กลุ่มสตรีทอผ้าวัดจันแสน ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

ที่ตั้ง หมู่ ๑ ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ผ้าฝ้ายทอมือพื้นบ้านจันเสน
๒.ชื่อผู้ประกอบการ คุณพวงพะยอม ดีเวียง
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าด้วยกี่กระตุก ผ้าทอส่วนใหญ่เป็นผ้าฝ้าย ผ้าทอมัดหมี่จันเสน และผ้ามัดย้อม
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เสาร์ – อาทิตย์ ๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐ ๕๖๓๓ ๙๑๑๕
๖.ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

จักสานไม้ไผ่ บ้านกลางแดด

ที่ตั้ง ๔๐ ม. ๔ บ้านกลางแดด ต.กลางแดด อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ จักสานบ้านกลางแดด
๒.ชื่อผู้ประกอบการ นางพะเยาว์ ศรีอำพร
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ตะกร้าสาน
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ ๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐๘ ๖๙๒๗ ๗๖๖๔
๖.ช่องทางออนไลน์ www.facebook.com/จักสานไม้ไผ่-บ้านกลางแดด-578757038964586/

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ลูกชิ้นปลากราย ๓ รส นายตี๋ นครสวรรค์

ที่ตั้ง ตำบลปากน้ำโพ ในเขตเทศบาลนคร นครสวรรค์
๑.เมนูเด็ด:หมูสะเต๊ะ, ปอเปี๊ยะกุ้ง, ลูกชิ้นปลากราย, ทอดมันปลากราย
ร้านลูกชิ้นปลากรายสดอร่อยร้านดังเมืองนครสวรรค์ พร้อมอาหารรับประทานเล่นต่างๆ มากมาย ร้านกว้างขวาง บริการไว ราคาไม่แพง ตั้งอยู่ในเมือง ตรงตลาดบ่อนไก่ ร้านขายก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลากราย แห้งหรือน้ำ เลือดส้นตามใจชอบ แนะนำเส้นบะหมี่ หมี่ขาว หรือเส้นปลา ส่วนอาหารทานเล่น ต้องสั่งเลยนะ ลูกชิ้นปลากรายลวกจิ้ม ทอดมันปลากราย ปอเปี๊ยะกุ้ง หมูสะเต๊ะ โดยรวมราคาอาหารไม่แพง รสชาติดี
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 เมนูก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลากราย
2.1 เมนูทอดมันปลากราย
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด เปิดร้านทุกวัน เวลาทำการ 07:00 – 17:00
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. 0๘ ๑๕๓๒ ๒๕๒๔/ ๐๘ ๖๙๒๘ ๙๐๐๔
๕.ช่องทางออนไลน์ เพจ , Facebook

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้าน แหลกี่ นครสวรรค์

ที่ตั้ง ตำบลปากน้ำโพ ในเขตเทศบาลนคร นครสวรรค์
๑.แหลกี่ร้านอาหารเก่าแก่ดั้งเดิมประจำเมืองนครสวรรค์ เมนูเป็ดขึ้นชื่อที่สุด ส่วนหมูแดงหมูกรอบเหมือนเป็นอาหารเสริม เรียกว่าครบชุดเป็ดและหมู ปกติเปิดเช้าปิดเย็นช่วงตรุษจีน เป็นช่วงพิเศษเปิดดึกกว่าปกติตำนาน ร้านอาหารจีนกวางตุ้งสูตรดั้งเดิม ที่ดำเนินกิจการผ่านมาหลายรุ่น และเปิดมานานมากนับร้อยปี ”แหลกี่… คำไทย ว่ารุ่งเรือง” เลยกลายเป็นชื่อแหลกี่รุ่งเรืองมานับแต่ตอนนั้น แหลกี่ ร้านเก่าแก่ในนครสวรรค์ เมนูเด็ดเกี๊ยวต้มอร่อย รสชาติกลมกล่อม ไส้แน่น
เกี๊ยวทอด รสชาติเดียวกัน แต่เอามาทอด ก็อร่อยไม่แพ้การต้ม
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 เมนูเป็ดขึ้นชื่อที่สุด
2.2 เมนูเด็ดเกี๊ยวต้มอร่อย
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด เปิดร้านทุกวัน เวลาทำการ 07:00 – 17:00
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. 0 5600 0095
๕.ช่องทางออนไลน์ เพจ , Facebook

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้วัดหนองม่วง “มหาลัยทำกิน” จังหวัดนครสวรรค์

ที่ตั้ง หมู่ที่ 4 ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
1.ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ การปลูกพืชผักสวนครัว ผลไม้ และการทำนา การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้มีใช้ตลอดปี
2.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
3.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวตลอดปี
4.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ระบุเครื่องหมาย/) ไม่มี
5.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม พระใบฎีกาธนากร โฆสธมฺโม โทร. 085-603-7050 นายอรรถ คล้ายนุ่น โทร. 08 1475 9908
6. ช่องทางออนไล Facebook : วัดหนองม่วง
7. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา นครสวรรค์

ที่ตั้งในเขตเทศบาลนคร นครสวรรค์
๑.นครสวรรค์ได้ชื่อว่าเป็น เมืองต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้เนื่องจากแม่น้ำปิง และแม่น้ำน่านได้ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากน้ำโพ บริเวณด้านหน้าเขื่อนในตัวเมือง ซึ่งเป็นจุดรวมของแม่น้ำทั้งสองสายดังกล่าว จะมองเห็นถึงความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้อย่างชัดเจน กล่าวคือแม่น้ำน่านจะมีสีค่อนข้างแดง และแม่น้ำปิงจะเป็นสีค่อนข้างไปทางเขียว เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อย ๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ เป็นสายสำคัญของประเทศไทย ไหลผ่านจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลางไปจนถึงกรุงเทพมหานคร และออกอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ มีความยาวประมาณ 370 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวที่ต้องการจะ เที่ยวทางเรือเพื่อชมทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแวะนมัสการหลวงพ่อโตที่วัดปากน้ำโพ (วัดทองธรรมชาติเหนือ) สามารถเช่าเรือจากท่าน้ำเจ้าพระยา โดยเสียค่าเช่าเรือประมาณ 180 บาท (ไปกลับ) เรือบรรทุกได้ 15 คน พาสาน อาคารสัญลักษณ์ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของปากน้ำโพ ตั้งอยู่บริเวณแหลมเกาะยม จุดบรรจบแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน .
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดให้บริการทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน) มกราคม – กุมภาพันธ์ (ภูมิทัศน์สวยที่สุด)
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ -ร่องเรือไปชมพาสาน
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม อีเมล :tatuthai@tat.or.th เบอร์โทร :05 6514 6512
๗.ช่องทางออนไลน์ เพจ , Facebook
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
๑.ชุมชนคุณธรรมวัดหนองโพ เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งด้านศาสนาและวัฒนธรรม ด้วยมีหลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองโพ พระอริยสงฆ์ของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนให้ความเคารพศรัทธา มีพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิมเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชื่อเสียงจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพของจังหวัดนครสวรรค์ และวัฒนธรรมของชุมชน ที่สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลากว่า ๒๐๐ ปี ทั้งประเพณี การละเล่น ดนตรี อาทิ ประเพณีตรุษ ๕ สงกรานต์ ๖ การเล่นกลองยาว การรำโทน การเล่นโขน มีเส้นทางคมนาคมและสถานที่สะดวกสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน ด้วยวัตรปฏิบัติอันดีงามและความเลื่องลือในเรื่องวิทยาคม ของขลังเป็นที่ศรัทธาโดยทั่วกันของหลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร (พระครูนิวาสธรรมขันธ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองโพ ทำให้วัดหนองโพ มีความเจริญ รุ่งเรืองในด้านต่างๆ ทั้งด้านพระพุทธศาสนา การศึกษา การสาธารณูปโภค และด้วยการสงเคราะห์ต่อส่วนรวม ชาวหนองโพจึงร่วมกันจัดงานประเพณี ย้อนรอยเก่าเล่าเรื่องเดิม เป็นประจำทุกปี เพื่อน้อมรำลึกจริยวัตรปฏิบัติอันดีงามและความเมตตา คุณานุคุณนานัปการ ของหลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร ( พระครูนิวาสธรรมขันธ์) วัดหนองโพ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิม เปิดให้เข้าชมวันอังคาร – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๙.๐๐ น. ถึง ๑๗.๐๐ น. ปิดทำการทุกวันจันทร์ (หากวันจันทร์ตรงกับวันนักขัตฤกษ์เปิดให้เข้าชมตามความเหมาะสม)
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
ผู้ใหญ่ ค่าเข้าชม ๔๐ บาท/คน
เด็กอายุต่ำกว่า ๑๓ ปี ค่าเข้าชม ๒๐ บาท/คน
คณะตั้งแต่ ๒๐ คนขึ้นไป ค่าเข้าชม ๒๐ บาท/คน
พระภิกษุ สามเณร นักบวช เข้าชมฟรี
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นางสาวฐานิส ทองพรมราช เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิม
เบอร์โทรศัพท์ ๐๙ ๓๖๑๔ ๘๙๗๘
นายสุทธิพงษ์ สอนหัด เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิม
เบอร์โทรศัพท์ ๐๖ ๓๙๕๘ ๒๕๐๗
๕.ช่องทางออนไลน์
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองกระดูกเนื้อ จังหวัดนครสวรรค์

บ้านหนองกระดูกเนื้อ หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง มอญ ไทย ที่อพยพมาตั้งหลักปักฐานทำมาหากิน และที่เวลามีงานบุญก็จะมีการมาตุ้มโฮม และยังมีพระพุทธรังสีไชยมงคล (หลวงพ่อชนะ) พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๕ ศอก หล่อด้วยปูน  เก่าแก่ เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน

มีประเพณี วัฒนธรรม และเทศกาลที่ดีงามของชาวบ้านหนองกระดูกเนื้อ ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน อาทิ  ประเพณีบุญคูนลาน  สู่ขวัญข้าว ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ประเพณีสารทลาว เดือน ๑๐ ฯลฯ และมีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ที่มีความหลากหลาย เช่น ปลาร้า กล้วยเศรษฐี การตีมีดแบบโบราณ จักสานผ้าซิ่นทอมือ

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดหนองกระดูกเนื้อ
พระพุทธรังสีไชยมงคล (หลวงพ่อชนะ) หน้าตักกว้าง ๕ ศอก หล่อด้วยปูน เก่าแก่ และหลวงปู่เกลี้ยง หลวงปู่แก้ว เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แปลงนา
ชมและลงมือปฏิบัติในการทำนา ไม่ว่าจะหว่านข้าว ดำนา สู่ขวัญข้าว เป็นต้น

กิจกรรมการท่องเที่ยว

บ้านหนองกระดูกเนื้อ
ช่วงเช้าใส่บาตรพระภิกษุสามเณร จากนั้นดื่มกาแฟที่สภากาแฟ จากนั้นเข้าชมกลุ่มจักสาน เข้าสู่พิธีบายสีสู่ขวัญ ชมการตีมีดแบบโบราณ ชมการทอผ้า และมาทานอาหารพื้นถิ่นสำรับโตก สุดท้ายเข้าพักที่โฮมสเตย์

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์

ชุมชนวัดหนองโพ เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งด้านศาสนาและวัฒนธรรม ด้วยมีหลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองโพเป็นบรรพชนที่สำคัญ มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก มีพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิม เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชื่อเสียงจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพของจังหวัดนครสวรรค์

อัตลักษณ์ของชุมชนวัดหนองโพ คือ หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร พระอริยสงฆ์ของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนให้ความเคารพศรัทธา และวัฒนธรรมของชุมชนที่สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลากว่า ๒๐๐ ปี ทั้งประเพณี การละเล่น ดนตรี อาทิ ประเพณีตรุษ ๕ สงกรานต์ ๖ การเล่นกลองยาว การรำโทน การเล่นโขน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดหนองโพ
วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ศิลปะโบสถ์ เจดีย์ ฝีมือช่างพื้นบ้านมีอายุเก่าแก่กว่า ๑๐๐ ปี มีหลวงพ่อเดิม เป็นอดีตเจ้าอาวาส ที่มีชื่อเสียง

พิพิธภัณฑ์ หลวงพ่อเดิม
แหล่งเรียนรู้ของจังหวัดจัดแสดงนิทรรศการประวัติของบ้านหนองโพ และหลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

เขาปูน
เขาปูนเป็นเขาเทือกเดียวกับเขาใหญ่ บริเวณเขามีซากฟอสซิลของสัตว์ทะเล มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บนยอดเขามีเจดีย์ที่หลวงพ่อเดิมสร้างไว้

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

โรงงานน้ำตาลเกษตรไทย
แหล่งเรียนรู้การผลิตน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

บ้านละครกันเพ็ชร
การทำเครื่องโขน เครื่องละครแต่งกาย ชุดโขน ชุดละคร

เขาปูน
ให้อาหารลิง ดูฟอสซิล ปะการังล้านปี

บ้านนิวัฒน์
แต่งชุดไทย กินกาแฟ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) จังหวัดนครสวรรค์

ชุมชนคุณธรรมวัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) เป็นชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีต้นทุนทางวัฒนธรรม ได้แก่ อาชีพการทำการตาลโตนด เจดีย์ทรงลังกาคว่ำสมัยสุโขทัย มีพิพิธภัณฑ์จำนวน ๔ หลัง มีแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น อาทิ  หนึ่งเดียวในสยามจุดนัดพบยม-น่าน จระเข้ด่างเกยไชย เป็นต้น

ชุมชนคุณธรรมวัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) มีประเพณี วัฒนธรรม และเทศกาลที่ดีงามของชาวบ้าน ที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน อาทิ  ประเพณีการห่มผ้าองค์หลวงพ่อพระบรมธาตุเกยไชย งานเทศกาลกินตาล ฯลฯ และมีผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) คือ ข้าวขาวเกยไชย เค้กตาลโตนด คุกกี้ตาล

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พระบรมธาตุเกยไชย
เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ แบบลังกา ฐานแปดเหลี่ยม ไม่ทำเสาหาน ความสูงปัจจุบันประมาณ ๑๔ เมตร ซึ่งได้รับสถาปัตยกรรมมาจากสมัยสุโขทัย ในช่วงของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นต้นมา ในปี พ.ศ. ๑๙๐๖ อย่างน้อยที่สุดเป็นเวลามากกว่า ๖๕๘ ปีที่ผ่านมา

วิหารพระพุทธศรีสรรเพชญ์
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในคราวเดียวกันกับพระบรมธาตุ เกยไชย เนื่องจากมีสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องคล้ายคลึงกัน โดยมีการบูรณะซ่อมแซมมาหลายครั้ง และในครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ พระครูนิธานปุญญาภิวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอชุมแสง เจ้าอาวาสวัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) รูปปัจจุบัน ท่านได้ทำการออกแบบและก่อสร้างอาคารรอบนอก ก่อผนังด้วยศิลาแลง สำหรับไว้ใช้เพื่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
เป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว หลังคาหน้าจั่ว ทำจากไม้ตาลทั้งหลังแต่เดิมพิพิธภัณฑ์หลังนี้ ยังไม่มีชื่อเรียกที่เป็นทางการว่าอะไร ซึ่งได้มีการก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ อันเนื่องมาจากความคิดของพระครูนิทานธรรมประนาท อดีตเจ้าอาวาสวัดเกยไชยเหนือ รูปที่ ๔ เจ้าคณะตำบลเกยไชย ร่วมกับคณะครู – อาจารย์ของโรงเรียนชุมชนวัดเกยไชยเหนือ ผู้นำท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้านในตำบลเกยไชย ซึ่งจุดกำเนิดที่สำคัญของการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

พิพิธภัณฑ์ต้นน้ำ
วัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้รับการจัดสรรงบประมาณ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๙,๖๐๐,๐๐๐.- บาท (เก้าล้านหกแสนบาทถ้วน) ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ต้นน้ำ บูรณะปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบ ก่อสร้างห้องน้ำ และสถานที่จอดรถ เพื่อพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

พิพิธภัณฑ์ราชาจระเข้ยักษ์ “พญาด่างเกยไชย”
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ซึ่งมีขนาดความกว้าง ๑๗.๖๐ เมตร ความยาว ๔๐.๕๐ เมตร ภายในอาคาร ชั้น ๑ เป็นอาคารที่จัดแสดงนิทรรศการ ๖ โซน สำหรับอาคารด้านบนชั้นที่ ๒ เป็นสถานที่จัดแสดงรูปปั้นราชาจระเข้ยักษ์ “พญาด่าง เกยไชย” ซึ่งออกแบบและปั้นโดยช่างฝีมือท้องถิ่น คือ นายประเทือง แสงวิเศษ และคณะ รูปปั้นราชาจระเข้ยักษ์ “พญาด่างเกยไชย” มีขนาดลำตัว กว้าง ๗.๖๐ เมตร ยาว ๔๔ เมตร และมีขนาดความสูง ๖.๓๐ เมตร ตามลำดับ ณ ปัจจุบันเป็นรูปปั้นจระเข้ มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในโลก ก็ว่าได้

อาคารอาศรมศิลป์ท้องถิ่นชุมชน ต.เกยไชย
สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในบริเวณ วัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนในการก่อสร้างอาคารจากโรงเรียนรุ่งอรุณ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐.- บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงเกี่ยวกับอุปกรณ์การทำตาลโตนด ซึ่งเป็นอาชีพพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลเกยไชย และได้ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการพัฒนาผลผลิตและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ จากตาลโตนด

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

หนึ่งเดียวในสยาม จุดนัดพบยม-น่าน
แม่น้ำยมและแม่น้ำน่านมีลักษณะที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด แม่น้ำน่านจะมีสีแดงขุ่น เนื่องจากระยะทางที่แม่น้ำน่านไหลผ่าน ส่วนมากจะไหลผ่านบริเวณที่น้ำกัดเซาะและเกิดจากการพังทลายของดินลูกรัง ดินดาน ทำให้มีสีแดงขุ่น ส่วนแม่น้ำยมจะมีสีเขียวใส เนื่องจากระยะทางที่แม่น้ำไหลผ่านจะเป็นที่ราบลุ่มดินทราย จึงทำให้น้ำมีสีเขียวใสแม่น้ำทั้งสองสายนี้เปรียบเสมือนสายโลหิตของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้

ทุ่งนาที่สวยที่สุดในปฐพี
ทุ่งนาที่สวยที่สุด คือ ทุ่งนาข้าวที่มีพื้นหลังเป็นทุ่งต้นตาลโตนด ที่มีความสวยงามโดยธรรมชาติ เป็นที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เป็นที่พักผ่อน ผ่อนคลายสายตา และชื่นชมกับความสวยงามได้เป็นอย่างดี

สวนตาลโตนด
สวนตาลโตนด ในเขตอำเภอชุมแสงมีมากกว่า 24,000 ต้น (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2560) พบมากในเขตตำบลท่าไม้ และตำบลเกยไชย ตามลำดับ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยพ่อ ตำบล เกยไชย
เป็นแหล่งเรียนรู้ และท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ และเป็นแหล่งพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวเกยไชย เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การประกอบอาหารพื้นบ้าน
วัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) และหมู่บ้านทั้ง 10 หมู่บ้าน ที่อยู่ในชุมชนคุณธรรมวัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) การประกอบอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน) อาทิ เช่น แกงหัวตาลสามรส ผัดกุ้งยอดตาล น้ำพริกกุ้งเสียบตาลเต๋า แกงปลากรายหัวตาล การทำน้ำตาลสดเดือดแรก น้ำตาลปึก–ปี๊บ จาวตาลเชื่อม จาวตาลอบแห้ง ลอนตาล ลอยแก้ว ลอนตาลล่องธารา ขนมตาล เค้กตาลโตนด ทองม้วนตาลสด คุกกี้ตาล ฯลฯ

การสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 5 สถานที่สำคัญ

วัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) สักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังนี้

  • พระบรมธาตุเกยไชย (เพื่อเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง)
  • หลวงพ่อทองอยู่ (เพื่อการสอบเข้าราชการ และสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง)
  • พระพุทธศรีสรรเพชญ์ (เพื่อส่งเสริมชีวิตคู่ และความรักให้ ยืนยาว)
  • พญาด่างเกยไชย (เพื่อเสริมบารมี สะเดาะเคราะห์ สืบชะตา และรับโชคดี)
  • พระเจ้าตากสินมหาราช (เพื่อความโชคดี จากการเสี่ยงโชค)

การชมสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ

  • วัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ)
  • หมู่บ้านต่างๆ
  • เมืองชุมแสง
  1. วัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ)
  • ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
  • พิพิธภัณฑ์ราชาจระเข้ยักษ์ “พญาด่างเกยไชย”
  • วิหารหลวงพ่อทองอยู่
  • หนึ่งเดียวในสยาม จุดนัดพบ ยม-น่าน
  • พระบรมธาตุเกยไชย
  • วิหารพระพุทธศรีสรรเพชญ์
  • อาคารอาศรมศิลป์ท้องถิ่นชุมชนตำบลเกยไชย
  • พิพิธภัณฑ์ต้นน้ำ
  • พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
  1. หมู่บ้านต่างๆ
  • กลุ่มเบเกอรี่ตาล หมู่ที่ 4
  • วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยว บ้านปากคลองเกยไชย หมู่ที่ 5
  • กลุ่มอาชีพจากตาลโตนด หมู่ที่ 6
  • ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง ตามรอยพ่อ ตำบลเกยไชย หมู่ที่ 7
  • ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากตาลโตนดริมทางหลวง 225 หมู่ที่ 9
  • กลุ่มขนมไทยจากตาลโตนด หมู่ที่ 14
  • กลุ่มแปรรูปน้ำพริก หมู่ที่ 15
  • กลุ่มผลิต และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด-มะพร้าว หมู่ที่ 14 ตำบลท่าไม้
  1. เมืองชุมแสง
  • สะพานหิรัญนฤมิตร
  • อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช
  • ชุมแสงแกลอรี่
  • ตลาดเก่ากว่า 100 ปี
  • ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสง
  • สถานีรถไฟเมืองชุมแสง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม