สวนปาณิสรา บ้านวังนกไข่ จังหวัดสมุทรสาคร

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๘ บ้านวังนกไข่ ตาบลหนองนกไข่ อาเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
๑. บ้านวังนกไข่ เดิมเป็นที่ลุ่มมีหนองน้าขนาดใหญ่ เป็นแหล่งอาหารของนก มีนกนานาชนิดมาอาศัยอยู่จานวนมาก ทารังขยายพันธุ์ ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่าวังนกไข่ แต่ปัจจุบันหนองนาดังกล่าวได้มีการถมที่และสร้างเป็นโรงเรียนวังนกไข่สภาพทั่วไป สภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการการเกษตรในชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยงเชิงเกษตร ได้แก่ สวนฝรั่งปาณิสรา และสวนอินทผาลัม มีกิจกรรมล่องแพเก็บฝรั่งอินทรีย์ในสวน ของฝากจากสวนประกอบด้วย อินทผาลัมแห้ง อินทผาลัมสดสีเหลือง สีแดง ผ้ามัดย้อมจากใบฝรั่ง ฝรั่งสด กิมจู แป้น และฝรั่งไส้แดงไต้หวัน แยมฝรั่ง น้ำฝรั่งคั้นสด เค้กฝรั่ง ซึ่งเป็นสินค้าทางวัฒนธรรรม (CPOT) เป็นของกินของฝากให้นักท่องเที่ยว น้ำอินทผาลัมลูกสด จะจัดเป็นกิจกรรม workshop สาหรับนักท่องเที่ยว ได้แก่ ขนมช่อแก้วผกากรอง และผ้าผัดย้อมจากใบฝรั่ง
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ชิมฝรั่งตลอดทั้ง ปี อินทผาลัมช่วงเดือนมิถุนาย – สิงหาคม
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ปาณิสรา ทองสิมา 08 1904 1998
๖. ช่องทางออนไลน –
๗.สิ่งอานวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ ที่จอดรถ 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหาดสองแคว จังหวัดอุตรดิตถ์

“บ้านหาดสองแคว” เป็นชุมชนลาวเมืองเวียงจันทน์ที่เข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 “บ้านหาดสองแคว”ตั้งชื่อตามลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นทางออกของลำน้ำสองสายที่ไหลมาบรรจบกันคือ แม่น้ำน่าน กับคลองตรอน มีลักษณะเป็นลำน้ำสองสายไหลมาบรรจบกันจึงเรียกกันว่า “สองแคว” 

มีประเพณี และวิถีชีวิตด้านการแต่งกาย ภาษา และอาหาร ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของคนลาวเวียงจันทร์ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย คนในชุมชนมีความสามัคคี โอบอ้อมอารีย์ มีมิตรไมตรีแก่ผู้มาเยือน มีแม่น้ำน่านซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักไหลผ่านหมู่บ้าน ซึ่งแสดงถึงความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ของคนในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดหาดสองแคว ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
เป็นอาคารกึ่งปูนกึ่งไม้สองชั้น ตั้งอยู่ในบริเวณวัดหาดสองแคว เป็นที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยโบราณ ของคนในชุมชน

อุโบสถ์เก่าวัดคลึงคราช ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
โบสถ์เก่าแก่อายุ 109 ปี มีศิลปะแบบลาวเวียงจันทร์ หลวงพระบาง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร สูง 10 เมตร โบสถ์เป็นแบบมหาอุด มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว มีหน้าต่าง 2 ด้าน รวม 6 ช่อง มีสิงห์คู่ตั้งอยู่ด้านหน้าบันไดประตูทางเข้า หลังคามุงด้วยสังกะสี

ถนนสายวัฒนธรรมชุมชนลาวเวียง
เป็นการจำลองตลาดย้อนยุคของชาวลาวเวียง โดยกำหนดให้ร้านค้าทุกร้านแต่งกายด้วย ผ้าพื้นเมืองเสื้อสีขาว นุ่งผ้าซิ่น สีต่าง ๆ ใส่งอบ ใช้ร่มผ้าสีขาว และแคร่ไม้ไผ่ ในการตั้งร้านจำหน่ายสินค้า ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวลาวเวียง ใช้วัสดุทางธรรมชาติเป็นภาชนะใส่อาหารแทนกล่องโฟม สินค้าที่จำหน่ายภายในตลาด เป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์และอาหารพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม งานประดิษฐ์ งานแฮนด์เมด

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ถนนปั่นจักรยานริมน้ำน่าน
ตั้งอยู่บริเวณท่าน้ำหลังวัด  หาดสองแคว เหมาะสำหรับ  ให้นักท่องเที่ยวได้ทำกิจกรรม เช่น เดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยานออกกำลังกายและชมวิวทิวทัศน์ริมแม่น้ำน่านยามเช้าและเย็น

สะพานชมวิวริมน้ำน่าน
เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์บรรยากาศชุมชนหาดสองแควริมฝั่งแม่น้ำน่าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แหล่งเรียนรู้ สวนไผ่ซางหม่น
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๒ ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ มีนายพงษ์เทพ ไชยอ่อน เป็นเจ้าของและ      ผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้การขยายพันธุ์และจำหน่ายไผ่ซางหม่น พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ดี

สวนอินทผาลัม “บ้านสวนดวงดัน”
ตั้งอยู่ที่ บ้านสวนดวงดัน ต.หาดสองแคว อ.ตรอน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ตักบาตรหาบจังหัน
ชุมชนบ้านหาดสองแคว หมู่ที่ 1-๗ การหาบอาหารคาว-หวาน ไปถวายพระสงฆ์ที่วัดในตอนเช้า กล่าวคือขณะที่พระสงฆ์ออกบิณฑบาตตอนเช้าชาวบ้านจะตักบาตรด้วยข้าวสวยอย่างเดียว ส่วนอาหารคาว-หวาน จะมีนางหาบ/นายหาบ แต่งตัวชุดลาวเวียงวันละ 5-10 คน ทำหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนหาบอาหารด้วยสาแหรกเดินตามพระเข้าวัด ซึ่งอาหารคาว-หวานที่หาบไป จะได้จากชาวบ้านนำอาหารไปวางไว้ที่แป้นเสาหน้าบ้านของแต่ละหลัง โดยนางหาบ/ นายหาบ จะเดินเก็บอาหารตามแป้นเสาหน้าบ้านแต่ละหลังไปตามเส้นทางไปจนถึงวัด จากนั้นจะนำอาหารที่ได้ถวายพระที่วัดในตอนเช้า ถือเป็นการเชื่อมบุญมาสู่คนในชุมชน หลังจากถวายพระแล้ว นางหาบ/นายหาบ จะนำภาชนะใส่อาหารกลับไปวางคืนไว้ที่แป้นเสาหน้าบ้านของแต่ละหลังตามเดิม ซึ่งจะปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน ยกเว้นวันพระหรือสำคัญทางศาสนาชาวบ้านจะไปตักบาตรที่วัด

ขอบคุณพืชพันธุ์ธัญญาหารและสายน้ำน่าน
วัดหาดสองแคว หมู่ที่ ๑เป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญู ต่อพืชพันธุ์ธัญญาหาร ต่อแม่โพสพ แม่คงคา อีกทั้งเป็นการขอบคุณที่นำความอุดมสมบูรณ์มายังคนในชุมชนตำบลหาดสองแคว และอำเภอตรอน รวมถึงเป็นการขอขมาที่ได้ล่วงเกิน ต่อผู้มีพระคุณซึ่งในชุมชนได้มีการสืบสานประเพณีนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จนถึงปัจจุบัน

ไหลแพไฟ เฉลิมพระเกียรติ
วัดหาดสองแคว หมู่ที่ ๑ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2541 ในอดีตการไหลแพไฟจะเริ่ม ทำพิธีปล่อยแพที่ท่าน้ำวัดวังแดง หมู่ 3 ตำบลวังแดง ล่องตามลำน้ำน่านถึงท่าน้ำวัดสองแคว ตำบลหาดสองแคว ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ระหว่างทางจะมีประชาชนเที่ยวชมแพไฟอยู่ตาม จุดชมแพตลอดสองฝั่งแม่น้ำ และจะมีพิธีถวายพระพรชัยมงคล ตีกลองย่ำฆ้องกลอง จุดพลุ ประดับไฟริมถนนและ ริมแม่น้ำ แต่ในปัจจุบัน ได้จัดให้มีขึ้นทั้งหมด 3 วัน คือ เริ่มตั้งแต่วันที่ 3-5 ธันวาคม ของทุกปี 

เรียนรู้การทำสาแหรกจิ๋ว และไม้กวาดทางมะพร้าว
ศูนย์เรียนรู้การทำสาแหรกจิ๋ว และไม้กวาดทางมะพร้าว ตั้งอยู่เลขที่ ๗๒ หมู่ที่ ๒ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ มีนายสมาน ประดับเพ็ชร ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นเจ้าของและถ่ายทอดความรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านจักสานไม้ไผ่ หวาย และไม้กวาดทางมะพร้าว

เรียนรู้ทำ ผ้ามัดย้อม
ศูนย์เรียนรู้การทำผ้ามัดย้อม ตั้งอยู่เลขที่ 81/2 หมู่ที่ ๓ ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เป็นแหล่งเรียนรู้การทำผ้ามัดย้อม ตัด เย็บ ย้อม ตาก และสามารถนำกลับบ้านได้เลยโดยมีนางมานิตถา เพ็ชรศิลา เป็นเจ้าของและถ่ายทอดความรู้ 

เรียนรู้ทำผ้าด้นมือ
ศูนย์เรียนรู้การทำผ้าด้นมือและการปกกระเป๋าผ้า ๙๗ หมู่ที่ ๓ ต.หาดสองแคว อ.ตรอน
จ.อุตรดิตถ์ เป็นแหล่งเรียนรู้การปักผ้าลวดลายเป็นรูปหาบจังหันลงบนผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้ารูปแบบต่าง ๆ โดยมี นางวันเพ็ญ กลมดวงซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นเจ้าของและถ่ายทอดความรู้

เรียนรู้ทำอาหารพื้นบ้าน
ศูนย์เรียนรู้ทำอาหารพื้นบ้าน 16/5 หมู่ที่ 3 ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เป็นแหล่งเรียนรู้การทำอาหารพื้นบ้านคาว-หวาน   ของชุมชนหาดสองแควที่ได้รับการ  สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพ มาจากลาวเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยมีนางอรุณี นันทโชติ และนางบุญส่วน เรืองเดช
เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้

เรียนรู้แปรรูปกล้วยฉาบ เผือกฉาบ มันฉาบ
ศูนย์เรียนรู้การแปรรูป กล้วยฉาบ เผือกฉาบ มันฉาบ ตั้งอยู่เลขที่ 16 หมู่ที่ 2 ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ด้าน การแปรรูปอาหาร และร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร  แปรรูป ได้แก่ กล้วยฉาบ  เผือกฉาบ มันฉาบ ฯลฯ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมชุมชนคุณธรรมบ้านดงยาง (ชมรมไทย-ลาวแง้วทองอน) จังหวัดสิงห์บุรี

ชุมชนคุณธรรมบ้านดงยาง (ชมรมไทย-ลาวแง้วทองเอน) ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 12 ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ใจกลางชุมชนมีคลองส่งน้ำของกรมชลประทานตัดผ่าน ทำให้ชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี สภาพบ้านเรือนมีทั้งในยุคอดีตและยุคปัจจุบัน การเดินทางเข้า-ออก จากชุมชนโดยรถยนต์ส่วนตัว (ไม่มีรถประจำทาง) ถนนในหมู่บ้านเป็นถนน 2 เลน สามารถเดินทางเชื่อมต่อกันได้ รวม 15 หมู่บ้าน

ชุมชนคุณธรรมบ้านดงยาง เสน่ห์ของชุมชน คือ อัตลักษณ์ที่โดดเด่น รวม 5 ด้าน ได้แก่ การแต่งกาย ภาษา การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อาหารประจำถิ่น และอาชีพจักสาน คนในชุมชนอยู่กันแบบญาติพี่น้อง ไม่มีการแบ่งกลุ่มแบ่งชนชั้น มีความรัก ความสามัคคี มีอัธยาศัยไมตรี และมีความเป็นเจ้าบ้านที่ดี ชุมชนจึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเข้าไปเยี่ยมชมเป็นประจำตลอดทั้งปี 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดดงยาง หมู่ที่ ๑๒ ตำบลทองเอน
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งแต่แรกเริ่มสร้างวัดมีต้นยางอยู่จำนวนมาก จึงเรียกกันว่า “วัดดงยาง” แต่ต้นยางรุ่นเก่าได้หมดไปแล้ว ปัจจุบันเป็นต้นยางที่พระครูโสภิตกิติคุณ และชาวบ้านได้ช่วยกันปลูกขึ้นมา ภายในวัดมีปูชนียวัตถุ คือ วิหารหลวงพ่อใหญ่พระเนตรมรกต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่คนในชุมชนเคารพนับถือ

วัดกฤษณะ เวฬุพุทธาราม (วัดไผ่ดำ) หมู่ที่ 4 ตำบลทองเอน
วัดเป็นสถานที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์สมัยกรุงศรีอยุธยารูปทรงระฆังคว่ำที่ยังคงลักษณะสมบูรณ์กว่าเจดีย์องค์อื่น ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ชาวบ้านได้ร่วมกันบูรณะพื้นเจดีย์เพื่อป้องกันการพังทลาย ต่อมาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำการบูรณะองค์พระเจดีย์ใหม่ เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๐ นอกจากนี้ยังมีต้นไผ่ดำซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด

วัดกลาง หมู่ที่ 2 ตำบลทองเอน
วัดเป็นสถานที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์สมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะของเจดีย์เป็นอิฐมอญแดงโบราณ ทับซ้อนกันรูปทรงเจดีย์แบบเก่า บนยอดเจดีย์มีต้นจำปาคู่อายุกว่า 100 ปี

อาคาร 100 ปี พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ชาวไทย-ลาวแง้ว ทองเอน
อาคาร 100 ปี ตั้งอยู่ภายในวัดดงยาง เป็นอาคารสำหรับจัดแสดงประวัติความเป็นมาของชาวลาวแง้วทองเอน ที่มาของชื่อตำบลทองเอน และเครื่องมือเครื่องใช้ของชาวลาวแง้วทองเอน ตั้งแต่สมัยอดีต

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ เกี่ยวกับการเปลี่ยนสายพันธุ์และการตัดแต่งกิ่งมะม่วง พร้อมทั้งจำหน่ายมะม่วงและมะม่วงน้ำปลาหวานเพื่อเป็นของฝาก

ไร่แสนสมบูรณ์ หมู่ที่ 9 ตำบลทองเอน

ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา  โคกหนองนาโมเดล แหล่งเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมแบบครบวงจร ภายในไร่จัดให้มีกิจกรรมฐานเรียนรู้การทำนา จับปลา จับกุ้ง เลี้ยงเป็ด ฝึกทำไข่เค็มใบเตย พายเรือเก็บดอกบัว พับดอกบัว และรับประทานอาหารพื้นบ้านกลางทุ่ง

สวนคำภาหรรษา หมู่ที่ 10 ตำบลทองเอน
ศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและไร่นาสวนผสม บนเนื้อที่ 8 ไร่ ที่มีทั้งบึงบัว  บ่อปลา
บ่อกบ นาข้าว แปลงผัก ผลไม้ และคอกแพะ

บ้านสวนเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 1 ตำบลทองเอนแหล่งเรียนรู้การทำสวนเกษตรอินทรีย์บนเนื้อที่ 4 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกผักประเภทไม้เลื้อยไว้ด้านบนมุ้ง สำหรับผักประเภทอื่น อาทิ สะเดา ขนุน มะม่วง ปลูกไว้ด้านล่าง รวมทั้งจัดทำน้ำหมักสมุนไพร จำนวน 12 ชนิด ซึ่งมีสรรพคุณในการนำไปใช้กับพืช และบางชนิดใช้เป็นยารักษาโรค
แหล่งเรียนรู้การทำสวนเกษตรอินทรีย์บนเนื้อที่ 4 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกผักประเภทไม้เลื้อยไว้ด้านบนมุ้ง สำหรับผักประเภทอื่น อาทิ สะเดา ขนุน มะม่วง ปลูกไว้ด้านล่าง รวมทั้งจัดทำน้ำหมักสมุนไพร จำนวน 12 ชนิด ซึ่งมีสรรพคุณในการนำไปใช้กับพืช และบางชนิดใช้เป็นยารักษาโรค

สวนอินทผาลัม ทองเอน หมู่ที่ 7 ตำบลทองเอน
แหล่งศึกษาเรียนรู้การปลูกต้น อินทผาลัมพันธุ์บาฮี บนเนื้อที่ 3 ไร่เศษ และจำหน่ายผลอินทผาลัมเพื่อรับประทานและเป็นของฝาก
ไร่สิงห์เกษตร หมู่ที่ 7 ตำบลทองเอน
แหล่งเรียนรู้เกษตรผสมผสาน บนเนื้อที่ 25 ไร่ แบ่งเป็นโซนปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกดอกไม้ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร จุดพักรถ จุดถ่ายรูป และจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรจากชุมชนเพื่อเป็นของฝาก

บ้านสวนศิลป์ สุขดี หมู่ที่ 5 ตำบลทองเอน
สวนเกษตรผสมผสานและการสร้างงานศิลปะจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น การทำกระถางต้นไม้จากผ้าเช็ดหน้า กระถางต้นไม้จากแผงรังใส่ไข่ และทำพวงกุญแจจากเปลือกหอยขม 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การสร้างงานศิลปะจากวัตถุดิบในท้องถิ่น
บ้านสวนศิลป์ สุขดี หมู่ที่ 5 ตำบลทองเอน นักท่องเที่ยวจะได้ชมการสาธิตและร่วมทำกระถางต้นไม้จากผ้าเช็ดหน้า กระถางต้นไม้จากแผงรังใส่ไข่ และทำพวงกุญแจจากเปลือกหอยขม พร้อมทั้งสามารถนำกลับไปเป็นของที่ระลึก

การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเปลี่ยนสายพันธุ์มะม่วง และการตัดแต่งกิ่งมะม่วง

สวนมะม่วงสองเรา” หมู่ที่ 14 ตำบลทองเอนนักท่องเที่ยวที่มาชมสวนจะได้รู้จักมะม่วงสายพันธุ์ต่าง ๆ รวมทั้งฟังการบรรยายวิธีการเปลี่ยนสายพันธุ์มะม่วง การตัดแต่งกิ่งมะม่วง รวมทั้งวิธีการทำน้ำปลาหวานสูตรเข้มข้นเพื่อทานกับมะม่วงที่เก็บจากต้นสด ๆ และซื้อกลับไปเป็นของฝาก

การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและการทำไร่นาสวนผสม

สวนคำภาหรรษา หมู่ที่ 10 ตำบลทองเอน นักท่องเที่ยวจะได้ฟังบรรยายเรื่อง องค์ความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และชมไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งให้อาหารแพะ เรือพายเก็บดอกบัวขึ้นมาพับแล้วนำไปสักการะพระพุทธรูป

การถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชา โคก หนอง นาโมเดล
ไร่แสนสมบูรณ์  หมู่ที่ 9 ตำบลทองเอน นักท่องเที่ยวจะได้เข้าร่วมกิจกรรมฐานเรียนรู้อาชีพเกษตรกร เช่น ทำนา จับปลา จับกุ้ง ฝึกการทำไข่เค็มกลิ่นใบเตย การพับดอกบัว พายเรือเก็บดอกบัวในบึง ชมบ่อเลี้ยงกบ ปลา เป็ด และแปลงผักสวนครัวและรับประทานอาหารพื้นบ้าน

การจัดทำผลิตภัณฑ์ จักสานบ้านทองเอน
กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานงอบไทย-ลาวแง้วทองเอน หมู่ที่ 1 ตำบลทองเอน นักท่องเที่ยวจะได้ชมการสาธิต พร้อมทั้งฝึกหัดวิธีการจักสานงอบใบลาน และการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จักสานของชมรมไทย-ลาวเง้วทองเอน
การทำขนมหวานและแปรรูปอาหารจากผลไม้
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมหวานบ้านทองเอน หมู่ที่ 1 ตำบลทองเอน นักท่องเที่ยวจะได้ชมการผลิตอาหารแปรรูปจากผลไม้ ชมการสาธิต และทดลองแปรรูปอาหารจากผลไม้ พร้อมทั้งซื้อสินค้าขนมหวานบ้านทองเอนกลับไปรับประทานและเป็นของฝาก