วัดนครธรรม จังหวัดสระแก้ว

ที่ตั้ง ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
๑. วัดนครธรรมเป็นวัดโบราณเก่าแก่วัดหนึ่ง มีหลวงพ่อขาวหรือหลวงพ่อปูน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณนั่งขัดสมาธิสร้างด้วยปูนขาวจากหนองดินจี่ที่มีอายุ เก่าแก่กว่า 100 ปี พระพุทธรูป หน้าตักกว้าง 130.9 เซนติเมตร และ สูง 199 เซนติเมตร หลวงพ่อขาวหรือหลวงพ่อปูน มีชื่อเสียงด้านอภินิหาร ความศักดิ์สิทธิ์ โดยเมื่อครั้งที่ได้อัญเชิญหลวงพ่อขาวจากวัดร้างบ้านจิกในปี พ.ศ. 2468 ในขณะอัญเชิญ มีปรากฏการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้น พระภิกษุสงฆ์ได้เห็นน้ำพระเนตรของหลวงพ่อขาวไหลออกมาอย่างชัดเจน พร้อมกับมีฝนตกลงมาอย่างหนัก จึงเป็นเรื่องกล่าวขานถึงอภินิหารของหลวงพ่อขาวมาจนปัจจุบัน ทางวัดนครธรรมได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมสักการะทุกวันไม่มีวันหยุด
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมสักการะทุกวันไม่มีวันหยุด
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๙๙๓๙ ๙๓๒๐
๖. ช่องทางออนไลน์ –
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดถ้ำรงค์ จังหวัดเพชรบุรี

วัดถ้ำรงค์ มีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี คือหลวงพ่อเทพ นอกจากนี้ ยัง มีเขาถ้ำรงค์ อยู่บริเวณตรงข้ามกับวัด ซึ่งมีถ้ำหินงอกหินย้อย และมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติ กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า สร้างสมัยทวารวดี ประดิษฐ์อยู่ภายในถ้ำ ซึ่งมีความศักดิสิทธิ์ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้าน และเรียกขานกันว่าหลวงพ่อดำ บริเวณใกล้ๆ ถ้ำด้านข้างยังมีศาลาประดิษฐานหลวงพ่อขาว
นักท่องเที่ยวเมื่อเข้ามีเที่ยวในชุมชนบ้านถ้ำรงค์ จะได้กราบสักการะขอพรหลวงพ่อเทพ หลวงพ่อดำ หลวงพ่อขาว ซึ่งนับว่าเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ก่อนที่จะเข้าไปสัมผัสเรียนรู้กิจกรรมอื่นๆ ในชุมชนต่อไป

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านถ้ำรงค์ จังหวัดเพชรบุรี

มีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานมาจากในอดีต วันหนึ่งมีเจ้าเมืองที่ไม่ปรากฎพระนามเสด็จมาระหว่างที่กำลังชมภูมิประเทศ มีหญิงชาวบ้านเห็นพระองค์เหน็ดเหนื่อย จึงเข้ามาถวายน้ำดื่มแก้กระหายแต่ในขันน้ำมีหญ้าคาลอยอยู่เจ้าเมืองทรงกริ้วและเรียกให้หญิงชาวบ้านมาเข้าเฝ้า หญิงชาวบ้านอธิบายว่าต้องใส่หญ้าคาลงไปเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าเมืองรับเสวยน้ำในขณะกำลังเหนื่อย เพราะอาจทำให้จุกเสียดและประชวร เจ้าเมืองได้ฟังก็ซาบซึ้ง จึงพระราชทานแหวนให้หญิงชาวบ้านเป็นการตอบแทน เรียกว่าธรรมรงค์ ต่อมาชาวบ้านได้เรียกชุมชนนี้ว่า บ้านธรรมรงค์ และเป็นบ้านถ้ำรงค์ มาจนปัจจุบัน

ชุมชนถ้ำรงค์เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่คนในชุมชนยังคงดำเนินวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม มีความพร้อมในทุกด้าน ๆ ด้านศาสนา ด้านชุมชน ด้านวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณี จึงทำให้การบริการจัดการต่าง ๆ เป็นไปในทางที่ดี เพราะคนในชุมชนทุกภาคส่วนมี ส่วนร่วมในการดำเนินงานทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จมีการรวมกลุ่ม    
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดถ้ำรงค์
เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาประวัติที่ไม่ค่อยชัดเจนนัก ไม่มีใครรู้ว่าวัดนี้ก่อสร้างแต่เมื่อใดแม้แต่เจ้าอาวาสคนแรกมาพบ คือ หลวงพ่อผ่าน ได้ทำการสร้างกุฏิสงฆ์ใหม่ซึ่งย้ายจากที่เดิมมา สร้างโรงเรียน นามว่า โรงเรียนวัดถ้ำรงค์ (ผ่านผดุง) หลังจากนั้นท่านได้มรณภาพ ต่อมาไม่นานก็ได้แต่งตั้ง พระภิกษุเทพ ฉายา สิริธโร เป็นเจ้าอาวาส ท่านสามารถดูฤกษ์ งามยามดี ปลูกบ้าน เจิมรถ เจิมบ้าน จนมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จนได้รับเลื่อนสมณะศักดิ์เป็น พระครูบรรพตวิบูลกิจ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระครูสุนทรวัชรกิจ.ดร.
หลวงพ่อดำ
หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ เป็นรูปหล่อสีดำทั้งองค์ หลวงพ่อดำมีอายุประมาณ ๗๐๐ ปีแล้ว บริเวณเท้าของหลวงพ่อดำมีโซ่ล่ามอยู่ มีตำนานเล่าว่าหลวงพ่อดำเป็นพระเจ้าชู้เวลาพลบค่ำ เมื่อสาวชาวบ้านเสร็จจากการทำไร่ทำนาต่างพากันเดินกลับบ้าน หลวงพ่อดำก็จะเข้าไปพูดจาเกี้ยวพาราสี ชาวบ้านทนพฤติกรรมของท่านไม่ได้ จึงนำโซ่มาล่ามที่ขาไม่ให้ท่านออกไปไหน
หลวงพ่อขาว
หลวงพ่อขาว ประดิษฐานอยู่ในถ้ำคนละด้านกับเขาถ้ำรงค์ แต่ตอนหลังถ้ำของหลวงพ่อขาวพังทลายลง ชาวบ้านจึงอัญเชิญหลวงพ่อขาวมาบูรณะซ่อมแซมใหม่ จึงนำมาประดิษฐานเคียงคู่กับหลวงพ่อดำ มีความเชื่อกันว่า หลวงพ่อขาวน่าจะเป็นพระสงฆ์ที่มีตัวตนมาก่อน เป็นพระที่บวชเรียนมานานชาวบ้านเคารพนับถือจึงสร้างรูปหล่อขึ้นมา
ศาลาท่าชื่น (ศาลเจ้า)
ศาลพ่อปู่อินทนินท์เป็นศาลที่ตั้งอยู่ที่ใกล้ท่าชื่นลำห้วยคลองกะลาตาย  เป็นศาลที่ชาวบ้านภายในหมู่บ้านให้ความนับถือ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ลำห้วยถ้ำรงค์
เป็นลำห้วยที่ชาวบ้านใช้ในการทำการเกษตรซึ่งจะมีน้ำอยู่ตลอดทั้งปี
เขาถ้ำรงค์
ภูเขาถ้ำรงค์ อยู่บริเวณตรงข้ามวัดถ้ำรงค์ จะมีปากถ้ำเล็กๆถ้ำหนึ่งเป็นทีประดิษฐานของหลวงพ่อดำ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน
นายสง่า สว่างจิต ภูมิปัญญาการทำเกษตรอินทรีย์การเลี้ยงไส้เดือน การเลี้ยงไก่ ปลูกผัก สวนครัว เลี้ยงกบ เพาะเชื้อเห็ด การทำเกษตรปลูกสวนกล้วย มะนาว ต่างๆ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำว่าว เรียนรู้การทำว่าวจุฬาแบบโบราณ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ว่าว ของที่ระลึก
ศูนย์เรียนรู้การทำว่าว นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมกับศูนย์โดยทำว่าวและสามารถนำกลับไปบ้านได้
การนั่งรถราง
หมู่ ๓  ร่วมกิจกรรมนั่งรถรางรอบหมู่บ้าน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม