ศูนย์เรียนรู้บ้านปากร้องห้วยจี้ จังหวัดตาก

ที่ตั้ง บ้านปากร้องห้วยจี้ หมู่ที่ ๒ ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์
๒.ชื่อผู้ประกอบการ นางทองคำ ยมเกิด ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒ ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ หมวกจักสานใบลาน/ใบตาล
รายละเอียดความโดดเด่นสั้นๆ หมวกจักสานของที่นี่เป็นงานที่ผลิตด้วยมือทั้งหมด ไม่ได้ใช้เครื่องจักรในการผลิต อาศัยความเชี่ยวชาญและฝีมือของชาวบ้านล้วนๆ
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าทอลายเกล็ดเต่า
รายละเอียดความโดดเด่น สั้นๆ ผ้าลายเกล็ดเต่า เป็นผ้าทอลายโบราณอีกลายหนึ่ง ที่มีลักษณะการทอที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมีลักษณะเนื้อผ้าเป็นผ้าทอสองตะกอ หรือทอแบบสลับช่องเป็นลายคล้ายตาหมากรุกฝรั่ง เป็นภูมิปัญญาผ้าทอมือที่สืบทอดมาแต่โบราณโดยมีลักษณะคล้ายลายกระดองของเต่า
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ -๑๗.๐๐ น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นางบังอร พรมวงษ์ โทร. ๐๖ ๔๑๓๒ ๒๓๕๗
นางทองคำ ยมเกิด โทร. ๐๘ ๗๘๔๒ ๑๗๒๖
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : Oocc ศูนย์จำหน่ายสินค้า กศน.ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านค้าชุมชนต้าตงกอกซอย จังหวัดตาก

ที่ตั้ง ชุมชนคุณธรรมฯ ต้าตงกอกซอย หมู่ที่ ๖ ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
๑. เป็นร้านที่รวบรวมผลิตภัณฑ์ของชาวชุมชนต้าตงกอกซอยเพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนชุมชนต้าตงกอกซอยแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น ของกิน ของใช้ เครืองประดับตกแต่งบ้าน
๒. ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับหรือตกแต่ง)
ของกิน ของใช้ เครือ่งประดับตกแต่ง
๓. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๗๑๙๖ ๗๙๑๔
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : ต้าตงกอกซอย บ้านตาก

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนบ้านห้วยปลาหลด จังหวัดตาก

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๘ ตำบลแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
๑.เป็นชุมชนที่เน้นการท่องเที่ยวที่นำวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์และการเกษตรแปลงผสมผสานมาเป็นจุดขายในการท่องเที่ยว เมื่อ ๖๐ ปีก่อนชาวมูเซอดำมาตั้งถิ่นฐานที่ห้วยปลาหลด จ.ตาก และเพาะปลูกทำไร่เลื่อนลอยเป็นอาชีพหลัก ทำให้ดินเสื่อม ป่ากลายเป็นป่าเสื่อมโทรม เมื่อไม่มีป่าลำน้ำก็แห้ง ในปี ๒๕๑๗ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จมาเยี่ยมราษฎร จึงมีพระราชดำริให้ปลูกพืชที่ทำรายได้ทดแทนการฝิ่น เช่น กาแฟ ผักหลายชนิดหมุนเวียนแบบปฏิทินที่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี และนำผลผลิตไปจำหน่ายที่ตลาดมูเซอ จนกลายเป็นรายได้หลักของชุมชน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดดำเนินการทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
สามารถเที่ยวชมได้ทุกช่วงเวลา เวลาที่แนะนำคือ ช่วงฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ของทุกปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๙ ๓๒๓๐ ๕๒๕๕
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : Homestay บ้านห้วยปลาหลด จ.ตาก
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สะพานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จังหวัดตาก

ที่ตั้ง ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
๑.สะพานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตากเป็นสะพานไม้แขวนด้วยลวดสลิง สำหรับเดินข้ามแม่น้ำปิงที่ชาวเมืองตากใช้สัญจรไปมารวมถึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจโดยเฉพาะในยามเย็น สะพานแห่งนี้ชื่อว่าเป็นจุดชมวิวแม่น้ำปิงที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของจังหวัดตาก พร้อมไปกับการชมบรรยากาศพระอาทิตย์ตกหลากสีสันได้อย่างงดงาม ในช่วงกลางคืนมีการประดับไฟสวยงามทำให้ตัวสะพานแลดูสว่างไสวโดดเด่นเหนือผืนน้ำสีเข้ม ตัวสะพานมีขนาดกว้าง ๒.๕๐เมตร ยาว ๗๐๐ เมตร. ฐานรากและเสาเป็นคอนกรีต จำนวน ๕ จุด พื้นทำด้วยไม้โยงและยึดด้วยลวดสลิงขนาดใหญ่ บนสะพานมีระยะทางยาวประมาณ ๔๐๐ เมตร สามารถมองเห็นวิวแม่น้ำปิงสวยงาม ในปัจจุบันสะพานแขวนและสวนเฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้คือสถานที่ที่จังหวัดตากใช้จัดงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง ซึ่งเป็นงานประเพณีประจำท้องถิ่นของจังหวัดตากที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ทุกช่วงเวลา
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว
สามารถเที้ยวชมได้ทุกช่วงเวลา
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
เที่ยวชมทัศนัยภาพของแม่น้ำปิงยามพระอาทิตย์ตกดิน และปัจจุบันบริเวณสะพานแขวนและสวนเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นบริเวณที่จังหวัดตากใช้จัดงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงซึ่งเป็นงานประเพณีประจำท้องถิ่น
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๕๕๕๑ ๗๗๒๒
๗.ช่องทางออนไลน์
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก

ที่ตั้ง ตำบลสามเงา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
๑.เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เขื่อนยันฮี เป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทยสร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้งขนาดใหญ่ที่สูงที่สุดในประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ จัดอยู่ในอันดับ ๘ ของโลก มีความสูงจากฐานถึงสันเขื่อน ๑๕๔ เมตร เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งแห่งเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับ ๘ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกทั้งยังเป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย เดิมทีเขื่อนแห่งนี้มีชื่อว่าเขื่อนยันฮี ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่าเขื่อนภูมิพล และต่อมาพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๑๕๐๔ ทั้งนี้ การสร้างเขื่อนแห่งนี้ขึ้นมานั้น เพื่อปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง ๒๕๐ เมตร สูง ๑๕๔ เมตร ยาว ๔๘๖ เมตร ความกว้างของสันเขื่อน ๖ เมตร โดยอ่างเก็บน้ำของเขื่อนนับว่ามีความจุสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่สำคัญของเมืองไทย

กิจกรรมน่าสนใจ

– พักผ่อนหย่อนใจชมวิวริมสันเขื่อน
– เดินป่าศึกษาธรรมชาติสองฝั่งลำน้ำปิงเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ตื่น โดยเป็นเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติสภาพป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ความหลากหลายของเขาหิน ลำห้วย และน้ำตก
– ล่องแพและเรือในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล โดยเป็นการล่องแพที่ใช้เรือลากจูง หรือเดินทางด้วยเรือสำราญ เพื่อสัมผัสกับธรรมชาติและภูมิประเทศป่าเขา ผ่านแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้แก่ พระพุทธบาทเขาหนาม เกาะวาเลนไทน์ ดอยเจ้าพ่อหลวง เขาพระพุทธบาท ถ้ำอาบนาง โบราณสถานแก่งสร้อย จนถึงดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทาง ๒๐๔ กิโลเมตร
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดดำเนินการทุกวัน เวลา ๐๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
สามารถเที่ยวได้ตลอดทุกช่วงเวลา
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
เที่ยวชมทัศนียภาพที่สันเขื่อนภูมิพล ล่องแพแม่น้ำปิง
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐ ๕๕๘๑ ๑๒๓๘
๗.ช่องทางออนไลน์
Facebook : เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์เมือง เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตาก

ที่ตั้ง ถนนตากสิน ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
๑.จังหวัดตากได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เมืองจังหวัดตาก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา โดยปรับปรุงอาคารจวนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก(หลังเก่า) มาเป็นพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากอดีตสถานที่ดังกล่าวเคยเป็น “เรือนประทับ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเมืองตาก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ พิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงและรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ทรัพย์สินทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดตากที่มีอยู่จำนวนมากและเก็บรักษาไว้กระจัดกระจายในสถานที่ต่างๆ ให้มาอยู่ในที่เดียวกัน เนื้อหาการจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม แบ่งเป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นบนจัดเป็นห้องแสดงพระราชกรณียกิจที่เป็นภาพถ่ายและโบราณวัตถุและศิลปวัตถุต่างๆ อาทิ ถ้วยชามกระเบื้อง พระพุทธรูป เป็นต้น ชั้นล่างจัดเป็นห้องแสดงสิ่งของมีค่าของจังหวัดตาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๕๕๕๐ ๘๗๓๓
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : พิพิธภัณฑ์เมืองเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตาก
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดอัมพวัน จังหวัดตาก

ที่ตั้งตำบล ป่ามะม่วง อำเภอ เมืองตาก จังหวัดตาก
๑.วัดอัมพวัน ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง เมืองตาก เป็นศาสนสถานที่มีความร่มรื่นของสวนมะม่วง วัดอัมพวัน แปลเป็นภาษาไทยว่า“สวนมะม่วง” วัดอัมพวันก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๗๕ และยังได้เข้าร่วมเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบฯวัดอัมพวัน ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก มีสภาพสังคมแบบชนบททั่วไป ลักษณะการตั้งบ้านเรือนจะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงและลำห้วยแม่ท้อ มีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน และวัฒนธรรมอันดีงามตามแนววิถีชาวพุทธดำรงมั่นในพระพุทธศาสนาและสืบทอดวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นมาโดยตลอด ชาวบ้านอยู่ร่วมกันแบบญาติพี่น้อง พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดำรงชีวิตด้วยความสามัคคี เป็นปึกแผ่นเหนียวแน่น ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความสุจริต มีคุณธรรม ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๖.๐๐ -๑๘.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๕ ๕๕๕ ๘๑๔๗
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก

ที่ตั้ง ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
๑.ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ” ศาลตากสินฯ ” เป็นศาลาจตุรมุข หน้าศาลแขวนโคมจีนสีแดง ภายในมีภาพพระประวัติพระเจ้าตาก ด้านหลังศาลมีรูปปั้น และตุ๊กตาม้าศึก ช้างศึกจำนวนมากที่ผู้คนนำมาถวาย ตั้งอยู่ที่สี่แยก ถนนตากสินตัดกับถนนมหาดไทยบำรุง ใกล้สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ใกล้ศาลากลางจังหวัดตาก ภายในประดิษฐาน พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลนี้แต่เดิมอยู่บนดอย วัดดอยข่อย เขาแก้ว ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมือง ต่อมา ปี ๒๔๙๐ ชาวเมืองเห็นว่าศาลไม่สม พระเกียรติจึงช่วยกันสร้างขึ้นใหม่ พร้อมกับให้กรมศิลปกรหล่อ พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย ในพระอิริยาบถที่กำลังประทับอยู่บน ราชอาสน์ มีพระแสงดาบพาดอยู่ที่พระเพลา ที่ฐานพระบรม ที่ฐานพระบรมรูปมีคำจารึกว่า “พระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ทรงพระราชสมภพ เมื่อ ๒๒๗๗ สวรรคต ๒๓๒๕ รวม ๔๘ พรรษา” เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปและทุกปี ระหว่างสิ้นปีและวันปี ใหม่จะมีงานฉลองเป็นประเพณี จัดขึ้นบริเวณศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตลอดเวลา
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐ ๕๕๕๑ ๖๑๒๑
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดไทยวัฒนาราม จังหวัดตาก

ชุมชนคุณธรรมฯ วัดไทยวัฒนาราม เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม อาทิ ชาติพันธุ์ไทใหญ่ ชาติพันธุ์ไทยท้องถิ่น ชาติพันธุ์เมียนมา ชาติพันธุ์ลาวเวียง ชาติพันธุ์ปะโอ่ หรือ “ชาวต้องสู้” ชาติพันธุ์ยะไข่ ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ชาติพันธุ์ปะหล่อง ชาติพันธุ์คะฉิ่น ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม ริมห้วยเล็ก ๆ ซึ่งเต็มไปด้วยสาหร่ายทะเล จึงได้ให้ชื่อว่า “แม่ตาว” อันหมายถึงคลองที่เต็มไปด้วย สาหร่ายทะเล ดังที่ปรากฏในจารึกประวัติหมู่บ้านแม่ตาว ณ วัดไทยวัฒนาราม เมื่อได้พบเห็นความอุดมสมบูรณ์และความสงบร่มเย็น จึงได้ตัดสินใจหักร้างถางพงจับจองตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณนี้ และตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านแม่ตาว”  ตามชื่อลำห้วย ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านเป็นชาวไทใหญ่ 

คนในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทใหญ่ มีภูมิปัญญาในการดำรงชีวิตอย่างสันติสุขท่ามกลางความแตกต่างทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ มีภาษา วิถีชีวิต ศาสนาความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม การละเล่น ที่มีการประสมประสานระหว่างไทยกับเมียนมา ทำให้การดำรงชีวิต การค้าขาย การประกอบอาชีพ และการดำเนินกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นไปอย่างสะดวก เป็นชุมชนชาติพันธุ์แบบอย่างท่ามกลางสภาวการณ์ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในสังคม

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดไทยวัฒนาราม
เป็นวัดที่รับอิทธิพลทางศิลปกรรมจากเมียนมา และมีประดิษฐาน และสิ่งก่อสร้างที่สวยงาม ประกอบด้วย
พระพุทธมหามุนีพระหินอ่อนหยกขาว พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ด่านท่าข้าม ทางเรือ แยกระหว่างไทย-เมียนมา
เป็นด่านท่าข้ามธรรมชาติ ที่สร้างขึ้นจากร่องรอยการเดินข้ามยามน้ำลดในอดีตของคนไทย และเมียนมาที่ไปมาหาสู่กัน และเมื่อน้ำหลาก จะใช้เรือเล็กสำหรับพายข้ามฝั่งได้ ปัจจุบันได้มีการสร้างให้มีทางเดินลง และข้ามฝั่งโดยมีท่าเรือที่แข็งแรงมีเรือยนต์สำหรับโดยสารข้ามไป-มา ได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งท่าดังกล่าวสร้างขึ้นและบริการเรือรับส่งโดยนายทุน เอกชนที่เข้ามาดำเนินการในฝั่งเมียนมา ปัจจุบันมีท่าข้ามจำนวน ๓ จุดใหญ่ ๆ การเดินทางจากวัดไทยวัฒนาราม ไปยังท่าข้ามธรรมชาติ ประมาณ ๑ / ๒/ ๓ กิโลเมตร

ตลาดริมเมย
ตลาดริมเมย เป็นชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามกับอำเภอเมียวดีของสหภาพพม่า เป็นตลาดค้าขายสินค้าพื้นเมืองมากมายทั้งของไทย และสหภาพพม่า เช่น หน่อไม้แห้ง ปลาแห้งปลาหัวยุ่ง เห็ดหอม ถั่ว เครื่องหนัง ผ้าซาติน ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นตลาดการค้าอัญมณี เช่น หยก ทับทิม และพลอยสีที่มาจากสหภาพเมียนมาระยะทางจากวัดไทยวัฒนารามไปตลาดริมเมยประมาณ ๒ กิโลเมตร

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ไร่มณีทิพย์
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เป็นแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และวิถีชีวิตชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน และภูมิปัญญาต่างๆ 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

สักการะพระพุทธมหามุนี
วัดไทยวัฒนาราม พระพุทธมหามุนี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านเมืองของบ้านแม่ตาวที่จำลองมาจากพระมหามัยมุนี หนึ่งในห้าของสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวมัณฑะเลย์ สหภาพเมียนมา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวจังหวัดตากศรัทธาเลื่อมใสไม่เฉพาะแต่ชาวไทใหญ่และชาติพันธุ์ท้องถิ่นเท่านั้น ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าผู้ใดมีโอกาสกราบไหว้สักการบูชาอธิฐานขอพร ผู้นั้นจะมีแต่ความสุขความเจริญ การกราบไหว้ขอพรจะต้องนำกิ่งใบของต้นชนะภัย พนมมือ เดินวนซ้ายมือพร้อมกับบทสวดอิติปิโส จำนวน ๓ รอบ 

สักการะพระหินอ่อนหยกขาว
วัดไทยวัฒนาราม พระหินอ่อนหยกขาว พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ความยาว ๙๓ ศอก ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะพม่าและไทใหญ่

สักการะพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์
วัดไทยวัฒนาราม พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ เจดีย์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ซึ่งล้วนเป็นศิลปะแบบเมียนมาและไทใหญ่ทั้งสิ้น ที่มีความวิจิตรสวยงาม ระวิบระวับ และสะท้อนกับแสงได้สวยงามมาก

เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ของชาติพันธุ์ เครื่องประดับ ของฝาก ของที่ระลึก
วัดไทยวัฒนาราม ร้านค้าประชารัฐภายในวัด จำนวน ๓ ร้าน ร้านจำหน่ายของกลุ่มสตรีของหมู่บ้านจำนวน ๓ กลุ่ม ซึ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภท เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มของชาติพันธุ์ เครื่องประดับ ของฝาก ของที่ระลึก

เลือกซื้อสินค้าพื้นเมืองที่ตลาดริมเมย
ตลาดริมเมย ตลาดริมเมย เป็นชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามกับอำเภอเมียวดีของสหภาพพม่า เป็นตลาดค้าขายสินค้าพื้นเมืองมากมายทั้งของไทย และสหภาพพม่า เช่น หน่อไม้แห้ง ปลาแห้ง ปลาหัวยุ่ง เห็ดหอม ถั่ว เครื่องหนัง ผ้าซาติน ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นตลาดการค้าอัญมณี เช่น หยก ทับทิม และพลอยสี ที่มาจากสหภาพเมียนมา ระยะทางจากวัดไทยวัฒนารามไปตลาดริมเมย ประมาณ ๒ กิโลเมตร

เยี่ยมชมโบราณสถานคอกช้างเผือก
โบราณสถานคอกช้างเผือก เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นสำคัญในสมัยกรุงสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชลักษณะทั่วไปคอกช้างเผือกนี้เป็นกำแพง ก่ออิฐโบกปูน รูปสี่เหลี่ยม ปากคอกกว้าง ๑๕ เมตร เป็นรูปสอบเล็ก ๆ ขนานกันไปทั้งสองด้าน ยาวประมาณ ๕๐ เมตร ตั้งอยู่เขตบ้านท่าอาจ ต.ท่าสายลวดตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๕ (ตาก-แม่สอด) ก่อนถึงตลาดริมเมย ประมาณ ๑ กิโลเมตร เลี้ยวขวาผ่านหน้าวัดไทยวัฒนารามตามทางลาดยาง ประมาณ ๒ กิโลเมตร ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโราณสถาน

สักการะพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่
พระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่ วัดพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่มีพระธาตุประดิษฐานอยู่ในสถูปเจดีย์ ชาวบ้านเรียกว่า “พญาล่อง” ตั้งอยู่บนภูเขา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมอญขนาดเล็กสร้างไว้บนก้อนหินด้วยแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นความมหัศจรรย์จากธรรมชาติ ลักษณะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนชะง่อนผากิ่วคอดเหมือนจะขาดออกจากกัน ชาวบ้านเรียกหินมหัศจรรย์นี้ว่า “เจดีย์หินพระอินทร์แขวน”

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดอัมพวัน จังหวัดตาก

ชุมชนคุณธรรมต้นแบบฯ วัดอัมพวัน ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก มีสภาพสังคม แบบชนบททั่วไป ลักษณะการตั้งบ้านเรือนจะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง และลำห้วยแม่ท้อมีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน และวัฒนธรรมอันดีงาม ตามแนววิถีชาวพุทธ ดำรงมั่นในพระพุทธศาสนา และสืบทอดวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นมาโดยตลอด และชาวบ้านอยู่ร่วมกันแบบญาติพี่น้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดำรงชีวิตด้วยความสามัคคี เป็นปึกแผ่นเหนียวแน่น ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความสุจริต มีคุณธรรม ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พออยู่ พอกิน มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมรับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน มีน้ำใจและอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกเสมอมาในทุก ๆ วันสำคัญทางศาสนา ชาวบ้านและนักเรียนในบริเวณใกล้เคียงมาร่วมกิจกรรมที่วัดอัมพวันอยู่สม่ำเสมอ 

เป็นชุมชนที่ยังคงดำรงมั่นในพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอันดีงาม ตามแนววิถีชาวพุทธ ที่สำคัญยังคงสืบทอดวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นชุมชนที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรม มีวัดอัมพวันเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และมีผู้นำหมู่บ้านที่เข้มแข็ง

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดอัมพวัน
วัดอัมพวัน เป็นวัดเก่าแก่ที่เป็นศูนย์กลางรวมจิตใจของคนในชุมชน ภายในวัดมี พระอุโบสถเก่าแก่ ประดิษฐานพระประธานที่มีอายุราวสมัยรัชกาลที่ ๕ หรือประมาณ ๑๒๙ ปี โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔โดยมีพระมหาสมบัติ ภทฺทปัญโญ รองเจ้าคณะอำเภอเมืองตาก เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเป็นที่เคารพศรัทธาของคนในชุมชนบ้านป่ามะม่วง

ศาลหลัก เมืองเก่า
ศาลหลักเมืองตาก ตั้งอยู่ที่บ้านปากร้อง หมู่ที่ ๖ ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สันนิษฐานว่า
สร้างขึ้นในสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้สร้างเสาหลักเมืองไว้เสาหลักเมืองมีลักษณะของเป็นเสายืนต้น ด้านบนเหลาหรือกลึงแหลมมน คล้าย ๆ แบบรูปศิวลึงค์ในแบบศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่นักท่องเที่ยวเมื่อมาถึงจังหวัดตาก ต้องแวะสักการะขอพร

ศาลหลักเมือง สี่มหาราช
ติดถนนพหลโยธินด้านขวา เชิงสะพานกิตติขจรก่อนเข้าเมืองตาก ในปัจจุบันอยู่ที่เชิงสะพานกิตติขจร เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของอดีตมหาราช ทั้งสี่พระองค์ จึงได้มีการจัดสร้างศาลหลักเมืองแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ และกลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจังหวัดตาก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

วัดดอยข่อย เขาแก้ว
วัดดอยข่อยเขาแก้ว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดพระเจ้าตากสิน” เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับพระราชประวัติในการทำศึกสงคราม โดยครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ตั้งทัพหลวงในยุคสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ด้วยมีทำเลที่เหมาะแก่การตั้งทัพ

วัดกลางสวนดอกไม้
วัดกลางสวนดอกไม้ ปูชนียสถาน ที่สำคัญประจำวัดคือเจดีย์ เดิมทีเป็นที่ประดิษฐานลูกแก้วเสี่ยงทายพระบารมี ที่องค์พระเจ้าตากสินได้เสี่ยงที่วัดดอยข่อยเขาแก้ว มีลูกแก้วอยู่ ๒ ลูกด้วยกัน ลูกหนึ่งอยู่ที่วัดดอยข่อยเขาแก้ว ส่วนอีกลูกหนึ่งขอนำมาประดิษฐาน ณ วัดกลางสวนดอกไม้แห่งนี้ที่ยอดเจดีย์ แต่เมื่อเจดีย์ผุพังลง ลูกแก้วก็หายไป พอเดินผ่าน ร่มไม้มาตามทางจะทะลุมาถึงหอระฆัง และอุโบสถวัดกลางสวนดอกไม้ ตกแต่งด้วยกระจกสีด้านนอกสวยงามตระการตา

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สะพาน สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
สะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี หรือที่เรียกว่า “สะพานแขวน” สร้างเมื่อ พุทธศักราช 2525 โดยองค์การ บริหารส่วนจังหวัดตาก เพื่อสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ขนาดกว้าง 2.50 ม. ยาว 700 ม. ฐานรากและเสาเป็นคอนกรีต จำนวน 5 จุด พื้นทำด้วยไม้โยงยึดด้วยลวดสลิงขนาดใหญ่ ซึ่งในอดีตสามารถใช้รถจักรยาน และรถจักรยานยนต์สัญจรไปมาได้ แต่ปัจจุบันเป็นสะพานสำหรับเดินชมทิวทัศน์แม่น้ำปิง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แปลงผักสวนครัวเศรษฐกิจพอเพียง
แปลงผักสวนครัวเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชุมชนบ้านป่ามะม่วง ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๒ ตำบลป่ามะม่วง เป็นโรงเรียนในชุมชนคุณธรรมฯ วัดอัมพวัน ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม โดยมีผู้บริหารที่มีมุมมองในการพัฒนาทั้งด้านการศึกษาควบคู่ไปกับคุณธรรม โดยยึดหลัก วินัย พอเพียง สุจริต จิตอาสา ใช้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้นักเรียนได้เรียนรู้การปลูกผัก นำไปแจกจ่ายให้กับคนในชุมชนและสามารถนำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กราบพระพุทธรูปในอุโบสถวัดอัมพวัน
วัดอัมพวันมีพระอุโบสถเก่าแก่ ประดิษฐานพระประธาน ที่มีอายุราวสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยได้รับพระราชทานวิสุคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔

กราบสักการะศาลหลักเมืองตาก
ศาลหลักเมืองตาก (ศาลเก่า) ตั้งอยู่ที่บ้านปากร้อง หมู่ที่ 6 ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งตอนนั้นเกาะตะเภายังเป็นเมืองหน้าด่านอยู่ ป่ามะม่วง ระหว่างที่พักได้พิจารณาเห็นสมควรตั้งบ้านป่ามะม่วงเป็นเมืองหน้าด่าน เพราะจะทำให้ได้เปรียบข้าศึก เหมาะสำหรับทั้งรุกและรับ ประกอบกับมีทางหนีทีไล่ที่ดีจึงมีรับสั่งให้ฝังหลักเมืองทันทีตั้งแต่บัดนั้น และยังปรากฏให้เห็นอยู่ในขณะนี้

ชมโบราณสถานวัดดอยข่อยเขาแก้ว
วัดดอยข่อยเขาแก้ว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดพระเจ้าตากสิน” เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับพระราชประวัติในการทำศึกสงคราม โดยครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ตั้งทัพหลวงในยุคสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ด้วยมีทำเลชัยภูมิที่เหมาะแก่การตั้งทัพ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดแห่งนี้ ได้แก่ พระอุโบสถ ลักษณะเป็นอาคาร ก่ออิฐถือปูนแบบ ศิลปะอยุธยา ตอนกลางถึงตอนปลายมีลานประทักษิณ และกำแพงแก้วล้อมรอบ ฐานก่ออิฐของวิหารพลับพลาที่ประทับ พลับพลาสำหรับข้าราชการตามเสด็จ พระเจดีย์ราย ๓ องค์ ศาลเสด็จแม่นกเอี้ยง และศาลเสด็จพ่อไหฮอง เป็นศาลที่ตั้งขึ้น เพื่อบูชาพระราชมารดา และพระราชบิดา ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช บ่อหมักปูนโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่าใช้หมักปูน เพื่อทำปูนปั้นประดับพระอุโบสถและวิหาร วัดดอยข่อยเขาแก้ว ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘

สักการะศาลหลักเมือง 4 มหาราช
ศาลหลักเมืองสี่มหาราช ติดถนนพหลโยธินด้านขวา เชิงสะพานกิตติขจรก่อนเข้าเมืองตาก เป็นสถานที่ที่บ่งบอกถึงความสำคัญของทำเลที่ตั้งจังหวัดตาก ที่มีความเหมาะสมในการวางแผนเตรียมการรบมาหลายยุคสมัยตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี ศาลหลักเมือง ๔ มหาราช จึงเป็นสถานที่ที่จะพาเราย้อนกลับไปสู่ความรุ่งเรือง แห่งตำนานมหาราชทั้งสี่ของดินแดนไทย อันสืบเนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เมืองตากเป็นเมืองที่มีพระมหาราชเข้าในอดีต เสด็จมาชุมนุมกองทัพถึง ๔ พระองค์ด้วยกัน

สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์วัดกลางสวนดอกไม้
วัดกลางสวนดอกไม้ มีสภาพแวดล้อมโดยรอบวัดเป็นหมู่บ้าน และภูเขา สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2459 บางครั้งเรียกกันว่า วัดกลางสวนดอก หรือ วัดสวนดอกไม้ วัดนี้มีเจดีย์เก่าเรียกกันว่าเจดีย์เสี่ยงทาย จากการกล่าวขานกันว่าพระเจ้าตากสิน เมื่อครั้งที่ได้มาเป็นเจ้าเมืองตาก ได้สร้างขึ้นไว้ก่อนแล้วต่อมาชำรุด และได้มีการบูรณะครั้งหนึ่ง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ วิหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2490 ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2522 หอสวดมนต์ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ.2517 กุฎีสงฆ์เป็นอาคารไม้ จำนวน 1 หลัง หอฉัน สร้างเมื่อปี พ.ศ.2514 และมีหอระฆัง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520

ชมการสาธิตการทำเมี่ยงโบราณ
เนื่องจากจังหวัดตากของเรามีประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง ซึ่งทำให้ในแต่ละปีมีการใช้กะลามะพร้าวเป็นจำนวนมาก ในการทำกระทง จึงได้มีการนำเนื้อมะพร้าวมาทำเป็นไส้เมี่ยง ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่ง ที่โด่งดังของจังหวัดตาก จึงเป็นอาหารทานเล่นที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวจังหวัดตาก ทำมาจากมะพร้าวแก่ ถั่วลิสง น้ำตาลทราย เกลือ กระเทียมขิงแก่ ใบมะกรูด และงาขาว มาขูดเป็นเส้นตั้งบนกระทะ ใส่น้ำมันมะพร้าว ใช้ความร้อนปานกลางเคี่ยวให้เป็นสีเหลืองแล้วจึงใส่น้ำตาลทราย เกลือ รอจนน้ำตาลทรายละลายจากนั้นใส่ส่วนผสมกระเทียม ถั่วลิสง ขิงแก่ และใบมะกรูดเคี่ยวไปจนมะพร้าวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน

ชิมก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นป้าคำบ้านป่ามะม่วง
เป็นก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นโบราณสูตรเด็ด หมักด้วยสมุนไพร และเครื่องเทศ ที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ รสชาติกลมกล่อมมีกลิ่นหอมของเครื่องเทศและสมุนไพร ในราคาย่อมเยา มีปริมาณที่คุ้มค่าเกินราคา

ชมสะพานแขวนสมโภชน์รัตนโกสินทร์ 200 ปี

เป็นสะพานที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2525 โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก อาจกล่าวได้ว่าจุดชมวิวแม่น้ำปิงที่ดีที่สุดของจังหวัดตากคือมุมมองจากบนสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีที่ใคร ๆ พากันเรียกว่า “สะพานแขวน” แห่งนี้ ที่นี่สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2525 ตัวสะพานมีขนาด กว้าง 2.50 ม. ยาว 700 ม. ฐานรากและเสาเป็นคอนกรีต จำนวน 5 จุด พื้นทำด้วยไม้โยง และยึดด้วยลวดสลิงขนาดใหญ่ บนสะพานมีระยะทางยาวประมาณ 400 เมตร ในตอนกลางคืนนั้นจะมีการประดับไฟสวยงาม ทำให้ตัวสะพานแลดูสว่างไสวโดดเด่นเหนือผืนน้ำสีเข้ม นอกจากนี้บริเวณโดยรอบสะพานยังมีสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีภูมิทัศน์สวยงาม และเป็นสถานที่ที่จังหวัดตากใช้จัดงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม