โครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริเขาชะงุ้ม

๑.โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พื้นที่บริเวณนี้เดิมทำเป็นฟาร์มปศุสัตว์และปลูกพืชไร่ มีการใช้ที่ดินอย่างผิดวิธีทำให้หน้าดินเสียหาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เกิดสภาพความแห้งแล้งโดยทั่วไปจนไม่สามารถปลูกพืชได้ หรือผลผลิตลดลง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร จึงได้พระราชทานพระราชดำริในการปรับปรุงที่ดินเสื่อมโทรมแห่งนี้ให้กลับมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถใช้ในการเพาะปลูกได้ รวมทั้งทรงยังแนะนำให้ปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริในการปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ หน่วยงานต่างๆ ได้สนองพระราชดำริด้วยการศึกษาทดลองเพื่อหาวิธีการปรับปรุงดินในพื้นที่ให้กลับนำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อีก ที่ดินแห่งนี้เหมาะแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้ทั้งความรู้ และเพลิดเพลิน พื้นที่กว่า ๘๔๙ ไร่ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ภายในมีไร่แปลงสาธิต ฐานการเรียนรู้ต่างๆ ต้นไม้ชื่อ และกิจกรรมแนะนำคือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติบนป่าเขาเขียว ระยะทาง ๑,๑๗๐ เมตร ในเส้นทางจะได้สัมผัสกับป่าเต็งและป่าเบญพรรณ จุดชมวิวบนเขาเขียวมองเห็นพื้นที่โครงการด้านล่าง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. ๐ ๓๒๒๔ ๐๘๐๓
๖.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/Khaochangoom/
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว)

ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรีวัดนาหนอง

๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน
๒.ชื่อผู้ประกอบการ ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรีวัดนาหนอง
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าจก ผ้าทอไท-ยวน
จากภูมิปัญญาการทอผ้าที่สืบทอดกันมาของชาวไท-ยวน นำมาจำหน่ายให้แก่คนทั่วไป ลวดลายสวยงาม น่าสวมใส่และบ่งบอกถึงอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุในจังหวัดราชบุรี
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ กระเป๋า/ย่ามผ้าจก (CPOT)
จากภูมิปัญญาการทอผ้าที่สืบทอดกันมาของชาวไท-ยวน นำมาต่อยอดสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ จำหน่ายสร้างรายได้ เพิ่มกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดเวลา ๐๙.๐๐ น.- ๑๗.๐๐ น. ทุกวัน
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
มือถือ ๐๘ ๑๘๖๘ ๓๔๒๖, ๐๘ ๗๙๑๗ ๔๗๓๔
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook ปู ดลตวรรณ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โรงโอ่งรัตนโกสินทร์ ๑ ราชบุรี

๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ รัตนโกสินทร์
๒.ชื่อผู้ประกอบการ นางปาลิดา ประถมภัฏ
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ โอ่งมังกร
โอ่งมังกร เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผามีลักษณะเป็นลวดลายมังกร จากตำรารอบโอ่งมีทั้งแบบที่วาดด้วยสีหรือปั้นขึ้นรูปนูนต่ำออกจากผิว ด้วยเอกลักษณ์ของดินสีแดงอันมีความเฉพาะตัว และขั้นตอนการผลิตแบบดั้งเดิม ตั้งแต่การปั้น ติดลาย เคลือบ และเตาเผา โดยใช้เชื้อเพลิงฟืน ภูมิปัญญาชาวบ้านแบบดั้งเดิม ถือเป็นสินค้าประจำจังหวัดราชบุรีมากว่า ๖๐ ปี
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ เซรามิค
ผลิตภัณฑ์เซรามิกทุกรูปแบบ ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เป็นของใช้และของที่ระลึกต่าง ๆ
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิด ๐๘.๐๐ น- ๑๗.๐๐ น. ทุกวัน
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. ๐ ๓๒๓๓ ๔๖๖๔
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook Rattanakosin Potterythai

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

บ้านไร่ปลายซอยโฮมสเตย์

๑.ประเภทของที่พัก รีสอร์ท
๒.จำนวนห้อง ๕ ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา ๕๐๐ บาท
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
– อาหารเช้า
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นางพรทิพย์ อินทปัทม์
เบอร์โทร ๐๙ ๑๐๐๓ ๘๘๙๒

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์ศึกษาการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ “ศาสตร์พระราชา”

มีวิทยากรให้ความรู้เชิงเกษตร ให้ความรู้ตามแนวพระราชดำริ “ศาสตร์พระราชา” ชี้แนะแนวทางการทำเกษตรพอเพียง สอนปลูกผักสวนครัว ทำปุ๋ย เรียนรู้พันธุ์พืช

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ตลาดนี้มีปราชญ์

เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้ เช่น ทำพวงมาลัยกระดาษทิชชู่ มัดย้อมผ้า เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านท่ามะขาม จังหวัดราชบุรี

ชุมชนบ้านท่ามะขาม เป็นชุมชนที่มีพื้นที่เป็นที่ราบสูงและที่ราบ มีภูเขาขนาบด้านซ้าย มีแม่น้ำลำภาชีไหลผ่านหมู่บ้าน สภาพแวดล้อมเป็นป่าเบจพรรณและป่าเต็งรัง คนในชุมชนมีทั้งสัญชาติไทยและสัญชาติกะเหรี่ยง มีวัดท่ามะขามที่มีโบสถ์สวยงาม มีโรงเรียนบ้านท่ามะขาม  มีแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ ตลาดโอ๊ะป่อย ตลาดไกวเปล 

ชุมชนบ้านท่ามะขาม ประชากรส่วนใหญ่มีสัญชาติไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ประมาณร้อยละ ๘๐ ผู้ที่ถือสัญชาติไทยส่วนใหญ่สืบทอดมาจากบรรพชนชาวกะเหรี่ยง แต่เกิดในแผ่นดินไทยจึงได้สัญชาติไทย คนในชุมชนยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม เช่น ประเพณีกินข้าวห่อ ประเพณีเหยียบหลังกะเหรี่ยง สรงน้ำพระ เป็นต้น มีภาษาพูด และมีการแต่งกายด้วยชุดผ้ากะเหรี่ยง อีกทั้งยังมีธรรมชาติที่สวยงาม

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดป่าท่ามะขาม
เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นที่ประดิษฐานของพระมิ่งมงคลในโบสถ์มหาอุตม์ และมีรอยพระพุทธบาทจำลอง อยู่ติดตลาดโอ๊ะป่อย

ตลาดโอ๊ะป่อย
เป็นตลาดเช้าที่อยู่ติดริมลำธารภาชี มีสินค้าจากชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในในพื้นที่มาจำหน่าย ซึ่งมีทั้งอาหารพื้นบ้าน และสินค้าหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชน มีบรรยากาศสบาย ๆ ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวยอดเขาผ้าลาย
เป็นยอดเขาที่มีความสวยงาม สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้ ๓๖๐ องศา

จุดชมวิวยอดเขาเด่นกระต่าย
เป็นยอดเขาที่มีความสวยงาม สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้ ๓๖๐ องศา

จุดชมวิวฝายน้ำล้นบ้านท่ามะขาม
เป็นแหล่งเก็บน้ำขนาดเล็กของชุมชน ที่มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นธรรมชาติ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ลุงกลึงเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นบ้านต้นแบบของบ้านท่ามะขามในการทำเศรษฐกิจพอเพียง

ไร่นาสวนผสมมหาพงษ์
เป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ของคนในชุมชนและใกล้เคียงในการศึกษาหาความรู้การทำเกษตรผสมผสาน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมตักบาตรพระล่องแพ
ตลาดโอ๊ะป่อย ทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา ๐๗.๓๐ – ๐๘.๐๐ น. จะมีการใส่บาตรพระสงฆ์ที่ล่องแพไม้ไผ่มาทางลำน้ำภาชี ให้นักท่องเที่ยวใส่บาตร เพื่อความเป็นสิริมงคล

กิจกรรมปั่นจักรยาน และวิ่งออกกำลังกาย
ถนนเส้นทุ่งกระต่าย – บ่อเก่าบน เป็นเส้นทางธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะสำหรับปั่นจักรยานและวิ่งออกกำลังกาย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี

ครั้งที่รัชกาลที่ ๕ พระราชทานชื่อตำบลแห่งนี้ว่า “เจ็ดเสมียน” ชุมชนเจ็ดเสมียนเป็นชุมชนเก่าแก่ ตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ริมน้ำกันมายาวนาน นับวันเวลาจนถึงตอนนี้มีอายุประมาณ ๑๑๙ ปี (นับถึงปี ๒๕๖๑)  การคมนาคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจึงมีความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำ ก็สามารถล่องมาตามแม่น้ำ แม่กลอง รวมไปถึงเส้นทางรถไฟ

ชุมชนคุณธรรมวัดเจ็ดเสมียน มีอัตลักษณ์และความโดดเด่นของชุมชน งานประเพณีที่ทางชุมชนจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ และยาวนานมากว่า ๑๐๐ ปี เป็นความร่วมมือร่วมใจของประชาชนตำบลเจ็ดเสมียน ที่ร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ผลิตภัณฑ์จากกาบกล้วย เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พวงมาลัยจากกระดาษทิชชู่ อาหารขึ้นชื่อที่รู้จักในวงกว้างคือ ผลิตภัณฑ์จากไชโป้ว 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

สวนศิลป์บ้านดิน
เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติได้ มีการสาธิต และฝึกปฏิบัติ 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวริมแม่น้ำ แม่กลอง
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองบริเวณตลาดเจ็ดเสมียน ๑๑๙ ปี เป็นสถานที่นั่งพักผ่อน ชมวิวทิวทัศน์ริมแม่น้ำแม่กลอง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์ศึกษาการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ “ศาสตร์พระราชา”
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง “ศาสตร์พระราชา” เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มีการเลี้ยงไก่ ปลูกพืชผักสวนครัว ทำเกษตรแบบอินทรีย์ 

ศูนย์การเรียนรู้เกษตรรุ่นใหม่ P.R Model

เป็นเกษตรผสมผสาน จำนวน ๒๕ ไร่ เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา ปลูกผักสวนครัว ทำปุ๋ยอินทรีย์ เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร ปลูกพืชผสมผสาน โดยไม่ใช้สารเคมี

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การประดิษฐ์พวงมาลัยทิชชู่
สวนศิลป์บ้านดิน สาธิตการทำดอกมะลิจากทิชชู่ และร้อยเป็นพวงมาลัย

ผ้าพิมพ์ลายจากใบไม้ธรรมชาติ
สวนศิลป์บ้านดิน สาธิตการพิมพ์ลายจากใบไม้ นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมลองลงมือปฏิบัติ 

งานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์
ชุมชนวัดเจ็ดเสมียน ประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ จะจัดขึ้นช่วงเดือนเมษายน หลังวันสงกรานต์ไปแล้ว ประมาณวันที่ ๑๙ เมษายน ของทุกปี เป็นประเพณีที่สืบทอดยาวนาน มากกว่า ๑๐๐ ปี 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง จังหวัดราชบุรี

ชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดราชบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีภูเขาเล็ก ๆ มีลำห้วยเล็ก ๆ ๒ สาย คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน ทำไร่ และ สืบเชื้อสายชาติพันธุ์ไท-ยวน มีวิถีชีวิตวัฒนธรรม ประเพณีเป็นอัตลักษณ์ ยึดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาพุทธ มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน

ชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง คนในชุมชนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายชาติพันธุ์ไท-ยวน มีบรรพบุรุษอพยพมาจากตอนเหนือของไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ทำให้มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ ทั้งภาษาพูด การแต่งกาย การทอผ้าจก อาหารชาติพันธุ์ และมีประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างประเพณีบุญเดือน ๓ ตักบาตรข้าวต้มมัด หรือการตักบาตรเทโวช่วงเทศกาลออกพรรษา การเทศน์มหาชาติ

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

รอยพระพุทธบาท บนยอดเขา
บนยอดเขามีมณฑปเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท และพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ทางขึ้นมีบันไดนาค ตั้งอยู่ในบริเวณวัดนาหนอง ประชาชนสามารถขึ้นไปกราบนมัสการได้ทุกวัน โดยจะจัดงานปิดทองรอยพระพุทธบาท เป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓  

จิตรกรรมฝาผนัง และธรรมมาสน์ทรงบุษบก
ภายในศาลาการเปรียญ วัดนาหนอง ที่กระดานคอสองมีจิตรกรรม เรื่องราวพระพุทธประวัติ เรื่องทศชาติชาดก และภาพปริศนาธรรม จิตรกรรมฝาผนังนี้ มีคุณค่าด้านศิลปะ คุณค่าทางศาสนา คุณค่าทางโบราณคดี และมีธรรมมาสน์ทรงบุษบก ฝีมือช่างชาวอัมพวาวางอยู่กลางศาลา ๑ หลัง 

ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรี วัดนาหนอง
มีอาคารตั้งอยู่ในวัดนานอง เป็นสถานที่อนุรักษ์และศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าจก ผ้าทอไท-ยวน โดยศูนย์ฯ นี้เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มทอผ้าของชาวบ้าน เมื่อว่างจากทำนาทำไร่ ชาวบ้านจะนำผ้าทอมาจำหน่ายที่ศูนย์ฯ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งผ้าทอมีหลายแบบหลายลวดลาย ทั้งแบบดั้งเดิม และแบบประยุกต์ ไว้ 

ต๋าหลาดไท-ยวน วัดนาหนอง
เป็นตลาดชุมชน เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ร่วมใจของชาวบ้านในชุมชนตำบลดอนแร่ และวัดนาหนอง ที่ต้องการสร้างอาชีพเสริมให้คนในชุมชน ตลาดเปิดทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.  เป็นตลาดวิถีชุมชน จำหน่ายพืชผัก สินค้าการเกษตร  ของกิน ของใช้ ผ้าทอ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีของชาวไท-ยวน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวทุ่งนา สะพานไม้
ตั้งอยู่ริมถนน บริเวณตรงข้ามต๋าหลาดไท – ยวน  เป็นทุ่งนาสีเขียว มีซุ้มมุงจาก ให้นั่งพักผ่อน มีสะพานไม้ให้เดินเล่นชมวิว ถ่ายรูป เช็คอิน สัมผัสธรรมชาติแบบชนบท

จุดชมวิวบนยอดเขารอยพระพุทธบาท
ทางขึ้นสู่ยอดเขา อยู่ในบริเวณวัดนาหนอง เดินขึ้นบันได ๑๓๐ ขั้น ชมวิวมุมสูงตำบลดอนแร่

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ครัวชุมชนวัดนาหนอง
เป็นความร่วมมือของชุมชน และวัด ปลูกพืชผักต่าง ๆ หมุนเวียนกันไป และทำโรงเห็ด โดยจะมีกลุ่มสตรีช่วยกันดูแลเก็บเห็ดไปจำหน่าย สร้างรายได้เสริม และนำพืชผักไปบริโภคในครัวเรือน

ไร่แสวงสุขโฮมสเตย์
เป็นไร่ที่ปลูกพืชผักปลอดสารพิษหลากหลายชนิด เป็นสถานที่เรียนรู้วิถีเกษตรชุมชน และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม