นิลุบลกระเป๋าผ้าควิลท์ จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง 93/1 หมู่ที่ ๓ บ้านเกาะตาเพ็ชร ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ นิลุบล
๒. ชื่อผู้ประกอบการ นางนิลุบล สมศิลปะ
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ กระเป๋าผ้าควิลท์
ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าและสิ่งทอเมืองลับแล เพื่อพัฒนาคุณค่าของผลิตภัณฑ์ โดยการบูรณาการเชื่อมโยงทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ากับประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองวิถีชีวิตของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ลายหงษ์ใหญ่ที่ปรากฎบนตราสินค้า เป็นหนึ่งในลวดลายตีนจกเมืองลับแล เป็นลวดลายที่แฝงด้วยคติความเชื่อเรื่องโชคลาภและวาสนา
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ ย่าม
ใช้ผ้าทอลับแล มาประยุกต์สร้างสรรค์งานศิลปะ และใช้ความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นปักบนตัวผ้าให้มีความสวยงามและมีคุณค่าสำหรับผู้ใช้ได้อย่างงดงาม
๓.๓ กระเป๋าผ้าทอลับแล
นำผ้าทอลับแล มาประยุกต์ใช้ทำกระเป๋า เป๋ มีลวดลายค้นคิดจากธรรมชาต สิ่งแวดล้อม ลายที่ใช้เป็นลายมุก ลายหงส์ และลายนาค เป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยนำหนังวัวฟอกฝาดประกอบเพื่อให้เป็นสากลและผู้นิยม ถือเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ใช้
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘ ๔๓๗๙ ๒๒๒๐
๖. ช่องทางออนไลน์
line id nilubolsu
เว็บไซต์/เฟซบุ๊ก nilubol sumsilp

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง ๘๕๙ ถนนอินใจมี ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล เป็นสถานที่รวบรวมเรื่องราวประวัติ ของเมืองลับแล มีถ้ำเมืองลับแล ภายในมีวิถีชีวิตของชุมชนเมือง ลับแล และสวนสมุนไพร มีตลาดวันวาน อาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย CPOT และ CCPOT มีจุดเช็ดอิน
ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล มีศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช กระทรวงวัฒนธรรม อยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล ซึ่งเป็นเรือนไม้ที่จัดแสดงนิทรรศการพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๙ และประวัติของพระศรีพนมมาศ และบุคคลสำคัญของอำเภอลับแล ตลอดจนขนบธรรมเนียมการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองลับแล ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม งานประชาสัมพันธ์เทศบาลศรีพนมมาศ เมืองลับแล
เบอร์โทรศัพท์ 0 5543 1076
ศูนย์การท่องเที่ยวชุมชนเมืองลับแล
น.ส.สุขุมาภรณ์ น้อยศรี เบอร์โทรศัพท์ ๐๘ ๓๙๕๖ ๑๙๗๔
๕.ช่องทางออนไลน์ https://www.facebook.com/PRsriphanommas
Facebook : งานประชาสัมพันธ์เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ – เมืองลับแล
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

จังหวัดอุตรดิตถ์

เฮือนข้าวพันผักริมคลอง จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง 631 ถนนศรีวิจารณ์, ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๑.ข้าวพันผัก เป็นอาหารพื้นถิ่นของกินต้องห้ามพลาดของอำเภอลับแล ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์ แป้งคล้ายกับข้าวเกรียบปากหม้อ+ก๋วยเตียวหลอด เพียงแต่ใส่ด้านในจะเป็นผัก /บะหมี่/วุ้นเส้น แล้วแต่สั่ง ถ้ามาถึงลับแล ไม่ได้ทาน ถือว่ายังไม่ถึงอาหารพื้นเมืองลับแล การรับประทานมีน้ำจิ้มให้เลือกแล้วแต่ชอบใจ น้ำจิ้มสุกี้/ซอสศรีราชา หรือจิ้มแจ่ว เลือกตามความชอบใจ ไข่ม้วน
ร้านอาหารพื้นบ้าน มีอาหารที่โดดเด่น คือ “ข้าวพันผัก” เป็นอาหารพื้นถิ่นของกินต้องห้ามพลาดที่มีชื่อเสียงของเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในการถนอมอาหารที่มีมาอย่างช้านาน และเป็นที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย แต่เดิมนั้นข้าวพันผักใช้ข้าวจ้าวหมักกับน้ำสุกจนเป็นแป้งหมัก ข้าวพันผัก เป็นอาหารที่มีส่วนผสมของแป้งกับผักต่างๆ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักบุ้ง แครอท เห็ดเข็มทอง ถั่วงอก นำมาอบให้สุกด้วยไอน้ำและรับประทานกับน้ำจิ้ม ปัจจุบัน มีการดัดแปลงเมนูข้าวพันผักให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยการใส่ไข่ไก่ วุ้นเส้น เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นบะหมี่ลงไปด้วย ทำให้เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 ข้าวพันผัก
2.2 ข้าวพันม้วน
2.3 ข้าวพันไม้
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เวลา 10.00 น. – เวลา 13.00 น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ 09 3532 3961
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/huenkhawpen/

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้ทำข้าวแคบ

๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์
วิสาหกิจชุมชน กลุ่มทำ “ข้าวแคบ” ชุมชนยางกะไดใต้
๒. ชื่อผู้ประกอบการ
นางสาวกัญญาวีร์ วันสุข
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้าวแคบ
เป็นอาหารพื้นบ้านยอดนิยมของชาวลับแลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือเป็นแผ่นแป้งบางๆ ที่ได้จากการไล้น้ำแป้งที่ผสมงาดำ เกลือ หรือเครื่องปรุงรสอื่นๆ ลงบนผ้าที่วางบนปากหม้อดินขณะที่มีไอน้ำเดือดเหมือนการทำข้าวเกรียบปากหม้อ โดยแผ่นแป้งที่ได้มีลักษณะเป็นวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 นิ้ว ถึง 8 นิ้ว เมื่อแผ่นแป้งสุกแล้วนำแผ่นแป้งไปตากให้แห้งจะได้ “ข้าวแคบแห้ง” มีทั้งแบบธรรมดาและปรุงรส สามารถฉีกรับประทานได้ทันทีเป็นอาหารว่าง หรือนำไปห่อกับเส้นหมี่คลุกกับเครื่องปรุงรสตามใจชอบ หรือที่ชาวลับแลเรียกว่า “หมี่พัน ”
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ ขนมจีนตากแห้ง
รายละเอียดความโดดเด่นสั้นๆ เป็นการแปรรูปจากขนมจีนสดให้เป็นขนมจีนแห้งโดยการนำขนมจีนสดหรือหมักมาผึ่งแดด โดยตากกับหญ้าคาเก็บไว้รับประทานเป็นเวลานานได้ ชาวลับแลนิยมนำขนมจีนตากแห้งมาประกอบอาหาร เช่น ใส่ยำ (ซ่า) ใบมะม่วง ซ่าผักกาด ใส่แกงผักต่างๆ ราดหน้า และอื่นๆ อีกหลากหลายเมนู ปัจจุบันยังได้นำขนมจีนตากแห้งมาทอดเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้เสริมได้อย่างดี
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา 09.00 น. – เวลา 17.00 น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 3956 1974
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook งานประชาสัมพันธ์เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ – เมืองลับแล

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 53210
 ๑. สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระแท่นศิลาอาสน์เป็น ศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานของพระแท่นโดยรอบประดับด้วยลายกลีบบัว ภายในบริเวณวัดมีพิพิธภัณฑ์ที่เดิมเป็นศาลาการเปรียญ สร้างด้วยไม้ มี 2 ชั้น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นวัดเก่าที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ สิ่งที่น่าเข้าไปเยี่ยมชม ได้แก่ พระแท่นศิลาอาสน์ เป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 8 ฟุต ยาว 10 ฟุต สูง 3 ฟุต ฐานของพระแท่นโดยรอบประดับด้วยลายกลีบบัว มีตำนานว่า พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์เคยเสด็จมาจำศีลบำเพ็ญพุทธบารมี ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาจึงมีการสร้างพระแท่นศิลาอาสน์ขึ้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ต่อมาใน พ.ศ. 2451 ไฟป่าไหม้มณฑปและวิหารเหลือแต่แท่นศิลาแลง รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ บานประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ ทำจากไม้สักนำมาแกะสลัก เดิมเคยเป็นบานประตูวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกมาก่อน ภาพวาดเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของราชวงศ์จักรี ที่ประดับภายในพระวิหาร ส่วนใหญ่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อยู่ในศาลาการเปรียญเก่าตกแต่งแบบล้านนา ที่แห่งนี้ก่อตั้งโดยนายเฉลิมศิลป์ ชยปาโล โดยด้านหน้าประดับประดาด้วยไม้ดอกและสวนสมุนไพร สร้างด้วยไม้ มี 2 ชั้น ชั้นล่าง เป็นที่แสดงเครื่องมือจับสัตว์น้ำโบราณ และเรือพายโบราณ ชั้นบนคุณจะได้ชื่นชมเรื่องราวชีวิตชาววังและชาวบ้านสมัยก่อน เครื่องจักสาน เครื่องมือตีเหล็กและก่อสร้าง เครื่องมือปรุงยาสมุนไพรแผนโบราณ เครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย ธรรมาสน์หลวง ธรรมาสน์โบราณฝีมือช่างสมัยอยุธยา พระพุทธรูปแกะจากต้นโพธิ์โบราณ และพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย-กรุงศรีอยุธยา รวมถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวเหนือ เปิดให้เข้าชมฟรี ทุกวัน งานน่าเที่ยว งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ จัดขึ้นในวันเพ็ญ เดือน 3 ของทุกปี
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา 07.00 น. – เวลา 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ 0 5545 3527
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : วัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศิลปะการแสดงกลองยาวนกขมิ้น

ที่ตั้ง อาคารอเนกประสงค์บ้านทุ่งยั้งเหนือ หมู่ 1 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์
กลองยาวนกขมิ้น
๒.ชื่อผู้ประกอบการ
นางกลอย ลาล่วง
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ กลองยาวนกขมิ้น
กลองยาวนกขมิ้น ได้รับการสืบทอดทายาทรุ่นที่ ๓ มาจาก นายสวน สังข์งิ้ว ผู้ก่อตั้งวงกลองยาวนกขมิ้นรุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ทั้งนี้ยังคงรักษารูปแบบการแสดงแบบดั้งเดิมไว้มากที่สุด มีการต่อตัว ตีลังกา แสดงลีลาระหว่างการตีกลองยาว
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา ๑0.00 น. – เวลา 1๖.00 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ 08 5051 3040
๖.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100022794150597

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้การทำข้าวเกรียบว่าว จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง หมู่ 1 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์
ข้าวเกรียบว่าว
๒. ชื่อผู้ประกอบการ
นางวรรณา ภู่กลิ่น
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้าวเกรียบว่าว
ข้าวเกรียบว่าว เป็นขนมทานเล่นโบราณที่ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก น้ำตาลปีบ ไข่แดงต้มสุก น้ำมันพืช โขลกและรีดเป็นวงกลม ผึ่งแดดให้แห้ง ก่อนนำมาปิ้งไฟ พลิกไปมาด้วยไม้จี จนพองขยายเป็นแผ่นใหญ่ สุกกรอบ หวานมัน ข้าวเกรียบว่าวมักพบได้ตามงานวัด งานบุญต่างๆ รวมทั้งจากพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอย
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา 09.00 น. – เวลา 17.00 น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ 08 5051 3040
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook น้ำอ้อยข้าวเกรียบว่าว บ้านทั่งยั้งเหนือ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
 วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย คือ สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1(พระยาลิไทย) ชาวบ้านทั่วไปเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดบรมธาตุ แต่ส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า วัดทุ่งยั้ง ภายในวัดพระบรมทุ่งยั้งมีโบราณสถาน พระพุทธรูปองค์ใหญ่และองค์พระธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระสารีริกธาตุ ซึ่งจัดให้มีการเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุเพื่อความเป็นสิริมงคลและน้อมบูชา พระพุทธเจ้า

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ถนนพาดสนามบิน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
๑.อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติในความความกล้าหาญ รักชาติ และความเสียสละของพระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งในบริเวณพื้นที่เดียวกันยังมีพิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำมาจากเหล็กน้ำพี้ทั้งเล่ม ส่วนฝักดาบทำด้วยไม้ประดู่ ฝังลวดลายมุกหุ้มปลอกเงินสลักลาย ทหารสมัยก่อนและพระมหากษัตริย์ จึงนิยมนำไปใช้เพื่อการศึกสงคราม รวมถึงพระยาพิชัยก็ใช้ดาบนี้ปราบศัตรูจนชนะมาหลายครั้ง พิพิธภัณฑ์พระยาพิชัยดาบหัก เป็นสถานที่เก็บรวบรวมประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก และแบบจำลองสนามรบ โมเดลวิถีชีวิตชาวอุตรดิตถ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณที่หาดูได้ยาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา 0๘.00 น. – เวลา 1๗.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ไม่มี

๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ 0 5541 1977
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : https://www2.uttaradit.go.th/travel_activity/detail/7/data.html
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โรงแรมเซนทารา

ที่ตั้ง 277/1 ถ.ประจักษ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง, อุดรธานี, 41000
๑.ประเภทของที่พัก (โรงแรม )
๒.จำนวนห้อง ๒๕๙ ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา
ห้องพัก Standard เริ่มต้นที่ ๑,๒๐๐ / Superior เริ่มต้นที่ ๑,๓๐๐ / Deluxe เริ่มต้นที่ ๑,๖๐๐ / Suit เริ่มต้นที่ ๒,๐๐๐ / Family Room เริ่มต้นที่ ๒,๙๐๐
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
พี่เลี้ยงเด็ก หรือ ดูแลเด็ก, ศูนย์ธุรกิจ, บริการโทรปลุก, รถเช่า, ทำความสะอาดทุกวัน, เครื่องแฟกซ์/เครื่องทำสำเนาเอกสาร, บริการผู้ช่วยส่วนตัว, บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ, บริการซักรีด, บริการห้องประชุม/ห้องจัดเลี้ยง, พนักงานพูดได้หลายภาษา, เช็คอิน/เช็คเอาต์แบบไร้สัมผัส, มีหน้ากากสำหรับผู้เข้าพัก, สโมสรสุขภาพ, สปา -ห้องอบไอน้ำ, เข้าถึงด้วยกุญแจ, รักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง, รถรับส่งสนามบิน (คิดค่าบริการ), บริการรถรับส่ง (มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม), ห้องประชุม, บริการจัดงานแต่งงาน , ห้องคาราโอเกะ , ร้านอาหาร
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๔๒๓๔ ๓๕๕๕
๖.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/centaraudon
http://www.centarahotelsresorts.com/centara/cud

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม