งาน cars and coffee on vacation @เชียงใหม่

งาน cars and coffee on vacation @เชียงใหม่ กับ location สวยงาม ในหุบเขา ริมทะเลสาป ของ ม่อนจ็อต โดยการสนับสนุนจาก

⚪️ พี่ส้ม ผู้จัดงาน
⚪️ ม่อนจ๊อต พี่โรจน์ ลูกพี่ที่ใจดีสุดๆคับ
⚪️ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
⚪️ warmup เชียงใหม่ จัดร่วม กับ zone DJ และร้านกาแฟชื่อดังของเชียงใหม่
⚪️ nexzter จัดร่วม กับzone ดนตรี folk music

🗓19/3/2022

monjodd
amazingthailand
carsandcoffeeonvacation
carsandcoffeechiangmai
Nexzter
warmupchiangmai
amazingthailand
เที่ยวเมืองไทยamazingยิ่งกว่าเดิม
carsandcoffeeonvacation
ติดตามช่องทางอื่น ๆ
Facebook : https://www.facebook.com/jk.tours.jk/
IG : https://www.instagram.com/jk.tours.jk/
TIKTOK : https://www.tiktok.com/@ffhyqqmm42

ร้านศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง จังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้ง ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ร่มบ่อสร้าง
๒.ชื่อผู้ประกอบการ ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
ชื่อผลิตภัณฑ์ ร่มบ่อสร้าง และผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาร่มบ่อสร้างนั้นเป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากจะมีสาธิตการทำร่มการจำหน่ายร่มแล้ว ยังมีของที่ระลึกจากกระดาษสาและของพื้นเมืองต่างๆขายอีกด้วย
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.30 – 17.00 น. ทุกวัน
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5333 8195
๖.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุค : ร่มบ่อสร้าง โดย Umbrella Making Centre ศูนย์อตุสาหกรรมทำร่ม , ร่มถวิล
www.handmade-Umbrella.com

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เฮือนฝ้าย ด้ายงาม จ.เชียงใหม่

ที่ตั้ง 145/2 หมู่3 ถนน เชียงใหม่-สันกำแพง สันกลาง สันกำแพง เชียงใหม่ 50130
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ เฮือนฝ้ายด้ายงาม
๒.ชื่อผู้ประกอบการคุณกุณฑลี ระพิพงษ์
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าฝ้ายทอมือ
รายละเอียดความโดดเด่น

ผ้าทอด้วยมือมีความผูกพัน เกี่ยวโยงกับวิถีชีวิตคนไทยมานานนับศตวรรษ ความเป็นมาในอดีต ได้ถูกบันทึกผ่านตั้งแต่การเตรียมเส้นใย การย้อมสี การออกลายผ้า ไปจนถึงการทอผ้า ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งของชาวล้านนา
การทอผ้า เป็นศิลปะที่สร้างสรรค์จากมือ ผ่านการลองผิดลองถูก และฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ผ้าทอมือจึงทรงคุณค่า มีเอกลักษณ์ และความสวยงามตราบจนทุกวันนี้
“เฮือนฝ้ายด้ายงาม” เลือกเส้นใยคุณภาพ กวัก ปั่น ย้อมสี ถักทอเป็นผืนผ้าที่มีคุณภาพ นำมาตัดเย็บโดยช่างฝีมือที่มีความประณีต ผสานกับการออกแบบในแนว ‘ล้านนาร่วมสมัย’
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันจันทร์-เสาร์ 08.30 – 17.30 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
053-960314
095-2924247
๖.ช่องทางออนไลน์
http://www.huanfai-daingam.com/
https://www.facebook.com/HuanfaiDaingame/

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้าน เฮือนใจ๋ยอง จ.เชียงใหม่

ที่ตั้ง 65 หมู่ 4 บ้านป่าตาล บวกค้างสันกำแพง เชียงใหม่
๑. ร้านอาหารที่ครบเครื่องเรื่องรสชาติอาหารเมืองขนานแท้ (โดยคนยอง) เรื่องความหลากหลายของเมนูพื้นบ้าน และได้บรรยากาศเมืองเหนือในเรือนไม้ล้านนาโบราณ ซึ่งพื้นเพของเจ้าของร้าน เป็นคนไทยเชื้อสายยอง (คนยอง) หรือคนไทลื้อ ที่อพยพมาจากรัฐฉานของพม่าในปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๕๖ เป็นเวลาเกือบ ๒๐๐ ปี จีงเป็นที่มาของชื่อร้านเฮือนใจ๋ยอง ภายในร้านมีการนำเอาข้าวของเครื่องใช้สมัยคุณยายยังสาวมาประดับตกแต่ง ยิ่งทำให้บรรยากาศของที่นี่แลดูเป็นกันเอง เหมือนมานั่งทานข้าวที่บ้าน
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1ไก่เมืองนึ่งสมุนไพร
2.2 ส้าผักกาดน้อย
2.3 ปูอ่อง
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดวันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
หยุดวันจันทร์
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๖๖๗๑ ๘๗๑๐
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : เฮือนใจ๋ยอง hueangjaiyoung อาหารพื้นบ้าน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ. เชียงใหม่

ที่ตั้ง 334 ตำบล แม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50100
๑.เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๔๙ และทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ๒๕๔๙ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ ๔๖๘ ไร่ ๓ งาน ๑๐ ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๐ รวม ๙๒ วันภายใต้ชื่อ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ๒๕๔๙” ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบเป็นอย่างมาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 08.00 – ๑๘.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เป็นสถานที่ที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
คนไทย
ผู้ใหญ่ 100 บาท
เด็ก สูง 100-140 ซม. 70 บาท
ต่างชาติ
ผู้ใหญ่ 200 บาท
เด็ก สูง 100-140 ซม. ๑๕0 บาท
*เด็กอายุต่ำกว่า 100 ซม. เข้าชมฟรี
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
เยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์ ในรูปแบบต่างๆ โดยจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนพันธุ์ไม้ตามฤดูกาล มีทั้งสวนไทย สวนต่างประเทศ แบ่งเป็นโซนสวยงาม
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5311 4110
๗.ช่องทางออนไลน์
https://www.royalparkrajapruek.org/
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /)
ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

น้ำพุร้อนสันกำแพง จ.เชียงใหม่

ที่ตั้ง 1 ม.7 ต.บ้านสหกรณ์ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ 50130
๑.น้ำพุร้อนสันกำแพงเกิดจากความร้อนใต้พื้นโลกที่ทำให้ธารน้ำใต้ดินมีอุณหภูมิสูงถึงจุดเดือด และสร้างแรงดันให้พวยพุ่งขึ้นมาเป็นน้ำพุเหนือพื้นดิน โดยได้มีการร่วมทุนกันระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านสันกำแพง เพื่อพัฒนาพื้นที่ของน้ำพุร้อนให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นในปีพ.ศ. 2527 โดยมีทั้งพื้นที่ของบ้านพัก ธารน้ำแร่ บ่อน้ำพุร้อนหลากหลายขนาด รวมถึงโซนนั่งพักผ่อนและจุดจำหน่ายของที่ระลึก เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงคู่กับเมืองเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน ด้วยความมหัศจรรย์ของน้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิมากกว่า 105 องศา และพุ่งขึ้นมาเหนือพื้นดินกว่า 15 เมตร และยังรายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันเงียบสงบและอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาพักผ่อน แช่เท้า และอาบน้ำแร่
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 07.00 – 18.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เป็นสถานที่ที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
ค่าเข้าชม
– ผู้ใหญ่ 40 บาท
– ผู้สูงอายุ 60ปี และ เด็ก 20บาท
– ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท, เด็ก 50 บาท
– รถยนต์ 40 บาท (จอดด้านนอกไม่เสียค่าจอด)
ค่าบริการ
– แช่เท้า ฟรี
– ตักอาบน้ำแร่ 20 บาท
– แช่อาบน้ำแร่ 60 บาท
– แช่อาบหมู่คณะ 500 บาท/ชั่วโมง
– สระว่ายน้ำแร่ เด็ก 30 บาท / ผู้ใหญ่ 50 บาท
ที่พักน้ำพุร้อนสันกำแพง
– เช่าสถานที่พักแรม 50 บาท/คน
– บ้านพัก 1,000 – 1,500 บาท/คืน
– เช่าสถานที่กางเต๊นท์ 50 บาท
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ต้มไข่ แช่เท้า อาบน้ำแร่ แช่น้ำแร่ บริการห้องพัก ห้องจัดเลี้ยง สัมมนา ลานกางเต็นท์
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
สำนักงาน 053 037101
ฝ่ายรับจอง 08 7659 1791
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 09 2599 5930
๗.ช่องทางออนไลน์
http://www.skphotsprings.com/
https://www.facebook.com/skponsen/
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ /ทางลาด /ที่จอดรถ /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว /ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระธาตุดอยคำ เชียงใหม่

ที่ตั้ง ตำบล แม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50100
๑.วัดพระธาตุดอยคำ เชียงใหม่ ขอพรหลวงพ่อทันใจ วัดพระธาตุดอยคำ ตั้งอยู่บนดอยคำ มีอายุกว่า 1,300 ปี และถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยคำ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 10 กิโลเมตร ภายในวัดมีเพียงเจ้าอาวาส คือ พระครูสุนทรเจติยารักษ์ (ครูบาพิณ) โดยไม่มีพระลูกวัดเลย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 05.00 – ๑๙.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เป็นสถานที่ที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
ไม่มี
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ไหว้ขอพรพระเจ้าทันใจ
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 9014 9666
๗.ช่องทางออนไลน์ –
https://www.facebook.com/DoiKhamTemple/photos
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่

ที่ตั้ง 2 ถนน สามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50280

๑.เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญคู่เมืองเชียงใหม่ภายในวัดมีศิลปกรรมที่สร้างด้วยช่างฝีมือชาวล้านนาที่สวยงาม เช่นวิหารหลวงที่สร้างเมื่อครั้งครูบาศรีวิชัย, หอไตรศิลปะแบบล้านนา, เจดีย์ทรงระฆังคว่ำศิลปกรรมล้านนาและวิหารลายคำที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปเก่าแก่คู่เมืองเชียงใหม่อีกองค์หนึ่ง

ความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมล้านนาในวัดพระสิงห์นั้น ได้ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติพากันมาเยี่ยมชมความสวยงาม ของวัดนี้เป็นจำนวนมาก จนชื่อเสียงของวัดพระสิงห์แผ่ขยายออกไปทั่วโลก สำหรับความเป็นมาของการสร้างวัดอันยาวนาน หลักฐานท้องถิ่น เช่น ตำนานมูลศาสนา ,ตำนาน 15 ราชวงศ์ ได้ระบุว่า พญาผายู (พ.ศ.1879 -1898) โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ.1887 เพื่อประดิษฐานเจดีย์บรรจุพระอัฐิธาตุของพระราชบิดาคือ พญาคำฟู (พ.ศ.1877-1879) แต่เดิมวัดนี้มีชื่อเรียกว่า วัดพระเชียง แต่เนื่องจากที่ตั้งของวัดนี้อยู่หน้าตลาดกลางเวียง (กาดลี) ชาวบ้านในสมัยนั้นจึงเรียกว่า วัดลีเชียงพระ ซึ่งแปลว่า วัดตลาดเมือง

ในสมัยพญาแสนเมืองมา พระองค์ได้ทำการสู้รบกับพญาพรหมแห่งเมืองเชียงรายจนชนะ พระองค์จึงได้นำพระพุทธสิหิงค์จากเชียงรายมาประดิษฐานที่วัดพระเชียง หรือ วัดลีเชียงพระตั้งแต่นั้นมา วัดพระสิงห์ผ่านยุคสมัยมาหลายกาลเวลา โบราณสถานต่างๆ ภายในวัดจึงปรากฏคล้ายเดิมของรูปแบบศิลปกรรมของช่างในสมัยก่อน

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกที่อยู่คู่เชียงใหม่มาทุกยุคสมัย ถือเป็นวัดเก่าแก่สำคัญวัดหนึ่งของเชียงใหม่มีประวัติการก่อสร้างยาวนานถึง 640 ปี วัดนี้ในอดีตเคยเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงใหม่ ความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชื่อวัดพระสิงห์ที่สำคัญเห็นจะได้แก่
เมื่อครั้งที่ท้าวมหาพรหม เจ้าเมืองเชียงรายไปได้พระพุทธสิหิงค์ หรือที่ชาวเชียงใหม่เรียกว่า พระสิงห์ มาจากเมืองกำแพงเพชรและได้นำขึ้นมาถวายให้พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์เมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงเรือขึ้นมาตามแม่น้ำปิง เมื่อขบวนเรือมาถึงเชียงใหม่ เป็นเวลาค่ำแล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ขึ้นจากเรือ แล้วนำไปประดิษฐานไว้บนบกที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งทางฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 05.00 – ๑๘.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เป็นสถานที่ที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
ไม่มี
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
สักการะพระพุทธสิหิงค์ ชมซุ้มประตูโขง และจิตรกรรมฝาผนัง
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 5341 6027
๗.ช่องทางออนไลน์ –
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /) ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จ.เชียงใหม่

ที่ตั้ง 9 หมู่ที่ 9 อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200
๑.วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนาราชวงศ์ มังราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำประทักษิณสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้โปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 06.00-๑๘.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เป็นสถานที่ที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
มีรถรางไฟฟัาเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. ในราคาขึ้น-ลง คนละ 20 บาท(สำหรับคนไทย) และ 50 บาท (สำหรับชาวต่างชาติ)
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ประเพณีการเดินขึ้นดอยสุเทพเพื่อสักการะพระบรมธาตุดอยสุเทพในช่วงประเพณีวันวิสาขบูชา
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๗.ช่องทางออนไลน์
https://www.m-culture.go.th/chiangmai/ewt_news.php?nid=621&filename=index
https://www.museumthailand.com/th/1675/storytelling/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E/
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /) ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหลวง จังหวัดเชียงใหม่

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหลวงมีวัดบ้านหลวงและวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลเป็นวัดประจำชุมชน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภูมิประเทศเป็นภูเขาล้อมรอบ มีลำน้ำแม่ขอดไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ในการเพาะปลูกทางเกษตร มีศูนย์เรียนรู้ภายในชุมชน เช่น ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การเรียนรู้ เฮือนหลวงมหาวรรณ์ เป็นต้น 

เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งฐานของพญามังราย มีการค้นพบวัดร้างกำแพงเมือง มีบริบทพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด ในอำเภอพร้าว และมีวัฒนธรรมอันโดดเด่นตามหลักพระพุทธศาสนา มีการค้นพบวัดร้างนับ ๑๐ วัด เป็นชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีหน่วยงานภาคีเครือข่ายหลัก ๕ ภาคี ได้แก่ เจ้าหน้าที่อุทยานป่าไม้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ องค์การบริหารส่วนตำบลโหล่งขอด กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้าน ในการขับเคลื่อนงานของคนในชุมชนโหล่งขอด มีประเพณี วัฒนธรรมที่โดดเด่นและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และมีกิจกรรมของชุมชนที่ทำร่วมกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน อย่างต่อเนื่อง

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดบ้านหลวง
วัดบ้านหลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๙ หมู่ ๖ ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ วัดบ้านหลวงเดิมในอดีตชื่อว่า “วัดโหล่งขอด” ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงเรียนบ้านหลวงในปัจจุบัน เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีที่ผ่านมาได้ทำการย้ายมาสร้างใหม่บนที่นาของพ่ออุ๊ยน้อยหาด ที่ได้ถวายที่ดินสำหรับสร้างวัดใหม่ และเป็นวัดที่เก่าแก่มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ๒ องค์ ประดิษฐานบนวิหารน้อยวัดบ้านหลวง องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางเปิดโลก นามว่า “หลวงพ่อโมลีไพรีพินาศ” ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น อีกองค์หนึ่งเป็นปางมารวิชัย นามว่า “หลวงพ่อแสนแส่” ศิลปะเชียงแสนสิงห์ ๓ โดยทั้ง ๒ องค์ เป็นพระพุทธรูป ซึ่งมีพุทธศิลป์ที่งดงาม

วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล
ตั้งอยู่ทาง ทิศใต้ของชุมชน ได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2546 โดยวัดตั้งอยู่บนกำแพงเมืองโบราณของเมือง พร้าว ที่สร้างในสมัยพญามังรายมหาราชกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุที่มีอายุราว 600 ถึง 700 ปี ได้แก่ ก้อนอิฐที่จารึกตัวอักษรฝักขาม, ถ้วยชาม สังคโลก และเครื่องปั้นดินเผา วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลยอดฉัตรพระธาตุทำจาก ทองจังโก เป็นมหาธาตุเจดีย์โบราณที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอ พร้าว มีขนาดกว้างของฐานทั้งสี่ด้านรวม 36 เมตร อดีต เป็นที่พักทัพของกษัตริย์ล้านนา เมื่อครั้งเดินทางผ่านเข้าออก เมืองพร้าว เนื่องจากมีการปรากฏร่องรอยแนวคูค่ายให้เห็นรอบวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล

ศูนย์การเรียนรู้ เฮือนหลวงมหาวรรณ์
ศูนย์การเรียนรู้เฮือนหลวงมหาวรรณ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านภูมิปัญญาบรรพชน สร้างขึ้นโดย ท่านพระครูวรรณวิวัฒน์ ดร. และพี่ชาย ดาบตำรวจวิรัตน์ มหาวรรณ์ ได้สะสม รวบรวมโบราณวัตถุในชุมชน และของใช้ของบรรพบุรุษในตระกูล จึงเกิดเป็นความคิดริเริ่มที่จะ สร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน ให้ทราบถึงรากเหง้าความเป็นมาของ ชุมชน และเพื่อให้เกิดความรักความ หวงแหน และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในชุมชน

ศูนย์เรียนรู้ประติมากรรมการปั้นรูปโดยใช้ผงขี้เลื่อย (ยางพารา)

เป็นรูปนูนต่ำ นูนสูงและรูปองค์ลอย เช่น  พระพิฆเนศ เป็นต้น มีนายรัฐชฎะ พลหาญ บ้านเลขที่ ๒๒๕  หมู่  ๖ (บ้านหลวง)  ตำบลโหล่งขอด  อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่  จบการศึกษาด้านประติมากรรมสากล จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง ปริญญาตรีศิลปะบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และครุศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นครูภูมิปัญญาด้านการปั้นรูปเหมือน และเป็นวิทยากรสอนงานประติมากรรมแก่เยาวชน  ประชาชน  และที่สนใจในชุมชนบ้านหลวง

ศูนย์การเรียนเครื่องปั้นดินเผา บ้านคนกับดิน
มี นายมานิตย์ บรรชัย เป็นผู้เจ้าของ และมีการถ่ายทอดศิลปะการปั้นให้แก่เด็ก และเยาวชนผู้ที่สนใจ ในชุมชน นอกจากนั้นยังปั้นภาชนะ และปั้นรูปสัตว์ ต่าง ๆ เพื่อจำหน่าย และเป็นโฮมสเตย์ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตเรียบง่ายในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีนายสมศักดิ์ พลหาญ เป็นผู้ประกอบการ และดูแลศูนย์การเรียนรู้ที่ได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินการตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้โดยเฉพาะเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ ปฏิบัติจนกลายเป็นสวนเกษตรผสมผสาน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ปลูกพืชสวนครัว ไม้ผลต่าง ๆ ซึ่งปลอดภัยและไร้สารเคมีทุกชนิดรวมไปถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลาดุก ไก่ประดู่ ไก่ไข่ และกบ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

แอ่วล่องกอง มองวิถี ชมของดี สุขล้นกับธรรมชาติ

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหลวง

  • ชมทุ่งนาที่กว้างใหญ่และสวยงามของชุมชน โต้งหลวง จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นหรือลับขอบฟ้าที่สวยงาม
  • รับบรรยากาศของคนในชุมชนด้วยการเดินเที่ยว จับจ่ายของฝาก กาด หรือตลาดในตอนเช้า
  • กราบสักการะวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล พระเจดีย์ที่หุ้มด้วยทองจังโกปิดด้วยกองคำเปลวทั้งองค์ สร้างในสมัยพระพญามังราย เยี่ยมชมจุดชมวิวของชุมชนบ้านหลวงโหล่งขอด และชิมกาแฟดอยเวียงชัย
  • กราบสักการะวัดบ้านหลวง สักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัด หลวงพ่อแสนแซ่ หรือชาวบ้านเรียกว่า พระเจ้าแสนแซ่ฝนแสนห่า และพระพุทธรูปศิลปะล้านนาปางเปิดโลก หลวงพ่อโมลีไพรีพินาศ
  • ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่มีมากมายหลากหลาย ได้แก่ เรียนรู้การทำผ้ามัดย้อมและบ้านดิน เรียนรู้การทำจักสาน เรียนรู้ขนมไทยและอาหารพื้นบ้าน ศูนย์การเรียนรู้เฮือนหลวงมหาวรรณ์ เรียนรู้สมุนไพรและยาพื้นบ้าน เรียนรู้การปั้นขี้เลื้อย และงานแกะสลัก
  • โฮมสเตย์คุณภาพของชาวชุมชน ได้แก่ ม่อนจันทร์ฉายโฮมสเตย์ คนกันดินโฮมสเตย์ ม่อนดอยเวียงโฮมสเตย์
  • พบบรรยากาศพูดคุยกับคนในชุมชนด้วยการอุดหนุนร้านอาหารพื้นถิ่นที่น่าสนใจ เช่น ร้านลาบ เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม