เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ

ที่ตั้ง ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 33 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 800 ไร่ เป็นพื้นที่ราบที่จัดตกแต่งให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาณาเขตประเทศไทย ปัจจุบันมีสิ่งก่อสร้างจัดแสดงมากกว่า 122 แห่ง โดยได้นำเสนอสถานที่สำคัญๆ ทั้งที่เป็นแบบจำลอง และการถอดแบบของสถานที่ต่างๆ จากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ สิ่งก่อสร้างมีทั้งขนาดย่อส่วนและเท่าขนาดจริง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-18.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
◉ บัตรเข้าชม ผู้ใหญ่ 400.- บาท
◉ บัตรเข้าชม เด็ก 200.- บาท
◉ ค่าบัตรรถยนต์ 400.- บาท
◉ ฟรีบริการรถตุ๊กๆไฟฟ้า ตามรอบชม รอบละ 1.30 ชั่วโมง
◉ โปรโมชั่นบัตรเที่ยวเมืองโบราณ 365 วัน 565 บาท (บัตรรายปี) สามารถเข้าชมได้ทุกวันไม่จำกัดรอบ เที่ยวได้ตลอดปี 365 วัน เพียงใช้บัตรประจำตัวประชาชนในการสมัครเท่านั้น
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
02 026 8800 – 9 , 086 324 7658
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.muangboranmuseum.com/
Facebook : เมืองโบราณ สมุทรปราการ
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
/ ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๔ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
 ๑.เมืองโบราณยะรัง อายุ 1,000 ปี ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมืองโบราณยะรัง เป็นเมืองโบราณซ้อนทับกันสามเมือง ตั้งแต่บ้านวัดที่เก่าแก่ที่สุด บ้านจาเละ และบ้านปราแว ในนี้มีโบราณสถานกว่า ๔๐ แห่ง ชุมชนโบราณ ยะรังเป็นชุมชนรัฐโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีอาณาบริเวณติดกับ ๓ ตำบล คือยะรัง วัด และปิตูมุดี นักโบราณคดีสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีในเขตตำบลกระโด ตำบลวัด ตำบลระแว้ง และตำบล ปิตูมุดี พบว่าปรากฏซากโบราณสถานจำนวนมาก น่าจะเป็นพื้นที่ศาสนสถานมากกว่าที่อยู่อาศัยของประชาชน อาจเป็นไปได้ว่าที่อยู่อาศัยของชุมชนตั้งอยู่บริเวณแหล่งโบราณคดีบ้าน บราโอ และบ้านกรือเซะ เชื่อว่าแหล่งโบราณคดีทั้งสองเป็นบริเวณที่เคยตั้งอยู่ใกล้ทะเลเดิม (ชะวากทะเลยะรัง) มีร่องรอยคลองขุดของกิจกรรมมนุษย์ปรากฏอยู่ ชุมชนโบราณยะรัง มีความเจริญทางวัฒนธรรมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอมรับนับถือศาสนาพุทธซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดีย นอกจากการมีความสัมพันธ์กับภายนอกแล้วยังรับวัฒนธรรมใกล้เคียงที่นับถือศาสนาเดียวกัน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. (วันเวลาราชการ)
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๙๕๙๕ ๑๑๖๙
๕.ช่องทางออนไลน์
FACEBOOK : เมืองโบราณยะรัง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เมืองโบราณโนนเมือง จังหวัดขอนแก่น

ที่ตั้ง : บ้านโนนเมือง หมู่ ๔ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

๑. เมืองโบราณโนนเมือง เล่าสืบต่อกันมาว่าที่เนินดินกว้างที่เรียกว่าโนนเมืองนั้นเป็นเมืองโบราณ ลักษณะเป็นเนินดินรูปไข่ มีพื้นที่ประมาณ ๑๗๐ ไร่ ล้อมรอบด้วยคูเมือง ๒ ชั้น เมื่อนักโบราณคดีเข้าไปสํารวจพบใบเสมาหินทรายศิลปะทวาราวดีปักอยู่ในเมือง และพื้นที่โดยรอบมีเศษภาชนะดินเผาชิ้นไม่ใหญ่นักกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนเนินดิน เศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มีทั้งชนิดเขียนสีแดงชนิดลายขูดขีดและลายเชือกทาบในชั้นดินสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) ไม่พบหลักฐานของการฝังศพ สันนิษฐานว่าเมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่มาสู่โนนเมือง ประเพณีการฝังศพจึงเปลี่ยนไป ยิ่งขุดชั้นดินลึกลงไปยิ่งพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เมืองโบราณแห่งนี้เคยมีชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ตอนปลาย) พบโครงกระดูกมนุษย์อายุราว ๒,๕๐๐ ปี ผู้คนสมัยนี้มีพิธีฝังศพตามประเพณีโบราณ มีการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ลงไปพร้อมศพด้วย เช่น หม้อและภาชนะดินเผา มีทั้งลายเขียนสีลายขูดขีดและลายเชือกทาบ รวมทั้งกําไลสัมฤทธิ์ กําไลกระดูกสัตว์ เปลือกหอย ลูกปัดหินสี ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการค้นพบเครื่องมือเหล็กประเภทจอบ เคียวและกระดูกของสัตว์ต่าง ๆ เช่น เก้ง กวาง และปลาหลายชนิด ทําให้ทราบว่าผู้คนที่นี่ดํารงชีวิตด้วยการทําเกษตรกรรม มีผู้คนอาศัยอยู่ที่นี่เรื่อยมาจนถึงสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗) และทิ้งร้างไปในที่สุด ปัจจุบันเมืองโบราณโนนเมืองได้ถูกจัดตั้งให้เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาถึงร่องรอยโบราณคดีหลักฐานทางประวัติศาสตร์โดยมีอาคารศูนย์ข้อมูลที่รวบรวมและจัดแสดงประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณโนนเมือง
สิ่งที่น่าสนใจ : ใบเสมาหินทรายศิลปะทวาราวดี ,โครงกระดูกมนุษย์ อายุราว ๒,๕๐๐ ปี
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๗.๓๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐ ๔๓๓๑ ๓๔๔๖
๕. ช่องทางออนไลน์ Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๘.
๖ .สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้า / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม