ชุมชนคุณธรรมวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี

ชุมชนคุณธรรมวัดไลย์ มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางขาม เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน เพราะส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงสัตว์

วัดไลย์  มีโบราณสถานโบราณวัตถุที่เก่าแก่หลายอย่าง อย่าง เช่น พระอุโบสถ พระวิหารเก้าห้อง มณฑปยอดปรางค์ รูปหล่อพระศรีอาริยเมตไตรย์ เป็นต้น และมีพิพิธภัณฑ์วัดไลย์ เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุของวัดและเป็นของเก่าที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้นำมาถวายวัด โดยจัดแสดงให้ชมในอาคารพิพิธภัณฑ์ 2 ชั้น และมีประเพณีแห่พระศรีอาริยเมตรไตรย์ จัดในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๖ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พระวิหารเก้าห้อง
เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น มีพระประธานเป็นหินทรายลงรักปิดทอง ปางสมาธิ เป็นซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช ผนังด้านหน้าและด้านหลังมีช่องแสงผ่าน ลายปูนปั้นเรื่องทศชาติและปฐมสมโพธิ ผนังด้านหน้าลายปูนปั้นเป็นภาพพุทธประวัติ มีลักษณะใกล้เคียงกับลายปูนปั้นของวิหารนางพญาที่ศรีสัชนาลัย
มณฑปยอดปรางค์
เป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะพิเศษ เป็นอาคารมณฑปที่มีประตูทางเข้าเป็นช่องโค้งแหลม มีซุ้มจั่วประตูปั้นเป็นลายก้านขด มีประวัติสร้างขึ้นเพื่อครอบเตาหลอมอัฐิธาตุทองแดง เมื่อครั้งทำพิธีหล่อรูป พระศรีอาริยเมตไตรย์ ปัจจุบันภายในมณฑปนี้  ยังมีเตาหลอมโลหะปรากฏให้เห็นอยู่
พิพิธภัณฑ์วัดไลย์
เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุของวัดและเป็นของเก่าที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้นำมาถวายวัด โดยจัดแสดงให้ชมในอาคารพิพิธภัณฑ์ 2 ชั้น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

รุกขมรดกของแผ่นดิน (ต้นพิกุล) อายุกว่า ๓๐๐ ปี
นพิกุล จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่อยู่คู่กับวัดไลย์มาตั้งแต่เริ่มสร้างวัด เมื่อสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา เป็นต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดลพบุรี มีอายุประมาณ ๓๐๐ กว่าปี ปัจจุบัน ได้รับการประกาศจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้เป็นต้นไม้ ๑ในจำนวน ๘๘ ต้น จากทั่วประเทศ ให้เป็น “รุกขมรดกของแผ่นดิน” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนพฤกษศาสตร์ “ดอกมณฑาทิพย์”
ตั้งอยู่บริเวณวัดไลย์ เลขที่ ๑ ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านท้ายไลย์
หมู่ ๑๐ ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำอาหารพื้นบ้าน(ครัวท้ายไลย์)
ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑๐ ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี สาธิตการทำอาหารพื้นบ้านโบราณเฉพาะถิ่น เช่น แกงบอน แกงขี้เหล็กขนมต้มญวน ขนมเต่า เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดห้วยแก้ว จังหวัดลพบุรี

วัดห้วยแก้วมีอายุราว ๑๔๐ ปี ตั้งอยู่บนลำห้วยแก้ว ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี บริเวณวัดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย ให้ประชาชนได้มากราบไหว้ อาทิ องค์พระเจดีย์มหาเมตารัตนะรังสีกลางน้ำที่สวยงาม ตระการตามาก ๆ รูปทรงในยุคขอม ตั้งอยู่กลางน้ำ ดูเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะผสมผสานระหว่างไทย เขมร และพม่า 
วัดห้วยแก้ว เป็นชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวรมีพระครูรัตนาธิคุณ เจ้าอาวาสวัดห้วยแก้ว เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลมหาสอน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน บูรณาการร่วมกันขับเคลื่อนจนเป็นพลังบวรที่เข้มแข็งปัจจุบันและยังคงอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นมาจนปัจจุบัน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดห้วยแก้ว
อายุราว ๑๔๐ ปี ตั้งอยู่บนลำห้วยแก้ว มีองค์พระเจดีย์มหาเมตารัตนะรังษีกลางน้ำที่สวยงาม ตระการตามาก ๆ รูปทรงในยุคขอม ตั้งอยู่กลางน้ำ ดูเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะผสมผสานระหว่างไทย เขมร และพม่า ออกแบบวิจิตรงดงาม
วัดมหาสอน
วัดมหาสอนเป็นวัดเก่าแก่ริมน้ำบางขาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2408 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2509 ภายในวัดมีอุโบสถเก่า สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2511 มีพระประธานและรูปหล่อหลวงพ่อเคลือบประดิษฐานอยู่ให้ประชาชนได้กราบไหว้ นอกจากนี้ยังมีอาคารไม้ เก่าแก่ สร้างในปี พ.ศ. 2485 สำหรับใช้สวดมนต์และปฏิบัติธรรม
วัดบางพึ่ง
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางขาม มีพระแม่จามเทวี และหลวงพ่อโล่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเลื่อมใส ศรัทธา และมากราบสักการะ
วัดวงเทพ
เป็นวัดราษฎร์ที่อยู่ทางนอกเมืองที่ยังคงมีทุ่งนาเขียวขจีอยู่ สามารถมองเห็นองค์พระปรางค์นาคปรกเด่นตระหง่านที่มีลักษณะงานศิลป์ที่แปลกออกไปแต่มีความสวยงาม ประดิษฐานอยู่ภายในวัดวงเทพหรือศูนย์ปฏิบัติธรรม เกาะสวรรค์ ตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
ภายในศาลาด้านหน้าของพระพุทธนาคปรก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธลาภ ที่มีพระเศียรสีขาวองค์ใหญ่ รูปปั้นเซียนแปะโรงสีผู้สร้างวัด และยังมีเทพทันใจและเทพอื่น ๆ ให้ได้ขอพรอีกด้วย
ด้านข้างของศาลาเป็นอาคารสักการะบูชา 60 เซียนศักดิ์สิทธิ์ ภายในมีเซียนมากมายให้ขอพรได้ตามศรัทธา
ตลาดวัฒนธรรมวัด ห้วยแก้ว
เป็นแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและภูมิปัญญาของชาวบ้าน เช่น ผลิตภัณฑ์แปรรูป อาหาร ปลาส้มฟัก เครื่องจักสาน ตะกร้าหวาย

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวแม่น้ำ บางขามวัดมหาสอน
ล่องแพไม้ไผ่ และชมบรรยากาศยามเย็นวิถีชีวิตของชุมชนบนลุ่มน้ำบางขาม

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้บ้านสวนขวัญ
เป็นแหล่งเรียนรู้การพึ่งตนเอง น้อมนำศาสตร์พระราชา ซึ่งเป็นการรวมตัวของศูนย์การเรียนรู้และชุมชน ทำการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อใช้ในการพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีอาหารพื้นบ้านและผลผลิตทางการเกษตรสด ๆ ปลอดภัยไร้สารเคมี สัมผัสการท่องเที่ยวภูมิปัญญาและวิถีชุมชน โดยนั่งรถอีแต๋น และทำกิจกรรมพึ่งตนเอง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การปลูกข้าว
ศูนย์การเรียนรู้ บ้านสวนขวัญ นั่งรถอีแต๋นสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนมุ่งสู่ฐานการเรียนรู้เกษตรผสมผสาน ฝึกปฏิบัติดำนา เกี่ยวข้าว แปลงนาข้าวปลอดสารพิษ
ล่องแพสัมผัสลุ่มแม่น้ำบางขาม
บ้านสวนขวัญ สัมผัสวิถีคนลุ่มน้ำ ล่องแพไม้ไผ่ยามเย็น  ชมวิถีชีวิตบ้านริมน้ำ กินกุ้งก้ามแดง ชมบรรยากาศสวยๆ ของบ้านทรงไทยโบราณ
นั่งรถอีแต๋นเที่ยวชุมชน
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยววิถีชุมชนเชิงเกษตร ชมแหล่งท่องเที่ยวและศาสนาสถาน
1.วัดมหาสอน
2.วัดห้วยแก้ว
3.วัดวงเทพ
4.วัดบางพึ่ง
5.บ้านแคปหมู
6.บ้านไก่ชนเงินร้าน
7.บ้านหวาย
8.บ้านเห็ด
9.บ้านขนมดอกจอก
10.บ้านไทยหลบโจร
11.บ้านปฏิมา
12.บ้านควาย
13.ศูนย์การเรียนรู้บ้านสวนขวัญ
การจักสานหวายบ้านมหาสอน

1.วิสาหกิจจักสานหวายบ้านมหาสอน
2.บ้านนางชะลอทนทองคำ
ชมการสาธิตผลิตภัณฑ์จักสานหวายจากภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมากว่าร้อยปีอันมีลักษณะที่โดดเด่นแสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดลพบุรี
ชมศูนย์เรียนรู้บ้านสวนขวัญ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ศูนย์การเรียนรู้บ้านสวนขวัญ เยี่ยมชมและเรียนรู้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงเรียนรู้การแปรรูป เช่น สบู่สมุนไพรก้อน สมุนไพรไล่ยุง ลูกประคบ บะหมี่ใบมะรุม ชาสมุนไพร ไข่เค็มใบเตยดินสอพองกิจกรรมรักโลกโดยทำกระถางจากผักตบชวา เพ้นท์กระเป๋าผ้าจากสีธรรมชาติ การทำกระดาษจากผักตบชวาและวัสดุธรรมชาติ พิซซ่าเตาถ่านแช่มือแช่เท้า ด้วยสมุนไพร จากภูมิปัญญาของชุมชนและ ล่องแพ
ชิมโชว์การทำแคป หมูจากภูมิปัญญา
แม่นงค์แคบหมูและประสิทธ์แคบหมู ชมสาธิตการทำแคปหมู ชิม ช้อป รสชาติกลมกล่อมกรอบอร่อย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดญาณเสน จังหวัดลพบุรี

ชุมชนคุณธรรมวัดญาณเสน มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม อยู่ริมแม่น้ำลพบุรี เดิมเรียก “วัดยาง” เพราะมีต้นยางอยู่มากถึง ๙๙๙ ต้น เป็นแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวในระบบนิเวศ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กและเยาวชนอีก 

ชุมชนคุณธรรมวัดญาณเสน มีความโดดเด่นในด้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง”  การบริหารจัดการขยะซึ่งได้รับรางวัลระดับประเทศ มีพระครูสันติญาณประยุตและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู ร่วมกันขับเคลื่อนจนเป็นพลังบวรที่เข้มแข็ง และมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดญาณเสน
-สักการะพระประธานในอุโบสถ
-สักการะหลวงพ่อธรรมจักร
-จุดเช็คอิน บวร On tour

วัดญาณเสน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี เดิมเรียก “วัดยาง” เพราะมีต้นยางอยู่มากถึง ๙๙๙ ต้น ในอุโบสถมีพระประธาน ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปูนปั่นลงรักปิดทอง และเช็คอิน ณ จุดเช็คอินบวร On tour ในลานปฏิบัติธรรมที่ต้นไม้ร่มรื่น 

วัดโบสถ์
-พระอุโบสถ (เก่า)
-หลวงพ่อพริ้ง

-พระอุโบสถ (เก่า) วัดโบสถ์ เป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดต่าง ๆ เป็นชุดหมู่
-พระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง มณีธาโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระเกจิอาจารย์ดังของจังหวัดลพบุรี ภายในวัดมีสรีระของหลวงพ่อซึ่งไม่เน่าเปื่อย ประดิษฐานอยู่ในโลงแก้ว ให้ประชาชนเดินทางมากราบไหว้ขอพร

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนยาง ๙๙๙ ต้น
ชมต้นไม้พูดได้ ในวัดญาณเสน จำนวน ๙๙๙ ต้น บรรยากาศร่มรื่น ถ่ายรูปกับชุดเช็คอิน บวร On Tour
ถ่ายรูป ชมวิวแม่น้ำลพบุรี
บริเวณหน้าวัดญาณเสน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้โครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ ๕ ตำบลโก่งธนู เป็นแหล่งเรียนรู้การดำเนินการชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำแปลงผักสวนครัว ปลูกผักปลอดภัย ไว้รับประทานในครัวเรือน เหลือจากรับประทานก็นำไปแลกผักอื่นกับเพื่อนบ้าน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ใส่บาตร
วัดญาณเสน ใส่บาตรอาหารคาว หวาน ณ วัดญาณเสน สัมผัสบรรยากาศยามเช้าริมแม่น้ำลพบุรี
จักสานพัด
กลุ่มจักสาน สาธิตการสานพัด การทำพวงหรีดพัด การสานตะกร้า และให้นักท่องเที่ยวได้ลองสานพัดด้วยตัวเอง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม