได้แก่ 
๑. กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา                             
๒.  กิจกรรมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น                   
 – วันสารทเดือนสิบ                 
 –  ประเพณีชักพระ                        
 –  กิจกรรมลอยกระทง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านโตนปาหนัน จังหวัดสตูล

บ้านโตนปาหนัน ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล  เป็นหมู่บ้านที่อยู่กลางธรรมชาติ  ปกคลุมด้วยภูเขา  มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้หลากหลายพันธุ์ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติน้ำตกโตนปาหนันที่ขึ้นชื่อ โฮมสเตย์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโตนปาหนัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการผลิตกาแฟโบราณจากต้นกาแฟโบราณ  การหลามข้าวแบบดั้งเดิม กับอาหารพื้นถิ่น ที่ตั้งวงกิน (ข้าว) กลางสายน้ำ  ผลไม้สดจากต้นในช่วงหน้าผลไม้   แล้วชิมกาแฟโบราณ (โกปี้) 

ชุมชนอยู่กับป่า  ป่าอยู่ได้  คนอยู่ได้ และพัฒนาได้  มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในชุมชน  เพื่อให้คนในชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่น  วิถีชีวิตและหลักคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์มาบูรณาการ  ที่ก่อให้เกิดปัญญา  สังคมอยู่เย็นเป็นสุข  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  มีความสัมพันธ์เป็นญาติพี่น้องกันทั้งหมู่บ้าน 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ร้านกาแฟและโรงคั่วโกปี้โบราณบ้านโตน อยู่หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล  การผลิตกาแฟโบราณ แปรรูป   เป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้  แบรนด์ “โกปี้บ้านโตน” ซึ่งมีความสดใหม่อยู่ตลอด แสดงถึง   อัตลักษณ์ของท้องถิ่นและชุมชน รวมถึงมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

น้ำตกโตนปาหนัน น้ำตกอยู่หมู่ที่ 5  ตำบลทุ่งนุ้ย  อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล สภาพทั่วไปของ น้ำตกโตนปาหนัน เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสตูล ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หัวกาหมิงและเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ในบริเวณ ที่ตั้งของน้ำตกโตนปาหนัน น้ำตกโตนปาหนัน เป็นต้นน้ำที่ล่อเลี้ยงชีวิตของหมู่บ้านในการดำรงชีวิตและการเกษตรของผู้คนและสัตว์ในหมู่บ้านโตน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนผักกูด อยู่หมู่ที่  ๕  บ้านโตนปาหนัน ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
-พืชปลอดสารเคมี
-เป็นวัตถุดิบการทำอาหารบ้านโตน
-เป็นพืชเศรษฐกิจชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชุมชนคุณธรรมฯ ขับเคลื่อนด้วยพลังบวรบ้านโตนปาหนัน หมู่ที่ ๕ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว
ทางธรรมชาติมากมาย  ดังนี้
1. ฐานโกปี้บ้าน​โตน
2. ฐานสะบ้า
3. ฐานเก็บผักกูด
4.  น้ำตกโตนปาหนัน
๕.  ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
๖.  บ่อตกปลา – จาหรูด
๗.  หน่วยพิทักษ์ปาหนัน
๘.  HOMESTAY
๙.  บ่อน้ำร้อนทุ่งนุ้ย
๑๐.  มัสยิด

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม