ชุมชนท่องเที่ยวบางปู ล่องเรือชมวิถีชีวิตรอบอ่าวปัตตานีและชมอุโมงค์ป่าโกงกาง

๑. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เสน่ห์ของชุมชนท่องเที่ยวบางปู ช่วงเช้าขึ้นเรือลอดอุโมงค์โกงกางและดูวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน รับประทานอาหารทะเลสด ๆ จากชาวประมงพื้นบ้านช่วงเย็นได้ดูนกกลับเข้ารัง เช้าๆ นกจะออกไปหากิน เย็นๆ ก็จะกลับมา จำนวน 10,000 กว่าตัวที่กลับมาเข้ารัง ช่วงกลางคืนดูหิ่งห้อยจำนวนนับล้าน ๆ ตัวที่เกาะอยู่ตามใบของต้นลำพู หิ่งห้อยจะมีตั้งแต่เดือน พฤษภาคม-ตุลาคม จุดไฮไลท์อีกจุดของชุมชน คือ สะพานไม้สายรุ้ง และอนุสาวรีย์ปู
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เวลา 08.30-18.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ลอดอุโมงค์ นวดฝ่าเท้าบนรากโกงกาง หาหอยกัน(ลอแก) ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน จับกุ้งด้วยมือเปล่า นั่งเรือชมอาทิตย์อัสดงยามเย็น ชมนกบินกลับรัง ค่ำคืนล่องเรือชมหิ่งห้อย
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
– มูฮำหมัดซูการดี สาเหาะ โทร 08 1805 8761
-เจะสตอปา เจะมะ โทร 08 1388 3046
๗.ช่องทางออนไลน์
– Facebook: Kandee
-Facebook page :ชุมชนท่องเที่ยวบาลาดูวอ
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ลานจอดรถ ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

แม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม

ที่ตั้ง 9 หมู่ 5 ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210
๑.แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลท่ามะขามเฒ่า บริเวณปากคลองแม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลมะขามเฒ่า บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า และมาหักเลี้ยวเป็นแยกแม่น้ำที่ไหลไปเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกทีตรงที่เป็นพื้นที่ปากคลอง ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมืองชัยนาท กับฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกหลายชื่อ ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า “คลองมะขามเฒ่า” ตอนที่ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรีเรียกว่า “แม่น้ำสุพรรณบุรี” ตอนที่ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า “แม่น้ำนครชัยศรี” ส่วนตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า “แม่น้ำท่าจีน”
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.00 – 17.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
สิงหาคม – มีนาคม
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
– เรือข้ามฟาก คนละ 20 บาท
– ล่องเรือ เริ่มต้น 80 บาท/คน แบบเหมาลำ 1,500 บาท/ 3,500 บาท/ 7,000 บาท
– พายเรือและsup board เริ่มต้นชั่วโมงละ 300 บาท/คน ชั่วโมงถัดไป 100 บาท/คน
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
เรือข้ามฟาก, ล่องเรือกระแชง, พายเรือ, sup board
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
6.1 นางสาวนฤมล นิ่มอนงค์ โทรศัพท์ 08 1659 5805
๗.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ท่าเรือศรีสวัสดิ์ย้อนยุคและบ้านสวนบางเตย
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ล่องเรือมาดชมปากอ่าวสลักคอก จังหวัดตราด

ที่ตั้ง ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 23170
๑.กิจกรรมล่องเรือมาดตั้งอยู่ที่ชุมชนบ้านสลักคอก หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะช้างใต้ ดำเนินการโดยชมรมนำเที่ยวพื้นบ้านสลักคอก โดยได้ต้นแบบเรือมาจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือมาจากเรือล่องแม่น้ำสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเรือแจวหลัดคู่ นั่งได้ 4 คน มีเก้าอี้พนักพิงให้นั่ง 2 ข้าง มีโต๊ะอยู่ตรงกลางพร้อมร่มสีขาวดูสวยงาม จนได้ชื่อเรียกว่า เรือกอนโดลาเกาะช้าง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน 06.00-08.00 น. และ 16.00 – 17.00 น. 
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เที่ยวได้ตลอดปี ทั้งนี้ช่วงเดือนพฤศจิกายน –เดือนเมษายน จะเป็นช่วงที่อากาศปลอดโปร่งที่สุด 
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
ค่าเรือ คนละ 200บาท
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
-ชมป่าชายเลน ออกปากอ่าวสลักคอก ในบรรยากาศทะเลอ่าวไทย 
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 08 7748 9497
๗.ช่องทางออนไลน์ –
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

ที่ตั้ง ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร

๑. เขื่อนจุฬาภรณ์มีลักษณะเป็นเขื่อนแบบหินถม แกนกลางเป็นดินเหนียวบดอัดทับแน่นด้วยหินและกรวดสันเขื่อนยาว ๗๐๐ เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 188 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า การชลประทาน และเป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลาน้ำจืด นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งมีกิจกรรมรองรับนักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้ร่วมกิจกรรม เช่น ห้องประชุมสัมมนา มีห้องพัก มีสนามกอล์ฟ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวพักค้างคืนได้ ๑๖๐ คน/วัน ชมทิวทัศน์เหนือเขื่อน และล่องเรือชมทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิด เวลา ๐๗.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. เปิดทุกวัน
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ช่วงเวลาที่น่าเที่ยวที่สุดคือ ปลายฝน ต้นหนาว แต่ก็สามารถเที่ยวได้ทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
เขื่อนจุฬาภรณ์ มีสนามกอล์ฟ มีอาคารที่พัก
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๓๗๑ ๐๙๖๑
๐๘ ๑๑๕๓ ๙๑๖๖
๗.ช่องทางออนไลน์
Facebook เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โรงแรมเจ้าพระยาธารา จังหวัดชัยนาท

ที่ตั้ง 1013 หมู่4 ตำบลบ้านกล้วย อำเภอมือง จังหวัดชัยนาท

๑.ประเภทของที่พัก โรงแรม
๒.จำนวนห้อง 32 ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา
ห้องพัก Standard Superior Delux Suit Family Room
ราคา(บาท) /900/1,500/1,200/5,000/3,500
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
– ประชุม สัมมนา จัดเลี้ยง รองรับได้ 500 ท่าน ร้านอาหารปักษาชมบัว ล่องเรือเจ้าพระนาธารา (ไหว้พระ ดินเนอร์ ล่องเรือแบบ VVIP) บริการรถตู้
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 09 6778 4457
๖.ช่องทางออนไลน์ Facebook : โรงแรมเจ้าพระยาธาราริเวอร์ไซด์
เว็บไซต์ : www.Chaophayathara.com
ID Line : 09 6778 4457

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

บ้านภัทรธารา ฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง 224 ประชาเนรมิตร ตำบล บางคล้า อำเภอบางคล้า ฉะเชิงเทรา
๑. ประเภทของที่พัก (โฮมสเตย์)
๒. จำนวนห้อง ๘ ห้อง
๓. ประเภทห้องพัก/ราคา
ห้องพัก Standard ๑,๒๐๐ / Superior ๑,๕๐๐ / Family Room ๑,๙๐๐
๔. สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
ล่องเรือชมแม่น้ำบางปะกง ร้านกาแฟ ร้านอาหารริมน้ำ Wifi
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร 09 7182 0591 หรือ 09 6137 2098
๖. ช่องทางออนไลน์
ID Line:faiibkhla

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านปากบางนาคราช จังหวัดพัทลุง

บ้านปากบางนาคราช เดิมชื่อ บ้านบางนางลาด  ในอดีตมีตำนานเล่าว่าคลองนาคราชมีพญานาคเลื้อยผ่านมาทางทะเลสาบสงขลาและเลื้อยผ่านเข้าคลองปากบาง ชาวบ้านตั้งชื่อบ้านปากบางตามตำนานคลองนาคราช มีจำนวนประชากร จำนวน 387 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การประมงในทะเลสาบ ประชาชนในชุมชนมีการนับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ความเข้มเข็งของชุมชนคุณธรรมบ้านปากบางนาคราช ได้มีการน้อมนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตจึงทำให้คนชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

 “ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งตำนานพญานาค มากศิลปวัฒนธรรม ล้ำค่าทรายล้าง สร้างรายได้ให้ชุมชน  ผู้คนนับถือตาหลวงแมว”

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

เกาะสี่ – เกาะห้า (แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์) ในปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสทะเลสาบสงขลา และประทับแรมบนเกาะหมาก และปรากฏพระปรมาภิไธย ที่สลักบนผาหน้าถ้ำบนเกาะเทวดาชุมชนจึงได้มีการสร้างพระบรมรูป ร.๕ บนเกาะรังนก ซึ่งพระปรมาภิไธยจะอยู่บริเวณหลังพระบรมรูป

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

เกาะสี่ เกาะห้า ในปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสทะเลสาบสงขลา และประทับแรมบนเกาะหมาก และปรากฏพระปรมาภิไธย ที่สลักบนผาหน้าถ้ำบนเกาะเทวดาชุมชนจึงได้มีการสร้างพระบรมรูป ร.๕ บนเกาะรังนก ซึ่งพระปรมาภิไธยจะอยู่บริเวณหลังพระบรมรูป

เกาะกระ สักการะรูปเหมือนหลวงปู่ทวด  เจ้าแม่กวนอิม

คลองปากบางนาคราช ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่สวยงามของต้นลำภู ต้นสมอ ป่าชายเลน และนกนานาชนิด

หน่วยพิทักษ์ป่าอ่าว ท่ายาง แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำทะเล

เกาะโคบ
– ลานยอยักษ์
– ควายน้ำ
– นกหลากหลายชนิด

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านนายสมพร สุวรรณเรืองศรี เรียนรู้การปลูกพืชผักแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี เลขที่ 66 หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

ศูนย์เรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์ประมงอินทรีย์ บ้านช่องฟืน เรียนรู้การแปรรูปจากอาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง บ้านช่องฟืน ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

การแสดงมโนราห์ของกลุ่มเด็กเยาวชน มโนราห์คณะชาตรี  เลขที่ ๔๓/๔ หมู่ที่ ๕ ตำบลเกาะหมากเด็กเยาวชนฝึกซ้อมการแสดงมโนราห์ เพื่อนำไปแสดงในงานประเพณีต่าง ๆ ของชุมชน และต้อนรับนักท่องเที่ยว

ประติมากรรมทราย บ้านนายพิชัย จันทร์สว่าง เลขที่ ๙๔/๒ หมู่ที่ ๙ ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง  โทรศัพท์ ๐๙ ๘๐๑๕ ๒๘๑๘ ประติมากรรม และผลิตภัณฑ์จากทรายล้าง เช่น กรอบรูป กระถางต้นไม้ แจกัน

ไข่ในหิน บ้านนางปราณี ทองคำ  เลขที่ ๑๐ ม.๗ บ้านเขาชัน  ต.เกาะหมาก  อ.ปากพะยูน  จ.พัทลุง ไข่เค็ม นำกรวดทรายล้างมาพอกทำให้ไข่เค็มมีอร่อย ไม่เค็มมาก และใช้ไข่เปิดไล่ทุ่ง เลี้ยงแบบธรรมชาติ

ล่องเรือ คลองปากบางนาคราช และทะเลสาบสงขลารอบเกาะหมาก ล่องเรือชมธรรมชาติคลองปากบางนาคราช ป่าชายเลน วิถีชาวประมง และหมู่เกาะในทะเลสาบสงขลารอบ ๆ ตำบลเกาะหมาก

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดศรีคุนเมือง จังหวัดเลย

ชุมชนคุณธรรมวัดศรีคุนเมือง เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอเชียงคาน และจังหวัดเลย โดยมีวัดศรีคุนเมือง หรือวัดใหญ่ เป็นวัดเก่าแก่ คู่เมืองเชียงคานและเป็นศูนย์กลางของชุมชน ลักษณะบ้านเรือนในชุมชน เป็นกลุ่มบ้านไม้โบราณทอดยาวขนานกับแม่น้ำโขง 

คนในชุมชนยึดมั่นในหลักศาสนา ยิ้มง่าย ใจดี มีมิตรไมตรีที่ดีแก่ผู้มาเยือน ทัศนียภาพบ้านไม้ริมโขง ที่สวยงาม เห็นแล้วทำให้รู้สึกโปร่ง โล่ง สบายใจ เหมาะกับการมาพักผ่อนทอดสายตาดูสายน้ำโขงที่มีให้ชมตลอดปี อุดมสมบูรณ์ด้วยปลาและกุ้งจากแม่น้ำโขง ดำรงชีวิตโดยสืบทอดประเพณีและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดศรีคุนเมือง
เป็นวัดเก่าแก่ที่รวมศิลปะล้านนาและล้านช้าง สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2485 สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเชียงคาน อีกทั้งเป็นแหล่งเก็บรวบรวมพุทธศิลปะเก่าแก่อันทรงคุณค่า เช่น ธรรมาสน์ไม้สักแกะสลักลายประดับกระจกสี
พระพุทธรูปยืนชนิดไม้ทำน้ำทอง

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดศรีคุนเมือง
จัดแสดงวิถีชีวิตของชาว เชียงคาน และเรียนรู้ การทำผาสาดลอยเคราะห์ โดยปราชญ์ชาวบ้าน

วัดมัชฌิมาราม (วัดป่ากลาง)
ระยะทาง 0.60 กม. จากชุมชนคุณธรรมฯ วัดศรีคุนเมือง มีพระประธานในอุโบสถเป็น พระพุทธ รูปปูนปั้นปางมารวิชัย ภายในบริเวณวัด มีอาคารส้วมโบราณ ซึ่งชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี

วัดมหาธาตุ
เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของเมืองเชียงคาน ไปชมพระอุโบสถไม้เก่าแก่รูปแบบล้านช้าง ภายในประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่ บริเวณหน้าจั่วมีภาพเขียนบอกเล่าเรื่องราวประวัติเมืองเชียงคาน และมีเจดีย์ก่ออิฐที่เชื่อกันว่าสร้างทับรูพญานาค

วัดท่าคก
เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้น ปี พ.ศ. 2395 เพื่อป้องกันการรุกรานจากฝรั่งเศส พบอุโบสถก่ออิฐถือปูนศิลปะล้านช้างที่ด้านหน้าและขอบหน้าต่างมีศิลปะลวดลายแบบฝรั่งเศส

วัดพระพุทธบาท ภูควายเงิน
วัดพระพุทธบาทภูควายเงินสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2300 เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเขาสูง จากระดับน้ำทะเล 400 เมตร มีรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนหินลับพร้า (หินลับมีด) ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยแตก แต่ไม่มีอักษรจารึกขนาดกว้างประมาณ 1 ศอก ยาวประมาณ 1 วา รูปลักษณะเหมือนรอยพระพุทธบาทจริง

พิพิธภัณฑ์ประมงพื้นบ้าน
พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวประมงเชียงคาน “ประมงไทบ้านเล่าขานน้ำของ” เครื่องมือประมงพื้นบ้าน ลงเรือชมวิธีการหาปลาในแม่น้ำโขง ชมทัศนียภาพสองริมฝั่งโขง

บ้านไม้โบราณ
ชุมชนที่ยังคงสถาปัตยกรรมบ้านไม้โบราณริมฝั่งโขง อาคารพาณิชย์ในแบบสมัยโบราณ
เป็นอัตลักษณ์และเสน่ห์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวอยากมาสัมผัส

ถนนคนเดินเชียงคาน
ตลาดถนนคนเดินวิถีเชียงคาน    มีอาหารท้องถิ่นขึ้นชื่อ เช่น มะพร้าวแก้ว จุ่มนัว ข้าวจี่ กุ้งเสียบ และเมี่ยงโค้น การใช้ภาษาไทเชียงคาน บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ทางภาษาที่โดดเด่นของคนเชียงคาน ตอนเช้าการตักบาตร ข้าวเหนียวบริเวณหน้าที่พัก ถนนคนเดินเชียงคาน

หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ
บ้านนาป่าหนาด ชมพิพิธภัณฑ์ไทดำ ศูนย์วัฒนธรรมฅนไทดำ เฮือนอ้ายเอ้ม แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทดำ และศูนย์เรียนรู้ผ้าทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมฯ หมู่ 12

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวริมแม่น้ำโขง
แม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน  จึงทัศนียภาพริมโขงที่สวยงาม เห็นแล้วทำให้รู้สึกโปร่ง โล่ง สบายใจ เหมาะกับการมาพักผ่อนทอดสายตาดูสายน้ำโขงที่มีให้ชมตลอดปี

แก่งคุดคู้
แหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำโขง ที่มีแก่งหินใหญ่ขวางอยู่กลางแม่น้ำโขง

ภูทอก
จุดชมทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้น และวิวทิวทัศน์ 360 องศา บนภูเขาที่ไม่ไกล และเดินทางสะดวก

พระใหญ่ภูคกงิ้ว สกายวอล์กเชียงคาน
สักการะพระพุทธรูปปางลีลาประทานพร องค์พระใหญ่ที่มีความสูง 19 เมตร   สิ่งศักดิ์สิทธิคู่บ้านคู่เมืองเชียงคานงามสง่าบนยอดภู และสกายวอล์ก ชมวิวแห่งใหม่ ที่สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงาม มองเห็นแม่น้ำสองสี คือ จุดบรรจบกันของแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนผลไม้บ้านบุฮม
สวนผลไม้บ้านบุฮม ที่สามารถปลูกทุเรียนพันธุ์คักเลย รสชาติอร่อยและสวนมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ทั้งส่งออกต่างประเทศและส่งขายภายในประเทศ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การใส่บาตร- ข้าวเหนียว ถวายจังหัน
ถนนชายโขง (ถนนคนเดิน) ระยะทาง 2 กิโลเมตรเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเมืองเชียงคานจะมีขึ้นในเวลาประมาณ 06.00 น. ของทุก ๆ วัน  แต่งกายด้วยชุดสุภาพ ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว มีผ้าพาดที่ไหล่เหมือนกัน ปูเสื่อหน้าบ้าน แล้วนั่งรอพระสงฆ์ออกบิณฑบาตในช่วงเวลาใกล้รุ่ง การตักบาตรนั้นจะหยิบข้าวเหนียวด้วยมือเปล่าขนาดพอดีคำ ค่อย ๆ ใส่ลงในบาตรด้วยความอ่อนน้อม ส่วนสำรับกับข้าวคาวหวานอื่น ๆ นอกเหนือจากข้าวเหนียวนั้นจะมีชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งนำไปจัดพาข้าว ถวายจังหันที่วัดอีกครั้งหนึ่ง

การทำผาสาด ลอยเคราะห์
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช วัดศรีคุนเมือง พิธีกรรมสืบทอดจากโบราณของชาวเชียงคาน เพื่อเสริมดวงชะตา เรียกขวัญกำลังใจ และปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนที่ผูกพันกับแม่น้ำโขง นักท่องเที่ยวที่มาเยือน สามารถสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีค่า ด้วยการร่วมทำผาสาดด้วยตนเองตามรูปแบบความเชื่อโบราณ จากนั้น หมอพิธีจะใช้คาถาบูชาสวดสะเดาะเคราะห์ที่ชื่อว่า “อุปปาตะสันติคาถา”  ซึ่งเป็นคาถาเฉพาะสำหรับพิธีการปัดเป่าทุกข์ เคราะห์กรรม ความพ้นจากโรคและภยันตรายทั้งปวง ตลอดเป็นธรรมคำสอน ที่เป็นเครื่องสงบขอความเป็นสรรพมงคลความสุขแก่ผู้สะเดาะเคราะห์ แล้วจึงนำผาสาดไปลอยในแม่น้ำโขง

ล่องเรือ
กลุ่มประมงพื้นบ้าน ลงเรือชมวิธีการหาปลาในแม่น้ำโขง ชมทัศนียภาพสองริมฝั่งโขงและเลือกซื้อพวงกุญแจปลาแม่น้ำโขงเป็นของฝาก

ปั่นจักรยานเลาะริมโขง
ถนนคนเดิน (ถนนชายโขง)  จนถึงแก่งคุดคู้ ปั่นจักรยานชมทัศนียภาพริมแม่น้ำโขงและวิถีชีวิต

ฟ้อนพื้นบ้าน
วัดศรีคุนเมือง เป็นการแสดงเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวและงานประเพณี มีความเป็นเอกลักษณ์
คือ การใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน จำนวน 3-4 ชิ้น เช่น กลอง ฉาบ แคนและระนาด เนื้อร้องจะมีความสนุกสนาน ที่แต่งมาแล้วหรือมีแต่งสดในขณะแสดง เพื่อเกิดความสนุกสนาน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมได้

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านวังส้มซ่า จังหวัดพิษณุโลก

หมู่บ้านวังส้มซ่า เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่อีกหมู่บ้านหนึ่งของตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นที่เล่าสืบต่อกันมาว่า บริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านมีแม่น้ำน่านไหลผ่านทางริมฝั่งทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีบริเวณวังน้ำ และมีต้นส้มซ่าผลไม้ประจำถิ่นขนาดใหญ่ และบริเวณใกล้เคียงก็มีต้นส้มซ่าจำนวนมาก

หมู่บ้านวังส้มซ่า ตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ที่มาของคำว่า “วังส้มซ่า” ว่าเกิดจากการนำคำสองคำมาเชื่อมติดกันคือคำว่า “วัง” และคำว่า “ส้มซ่า” โดยคำว่า วัง หมายถึง สถานที่หรือบริเวณที่มีห้วงน้ำลึก ส่วนคำว่า ส้มซ่า หมายถึง พืชไม้ผลตระกูลส้มชนิดหนึ่งที่พบได้มากในบริเวณนี้  ดังนั้น แสดงว่าในอดีตส้มซ่า เป็นพื้นไม้ผลที่พบได้มาก และเป็นพืชประจำท้องถิ่นของหมู่บ้านวังส้มซ่า

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสะกัดน้ำมัน
เมื่อพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระมหินทราธิราช เดินทางมาจากอยุธยาด้วยทางเรือ ก็มีพระประสงค์ที่จะมารับสมเด็จพระนเรศวร และพระเอกาทศรถ ซึ่งยังทรงพระเยาว์ พระมหาธรรมราชา ซึ่งครองเมืองพิษณุโลกก็ไม่ประสงค์ให้สองพระองค์มารับหลาน ๆ ไป จึงได้เทน้ำมันลงในน้ำ และจุดไฟเพื่อสกัดเรือไว้พระมหาจักรพรรดิ จึงโปรดให้สกัดน้ำมันไว้ไม่ให้ไหลมาถูกเรือ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า ‘สะกัดน้ำมัน’ วัดนี้จึงมีชื่อว่า วัดสะกัดน้ำมัน

ศาลเจ้าแม่ทับทิม
ศาลเจ้าแม่ทับทิม ศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสายจีน บ้านวังส้มซ่า เรียนรู้ประวัติและประเพณีลอยเรือสำเภากราบไหว้ขอพรเจ้าแม่ทับทิม
ตามความเชื่อของคนไทย เชื้อสายจีน ในเรื่องของความรู้ สติ ปัญญา ความเจริญรุ่งเรือง นำไปสู่การดำเนินชีวิตอันประสบความสำเร็จในทุกด้านประกอบกิจการค้าก็จะเจริญรุ่งเรือง พบแต่ความสุข และเป็นสิริมงคล

ศูนย์เรียนรู้ชาวจีน
แหล่งรวบรวมของโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าอายุเก่าแก่ที่สุด 100 ปี

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิว
ชมวิวริมฝั่งแม่น้ำน่านพร้อมสักการะหลวงพระปฐมทันใจองค์ใหญ่

ถนนสายธรรมชาติ
จุดแวะถ่ายรูปข้างทางเห็นวิวทิวทัศน์ของท้องทุ่งนาในยามเย็น พระอาทิตย์กำลังตกดิน สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ถนนสายกะหล่ำปลี
ชุมชนบ้านวังส้มซ่านี้นอกจากจะมี ‘ส้มซ่า’ เป็นผลผลิตหลัก และยังสามารถนำมาแปรรูป สร้างสรรค์เป็นสินค้าสร้างรายได้หลากหลายแล้ว ชาวบ้านที่นี่ก็ยังมีบางส่วนที่นิยมปลูกกะหล่ำปลี กันยาวตลอดเส้นถนน จนเกิดเป็น “ถนนสายกะหล่ำ” เป็นอีกหนึ่งอาชีพ และสร้างรายได้ให้ชุมชน ซึ่งเป็นกะหล่ำปลีปลอดสารพิษทานอร่อย แล้วยังดีต่อสุขภาพ

ป่าครอบครัว
พื้นที่ป่าครอบครัวชื่นชมความสวยงาม ความสำเร็จ และเพลิดเพลินในป่าครอบครัวได้ความรู้มีประสบการณ์ใหม่บนพื้นฐานความรับผิดชอบ  มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่แห่งนั้น

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ใส่บาตรพระตอนเช้า
บ้านวังส้มซ่านักท่องเที่ยวสามารถใส่บาตรพระสงฆ์ได้บริเวณหน้าที่พัก

ล่องเรือ
แม่น้ำน่าน จุดให้บริการล่องเรือแม่น้ำน่าน ชมวิวทิวทัศน์ สะพานแขวนแม่น้ำน่านและยังสามารถพายเรือข้ามฝั่งไปนมัสการหลวงพ่อทันใจ

กิจกรรมทำส้มฉุนชาววัง
ศูนย์เรียนรู้บ้านวังส้มซ่า ส้มฉุนเครื่องหวานโบราณสมัย ร.2 ปรากฏอยู่ในกาพย์เห่เรือ ส้มฉุนต้องมีส้มซ่า เป็นส่วนผสมในน้ำเชื่อม และผิวส้มซ่าหั่นฝอยโรยหน้าเมนูส้มซ่า

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพิทักษ์โสภณ จังหวัดปราจีนบุรี

ชุมชนคุณธรรมวัดพิทักษ์โสภณ (หนองงูเหลือม) เป็นชุมชนขนาดเล็ก ที่มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นชุมชนที่มีความสะอาด อากาศและสภาพแวดล้อมดี ในชุมชนชาวบ้านอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยใช้หลักการปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถืออย่างสม่ำเสมอ นำมาปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย คนในชุมชนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ชุมชน โดยยึดหลัก “พึ่งตนเอง” 

ชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดพิทักษ์โสภณ เป็นชุมชนสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นพื้นบ้าน เป็นชุมชน “บ้าน 3 นา” มีนากก นาข้าว และนาหนอง (บ่อปลาขนาดใหญ่) มีการน้อมนำหลักปรัชญาพอเพียงด้วยการขับเคลื่อนพลังบวร บ้าน วัดและโรงเรียนมีส่วนร่วมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ชุมชนมีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีชีวิตพื้นบ้าน กิจกรรมท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วม เช่น การการทำอาหารพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ” 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์เรียนรู้การทอเสื่อกกบางพลวง
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยนำต้นกกมาแปรรูปได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น กระเป๋า รองเท้า เสื่อพับ เสื่อผืน หมอน กล่องใส่ทิชชู ที่รองแก้ว รองจาน และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 98 คน ซึ่งปกติแล้วชาวบ้านจะมีการปลูกต้นกกหลังคาละ1-2 ไร่ ระยะการปลูกประมาณ 2-3 เดือน โดยประมาณ หลังจากที่ต้นกกโตเต็มที่ชาวบ้านก็จะตัดต้นกกมาให้ทางวิสาหกิจชุมชนเพื่อทำการเข้าขั้นตอนการแปรรูป

กิจกรรมชมวัด นมัสการหลวงพ่อกนก
วัดพิทักษ์โสภณ ที่ตั้ง หมู่ที่  9 ตำบล  บางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

วิถีชีวิตบ้านบางพลวง ลำคลองบัวเผื่อน/ชมนกน้ำ “นกงู/กาน้ำ”
หมู่ ๙ ตำบลบางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัด  ปราจีนบุรี
วิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี
กิจกรรมล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี ล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี” (อำเภอเมืองปราจีนบุรี – อำเภอบ้านสร้าง) ชมวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำกับการทำประมงพื้นบ้าน ชมทิวทัศน์สองฟากฝั่งลำน้ำ  นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามสายน้ำแห่งชีวิต  ชิมอาหารพื้นบ้าน

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ “โคกหนองนาโมเดล” สวน ๓ ก
หมู่ ๙ ตำบลบางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัด  ปราจีนบุรี

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ปั่นจักรยานชมทุ่งนาข้าว นากก นาโซล่าเซลล์

บ้านบางพลวง
สะพานไม้ไผ่ทุ่งบางสนม ม.7 ต.บางกระเบา  อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ประจำ  อ.บ้านสร้าง ซึ่งชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นบ้านคลองบางสนม ได้ร่วมแรงร่วมใจทำสะพานไม้ไผ่ ผุดแลนด์มาร์กใหม่สะพานไม้ไผ่ชมทุ่งบางสนม ด้วยการรวมใจของชาวบ้านด้วยระยะทางยาวกว่า 150 เมตร
กินกุ้งตกปลา
ร้านป้าชุ่ม/แม่น้ำปราจีนบุรี บ้านหนองงูเหลือมตำบลบางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี กิจกรรมล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี ล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี” (อำเภอเมืองปราจีนบุรี – อำเภอบ้านสร้าง) ชมวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำกับการทำประมงพื้นบ้าน ชมทิวทัศน์สองฟากฝั่งลำน้ำ  นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามสายน้ำแห่งชีวิต  ชิมอาหารพื้นบ้าน
ล่องเรือ ชมวิถีชีวิตริมฝั่งน้ำปราจีนบุรี
ร้านป้าชุ่ม/แม่น้ำปราจีนบุรี บ้านหนองงูเหลือมตำบลบางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี กิจกรรมล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี ล่องเรือแม่น้ำปราจีนบุรี” (อำเภอเมืองปราจีนบุรี – อำเภอบ้านสร้าง) ชมวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำกับการทำประมงพื้นบ้าน ชมทิวทัศน์สองฟากฝั่งลำน้ำ  นมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามสายน้ำแห่งชีวิต  ชิมอาหารพื้นบ้าน
ชมบึงบัวแดง และคลองบัวสี
บ้านหนองงูเหลือมตำบล  บางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี พายเรือชมบึงบัวแดง บัวสี
พายเรือชมหิ่งห้อย คลองบางสนม
บ้านป้าชุ่ม ทุ่งนากก ตำบล  บางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี ชุมชนคลองบางสนม เป็นชุมชนที่มีการอนุรักษ์ สืบสานและต่อยอด มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านอาหารไทย และงานหัตกรรม การทอเสื่อกก โดยมีคำขวัญชุมชนว่า ” ปั่นจักยานชมทุ่ม กินกุ้งตกปลา ชมวิถีชีวิตชาวนาไทย เรืองไสวหิ่งห้อย น้ำคลองบางสนม “
ชมแปลงเกษตรอินทรีย์
บ้านหนองงูเหลือม ตำบล  บางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี ศึกษาเรียนรู้วิธีการทำแปลงเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมงานหัตถกรรมการทอเสื่อกกบางพลวง
บ้านป้าชุ่ม ทุ่งนากก ตำบล  บางพลวง  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยนำต้นกกมาแปรรูปได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น กระเป๋า รองเท้า เสื่อพับ เสื่อผืน หมอน กล่องใส่ทิชชู ที่รองแก้ว รองจาน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม