จัมโบ้ วิลล่า โฮมสเตย์ แอนด์ รีสอร์ท

ที่ตั้ง ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
๑. ประเภทของที่พัก
โรงแรม / โฮมสเตย์ 
๒. จำนวนห้อง ๒๐ ห้อง
๓. ประเภทห้องพัก/ราคา
Standard ๔๒๑
๔. สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
Wi-Fi ฟรี
เครื่องปรับอากาศ
รวมที่จอดรถ
รูมเซอร์วิส
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 08 2324 4565
๖. ช่องทางออนไลน์
จัมโบ้ วิลล่า โฮม สเตย์ แอนด์ รีสอร์ท

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วิสาหกิจชุมชนช้างสาน

ที่ตั้ง บ้านเลขที่ ๕๗ หมู่ที่ ๕ ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ช้างสาน
๒. ชื่อผู้ประกอบการ นายพุทธิธร ฉัตรบริรักษ์
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ งานหัตถกรรมถักสานผักตบชวา
วิสาหกิจชุมชนช้างสารมีการจัดทำผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมงานจักสาน อาทิ กระเป๋า “ ชวาชาตรี ” ตะกร้า หูหิ้วแก้วกาแฟ กระเป๋าแก้วเยติ จากผักตบชวา เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นจากผักตบชวา และมีลวดลายบนผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ประจำชุมชน เป็นการนำลวดลายของชุดละครชาตรีมาประยุกต์เข้ากับกระเป๋าและผลิตภัณฑ์ ของชุมชน
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๕. ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดไชโยวรวิหาร

ที่ตั้ง ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
๑. วัดไชโยวรวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นโท เดิมเป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ มีนามว่า วัดไชโย ครั้นเมื่อสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามได้เลือกวัดนี้เป็นที่สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ตั้งอยู่กลางแจ้ง กล่าวว่าการก่อสร้างพระพุทธรูปนี้ใช้เวลานานเกือบ 3 ปี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงเสร็จ แล้วสมเด็จพุฒาจารย์ได้ถวายวัดไชโยเป็นวัดหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเกษไชโย”
พระวิหาร มีความสูงใหญ่มากแห่งหนึ่ง รูปทรงแปลกตา ด้านนอกมีรูปทวารบาลลายรดน้ำ เป็นรูปเสี้ยวกวาง เสาหารด้านหน้า-หลังพระวิหารมีขนาดใหญ่โตมากภายในพระอุโบสถ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นปางสมาธิ ผนังทุกด้านมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเรื่องพุทธประวัติ ภาพเหล่าทวยเทพที่วิจิตรงดงาม ยังอยู่ในสภาพที่ดี บานประตูแกะสลักอย่างประณีต
สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ ได้แก่ พระมหาพุทธพิมพ์ หรือที่เรียกว่า หลวงพ่อโต เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีพุทธลักษณะที่โดดเด่นกว่ายุคสมัยที่ไม่ยึดแนวอุดมคติตายตัว พระพักตร์และพระกรรณจึงเหมือนคนธรรมดามากกว่า มีริ้วรอยย่นของ สบง จีวร ชัดเจน
นอกจากจะเป็นวัดสำคัญของอำเภอไชโยแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประชาชนรู้จักวัดนี้เป็นอย่างดี ได้แก่ “พระสมเด็จเกษไชโย” พระเครื่องที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณนานัปการ
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
0๖.00 – 18.00 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 3586 2696
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook Fanpage : วัดไชโยวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดป่าโมกวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง

ที่ตั้ง ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
๑. วัดป่าโมกวรวิหาร วัดเก่าแก่สมัยสุโขทัย พระนอนองค์ใหญ่สร้างในสมัยอยุธยาความยาวประมาณ 24 เมตร แต่เดิมวัดแห่งนี้มีต้นโมกเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระพระราชทานนนามว่า “วัดป่าโมก” มีเรื่องเล่าขานว่า ครั้นสมัยเกิดโรคระบาด ชาวบ้านได้ยินเสียงบอกวิธีการรักษาจากพระองค์นี้ ชาวบ้านจึงเรียกพระนอนองค์นี้ว่า “พระนอนพูดได้” ซึ่งวัดป่าโมกวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง อยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง 18 กิโลเมตรเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาท ๒๒.๕๘ เมตรก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความเป็นมาน่าอัศจรรย์ เล่าขานมาว่าได้ลอยน้ำมาจม อยู่หน้าวัดราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่ง แม่น้ำ
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
0๖.00 – 18.00 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๙ ๘๒๘๑ ๔๐๑๑
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook Fanpage : วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
 ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดสังกระต่าย จังหวัดอ่างทอง

ที่ตั้ง หมู่ ๔ ตำบลศาลาแดง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
๑. วัดสังกระต่าย เดิมชื่อว่า “วัดสามกระต่าย” แต่ได้มีการเรียก ชื่อผิดเพี้ยนกันมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นวัดสังกระต่าย โดยปรากฏว่ามี “ทวดดี จันทนเสวี” ซึ่งเป็นพระมารดาของพระยาหัสกาล เป็นผู้สร้างตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาประมาณ ๔๐๐ – ๕๐๐ ปีมาแล้ว
วัดสังกระต่าย ปัจจุบันคงความสวยงามของพระอุโบสถที่ถูกปกคลุมไปด้วยต้นโพธิ์ทั้ง 4 มุม ซึ่งมีความสวยงาม ตามธรรมชาติ เป็นสนใจของนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาเยี่ยมชมและถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ชาวบ้านที่มี ความเลื่อมใสศรัทธาในตัววัดวัดสังกระต่าย เมื่อมีงานบุญ งานมงคลจะมากราบไหว้ขอพระพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐาน ในพระอุโบสถแห่งนี้ คือ หลวงพ่อแก่น หลวงพ่อวันดี หลวงพ่อศรี หลวงพ่อสุข และสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยรอบพระอุโบสถ
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
5.00 – 19.00น. ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ 3563 1556
๕. ช่องทางออนไลน์ –
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดขุนอินทประมูล จังหวัดอ่างทอง

ที่ตั้ง หมู่ ๔ ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิทอง จังหวัดอ่างทอง
๑. วัดขุนอินทประมูล เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ประดิษฐานพระนอนองค์ใหญ่แห่งทุ่งโพธิ์ทองพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวถึง ๕๐ เมตร (๒๕ วา) องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี และสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็น น่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก โดยเชื่อกันว่าถ้าได้มาสักการะพระพุทธไสยาสน์ และใช้มือลูบที่บริเวณฝ่าเท้าของท่าน จะทำให้มีอายุที่ยืนนาน สมหวังทุกประการ
พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจ นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีซากโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป และบริเวณภายในวัดยังมีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูล ซึ่งตามประวัติเล่ากันว่า ท่านเป็นนายอากรผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ จึงได้ชื่อว่า“วัดขุนอินทประมูล”
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
5.00 – 18.00 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 6136 9424
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook Fanpage : วัดขุนอินทประมูล วัดชัยมงคล
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านบางเจ้าฉ่า จังหวัดอ่างทอง

ชุมชนบางเจ้าฉ่าเป็นชุมชนที่มีมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวบ้านได้เคยร่วมกับชาวแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ และชาวบางระจัน สู้รบกับทหารพม่า ณ บ้านบางระจัน ภายหลังการสู้รบยุติลงแล้ว “นายฉ่า” จึงได้นำชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยถาวรขึ้นในชุมชนด้านทิศตะวันตกของลุ่มแม่น้ำน้อย

ชุมชนคุณธรรมบ้านบางเจ้าฉ่าเป็นชุมชนที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมและมีเสน่ห์ของชุมชนในเรื่องงานจักสานไม้ไผ่ คนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกันดำเนินชีวิตแบบพอเพียงเกิดกระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมคุณธรรม ความดี ภายใต้หลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรม เกิดความเข้มแข็งในชุมชน 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดยางทอง
เป็นศูนย์กลางทางศาสนาของชุมชนบ้านบางเจ้าฉ่า
พิพิธภัณฑ์ไม้ไผ่บางเจ้าฉ่า
เป็นแหล่งรวมข้อมูลเพื่อให้เห็นพัฒนาการของงานจักสานไม้ไผ่ของบางเจ้าฉ่าในแต่ละยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน
พิพิธภัณฑ์สิริพัฒนคุณานุสรณ์

เป็นแหล่งรวมงานจักสานไม้ไผ่ในรูปแบบและลวดลายต่าง ๆ ของชุมชนเอาไว้ให้ศึกษาเรียนรู้
ศูนย์เรียนรู้บ้านครูอ๊อด
เป็นสถานที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาจักสานให้แก่เด็กรุ่นใหม่หรือผู้ที่มีความสนใจในงานจักสานไม้ไผ่และเป็นแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์งานจักสานร่วมสมัยและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (Cpot ของชุมชนบ้านบางเจ้าฉ่า)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ต้นยางนาคู่ (รุกขมรดกของแผ่นดิน)
รุกขมรดกของแผ่นดินใต้ร่มพระบารมี (ต้นยางนาคู่) ซึ่งมีอายุกว่า ๔๐๐ ปี และได้รับการขึ้นทะเบียน โดยกระทรวงวัฒนธรรม

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนกระท้อนตาเลิศ
เป็นสวนกระท้อนที่ปลูกกระท้อนพันธุ์ทองใบใหญ่ซึ่งมีรสชาติเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ร่วมประกอบอาหารพื้นบ้าน
บ้านพักโฮมสเตย์ ร่วมทำอาหารพื้นถิ่นกับเจ้าของบ้าน เช่น แกงคั่วกระท้อนแกงพื้นบ้าน
ตักบาตรตอนเช้า

บ้านพักโฮมสเตย์ ตักบาตรพระภิกษุบริเวณหน้าบ้านพัก
นั่งรถอีแต๋นชมหมู่บ้าน
ในชุมชน ชมบรรยากาศริมแม่น้ำน้อยและเที่ยวชมสวนผลไม้ในชุมชน
จักสานตะกร้า
บ้านครูอ๊อด ฝึกทำจักสานชิ้นงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านลาว จังหวัดอ่างทอง

บ้านลาว หมู่ที่ 1 ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้านลาว เล่าสืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่นว่า สมัยกรุงศรีอยุธยาเกิดสงครามสู้รบกับพม่า ได้กวาดต้อนชาวลาวเวียงจันทร์มาช่วยรบโดยมีนายทหารชื่อ ศร สุริยวงศ์ เป็นผู้นำทัพเมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วก็ทยอยกลับเวียงจันทร์ เมื่อพบทำเลที่เหมาะสมก็จะตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มเรื่อยมา 

พิธีไหว้พ่อศร สุริยวงศ์ ในวันขึ้น 12 – 13 ค่ำ เดือน 6 โดยจะมีพิธีพาดหมากและทำบุญ ซึ่งเป็นการปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดศุขเกษมธรรมิการาม
สันนิษฐานว่าก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในวัดมีอุโบสถหลังเก่า อายุประมาณ 90 ปี และพระสีวลีองค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอ่างทอง

วัดเยื้องคงคาราม
สร้างเมื่อ พ.ศ.2509  พระประธานในอุโบสถ สร้างด้วยหินสี

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ต้นตาล 500 ต้น
ต้นตาล 500 ต้น เที่ยวชมทัศนียภาพที่น่าประทับใจ อยู่กลางทุ่งนาได้สัมผัสบรรยากาศแบบธรรมชาติ ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ที่มีมนต์เสน่ห์ เอกลักษณ์เฉพาะตัว มีธรรมชาติที่สวยงาม ทั้งทุ่งนา ต้นตาล และแม่น้ำเจ้าพระยา

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านลาว
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง  เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้  เกี่ยวกับชุมชนบ้านลาว

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ผลิตภัณฑ์จากกาบกล้วย
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านลาว การเรียนรู้การทำกระเป๋า การทอเสื่อและดอกไม้ประดิษฐ์จากกาบกล้วย
การทำอั่วพริก
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านลาว การร่วมประกอบอาหารพื้นบ้าน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านปะขาว จังหวัดอ่างทอง

บ้านปะขาว ชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีการอนุรักษ์วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีในสมัยโบราณเอาไว้ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีเกษตรอินทรีย์ มีพืชสำคัญของชุมชน อย่าง กล้วยหอมทองปลอดสารพิษ โดยใช้ฮอร์โมนที่ผลิตจากนมวัว ไข่ไก่ น้ำตาล และ จุลินทรีย์หน่อกล้วย  ปัจจุบันบ้านปะขาวเป็นชุมชนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่โดดเด่นในเรื่องของวัฒนธรรมมีศูนย์เรียนรู้อาหารและขนมไทยโบราณ กลุ่มงานอาชีพช่างไม้สัก กลุ่มแพพักตกปลาเพื่อรองรับผู้มาเยือนและชมบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา

บ้านปะขาว มีกลุ่มอาชีพของช่างไม้ท้องถิ่นที่ผลิตชิ้นงานจากไม้สัก เช่น ศาลพระภูมิทรงไทย,เรือโบราณย่อส่วนและเกวียนไม้จำลอง เป็นต้น มีการสาธิตการทำขนมไทยโบราณ ที่หารับประทานได้ยากอย่าง “ขนมหันแก” ขนมมงคลที่มีมายาวนานกว่า 100 ปี มีลักษณะเป็นลูกกลม ๆ นำไปซุปไข่ ก่อนจะทอดให้มีสีเหลืองทอง รสชาติหอมหวาน กรอบนอกนุ่มใน และยังมีการอนุรักษ์ศิลปะการละเล่นอย่าง รำวงกลองยาว 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสระแก้ว (วัดสระแก)
ชุมชนคุณธรรมบ้านปะขาว มีพระครูปลัดสุวัฒนบัณฑิตคุณ เจ้าอาวาสวัดสระแก้ว เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมบ้านปะขาว ซึ่งในอดีตนั้นบ้านปะขาวเป็นชุมชนเก่าแก่ และมีขนาดใหญ่จึงมีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ที่สืบทอดไว้ให้กับคนรุ่นหลัง และมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่หลอมรวมคนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดี่ยว คือวัดสระแก้ว (วัดสระแก) โดยเฉพาะอดีตท่านเจ้าอาวาส พระอุปัชฌาย์ต่าย และในวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำ และขบวนแห่รูปหล่ออดีตเจ้าอาวาส พระอุปัชฌาย์ต่าย นอกจากนั้นยังมีประเพณีสงกรานต์กลางหมู่บ้าน (ศาลาแดง) มีกิจกรรมทำบุญเลี้ยงพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุในหมู่บ้าน มีการร้องรำทำเพลง (รำกลองยาว) และมีการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน เช่น ชักกะเย่อ วิ่งกระสอบ เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

แพพักตกปลา บรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา
แพพักตกปลาบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา ของชุมชนฯบ้านปะขาว สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสาน
ชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีการอนุรักษ์วิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีในสมัยโบราณเอาไว้ ชาวบ้านที่นี่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีเกษตรอินทรีย์ มีพืชสำคัญของชุมชน อย่างกล้วยหอมทองปลอดสารพิษ โดยใช้ฮอร์โมนที่ผลิตจากนมวัว ไข่ไก่ น้ำตาล แทนการใช้สารเคมี

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำไม้ก้านธูปจาก ไม้ไผ่สีสุก
หมู่ที่ 3 ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมกจังหวัดอ่างทอง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนธูปหอม เป็นกลุ่มอาชีพที่รวมกลุ่มกันทำไม้ก้านธูปจากไม้ไผ่สีสุก เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตในการทำนา
การทำศาลพระภูมิไม้สักและของใช้ย่อส่วน
นายอัศวิน พงษ์สุข (ช่างแป๊ะ) หมู่ที่ 3 ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง นายอัศวิน พงษ์สุข มีความชำนาญจากการฝึกฝนตั้งแต่รุ่นพ่อ ต่อมาได้ดัดแปลงความรู้ที่มีทำศาลพระภูมิจากไม้สักส่วนเศษไม้ที่เหลือนำไม้มาดัดแปลงเป็นเครื่องมือการเกษตร
การทำขนมไทยโบราณและอาหารพื้นบ้าน
หมู่ที่ 3 ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง การปรุงอาหารพื้นบ้านของชาวบ้านปะขาวเป็นที่เลื่องชื่อกับประชาชนทั่วไป อาทิ เมนูฉู่ฉี่กล้วยน้ำว้าใส่ปลาช่อน ขนมที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ “ขนมหันแก”

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม