สวนสามแสน จังหวัดลำพูน

ที่ตั้ง บ้านกลาง ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
๑.สวนสามแสน เป็นสวนเกษตรที่เกิดจากความคิดที่ต้องการหาวิธีทำเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย โดยยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหลักปฏิบัติ โดยมีการนำเอาโรงเรียนบ้านกลาง ที่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาเป็นพื้นที่ให้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอินทรีย์ โดยสวนสามแสนมีชื่อมาจาก แสนพอดี แสนคุ้ม แสนภูมิใจ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 8.00 – 16.30 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม ของทุกปี (ฤดูหนาว)
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นายสมคิด ธีระสิงห์ ผู้ใหญ่บ้าน 09 3212 9090
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : สวนสามแสน บ้านกลาง
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก จังหวัดภูเก็ต

๑.ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก เป็นชุมชนต้นแบบของจังหวัดภูเก็ต ที่กำลังดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชน และยังส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการจัดสรรพื้นที่ของอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำตามหลักทฤษฎีใหม่ “เกษตรแบบประณีต” โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการบริหารจัดการเรื่อง ดิน น้ำ ป่า คน จากพื้นดินที่แห้งแล้ง มีสภาพเป็นด่าง ผ่านการทำเหมืองแร่ในอดีตมาแล้วนั้น ชาวบ้านได้ร่วมกันปรับปรุงพื้นที่ ด้วยการน้อมนำแนวทางทฤษฎีแกล้งดิน และการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ พัฒนาดินให้กลับมาสมบูรณ์ จนสามารถปลูกพืชแบบผสมผสานได้ในซึ่งในช่วงปัจจุบันฤดูฝนเกิดน้ำท่วม ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้เกิดน้ำท่วม และน้ำหลาก ไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้ จึงใช้วิธีบริหารจัดการน้ำตามแนวทางพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยการขุดสระ ทำแก้มลิง เป็นบ่อ 3 บ่อ ด้วยกันคือ บ่อเล็ก บ่อกลาง บ่อใหญ่ และสามารถใช้ประโยชน์จากแก้มลิง มาเลี้ยงปลา และสร้างความชุ่มชื้นได้อีกด้วยศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็นแหล่งเรียนรู้ฯ ที่ให้ประชาชนทั่วไป หน่วยงานของรัฐ เอกชน องค์กรต่าง ๆ ตลอดจน นักเรียน นักศึกษา ฯ สามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา ๐9.0๐ น. – ๑7.0๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ 8197 81598
๕.ช่องทางออนไลน์
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนเศรษฐกิจพอเพียง บ้านนากลาง จังหวัดพังงา

ที่ตั้ง บ้านนากลาง หมู่ 9 ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
๑.มีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทั้งเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและพลังงานทดแทน ให้ทุกคนมีจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างรู้ค่า ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน โดยมีโรงเรือนระบบปิดขนาดใหญ่ กว้าง 6 เมตร ยาว 24 เมตร ทำการปลูกเมลอนเพื่อการค้าเป็นเจ้าแรกของจังหวัดพังงา ใช้สายพันธุ์อามาอิ พันธุ์เจพีออแรนจ์ และพันธุ์แคนซา ใช้พลังงานจากแผ่นโซลาร์ เซลล์ ควบคุมการให้น้ำ และปุ๋ยแบบอัตโนมัติในระบบน้ำหยด และระยะเวลาการให้น้ำตามความต้องการของพืช และสภาพภูมิอากาศ แนวคิดในการหันมาปลูกผัก ผลไม้ในโรงเรือนระบบปิด เนื่องจากการเพาะปลูกที่ผ่านมาต้องประสบปัญหาภัยจากธรรมชาติ ได้แก่ ภัยแล้ง น้ำท่วม วาตภัย ซึ่งเป็นภัยที่ควบคุมไม่ได้ จึงได้มีความคิดที่จะปลูกพืชระบบปิดซึ่งสามารถควบคุมการผลิตได้ โดยไม่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
จันทร์ – ศุกร์ ๐9:๐๐ – 17:๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว – ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ /
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 6279 5380
๖.ช่องทางออนไลน์
facebook ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านนา
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ

ที่ตั้งตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. เป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่เรียนรู้เชิงเกษตรที่จัดสรรพื้นที่ตามทฤษฎีเกษตรทฤษฎีใหม่และเป็นแหล่งให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชนได้มาศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตแบบพอเพียง ภายในมีการสาธิตพื้นที่นา พื้นที่เพาะปลูก พื้นที่เลี้ยงสัตว์ พื้นที่กักเก็บน้ำ และพื้นที่พักอาศัย นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับสัตว์เลี้ยงต่างๆ อาทิ ไก่ เป็ด แพะ เป็นต้น โดยภายในศูนย์ฯมีร้านกาแฟไว้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อน ผู้ที่สนใจเข้าดูงานและทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะสามารถติดต่อทางศูนย์ฯได้
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30-17.00 น.
(หยุดวันจันทร์)
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เที่ยวได้ทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 06 4932 1838, 06 3587 9963,
08 1817 6037
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ไร่มารีย์พิมาน

ไร่มารีย์พิมาน เจ้าของคือคุณโชคดี คุณโดน ผู้นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับพืชพรรณท้องถิ่นของชุมชน เกิดเป็นสวนผัก ผลไม้ และสมุนไพรปลอดสาร ที่นำมาแปรรูปเป็นสินค้าสร้างชื่อให้บ้านห้วยเล็บมือ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากสับปะรด อย่างสบู่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า ซึ่งล้วนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณภาพดี และราคาย่อมเยามาก

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ไร่เกษมสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช

ตั้งอยู่ในอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
๑.ไร่เกษมสุข เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรในรูปแบบของ Organic Farm ที่อุดมสมบูรณ์ ล้อมรอบด้วยต้นไม้และไร่นาเขียวขจี เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในการดำรงชีวิต โดยจัดสรรพื้นที่ให้เป็นการเกษตรแบบผสมผสาน มีร้านกาแฟ ร้านอาหารให้นั่งทานในซุ้มไม้ไผ่ เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศ สีเขียวของท้องทุ่ง จิบเครื่องดื่ม ทานอาหาร เดินเล่นบนสะพานไม้
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
07.30-18.00 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว
ตลอดทุกช่วงเวลา
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 8382 9552
๖.ช่องทางออนไลน์
Face book : ไร่ เกษมสุข Rai Kasemsuk
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก ( ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ไร่คุณชาย จ.กาญจนบุรี

ที่ตั้ง ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
ไร่คุณชาย น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่9 มาใช้ในการทำการเกษตร ปัจจุบันนอกจากการปลูกเพื่อรับประทานและออกขายออกสู่ตลาดแล้ว ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวที่ผ่านไปผ่านมาเข้าชมสวนผลไม้ทั้งเงาะ ทุเรียน ส้มโอ ฝรั่ง กล้วยไข่ และอื่น ๆ ที่เน้นลักษณะเกษตรผสมผสาน ที่มุ่งเน้นการผลิตในลักษณะปลอดภัย ได้เลือกซื้อเป็นของฝาก นอกจากนี้ทางไร่คุณชายยังเปิดเป็นสถานที่สำหรับเรียนรู้การทำเกษตรแบบผสมผสาน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ม.ค.-ธ.ค.
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๙๘๑ ๗๓๕๕
๖.ช่องทางออนไลน์
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก

ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว จังหวัดมหาสารคาม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ  มีสะพานไม้แกดำ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอแกดำ  ซึ่งเป็นสะพานไม้เก่าแก่ที่มีอายุราว ๖๐ – ๗๐ ปี เชื่อมระหว่างชุมชน บ้านหัวขัว และบ้านแกดำอาชีพหลักทำนาและอาชีพเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่ายตามวิถี    ชนบทอีสาน ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่

ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัวมีความโดดเด่นในเรื่องของวิถีชีวิตที่เรียบง่าย วิถีของผู้คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ     ติดกับอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ วิถีชีวิตการประกอบอาชีพจะมีอาชีพทำนาและการเกษตรเป็นหลัก ปลูกพืชผัก     ปลอดสารพิษ  โดยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน  สะพานไม้แกดำ  เป็นสะพานไม้เก่าแก่อายุราว ๖๐-๗๐ ปี 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

จุด check in บริเวณสะพานไม้แกดำ
เป็นสะพานไม้เก่าแก่ที่มีอายุราว ๖๐ – ๗๐ ปี เชื่อมระหว่างชุมชน บ้านหัวขัว และบ้านแกดำ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ร่วมวิถีชุมชน พิธีถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ณ วัดบ้านหัวขัว
การเดินบิณฑบาตของพระสงฆ์ สถานที่พักผ่อนและออกกำลังกาย

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การปลูกผักปลอดสาร
ถ่ายทอดองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ลงแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ เก็บผักมาปรุงอาหาร

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การแสดงเซิ้งกระโจม สืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่งดงาม
กระโจมต้อนรับนักท่องเที่ยว มีการละเล่นเซิ้งกระโจม เป็นการละเล่นที่สืบทอดกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน การละเล่นเซิ้งกระโจม นิยมเล่นกันในงานบุญประเพณี บุญบั้งไฟ (ฮีตเดือนหก) โดยจะแต่งกายด้วยชุดพื้นบ้าน บนศรีษะสวมหมวกคล้ายรูปกระโจม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี

ชุมชนคุณธรรมวัดไลย์ มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางขาม เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน เพราะส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงสัตว์

วัดไลย์  มีโบราณสถานโบราณวัตถุที่เก่าแก่หลายอย่าง อย่าง เช่น พระอุโบสถ พระวิหารเก้าห้อง มณฑปยอดปรางค์ รูปหล่อพระศรีอาริยเมตไตรย์ เป็นต้น และมีพิพิธภัณฑ์วัดไลย์ เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุของวัดและเป็นของเก่าที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้นำมาถวายวัด โดยจัดแสดงให้ชมในอาคารพิพิธภัณฑ์ 2 ชั้น และมีประเพณีแห่พระศรีอาริยเมตรไตรย์ จัดในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๖ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พระวิหารเก้าห้อง
เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น มีพระประธานเป็นหินทรายลงรักปิดทอง ปางสมาธิ เป็นซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช ผนังด้านหน้าและด้านหลังมีช่องแสงผ่าน ลายปูนปั้นเรื่องทศชาติและปฐมสมโพธิ ผนังด้านหน้าลายปูนปั้นเป็นภาพพุทธประวัติ มีลักษณะใกล้เคียงกับลายปูนปั้นของวิหารนางพญาที่ศรีสัชนาลัย
มณฑปยอดปรางค์
เป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะพิเศษ เป็นอาคารมณฑปที่มีประตูทางเข้าเป็นช่องโค้งแหลม มีซุ้มจั่วประตูปั้นเป็นลายก้านขด มีประวัติสร้างขึ้นเพื่อครอบเตาหลอมอัฐิธาตุทองแดง เมื่อครั้งทำพิธีหล่อรูป พระศรีอาริยเมตไตรย์ ปัจจุบันภายในมณฑปนี้  ยังมีเตาหลอมโลหะปรากฏให้เห็นอยู่
พิพิธภัณฑ์วัดไลย์
เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุของวัดและเป็นของเก่าที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้นำมาถวายวัด โดยจัดแสดงให้ชมในอาคารพิพิธภัณฑ์ 2 ชั้น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

รุกขมรดกของแผ่นดิน (ต้นพิกุล) อายุกว่า ๓๐๐ ปี
นพิกุล จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่อยู่คู่กับวัดไลย์มาตั้งแต่เริ่มสร้างวัด เมื่อสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา เป็นต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดลพบุรี มีอายุประมาณ ๓๐๐ กว่าปี ปัจจุบัน ได้รับการประกาศจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้เป็นต้นไม้ ๑ในจำนวน ๘๘ ต้น จากทั่วประเทศ ให้เป็น “รุกขมรดกของแผ่นดิน” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนพฤกษศาสตร์ “ดอกมณฑาทิพย์”
ตั้งอยู่บริเวณวัดไลย์ เลขที่ ๑ ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านท้ายไลย์
หมู่ ๑๐ ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำอาหารพื้นบ้าน(ครัวท้ายไลย์)
ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑๐ ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี สาธิตการทำอาหารพื้นบ้านโบราณเฉพาะถิ่น เช่น แกงบอน แกงขี้เหล็กขนมต้มญวน ขนมเต่า เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะเรียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะเรียน ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศตะวันออก โดยมีคลองธรรมชาติหรือคนในชุมชนเรียกว่า “คลองเกาะเรียน” ไหลผ่านภายในชุมชน บอกเล่าเรื่องราวและวิถีชีวิตของชุมชนได้เป็นอย่างดี ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ภายในบริเวณชุมชนมีวัดช่างทอง   ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน 
ชุมชนแห่งนี้ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย มีความผูกพันกับสายน้ำ ได้แก่ คลองเกาะเรียน คลองธรรมชาติที่อยู่คู่กับคนในชุมชนมายาวนาน เป็นวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยังคงรักษาไว้เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดช่างทอง
วัดช่างทอง เป็นศาสนสถานใน การจัดกิจกรรมทางศาสนาของคนในชุมชน บ่มเพาะเด็ก เยาวชน และประชาชนให้ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม
วัดทรงกุศล
ศาสนสถานในชุมชนอีกแห่งหนึ่งที่มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนและคนในชุมชนให้ความเคารพนับถือ ได้แก่ หลวงพ่อขาวและหลวงพ่อดำ
ศาลเจ้าพ่อ เกาะเรียน
ศาลเจ้าพ่อเกาะเรียน สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในมีภาพจิตรกรรมเหล่าเซียนจีน ซึ่งชุมชนบ้านเกาะเรียนให้ความเคารพนับถือและจัดงานไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่เกาะเรียนเป็นประจำทุกปี
ศูนย์การเรียนรู้ การทำขนมไทย บ้านป้ามะลิ
กลุ่มขนมไทยของคุณป้ามะลิ ภาคาพร เป็นหนึ่งในผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำขนมไทยต้นตำรับท้าวทองกีบม้า ซึ่งการทำขนมไทยนี้ได้รับการสืบทอดมาจากรุ่นบรรพบุรุษ และต่อมาได้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนขนมไทยป้ามะลิขึ้นเพื่อสร้างรายได้และกระจายรายได้ให้สู่ชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คลองเกาะเรียนและจุดชมวิวสะพานไม้ไผ่
ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะเรียนมีคลองเกาะเรียน เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ มีสะพานไม้ไผ่ทอดยาวกว่า ๓๐๐ เมตร สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมธรรมชาติสองฝั่งคลองและถ่ายภาพสวย ๆ ไว้เป็นที่ระลึก

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะเรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ในครัวเรือน อยู่กันแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ชุมชนอยู่ดี กินดี เหลือกิน สามารถนำไปขาย สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ใส่บาตรยามเช้า
คลองเกาะเรียน วิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งคลองเกาะเรียนทุกเช้าตื่นมาจะเตรียมอาหารคาวหวานสำหรับใส่บาตร เป็นวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาครั้งบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนในชุมชนแห่งนี้ จะได้สัมผัสกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และบรรยากาศแบบธรรมชาติที่ประทับใจกลับไปอย่างแน่นอน
ล่องเรือชมธรรมชาติริมคลองเกาะเรียน
คลองเกาะเรียน คลองธรรมชาติที่แยกออกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านทิศเหนือฝั่งตะวันออก นั่งเรือชมวิถีชีวิตริมสองฝั่งคลอง สัมผัสระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ณ คลองเกาะเรียนแห่งนี้
สาธิตการทำขนมไทย (ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน)
ศูนย์การเรียนรู้การทำขนมไทยบ้านป้ามะลิ แหล่งเรียนรู้ขนมไทย ต้นตำรับท้าวทองจีบม้า เปิดให้ผู้สนใจ นักท่องเที่ยว ได้เข้ามาเรียนรู้และซื้อกลับบ้านเป็นของฝาก รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนในชุมชน เป็นการสืบสาน ภูมิปัญญาของชุมชนให้คงอยู่

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม