วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่ตั้ง ตำบลตลาด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. วัดพระบรมธาตุไชยาเป็นวัดโบราณไม่ปรากฎหลักฐานทางเอกสารแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมเคยปรักหักพังรกร้างมาระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้มีการบูรณะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๔๕๓ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ “พระบรมธาตุไชยา” พระบรมธาตุไชยาเป็นเจดีย์ทรงปราสาทเรือนธาตุมีฐานเป็นรูปกากบาท มีมุขทั้ง ๔ ด้าน สูงจากฐานถึงยอดประมาณ ๒๔ เมตร ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกแก้วรูปสี่เหลี่ยม ตกแต่งด้วยเสาติดผนัง ขนาดทางด้านทิศตะวันนออกถึงทิศตะวันตก ยาว ๑๓ เมตร ขนาดทางด้านทิศเหนือถึงทิศใต้ ยาว ๑๘ เมตร ส่วนฐานอยู่ต่ำกว่าผิวดิน ปัจจุบันทางวัดได้ขุดบริเวณฐานโดยรอบกว้าง และลึกประมาณ ๑ เมตร เพื่อให้เห็นฐานเดิม ส่วนบนของบัวลูกแก้วสี่เหลี่ยม มีลักษณะเป็นฐานทักษิณ ที่มุมทั้ง ๔ ประดับด้วยสถูปจำลอง ตรงกลางฐานเป็นรูปบัวลูกแก้วอีกชั้นหนึ่งรองรับเรือนธาตุทรงจตุรมุข มุขด้านหน้าทางด้านทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปภายในองค์เจดีย์ได้
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๘๙๕ ๐๑๕๙
๕. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ทางลาด/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สวนรุกขชาติคูเมือง / พิพิธภัณฑ์บ้านคูเมือง จังหวัดสิงห์บุรี

ที่ตั้ง หมู่ 6 ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
๑. สวนรุกขชาติคูเมือง ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อปี พ.ศ.2521 สำนักงานป่าไม้จังหวัดสิงห์บุรีได้เสนอโครงการมายังกรมป่าไม้เพื่อปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของสวนป่าคูเมืองมาเป็นสวนรุกขชาติคูเมือง เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ โดยสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ ปลูกพรรณไม้เสริม ขุดลอกคูคลองจัดทำประตูระบายน้ำให้เป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติและโบราณคดี ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนบริเวณบ้านคูเมืองเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่ง คือโบราณสถานบ้านคูเมือง ปัจจุบันเป็นศูนย์เพาะชำกล้าไม้ จังหวัดสิงห์บุรี ภายในสวนรุกขชาติคูเมือง ยังมีสถานที่ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง คือ พิพิธภัณฑ์บ้านคูเมือง ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งโซนจัดแสดงนิทรรศการออกเป็น 6 โซน ได้แก่ โซนเกริ่นนำ โซนอาณาอุดมสมบูรณ์ โซนงดงามประดับประดา โซนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่คู่ธรรมชาติ โซนหลากศาสนาหลายความเชื่อ โซนพุทธศิลป์ ถิ่นทวารวดี เปิดให้นักท่องเที่ยวมาแวะพักผ่อน ศึกษาเส้นทางธรรมชาติเดินป่าชมพืชสมุนไพรและพันธุ์ไม้หายาก เช่น ต้นแจงสูงที่สุดในประเทศไทย และศึกษาแหล่งโบราณคดี โบราณสถานและโบราณวัตถุได้ที่พิพิธภัณฑ์เมือง ทุกวันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
– สวนรุกขชาติ เปิดทุกวัน เวลา 08.30 – 16.30 น.
– พิพิธภัณฑ์บ้านคูเมือง เปิดวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 08.30- 16.30 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ตลอดทั้งปี 
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๕.กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
– ศึกษาเส้นทางธรรมชาติ เดินป่าชมพืชสมุนไพร และพันธุ์ไม้
หายาก
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร 06 1525 3760 , 0 3650 5204
๗. ช่องทางออนไลน์
Facebook : http://bit.ly/2BOJGf5
๘. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน

ที่ตั้ง ถนนอินยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
๑.เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ได้มาจากวัดสำคัญและแหล่งโบราณคดีในจังหวัดลำพูน จำนวนกว่า ๓,๐๐๐ ชิ้น ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่มีอยู่มากมาย ในภาคเหนือของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง โดยมหาอำมาตย์โท พระยาราชนกุลวิบูลย์ภักดี (อวบ เปาโรหิต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ เป็นผู้ริเริ่มการนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดเปิดวันพุธ – อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๖.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
1. ชาวไทย คนละ ๒๐ บาท
2. ชาวต่างชาติ คนละ ๑๐๐ บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 0 5351 1186 ฝ่ายประชาสัมพันธ์
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

หอวัฒนธรรมศรีวิชัย จังหวัดยะลา

ที่ตั้ง อยู่ที่วัดคูหาภิมุข ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
๑.เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุสำคัญ ที่ได้จากบริเวณ เขาวัดหน้าถ้ำ เขากำปั่น และแหล่งประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่สำคัญในจังหวัดยะลา และนราธิวาส โดยมีการจัดนิทรรศการ ที่เล่าถึงประวัติความเป็นมาของหอศรีวิชัย ดินแดนแห่งพุทธธรรมและความลี้ลับ รวมไปถึง แหล่งพระพิมพ์ดินดิบเก่าแก่ที่พบในจังหวัดยะลา ที่ต้องไปชมด้วยตาตนเอง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
– เปิดทุกวัน เวลา 08.00 น. – 16.00 น. (ต้องประสานเจ้าหน้าที่ก่อนล่วงหน้า)
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นายชัชพงศ์ เพ็ชรกล้า หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๕๐ ๒๕๒๐ (ต้องประสานเจ้าหน้าที่ก่อนล่วงหน้า)
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ชุมชนท่องเที่ยวตำบลหน้าถ้ำ
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ลานจอดรถ/ร้านอาหาร

กู่สันตรัตน์ จังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้ง บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
1.กู่สันตรัตน์ ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากอำเภอนาดูน ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 4 กิโลเมตร สร้างด้วยศิลาแลงเป็นศิลปะขอมแบบ บายน มีรูปลักษณ์ปราสาทหินที่มีปรางค์ประธานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัตมีมุขด้านหน้ายื่นไปทางทิศตะวันออก มีบรรณาลัยซึ่งเป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หันหน้าเข้าหาปรางค์ประธาน อาคารทั้ง 2 ล้อมด้วยกำแพงศิลาแลง ซึ่งสร้างยังไม่เสร็จเรียบร้อยอีกชั้นหนึ่ง กู่สันตรัตน์สร้างขึ้นมาด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐานรูปเคารพสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นโรคยาศาล คือเป็นที่พักรักษาพยาบาลคนเจ็บป่วยอีกด้วย
ในบริเวณใกล้เคียงยังมี พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสันตรัตน์ เป็นแหล่งรวบรวมมรดกศิลปวัฒนธรรมที่เป็นโบราณวัตถุ อันทรงคุณค่า ที่มีมาตั้งแต่อดีตให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่นและประเทศชาติ เป็นแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับมรดกทางประวัติศาสตร์โบราณสถานและโบราณคดี และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานและทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งเป็นการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างไรก็ตามการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกู่สันตรัตน์ยังไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากยังขาดงบประมาณที่จะดำเนินการยกระดับให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเป็นแหล่งค้นคว้ามรดกทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นให้กับผู้สนใจ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถาม 06 3954 3693
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100008568827155
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องน้ำ/ที่จอดรถศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ที่ตั้ง ถนนโรจนะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๐ ทรงมีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า “โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษาและตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่” กรมศิลปากร จึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นเพื่อเก็บรักษา จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ รวมถึงโบราณวัตถุที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาคารก่อสร้างด้วยเงินบริจาคจากประชาชน ซึ่งผู้บริจาคจะได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
อังคาร-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.ปิดทุกวันจันทร์
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
ชาวไทย 30 บาท
ชาวต่างประเทศ 150 บาท
นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ / ภิกษุสามเณรและนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม**
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. ๐ 3524 4570
๕. ช่องทางออนไลน์
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chaosamphraya
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดเขาพระอังคาร บวร On Tour บุรีรัมย์

ที่ตั้ง ตำบล เจริญสุข อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ บุรีรัมย์
๑. วัดเขาพระอังคาร ตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟ บนเขาพระอังคารอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ก่อนที่จะมีการสร้างวัดเขาพระอังคารขึ้นในบริเวณนี้ มีหลักฐานว่าที่นี่เคยเป็นพุทธสถานมาแต่โบราณ โดยได้พบโบราณวัตถุคือใบเสมาหินบะซอลต์ สมัยทวารวดี ซึ่งพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยตั้งอยู่รอบอุโบสถ ใบเสมาเหล่านี้มีภาพสลักรูปบุคคล สถูป ดอกบัว และธรรมจักร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อายุประมาณ 1,300 ปี อีกทั้งในประวัติลายแทงธาตุพนมกล่าวว่าเมื่อ พ.ศ.8 มีการนำพระอังคารธาตุ (เถ้ากระดูก) ของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานที่เขาลูกนี้ จนถึง พ.ศ. 2520 พระอาจารย์ปัญญา วุฒิโธ จึงได้มาสร้างวัดบนยอดเขา และนำพระอังคารธาตุขึ้นบรรจุในสถูปบนยอดของอุโบสถที่สร้างขึ้นโดยนำศิลปะสมัยต่างๆ มาผสมผสานกันภายในบริเวณวัด
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.00-18.00 นาฬิกา ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 09 3529 5671
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด /ที่จอดรถ/ ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา

ที่ตั้ง 750 ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ เป็นสถานที่ได้จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่มีคุณค่าทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) กรุณามอบไว้ให้ นอกจากนั้นยังจัดแสดงโบราณวัตถุ ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี การขุดแต่ง บูรณะ โบราณสถาน รวมถึงสิ่งของที่ประชาชนได้มอบไว้ให้
2.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
3.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
คนไทย 20 บาท
ชาวต่างประเทศ 50 บาท
4.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 4424 2958
5.ช่องทางออนไลน์
http://www.finearts.go.th/mahavirawongmuseum/
อีเมล : mahaviravong_mu@yahoo.com
6.สิ่งอำนวยความสะดวก ( ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์เมือง เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตาก

ที่ตั้ง ถนนตากสิน ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
๑.จังหวัดตากได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เมืองจังหวัดตาก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา โดยปรับปรุงอาคารจวนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก(หลังเก่า) มาเป็นพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากอดีตสถานที่ดังกล่าวเคยเป็น “เรือนประทับ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเมืองตาก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ พิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงและรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ทรัพย์สินทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดตากที่มีอยู่จำนวนมากและเก็บรักษาไว้กระจัดกระจายในสถานที่ต่างๆ ให้มาอยู่ในที่เดียวกัน เนื้อหาการจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม แบ่งเป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นบนจัดเป็นห้องแสดงพระราชกรณียกิจที่เป็นภาพถ่ายและโบราณวัตถุและศิลปวัตถุต่างๆ อาทิ ถ้วยชามกระเบื้อง พระพุทธรูป เป็นต้น ชั้นล่างจัดเป็นห้องแสดงสิ่งของมีค่าของจังหวัดตาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๕๕๕๐ ๘๗๓๓
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : พิพิธภัณฑ์เมืองเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตาก
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท

ที่ตั้ง หมู่ 6 ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท

1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ตั้งขึ้นด้วยความสนใจของพระชัยนาทมุนี (นวม สุทัศโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาทและอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ วรวิหาร ซึ่งได้รวบรวมศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ที่พบในเขตจังหวัดชัยนาทและบริเวณใกล้เคียงมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานของวัดเป็นจำนวนมาก ต่อมาพระชัยนาทมุนีได้ยินดีมอบศิลปวัตถุ โบราณวัตถุดังกล่าวให้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทย ในพุทธศักราช 2509 กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานขึ้นในบริเวณใกล้กับวัดพระบรมธาตุ วรวิหาร ตั้งชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแด่พระชัยนาทมุนี เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2512 เป็นต้นมา
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. – 16.00 น.
ปิดวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ชาวไทย 10 บาท/ชาวต่างประเทศ 50 บาท
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. 0 5640 5621
๕. ช่องทางออนไลน์ Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี
E-mail : chainatmuni@hotmail.com
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม