พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง ๘๕๙ ถนนอินใจมี ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล เป็นสถานที่รวบรวมเรื่องราวประวัติ ของเมืองลับแล มีถ้ำเมืองลับแล ภายในมีวิถีชีวิตของชุมชนเมือง ลับแล และสวนสมุนไพร มีตลาดวันวาน อาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย CPOT และ CCPOT มีจุดเช็ดอิน
ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล มีศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช กระทรวงวัฒนธรรม อยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล ซึ่งเป็นเรือนไม้ที่จัดแสดงนิทรรศการพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๙ และประวัติของพระศรีพนมมาศ และบุคคลสำคัญของอำเภอลับแล ตลอดจนขนบธรรมเนียมการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองลับแล ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม งานประชาสัมพันธ์เทศบาลศรีพนมมาศ เมืองลับแล
เบอร์โทรศัพท์ 0 5543 1076
ศูนย์การท่องเที่ยวชุมชนเมืองลับแล
น.ส.สุขุมาภรณ์ น้อยศรี เบอร์โทรศัพท์ ๐๘ ๓๙๕๖ ๑๙๗๔
๕.ช่องทางออนไลน์ https://www.facebook.com/PRsriphanommas
Facebook : งานประชาสัมพันธ์เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ – เมืองลับแล
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

จังหวัดอุตรดิตถ์

เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ

ที่ตั้ง ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 33 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 800 ไร่ เป็นพื้นที่ราบที่จัดตกแต่งให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาณาเขตประเทศไทย ปัจจุบันมีสิ่งก่อสร้างจัดแสดงมากกว่า 122 แห่ง โดยได้นำเสนอสถานที่สำคัญๆ ทั้งที่เป็นแบบจำลอง และการถอดแบบของสถานที่ต่างๆ จากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ สิ่งก่อสร้างมีทั้งขนาดย่อส่วนและเท่าขนาดจริง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-18.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
◉ บัตรเข้าชม ผู้ใหญ่ 400.- บาท
◉ บัตรเข้าชม เด็ก 200.- บาท
◉ ค่าบัตรรถยนต์ 400.- บาท
◉ ฟรีบริการรถตุ๊กๆไฟฟ้า ตามรอบชม รอบละ 1.30 ชั่วโมง
◉ โปรโมชั่นบัตรเที่ยวเมืองโบราณ 365 วัน 565 บาท (บัตรรายปี) สามารถเข้าชมได้ทุกวันไม่จำกัดรอบ เที่ยวได้ตลอดปี 365 วัน เพียงใช้บัตรประจำตัวประชาชนในการสมัครเท่านั้น
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
02 026 8800 – 9 , 086 324 7658
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.muangboranmuseum.com/
Facebook : เมืองโบราณ สมุทรปราการ
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
/ ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสตูล (คฤหาสน์กูเด็น)

ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
๑. เป็นอาคารเก่าแก่สร้างขึ้นสมัยพระยาภูมินารถภักดีเป็นผู้ว่าราชการเมืองลักษณะของอาคารเป็นตึก2ชั้นโดดเด่นด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นการผสมผสานกันทางศิลปะได้อย่างสวยงาม คืออาคารตัวตึกเป็นแบบตะวันตก ประตูหน้าต่างได้รูปโค้งตามสถาปัตยกรรมโรมัน หลังคาใช้กระเบื้องดินเผารูป กาบกล้วย ตรงช่องลมหน้าบันไดตกแต่งรูปดาวซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบมุสลิม ตัวอาคารมีอายุ 100ปีเศษ นับเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดสตูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีได้เสด็จมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2543 ภายในห้องมีการจัดแสดงของโบราณวัตถุและนิทรรศการ ที่ให้ความรู้เรื่องศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัดสตูล
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ วันพุธ ถึงวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
คนไทย ๑๐ บาท คนต่างชาติ ๕๐บาท นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ ผู้สูงอายุ ไม่เก็บค่าเข้าชม
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 7472 3140
๕. ช่องทางออนไลน์ ไลน์ เฟซบุ๊ก แผ่นผับ สื่อประชาสัมพันธ์
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ / ที่จอดรถ / ศูนย์บริกานักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย

ที่ตั้ง วัดมหาชัยพระอารามหลวง ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
๑.พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัยตั้งอยู่ในพื้นที่วัดมหาชัยพระอารามหลวง เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณ เอกสารโบราณ ศิลปกรรมจำพวกไม้แกะสลักหิน โลหะ เครื่องปั้นดินเผา สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ เครื่องดนตรี เครื่องจักสาน พระพุทธรูปไม้-โลหะ สำริด เทวรูปต่างๆ ทั้งแบบหินทราย และโลหะ สำริด ธรรมาสน์ ทั้งนี้ยังเป็นพิพิธภัณฑ์คัมภีร์ใบลาน รวบรวมหนังสือใบลานซึ่งอยู่ตามวัด ให้เป็นแหล่งค้นคว้าพระคำภีร์ทางพระพุทธศาสนา ศึกษาตัวอักษรโบราณ และวรรณคดีของภาคอีสาน ชำระตรวจแก้ถอดความเข้าสู่ภาษาปัจจุบัน และเป็นศูนย์อนุรักษ์วรรณคดี ศิลปะ โบราณคดีทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์โบราณในภาคอีสาน และเป็นศูนย์ส่งเสริมการศึกษาปริยัติธรรม ศีลธรรม วัฒนธรรม ประเพณีของชาติไทย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถามได้ที่ 0 4371 1274
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/BaiLanMuseumPhraAriyanuwat
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

คุ้มเจ้าหลวง จ.แพร่

ที่ตั้ง ถนน คุ้มเดิม ตำบล ในเวียง อำเภอเมืองแพร่ แพร่ 54000
๑.คุ้มเจ้าหลวง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดยเจ้าพิริยเทพวงษ์ เป็นอาคารโอ่โถง มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น เป็นอาคารทรงขนมปังขิง สถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป ในปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ทำให้เจ้าพิริยเทพวงษ์ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และจนถึงแก่พิราลัย รัฐสยามจึงได้ยึดราชสมบัติและคุ้มของเจ้าหลวง ใช้เป็นที่ตั้งของกองทหารม้าจากกรุงเทพฯ ที่ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาใช้เป็นจวนหรือบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ จนเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้มอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ดูแล มีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าชมเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา โดยไม่เสียค่าเข้าชม นอกจากนี้ ยังมีบริการรถรางนำเทียวสถานที่สำคัญในตัวเมืองจังหวัดแพร่ ทั้งหมด 2 รอบ แบ่งเป็นรอบเช้า เวลา 10.00 น. และ รอบบ่าย เวลา 14.00 น.
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30 ถึง 16.30 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5452 4158
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.phraepao.go.th
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร

ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดพิจิตร (หลังเดิม) ถนนบุษบา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร
๑. พิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร มีแนวคิดจัดตั้งเมื่อปี ๒๕๔๔ ในสมัย นายประสาท พงษ์ศิวาภัย ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้จัดสรรการใช้สอยในศาลากลางหลังเดิม ซึ่งมีหน่วยงานที่ขอใช้ในขณะนั้นคือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพิจิตรขอใช้อาคารชั้นล่าง (ทั้งหมด) จัดทำเป็นห้องสมุดอำเภอเมือง และห้องเรียนของวิทยาลัยชุมชน สำนักงานที่ดินขอใช้ชั้นบน ๑ ห้อง เพื่อจัดเก็บเอกสารของที่ดิน และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ขอใช้ชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร ต่อมา ในปี ๒๕๔๗ นายพรเทพ พิมลเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบหมายให้วัฒนธรรมจังหวัดพิจิตรโดยมีนายอมร กิตติกวางทอง หัวหน้าสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร เสนอโครงการพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร เพื่อใช้งบประมาณตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) และตั้งงบประมาณอย่างต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ ๒๕๕๐ นายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในปัจจุบัน ปี ๒๕๔๗  ได้รับงบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำและปรับปรุงห้องจัดแสดง ๓ ห้อง ได้แก่ ห้องภูมิหลัง ภูมิเมือง คีตนาฏศิลป์ พร้อมป้ายพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร ปี ๒๕๔๘  ได้รับงบประมาณ ๕,๒๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำห้องจัดแสดง ๓ ห้อง ได้แก่ ห้องภูมิปัญญา ห้องภูมิธรรมและห้องภูมิชีวิต ปรับปรุงอาคาร (ทาสี/ซ่อมหลังและระบบไฟฟ้า) และจัดทำสื่อมัลติมีเดีย ปี ๒๕๔๙  ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมในการจัดทำพิพิธภัณฑ์อีก ๕,๑๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำห้องจัดแสดงเพิ่มเติมอีก ๕ ห้อง ได้แก่ ห้องบรรยายสรุป ห้องสินแผ่นดิน ห้องบุคคลสำคัญ ห้องภาษาและวรรณกรรม และห้องภูมิชน

 ๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.30-16.30 น ปิดวันเสาร์ – อาทิตย์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๕๖๖๑ ๒๖๗๕ – ๖
๕.ช่องทางออนไลน์
shorturl.asia/iybaz
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์บ้านดง โฮจิมินห์ จ.พิจิตร

ที่ตั้ง ตำบล ป่ามะคาบ อำเภอเมืองพิจิตร จ.พิจิตร
๑.พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นอาคาร ๒ ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า ๖,๔๐๐ ตารางเมตร เดิมเป็นสุสานของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ตั้งอยู่บริเวณใจกลางบ้านดง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านและโฮจิมินห์ ซึ่งมาพักอาศัย ณ บ้านดงเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๙ โซน ได้แก่ โซนสายสัมพันธ์ไทย–เวียดนาม โซนบ้านดงในอดีต โซนโฮจิมินห์ ผู้ปลดแอกเวียดนาม โซนภูมิศาสตร์บ้านดง จังหวัดพิจิตร โซนชุมชนบ้านดงโซนภารกิจลับที่บ้านดง โซนการเคลื่อนไหวในสยามโซนบากบั่นปลดแอกโซนวีรบุรุษ นอกจากนี้ยังมีบ้านจำลองของประธานโฮจิมินห์ตั้งอยู่ด้านนอกอาคารสำหรับด้านในตัวบ้านมีรูปปั้นของโฮจิมินห์ และหิ้งบูชารวมถึงของใช้ส่วนตัวที่ท่านเคยใช้จากประวัติที่มาดังกล่าวทำให้พิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์จังหวัดพิจิตร เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ไทย–เวียดนาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภายในชุมชนของตำบลป่ามะคาบและเป็นตัวอย่างของพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่วันอังคาร–วันอาทิตย์ เวลา ๐๙:๐๐–๑๗:๐๐ (หยุดวันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์)
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๗๑๙๘ ๘๖๙๙ หรือ ๐ ๕๖๐๓ ๙๘๖๙
๕.ช่องทางออนไลน์
www.bandonghochiminhmuseum.com
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์บ้านหลวงประเทืองคดี จ.พิจิตร

ที่ตั้ง ตำบล บ้านบุ่ง อำเภอเมืองพิจิตร จ.พิจิตร
๑.บ้านหลวงประเทืองคดี เป็นอาคารทรงตึกหลังแรกของตลาดวังกรด ที่ถูกสร้างขึ้นโดยหลวงประเทืองคดีในตอนที่อายุราว 80 ปี สำหรับหลวงประเทืองคดี เป็นคหบดี ที่เปรียบเสมือนบุคคลสำคัญในฐานะผู้แนะนำให้สร้างตลาดวังกรดขึ้น หลวงประเทืองคดี เป็นคนบ้านวังกรด ประกอบอาชีพรับราชการเป็นอัยการ และเป็นผู้ริเริ่มและให้การสนับสนุนให้ชาวบ้านสร้างตลาด โดยสมัยก่อนหลวงประเทืองคดีและครอบครัวอาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำน่าน แต่เนื่องจากปัญหาน้ำเซาะตลิ่ง จึงย้ายเข้ามาปลูกในพื้นที่ปัจจุบัน และทำให้กลายเป็นสถานที่สำคัญของตลาดวังกรดอีกแห่งหนึ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว

 ๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
09.00-17.00 น
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 9856 8945
๕.ช่องทางออนไลน์
shorturl.asia/3FZL8
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์เบญญารัญ จังหวัดพังงา

ที่ตั้ง ตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
๑.พิพิธภัณฑ์เบญญารัญ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สะสมและรวบรวมของเก่า โดยการจัดแสดงแบ่งเป็น 2 อาคารดังนี้
– อาคารหลังแรก จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อน โซนด้านข้างจะเป็นตัวอย่างประตู หน้าต่าง ของบ้านเศรษฐีในอดีต ภายในอาคารจัดแสดงของสะสม อาทิ เหรียญโบราณ เหรียญที่เลิกใช้ไปแล้ว รวมไปถึงธนบัตรแบบต่างๆ นอกจากนั้นยังมีการจำลองร้านโกปี๊(ร้านกาแฟแบบสมัยอดีต), โรงหนังสมัยก่อน เป็นต้น
– อาคารทหาร จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับทหาร อุปกรณ์ในการทำสงคราม ปืนโบราณแบบต่างๆ มีเครื่องบินเล็กและรันเวย์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โซนด้านนนอกจัดวางโมเดลเกี่ยวกับทหาร เช่น เครื่องบินรบสมัยสงครามโลก รถม้า เป็นต้น
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
จันทร์ – อาทิตย์ 09:00 – 18:00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ๕๐ บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
093 7577 6215
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา

ที่ตั้ง ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
๑.สวนอนุสรณ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม ตั้งอยู่ติดชายทะเลบ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สึนามิ เมื่อ ปี พ.ศ 2547 ซึ่งบ้านน้ำเค็มแห่งนี้ก็ได้รับความเสียหายด้วยเช่นกัน สวนอนุสรณ์แห่งนี้มีความโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมรูปทรงโค้งคล้ายรูปคลื่น ขณะที่อีกด้านเป็นกำแพงเฉียง มีป้ายทองเหลืองสลักชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ ส่วนบริเวณล้อมรอบเป็นสวนพักผ่อนติดชายทะเล และยังมีพระใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ริมชายหาด รวมถึงพระรูปของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ให้ได้สักการะอีกด้วย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
จันทร์ – อาทิตย์ 08:00 – 30:00
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
093 7577 621๕
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม