น้ำตกธารสมบูรณ์ จ.สระแก้ว

ที่ตั้ง ต.วังใหม่ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว
๑. ที่มาของชื่อน้ำตกธารสมบูรณ์หลังจากได้รับอนุญาตจากโครงการชลประทานสระแก้วเข้ามาใช้พื้นที่เดือนเมษายน 2563 โดยชาวบ้านร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ชาวบ้านน้ำสินค้ามาจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน เหมาะสำหรับพักผ่อนลงเล่นน้ำ อาหารอร่อยจากชาวบ้านน้ำตกธารสมบูรณ์ บ้านทุ่งกบินทร์ นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยว มีลานจอดรถพื้นที่ สะดวกสบาย แล้วยังมีร้านค้าพ่อค้าแม่ขายนำของมาขายให้กับนักท่องเที่ยวที่เล่นน้ำตกธารสมบูรณ์บ้านทุ่งกบินทร์ และบรรยากาศดีลมพัดเย็นสบายๆท่านที่มายังได้มาชมวิวทัศน์ที่สวยงาม สง่างามตาด้วย วัวที่เดินริมลำคลองอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง ดูน้ำไหลออกจากท่ออ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง ชมนักท่องเที่ยวมาเล่นน้ำ ทั้งเด็กผู้ใหญ่เล่นน้ำอย่างสนุกสนาน
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
จันทร์-อาทิตย์ 08.00 – 16.30 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
มีนาคม – เมษายน
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
– เล่นน้ำ รับประทานอาหาร
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๗.ช่องทางออนไลน์
Facebook น้ำตกธารสมบูรณ์
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว

ที่ตั้ง ตำบลโคกสูง อำเภอ โคกสูง จังหวัดสระแก้ว
๑. ปราสาทสด๊กก๊อกธม เป็นปราสาทหินในวัฒนธรรมขอมซึ่งเป็นศาสนสถานเกี่ยวเนื่องกับศาสนาฮินดูแบบไศวนิกาย ตั้งอยู่ในอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เป็นปราสาทขอมโบราณที่สำคัญของจังหวัดสระแก้ว และใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 14 เพื่อใช้ประดิษฐานรูปเคารพและใช้ประกอบพิธีกรรมตามคติความเชื่อ ในลัทธิศาสนาฮินดู คำว่าสด๊กก๊อกธม หมายถึง “ เมืองที่มีต้นกกขึ้นรกในหนองน้ำใหญ่ ” ปัจจุบันยังพอมองเห็น หนองน้ำใหญ่ในอดีตอยู่ใกล้ ๆ ปราสาทนั่นเอง สิ่งที่มีคุณค่าและสำคัญยิ่งของปราสาทสด๊กก๊อกธม คือ การพบหลักศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม 2 หลัก จารึกด้วยอักษรขอมโบราณซึ่ง เป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงอายุการสร้างปราสาทสด๊กก๊อกธมแห่งนี้ ตลอดจนบอกถึงวัตถุประสงค์ของการสร้าง จดบันทึกเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของชนชาติขอมเป็นช่วงระยะเวลานานถึง 200 ปี ว่าพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ได้ปฏิสังขรณ์ปราสาทแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.1595 และกษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม เป็นผู้อุปถัมภ์คุ้มครองศาสนา โดยมีพราหมณ์ปุโรหิตเป็นผู้นำศาสนา ให้คำปรึกษาแนะนำ และเป็นสื่อกลางระหว่างเทพเจ้าและกษัตริย์รวมทั้งประวัติ สายสกุลพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีเทวราชา การปฏิบัติพระเทวราชและรูปเคารพ การสร้างหมู่บ้าน การบุญต่าง ๆ ในศาสนามีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ราชวงศ์เขมรเป็นอย่างมาก
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์ 08.30 – 16.30 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 3721 2610
๕. ช่องทางออนไลน์
www.facebook.com/Sadokkokthom
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดเขาลาน จ.สระแก้ว

ที่ตั้ง ต.วังสมบูรณ์ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว
๑. เป็นวัดที่อยู่บนเขาลาน สิ่งปลูกสร้างภายในวัดไม่มากนักมีศาลาปฏิบัติธรรม และศาลาทรงกลมชั้นล่าง ส่วนชั้นบนที่กำลังจะสร้างโบสถ์และกุฏิสงฆ์หลังใหญ่ ด้านบนใช้เป็นลานปฏิบัติธรรมและมีกุฏิสงฆ์ บริเวณทางขึ้นอีกไม่กี่หลังถือว่าเป็นสถานที่อันสงัด เหมาะแก่ปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์ ทัศนียภาพบริเวณวัดร่มรื่น มีลานธรรมใต้ต้นลาน และร่มไทร มองเห็นวิวกว้างสวยงามเทือกเขาสลับซ้อนกันแซมด้วยก้อนเมฆกับฟ้าครามอ่อนๆ ลมพัดเย็นสบายปลอดโปร่งโล่งสบายใจ ปัจจุบันมีนกยูงมาอาศัยอยู่จำนวนหลายตัวและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติทั้งเกาะงอยอยู่บนระเบียงศาลา กองอิฐและร่มไม้บางส่วนก็เดินหากินกระจายอยู่ทั่ววัด
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.30 – 16.30 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๕. ช่องทางออนไลน์ –
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ที่จอดรถ 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ถ้ำมืด จังหวัดยะลา

ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
๑.ถ้ำมืดถือเป็นจุดไฮไลท์ของตำบลหน้าถ้ำ อีกแห่งหนึ่ง คือ บริเวณ หน้าผาได้จารึกพระนามาภิไธย่อของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่มีคำย่อว่า ป.ป.ร. ชมความสวยงามตระการตาของหินงอกหินย้อยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ภายในถ้ำยังมี “สระแก้วหรือบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์” เป็นแอ่งในถ้ำขนาดเล็กๆ ที่ล้อมรอบด้วยขอบหินปูน น้ำใสสะอาด เป็นน้ำที่ปรากฏขึ้นตามธรรมชาติ น้ำในสระแก้ว เชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มักจะไปขออนุญาตเทพารักษ์นำน้ำกลับไปบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล การเข้าชมถ้ำมืด ไม่สามารถเดินชมได้เอง เพราะไม่มีแสงสว่าง ต้องมัคคุเทศก์ท้องถิ่นนำทาง นำไฟฉายติดตัวเพื่อที่จะสามารถชมความงามของหินงอกหินย้อยได้อย่างเต็มที่ ควรใส่ลองเท้าหุ้มส้น หรือรองเท้าที่มีดอกยาง เพราะในพื้นภายในถ้ำค่อนข้างลื่น
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.00 น. – 16.00 น.
(ต้องประสานเจ้าหน้าที่ก่อนล่วงหน้า)
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนกุมภาพันธ์ – สิงหาคม 2564
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
เดินสำรวจเส้นทางของถ้ำ ชมความงดงามของหินงอกหินย้อยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
คุณชัชพงศ์ เพ็ชรกล้า หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๕๐ ๒๕๒๐
๗.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ชุมชนท่องเที่ยวตำบลหน้าถ้ำ
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านตุ่นและบ้านสุขมงคล จังหวัดสระแก้ว

บ้านตุ่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 และบ้านสุขมงคล ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๗ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นชุมชนชาวไทย  เชื้อสายกัมพูชา บรรพบุรุษอพยพโยกย้ายมา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๙ สมัยเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้พาบริวารย้ายจากเมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน เดินทางกลับสู่สยามประเทศ เพื่อเข้าสู่เมืองปราจีนบุรี 

เสน่ห์อัตลักษณ์จุดเด่นของ “บวร On Tour”บ้านสุขมงคลและบ้านตุ่น มีอัตลักษณ์ ด้านภาษาที่ใช้ในการพูดเป็นภาษา กัมพูชา หรือ ภาษาเขมร มีศูนย์วัฒนธรรมไทยกัมพูชาเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้วิถีชีวิตกัมพูชาบ้านตุ่นและบ้านสุขมงคลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพเมื่อครั้งอดีต 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-เขมร (ศูนย์ชุมชนบ้านตุ่น)
ศูนย์วัฒนธรรมไทยกัมพูชาเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้วิถีชีวิตกัมพูชาบ้านตุ่นและบ้านสุขมงคลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผ่านนิทรรศการของชุมชนทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ศาลตาปู่ตาเรียบ ตาต่อน
จัดช่วงขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖  เวลา ๑๕.๐๐ น ชาวบ้านในชุมชนจะนำอาหารคาวหวาน น้ำ เหล้า เบียร์ ไปขอพรจากศาลตาปู่ เพื่อปกป้องคุ้มครองให้คนในชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีขึ้นในหมู่บ้าน

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

บ่อประตูน้ำดี
บ่อนี้เกิดมาพร้อมบ้านตุ่น หมู่ ๔ เมื่อสมัย ๑๔๐ ปี มีการขุดบ่อขึ้น มีพระธุดงค์ท่านเดินมาพักใต้ต้นประดู่แห่งนี้ เฒ่า ๒ คน ได้ถามพระธุดงว่าถ้าจะขุดบ่อตรงนี้จะมีน้ำไหม พระท่านก็บอกว่าถ้าขุดไปจะเจอปลาไหลเผือก ก็ขอให้ขุดต่อจะเจอแหล่งน้ำตลอดทั้งปี

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
บ้านตุ่น และบ้านสุขมงคลเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อาชีพทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับการทำสวนเกษตรอินทรีย์แนวผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง โดยใช้สมุนไพรในการเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์และรักษาโรคทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ รวมถึงเป็นศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ในการเลี้ยง เป็ด ไก่  ปลา

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ท่องเที่ยวศูนย์วัฒนธรรมไทย-เขมร (ศูนย์ชุมชนบ้านตุ่น)
ศูนย์วัฒนธรรมไทย-เขมร (ศูนย์ชุมชนบ้านตุ่น)ฟังการบรรยายประวัติความเป็นมา รับประทานอาหารว่าง ชมการแสดง  
สักการะศาลตาปู่
ศาลตาปู่ตาเรียบ ตาต่อน ไหว้ศาลตาปู่เพื่อเป็นสิริมงคล และขอพรจากท่าน
ชมบ่อประดูบ่อโบราณ
บ่อประตูน้ำดี เป็นบ่อน้ำเก่าแก่ที่ขุดไว้เกินกว่า ๑๔๐ ปี บ่งบอกถึงความมีมานะอุตสาหะของคนในชุมชนที่ร่วมแรงร่วมใจขุดบ่อน้ำนี้
ชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชมวิถีชีวิตการทอเสื่อกก การทำไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดทางมะพร้าว สาธิตการทำอาหารพื้นบ้านและจักสานไม้ไผ่ 
ทำบุญวัดบ้านตุ่น
วัดบ้านตุ่น มีวัดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนคือวัดบ้านตุ่น และมีพระครูศีลคุณวัฒนาทร เจ้าอาวาสวัดเป็นศูนย์รวมใจของคนในชุมชนซึ่งคนในชุมชนให้ความสำคัญกับกิจกรรมด้านศาสนาอย่างมาก และเป็นหมู่บ้านศีล ๕ ต้นแบบ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านใหม่ไทยพัฒนา จังหวัดสระแก้ว

ประมาณ ปี พ.ศ. 2525 มีครัวเรือนชาวนครราชสีมา จำนวน 6 ครัวเรือน ได้อพยพมาตั้งบ้านเรือน อยู่ที่หมู่บ้านหนองหมอบ (ชื่อตามชาวบ้านเรียก) กลุ่มชนนี้ได้นำวัฒนธรรมการทอผ้า ซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษและได้อนุรักษ์ถ่ายทอดสู่ลูกหลาน ต่อมามีครัวเรือนย้ายตามกันมาและตั้งถิ่นฐาน อยู่มากขึ้น ปัจจุบันทางราชการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านใหม่ไทยพัฒนา

เป็นหมู่บ้านที่มีวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมในด้านทอผ้า เป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ  ในปัจจุบันศูนย์ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้สั่งทอผ้าไหมจากบ้านใหม่ไทยพัฒนาและสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานกระบือจำนวน 25 ตัว ให้กับเกษตรกรบ้านใหม่ไทยพัฒนาเพื่อใช้ในการเกษตรและทำมาหาเลี้ยงชีพ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

แหล่งเรียนรู้การทอผ้าไหม
แหล่งเรียนรู้การทอผ้าไหม เกิดจากการรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน เพื่อทอผ้าไหม ซึ่งผ้าไหมของบ้านใหม่ไทยพัฒนามีกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนภายในชุมชน ตั้งแต่การเลี้ยงไหม การสาวไหม การย้อมไหม และการทอผ้าไหม ซึ่งความโดดเด่นของผ้าไหมทอมือบ้านใหม่ไทยพัฒนา คือ ใช้เส้นไหมแท้มาย้อมสี ทอเป็นผ้าที่มีลายสวยงาม เนื้อผ้าละเอียดเรียบ สีไม่ตก เนื้อแน่นเป็นเงางาม ซักแล้วไม่หดตัว ลายผ้ามีทั้งลายดั้งเดิม ลายประยุกต์ 

แหล่งเรียนรู้การจักสาน
แหล่งเรียนรู้การจักสาน มีนายทักษิณ เสนาน้อย และนายบุญเลิศ บันอุมาลี ซึ่งเป็นคนในชุมชน ที่มีความรู้ความสามารถด้านการจักสาน (ตะกร้าโบราณ, กระด้ง, ไซ) และมีนายยนต์ ละวิเวก มีความรู้ด้านการทำซุ้มไก่ และมีนางสาวสุมิตรา ทองไทย และนางคำปอง ทองไทย และนายแก้ว ทวดทอง จักสานชะลอมไม้ไผ่ โดยการจักสานไม้ไผ่นั้น เมื่อก่อนทำเพื่อขายเลี้ยงชีพ และใช้ในครัวเรือน แต่ในปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจักสาน 

แหล่งเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้าน (หมอลำ, หมอแคน)
เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านมรดกภูมิปัญญาของคนในชุมชน ที่ได้รับการสืบทอดมาจากคนอีสาน โดยคนในชุมชนคุณธรรมบ้านใหม่ไทยพัฒนา ย้ายถิ่นฐานมาจากอีสาน และมีการเล่นหมอลำ หมอแคนสืบทอดกันมาภายในชุมชน โดยปัจจุบันได้มีการนำหมอลำ หมอแคน มาใช้ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว

แหล่งเรียนรู้งานฝีมือจากเศษผ้าไหม
นางบุญมี ปกพันธ์ นางทองดี พาชื่น และนางทิพย์ ปกพันธ์ เป็นผู้บุกเบิกการทำผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหม และรังไหม ซึ่งทั้ง ๓ คน เห็นว่าเศษผ้าไหมและรังไหมนั้น ทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงเกิดไอเดียที่จะนำเศษผ้าไหม และรังไหมมาสร้างมูลค่า โดยการผลิตเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ สบู่จากรังไหม เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก
อ่างเก็บน้ำท่ากระบากมีจุดเริ่มต้นมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการปรับปรุงระบบชลประทาน ในเขตพื้นที่ราบเชิงเขาอ่างเก็บเป็นแหล่งน้ำ สำหรับเกษตรกรเพื่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร มีสภาพแวดล้อมที่งดงาม ของป่าโปร่ง รายรอบด้วยต้นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมทั้งชนิดพันธุ์ที่นำมาปลูกประดับ ที่นี่จึงเป็น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีบรรยากาศสวยงาม โดยเฉพาะในยามเย็นที่ดวงอาทิตย์ใกล้ลาลับนั้น วินาทีที่ ท้องฟ้าแปรเปลี่ยนเป็นสีทองเหนือผืนน้ำขนาดใหญ่ในอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ 

สวนสัตว์ช่องก่ำบน
สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน เป็นสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ของจังหวัดสระแก้ว อยู่ที่ตำบลหนองหมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร ได้เริ่มจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2526 เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายากที่ใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทย ภายในมีสัตว์หลากหลายชนิด เช่น กวาง ละมั่ง หมี หมา นกเงือกปากย่น นกแก๊ก นกเงือกกรามช้าง นกขุนทอง ไก่ฟ้าหลังเทา

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นอาคารสำหรับการเรียนรู้ การจัดอบรมคนในชุมชน และผู้ที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง

แหล่งเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชุมชนสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อศึกษาเรียนรู้ที่จะทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โดยชุมชนเริ่มคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบัน นอกจากทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรแล้ว ทางชุมชนไดดำเนินการปลูกสมุนไพรในชุมชน เพื่อลดต้นทุนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งการดำเนินการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ปทุมธานี

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ต้อนรับผู้มาเยือน
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรม หมอรำพื้นบ้าน หมอพิณ หมอแคน พร้อมแนะนำชุมชน และกราบนมัสการหลวงพ่อไพศาล และศาลปู่ตา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน จากนั้นนั่งมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง ชมวิถีชุมชนที่แสนเรียบง่าย
ทดสอบงานฝีมือ
แหล่งเรียนรู้งานฝีมือจากเศษผ้าไหม ศึกษาเรียนรู้วิธีการทำผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหม รังไหม และทดลองปฏิบัติ

จักตอก สานชะลอม
แหล่งเรียนรู้การจักสาน ศึกษาเรียนรู้วิธีการจักตอก และวิธีการสานชะลอม จากผู้เชี่ยวชาญด้านงานจักสานของชุมชน และทดลองจักตอก สานชะลอม
กว่าจะเป็นผ้าไหม
แหล่งเรียนรู้การทอผ้าไหม ศึกษากระบวนการขั้นตอนการเลี้ยงไหม การสาวไหม การย้อมไหม และการทอผ้าไหม ทุกกระบวนการ ตั้งแต่ต้นจนจบ 
พืชผัก ปลอดสารพิษ
ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง เยี่ยมชมสวนผักผลไม้ในชุมชน ซึ่งเป็นพืชผักปลอดสารพิษ พร้อมเรียนรู้เทคนิคการปลูกผักไร้สารอย่างไร ให้รอดพ้นจากแมลง
เรียนรู้วิถีชาวนา
ศูนย์การเรียนรู้วิถีชาวนา ศึกษาเรียนรู้ วิถีชาวนาในอดีต ตั้งแต่การไถนาด้วยกระบือ การดำนา การลงแขกเกี่ยวข้าว การสีข้าว การยาลานด้วยมูลกระบือ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เป็นต้น ทั้งนี้พร้อมลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

สมุนไพรไทย ทำอะไรได้บ้าง
แหล่งเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ศึกษาเรียนรู้ประโยชน์ของสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพร และกระบวนการขั้นตอนในการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตั้งแต่ต้นจนจบ
ควายแสนรู้
ศูนย์การเรียนรู้อนุรักษ์กระบือบ้านใหม่ไทยพัฒนา สนุกเพลิดเพลินกับการแสดงของควายแสนรู้ในชุมชน ขั้นตอนการฝึกควาย และการออกคำสั่งให้ควายทำตาม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านคลองอาราง จังหวัดสระแก้ว

ประมาณ ปี พ.ศ. 2480 นายสังข์ พรสมบูรณ์ และนายสุบิน 2 คน น้ากับหลาน ได้เข้ามาถางป่า  และเข้ามาจับจองพื้นที่ ด้วยเพราะความอุดมสมบูรณ์ และบางส่วนก็แบ่งขาย นอกจากนั้นได้นำญาติพี่น้อง  เข้ามาอยู่ด้วย พร้อมทั้งขยายพื้นที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม เป็นชุมชนใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่มีคลองน้ำไหลผ่าน  หลายคลอง คลองเล็กคลองน้อย แต่ทุกคลองจะมีต้นอาราง (ต้นนนทรี) ขึ้น 2 ฝั่งคลอง มีต้นไม้อย่างหนาแน่น มีสัตว์ป่าจำนวนมาก ด้วยความสัญจร คมนาคม และความผูกพัน คนคลองอารางมีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตการปกครองของ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านนา อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 

บ้านคลองอาราง เป็นหมู่บ้านแห่งความสุขด้วย ๔ ดี วิถีพอเพียง คนดี สุขภาพดี รายได้ดี และสิ่งแวดล้อมดีบ้านคลองอารางเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบของจังหวัดสระแก้ว ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ มีการดำเนินงานด้านศาสนา การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของตนไว้อย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง เป็นหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ จากทุกกระทรวง 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

บ่อทองคลองอาราง
บ่อทองคลองอาราง เกิดมาพร้อมกับหมู่บ้าน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ผู้ค้นพบคือ นางนาง สาสวด เกิดจากการฝันว่ามีบ่อทองในพื้นที่หมู่บ้าน     จึงบอกให้ลูกหลานไปขุด จนพบสายแร่ทองคำ ได้ทองคำจำนวนมากทำให้ชาวบ้านสามารถชำระหนี้สินได้หลายคน ต่อมามีประชาชนจากนอกพื้นที่ทราบข่าวและเข้ามา ขุดทองในพื้นที่จำนวนมาก จนไม่สามารถขุดพบทองได้ เนื่องจากบ่อลึกมาก และหยุดการขุดทองตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปัจจุบัน กลายเป็นตำนานบ่อทองบ้านคลองอารางไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ประวัติต่อไปบ่อทองที่ขุดพบมี 2 บ่อ คือ บริเวณคุ้มนาล้อม 1 บ่อ (นายบุญเพ็ง อินทร์สุข) และบริเวณสระหลวง    1 บ่อ (นางนาง สาสวด)

วัดเขาสิงโต (สกายวอล์ค เขาสิงโต)
เขาสิงโตเป็นภูเขาลูกเตี้ย ๆ อยู่ติด กับบริเวณวัดเขาสิงโตด้านทิศเหนือสูงประมาณ 250 เมตร ด้านล่างมีถ้ำวังนาคา ด้านบนยอดเขามีรอยพระพุทธบาท พระครูประโชติ สีหบรรพต เจ้าอาวาสวัดเขาสิงโต ได้ร่วมกับคณะกรรมการฯ ญาติโยม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง สร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้น โดยทำบันไดทางขึ้นจนถึงยอดเขา และจัดทำสกายวอร์ค (sky walk) บนยอดเขาซึ่งเป็นแห่งแรกของภาคตะวันออก สามารถชมวิวได้ 360 องศา 

กลุ่มเลี้ยงไหมอีรี่
กลุ่มเลี้ยงไหมอีรี่ เกิดจากการรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน และความร่วมมือของวิทยาลัยชุมชนที่ต้องการพัฒนาการทอผ้าไทยอีรี่   ในจังหวัดสระแก้วให้มากขึ้น จึงได้ทดลองเลี้ยงไหมอีรี่และขยายผล     การเลี้ยงไหมในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ป่าชุมชน 3,000 ไร่ ชายเขา
ชุมชนบ้านคลองอาราง มีพื้นที่ป่าชุมชน จำนวน 35 ไร่ เป็นชุมชน ที่มีแนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ส่วนรวม ซึ่งมีลักษะป่าเสื่อมโทรมให้กลับมาเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างเป็นระบบ มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง มีกฎกติกาที่ชุมชนยอมรับและปฏิบัติตาม จนสามารถขึ้นทะเบียนกับกรมป่าไม้ ให้เป็นป่าชุมชนฯ ในปี 2554 และได้รับรางวัลด้านการจัดการป่าชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด    จากกรมป่าไม้ ในปี 2557

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนข่า/ ป่าไผ่พอเพียง
ชุมชนบ้านคลองอาราง มีพื้นที่ป่าชุมชน จำนวน 35 ไร่ เป็นชุมชน ที่มีแนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ส่วนรวม ซึ่งมีลักษะป่าเสื่อมโทรมให้กลับมาเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างเป็นระบบ มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง มีกฎกติกาที่ชุมชนยอมรับและปฏิบัติตาม จนสามารถขึ้นทะเบียนกับกรมป่าไม้ ให้เป็นป่าชุมชนฯ ในปี 2554 และได้รับรางวัลด้านการจัดการป่าชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด    จากกรมป่าไม้ ในปี 2557

แหล่งเรียนรู้ปลูกป่า
เดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นป่าเสื่อมโทรม และถูกถากถางไม้ใหญ่จนเป็นพื้นที่โล่งเตียน ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน เมษายน จะมี ไฟไหม้ป่าเกิดขึ้นทุกปี ต่อมาชาวบ้านคลองอารางได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่า การไม่มีป่าทำให้เกิดความแห้งแล้ง และรู้ถึงพิษภัยของการสูญเสียป่า    จึงร่วมกันฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะให้กลับมามีสภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ โดยการร่วมแรงร่วมใจปลูกป่าชุมชนขึ้น ด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลาย และในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีจะมีการจัดประเพณีบวชป่า เพื่อสร้างศูนย์รวมจิตใจให้ประชาชนและเยาวชนรักษาป่าไม้ให้ยั่งยืนต่อไป

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมท่องเที่ยวศึกษาเรียนรู้ วิถีชีวิตชุมชน คนคลองอาราง

ตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดงศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง บ้านคลองอาราง

  • เส้นทางการท่องเที่ยว (Route)
    สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว ร่วมกับ ชุมชนบ้านคลองอาราง โรงเรียนบ้านแสงจันทร์ วัดแสงจันทร์ วัดเขาสิงโต และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง กำหนดเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนฯ จำนวน 2 เส้นทาง 8 จุดการเรียนรู้ ตามเสน่ห์ชุมชนที่ได้คิดขึ้นใหม่ คือ

จุดเด่น/เสน่ห์ชุมชน
“ชีวิตดี๊ดี ที่คลองอาราง” ชิมข้าวห่อใบตอง ชมบ่อทองโบราณ หมู่บ้านแห่งความสุข สนุกกับป่าชุมชน ผลิตผลสมุนไพร ท่องเที่ยวไปสกายวอล์ค ดังนี้
จุดที่ ๑ ไหว้ศาลตาปู่ และไหว้พระวัดแสงจันทร์
จุดที่ 2 พิธีบายศรีสู่ขวัญ
จุดที่ 3 ชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนคุณธรรมบ้านคลอง
จุด 4 นั่งรถซาเล้งชมวิถีชุมชน/พิพิธภัณฑ์ชุมชน
จุดที่ 5 ชมบ่อทองโบราณ
จุดที่ 6 ชมป่าชุมชน ๓,๐๐๐ ไร่ ชายเขา
จุดที่ 7 ชมและเลือกซื้อของฝากและผลิตภัณฑ์ชุมชน
จุดที่ 8 พิชิตสกายวอล์ค วัดเขาสิงโต

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม