Warning: Constant WP_DEBUG already defined in /home2/cp962929/public_html/jk.tours/wp-config.php on line 41
P.R Model Archives - JK.TOURS

ชุมชนคุณธรรมวัดเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี

ครั้งที่รัชกาลที่ ๕ พระราชทานชื่อตำบลแห่งนี้ว่า “เจ็ดเสมียน” ชุมชนเจ็ดเสมียนเป็นชุมชนเก่าแก่ ตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ริมน้ำกันมายาวนาน นับวันเวลาจนถึงตอนนี้มีอายุประมาณ ๑๑๙ ปี (นับถึงปี ๒๕๖๑)  การคมนาคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจึงมีความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำ ก็สามารถล่องมาตามแม่น้ำ แม่กลอง รวมไปถึงเส้นทางรถไฟ

ชุมชนคุณธรรมวัดเจ็ดเสมียน มีอัตลักษณ์และความโดดเด่นของชุมชน งานประเพณีที่ทางชุมชนจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ และยาวนานมากว่า ๑๐๐ ปี เป็นความร่วมมือร่วมใจของประชาชนตำบลเจ็ดเสมียน ที่ร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ผลิตภัณฑ์จากกาบกล้วย เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พวงมาลัยจากกระดาษทิชชู่ อาหารขึ้นชื่อที่รู้จักในวงกว้างคือ ผลิตภัณฑ์จากไชโป้ว 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

สวนศิลป์บ้านดิน
เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติได้ มีการสาธิต และฝึกปฏิบัติ 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวริมแม่น้ำ แม่กลอง
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองบริเวณตลาดเจ็ดเสมียน ๑๑๙ ปี เป็นสถานที่นั่งพักผ่อน ชมวิวทิวทัศน์ริมแม่น้ำแม่กลอง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์ศึกษาการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ “ศาสตร์พระราชา”
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง “ศาสตร์พระราชา” เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มีการเลี้ยงไก่ ปลูกพืชผักสวนครัว ทำเกษตรแบบอินทรีย์ 

ศูนย์การเรียนรู้เกษตรรุ่นใหม่ P.R Model

เป็นเกษตรผสมผสาน จำนวน ๒๕ ไร่ เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา ปลูกผักสวนครัว ทำปุ๋ยอินทรีย์ เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร ปลูกพืชผสมผสาน โดยไม่ใช้สารเคมี

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การประดิษฐ์พวงมาลัยทิชชู่
สวนศิลป์บ้านดิน สาธิตการทำดอกมะลิจากทิชชู่ และร้อยเป็นพวงมาลัย

ผ้าพิมพ์ลายจากใบไม้ธรรมชาติ
สวนศิลป์บ้านดิน สาธิตการพิมพ์ลายจากใบไม้ นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมลองลงมือปฏิบัติ 

งานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์
ชุมชนวัดเจ็ดเสมียน ประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ จะจัดขึ้นช่วงเดือนเมษายน หลังวันสงกรานต์ไปแล้ว ประมาณวันที่ ๑๙ เมษายน ของทุกปี เป็นประเพณีที่สืบทอดยาวนาน มากกว่า ๑๐๐ ปี 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม