ตลาดบางคล้า ฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง ถนน ซอยเทศบาลพัฒนา 1 ตำบล บางคล้า อำเภอบางคล้า ฉะเชิงเทรา

๑. ลักษณะตลาด จะเป็นตลาดที่มีโป๊ะ ยื่นลงสู่แม่น้ำบางปะกง โดยมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายของอยู่ริมชายฝั่งแม่น้ำ และทางเทศบาล อ.บางคล้า ได้จัดพื้นที่โดยจัดโป๊ะยื่นลงไปในแม่น้ำ มีทั้งหมด 9 แพด้วยกัน เพื่อบริการนักท่องเที่ยว ตลาดน้ำบางคล้าจะอยู่บริเวณด้านหน้าของที่ว่าการ อ.บางคล้า สินค้าอย่างหลากหลายทั้งยังเป็นสินค้าที่ผสมผสานความเป็นไทยในอดีตกับปัจจุบันได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นหีบห่อของอาหารที่ทำจากใบตอง ภาชนะใส่เครื่องดื่มทำจากดินปั้น สินค้าส่วนใหญ่จะมีอาหาร, ของฝาก และของที่ระลึก หรือสินค้าโอทอป ที่มีชื่อเสียงของ อ.บางคล้า มาจัดซุ้มจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว น้ำตาลสด, มะม่วง รวมถึงผัก และผลไม้ตามฤดูกาล ถ้ามาตลาดน้ำบางคล้าแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดคือ กุ้งแม่น้ำเผา และ ปลาเผาตัวโต หรืออาหารทะเล ปลาหมึกย่าง หอยต่างๆ ปิ้งย่างเสร็จพร้อมเสิร์ฟ มีขนมหวาน หรือของทานเล่นต่างๆ จำหน่าย อย่างขนมครก หรือจะเป็นข้าวเหนียวมะม่วงร้านอาหาร เรียงรายหลายร้านให้เลือก มีที่นั่งรับประทานโดยทางตลาดน้ำมีบริการโต๊ะ เก้าอี้ เตรียมไว้ให้สำหรับนักท่องเที่ยว
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 ก๋วยเตี๋ยวนายเฮงท่าเรือเขียวเจ้าเก่า ๒.๒ ขนมไหมฟ้า/ขนมหนวดมังกร
2.3 ก๋วยเตี๋ยวซดแล้วซดอีก ๒.๔ ร้านกาแฟ คาเฟ่ต้องลอง ๒.๕ ส้มตำรสแซ่บนัว
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดบริการ เสาร์-อาทิตย์ 08.00-17.00น.

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดโพธิ์ บางคล้า ฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง 256 ประชาเนรมิตร ตำบล บางคล้า อำเภอบางคล้า ฉะเชิงเทรา

๑. ความโดดเด่น/ความสำคัญ (ระหว่าง 10 – 15 บรรทัด)
ตามคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในท้องถิ่น วัดโพธิ์บางคล้า แห่งนี้สร้างขึ้นสมัยใดไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และคาดว่าเคยเป็นที่พักทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งยกทัพไปต่อสู้กับพม่า ที่บริเวณปากน้ำโจ้โล้ (ห่างจากวัด 1 กม.) เมื่อราวๆปี พ.ศ. 2309 จากคำบอกเล่า วัดแห่งนี้เดิมเป็นกุฎิไม้ใต้ถุนสูง หลังคามุงจาก อยู่ใกล้กับท่าน้ำแม่น้ำ บางปะกงและต้นโพธิ์ใหญ่ มีโบสถ์คล้ายเก๋งจีน หลังคาซ้อน 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วย ช่อฟ้าเป็นรูปหัวมังกร ผนังก่ออิฐฉาบปูนขาวผสมน้ำอ้อย ล้อมรอบด้วยใบเสมา (ปัจจุบันทางวัดได้รื้อถอนโบสถ์และกุฏิไม้แล้ว) และด้านหน้าวัดจะมีวิหารเก่าแก่อายุหลายร้อยปี ทรงจตุรมุขสมัยอยุธยาตอนปลาย หลังคามุงด้วยกระเบื้องเกล็ดเต่า ต่อมาหลังคาเกิดพังทลายลง ทำให้ต้องสร้างหลังคาขึ้นใหม่แทนของเดิม เมื่อปี พ.ศ.2541 ภายในวัดร่มรื่นและเต็มไปด้วยต้นไม้ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ค้างคาวแม่ไก่ จำนวนหลายร้อยตัว เกาะอยู่ตามกิ่งไม้ในเวลากลางวัน ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวัน เวลา 07.00 – 1๗.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐๘ ๑๖๓๗ ๙๐๘๒
๕. ช่องทางออนไลน์-
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดปากน้ำ (อุโบสถสีทอง) ฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง ถนนวนะภูติ ตำบล ปากน้ำ อำเภอบางคล้า ฉะเชิงเทรา

๑. โบสถ์สีทอง วัดปากน้ำโจ้โล้ พระอุโบสถหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ทาสีทองทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือหรือนอกตัวอุโบสถ ที่งดงามตระการตาเป็นอย่างมาก ภายนอกวัดมีเรือโบราณ ในสมัยก่อนที่อยู่ในยุค สมเด็จพระจ้าตากสิน โชว์ไว้อีกด้วย นอกจากนี้ภายในอุโบสถยังสามารถลอดใต้ฐานพระประธาน เพื่อความเป็นสิริมงคล อีกด้วย แต่เดิม วัดปากน้ำโจ้โล้เป็นสำนักสงฆ์ ในอดีตบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของทัพพม่า ซึ่งยกทัพบกทัพเรือไปปะทะกับกองทัพ สมเด็จพระเจ้าตากสินต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีชัยจึงโปรดฯ ให้สร้างเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ ปัจจุบันได้มีการสร้างอุโบสถหลังใหม่เป็นสีทองทั้งหลัง
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวัน เวลา 0๘.00 – 1๗.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐๘ ๙๐๕๔ ๒๙๗๙
๕. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/wat.saman/
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

หมู่บ้านน้ำตาลสด

ที่ตั้ง 30/3 หมู่ที่ 11 ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

๑. หมู่บ้านน้ำตาลสด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกได้ว่าเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลสดพร้อมดื่มแห่งเดียวในภาคตะวันออก ฉะเชิงเทราไม่เพียงเป็นแหล่งปลูกมะม่วงชั้นดีของเมืองไทยเท่านั้น หากยังเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลสดที่หอมหวานอีกแห่งหนึ่งของประเทศด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในหมู่บ้านน้ำตาลสดแห่งตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า อันเป็นแหล่งปลูกตาลโตนดมากที่สุดของภาคตะวันออกของเมืองไทย ชาวบ้านในชุมชนนี้ยังคงผูกพันอยู่กับตาลโตนด และยึดอาชีพทำน้ำตาลสดพร้อมดื่มและน้ำตาลปึกเป็นหลัก โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นมรดกตกทอด จากบรรพบุรุษในการผลิตน้ำตาลสด ซึ่งเริ่มตั้งแต่การปีนตาลไปจนถึงกรรมวิธีผลิตน้ำตาลสดที่ได้คุณภาพ ปัจจุบันอาชีพดังกล่าวเริ่มมีคนทำลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังอนุรักษ์การทำน้ำตาลโตนดไว้
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ – ๑๗.๐๐ น
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนมกราคม-เมษายน
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐๘ ๙๕๓๙ ๕๘๘๐
๖. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/numtarnsodbangkla/
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดสมานรัตนาราม

ที่ตั้ง 2012 ตำบาลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

๑. วัดพระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา หรือที่หลายคนรู้จักดีในชื่อของ วัดสมานรัตนารามเพราะพระพิฆเนศปางนอนเสวยสุข ทำให้วัดสมานรัตนารามแห่งนี้มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปอย่างกว้างขวาง ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีผู้ใดมาขอพรก็มักจะสำเร็จ สมดังใจหวัง จนทำให้เป็นที่นับถือของคนทั่วไปอย่างรวดเร็ว พระพิฆเนศปางนอนเสวยสุของค์นี้ มีเนื้อองค์เป็นสีชมพูและอาจเรียกได้ว่า เป็นพระพิฆเนศองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปางนอนเสวยสุขนั้นมีความหมายว่า เป็นปางที่ประทานความมีกินมีใช้ เงินทองไม่ขาดมือ อยู่อย่างสุขสบาย อิ่มหนำสำราญ ขจัดปัญหา ไม่มีเรื่องให้วุ่นวายใจ เนื้อองค์มีสีชมพู รอบฐานมีปางต่างๆถึง 32 ปางให้ชมภายใต้ฐานพระพิฆเนศเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเกี่ยวกับพระพิฆเนศปางต่างๆ พร้อมทั้งเปิดให้ประชาชนทั่วไปเช่าพระพิฆเนศไปบูชาที่บ้าน ทางวัดได้เปิดให้ประชาชนสักการะกราบไหว้องค์พระพิฆเนศ โดยจัดพื้นที่ให้เป็นศาลาริมแม่น้ำ ภายในศาลาเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศจำลองปางต่างๆ อีกทั้งมีพระพุทธรูป ให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะขอพร
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวัน เวลา 07.00 – 1๗.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 08 1983 0400
๕. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/wat.saman/
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ( ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร )

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

บ้านภัทรธารา ฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง 224 ประชาเนรมิตร ตำบล บางคล้า อำเภอบางคล้า ฉะเชิงเทรา
๑. ประเภทของที่พัก (โฮมสเตย์)
๒. จำนวนห้อง ๘ ห้อง
๓. ประเภทห้องพัก/ราคา
ห้องพัก Standard ๑,๒๐๐ / Superior ๑,๕๐๐ / Family Room ๑,๙๐๐
๔. สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
ล่องเรือชมแม่น้ำบางปะกง ร้านกาแฟ ร้านอาหารริมน้ำ Wifi
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร 09 7182 0591 หรือ 09 6137 2098
๖. ช่องทางออนไลน์
ID Line:faiibkhla

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดอุภัยภาติการาม (ชำปอกง) จังหวัดฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง เลขที่ ๔๗๕/๗ก ถนนศุภกิจ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

๑. วัดอุภัยภาติการามหรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า “วัดซำปอกง” เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์อนัมนิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน ๒ไร่ ๓ งาน ๔๐ ตารางวา ซึ่งปรากฏประวัติว่าสร้างในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 5 เมื่อ ร.ศ.125 (พ.ศ.2449) โดยขุนพิพิธพานิชกรรมได้สละที่ดินที่ ตลาดบ้านใหม่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา สร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขึ้นในปี ร.ศ.126 (พ.ศ.2450) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพ-ฉะเชิงเทราและได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมายังวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปด้วย ทรงมีพระราชศรัทธาบริจาคเงินจำนวน 200 บาทพระราชทานสมทบในการสร้างอารามและปฏิสังขรณ์พระพุทธศาสนา กับได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดอุภัยภาติการาม”ส่วนพระพุทธรูปในวิหารพระราชทานนามว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก”
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวัน เวลา 07.00 – 17.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 3881 6904
๕. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/watsampokong/
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /)
/ ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา

๑.เยี่ยมชมตำหนักกรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ซึ่งปัจจุบัน คือ พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นเรือนไม้สองชั้น เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่ตั้งของที่ว่าการมณฑลปราจีน และกรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาล ผู้ทรงพระปรีชาชาญในวิชาการปกครองก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง และตำหนักแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับพักแรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่เสด็จประพาสฉะเชิงเทรา ถึง 2 ครั้ง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวัน เวลา 07.00 – 1๗.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐๙ ๘๕๓๑ ๖๕๑๙
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.chachoengsaomuseum.com/?page=home
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมตลาดบ้านใหม่

ชุมชนคุณธรรมตลาดบ้านใหม่ ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำบางปะกง ริมถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นตลาดที่อยู่คู่กับชาวแปดริ้วมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นย่านเศรษฐกิจเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 150 ปี แต่เดิมเรียกกันว่า “ตลาดริมน้ำ” เดิมเป็นชุมชนที่มีชาวไทย – จีน อาศัยอยู่ 

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) มีอาคารบ้านเรือนที่ยังคงสภาพบ้านไม้โบราณปลูกเป็นตึกแถว 2 ชั้นติดต่อกันจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยยังรักษาสภาพและความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารอร่อย ขนมและของขบเคี้ยวนานาชนิด รวมถึงอาหารคาวหวานโบราณหลากหลายชนิด

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดเทพนิมิตร

เริ่มสร้างพระอุโบสถขึ้นใน พ.ศ.2418 แล้วเสร็จใน พ.ศ.2422 เมื่อพระอุโบสถแล้วเสร็จได้เรียกชื่อวัดว่า “วัดเทพนิมิตร” และมอบให้พระ อาจารย์ท้วมเป็นผู้ปกครองวัด

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)  ปัจจุบันเป็นพุทธสถานมหายานแบบอานัมนิกาย (ญวน) ตามประวัติกล่าวว่า ขุนอัษฎาริวานุวัตร  (จีนฮี้) กับขุนพิพิธพาณิชย์กรรม  (จีนแดง ) คหบดีชาวจีนพ่อลูกแซ่เล้าเจ้าของ ตลาดล่าง มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างขึ้นในพ.ศ.2449 เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อซําปอกง ซึ่งจําลองมาจากวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จประพาสวัดอุภัยภาติการาม เมื่อ พ.ศ.2450 ในคราวเสด็จพระราชดําเนินเมืองฉะเชิงเทรา

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่) ตั้งอยู่ถนนศุภกิจตรงข้ามตลาดบนของ ย่านตลาดบ้านใหม่ เป็นพุทธสถานจีนฝ่ายมหายาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2449 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยนายเทียนอิง     แซ่ลี้ และพระอาจารย์จีน วังส์ สมาธิวัตร หรือหลวงจีนสกเหง ศิษย์ของวัด มังกรกมลาวาส  (เล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร ที่ตั้ง ของวัดเป็นไปตามหลักความเชื่อ เรื่องฮวงจุ้ยมังกร

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่)

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) ตั้งอยู่ริมน้ำ มีอาคารบ้านเรือนที่ยังคงสภาพบ้านไม้โบราณปลูกเป็นตึกแถว 2 ชั้นติดต่อกันจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยยังรักษาสภาพและความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารอร่อย ขนมและของขบเคี้ยวนานาชนิด รวมถึงอาหารคาวหวานโบราณหลากหลายชนิด

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

รับประทานอาหาร/เครื่องดื่มในพื้นที่ตลาดริมน้ำ ๑๐๐ ปี (ตลาดบ้านใหม่) ซึ่งมีให้เลือกหลายร้านที่มีพื้นที่ริมน้ำ  โดยรับประทานอาหาร/เครื่องดื่มและสามารถชมบรรยากาศสายน้ำ และวิถีชีวิตริมน้ำที่สวยงามได้ 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน “เล่าขานตำนาน ๑๐๐ ปี ชุมชนไทยจีนตลาดบ้านใหม่”

ชุดการแสดงที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนคุณธรรมตลาดบ้านใหม่  ชื่อชุด “เล่าขานตำนาน ๑๐๐ ปี ชุมชนไทยจีนตลาดบ้านใหม่” การแสดงชุด..เล่าขานตำนาน ๑๐๐ ปี ชุมชนไทย – จีน ตลาดบ้านใหม่ เมืองแปดริ้ว เป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวแปดริ้วรวมถึงคนไทยเชื้อสายไทยจีนในชุมชน

ล่องเรือชมวิถีชีวิตริมน้ำ

ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) นั่งเรือชมวิถีชีวิตริมน้ำ ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) บ้านเรือนแบบโบราณดั้งเดิม และป่าชายเลน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

“บางคล้า” เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยนาไร่ และสวนผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น สับปะรด มะพร้าว มะม่วง ฯลฯ ซึ่งแต่ละชนิดก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่ว แผ่นดินผืนนี้เป็นที่ตั้งรกรากของบรรพบุรุษชาวบางคล้า ซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนสืบทอดกันมาช้านาน วิถีชีวิตของชุมชนเก่าแก่แห่งนี้มีความเป็นอยู่อย่างสงบ เรียบง่าย ต่างทำมาหากิน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทุกคนมีความรักใคร่ปรองดองให้ความนับถือดุจพี่น้อง ดั่งเครือญาติ

– อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

– ศาลอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

– ตลาดน้ำบางคล้า

– อุโบสถวัดแจ้ง อำเภอบางคล้า

– ค้างคาวแม่ไก่ วัดโพธิ์บางคล้า 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดโพธิ์บางคล้า สร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕ สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศิลปสมัยรัตนโกสินทร์กับอยุธยา มีวิหารโบราณ และค้างคาวนับแสนตัวมาอาศัย เกาะต้นไม้ในบริเวณวัด โดยไม่อพยพไปอยู่ไหน

วัดแจ้ง สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อุโบสถประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ ๘ ภายในวัดมีรูปปั้นยักษ์ตั้งอยู่ และมีพระอุโบสถเป็นศิลปะไทยปนกับจีน

อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จยกทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทราไปเมืองจันทบูร (จันทบุรี) เพื่อสั่งสมกำลังพลในการ  กอบกู้เอกราช  ได้ปะทะกับพม่าบริเวณปากน้ำ

ศาลอนุสาวรีย์สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๐ พิธีอัญเชิญพระรูปขึ้นแท่นสักการะ  เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๑สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งที่สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชได้ฝ่าวงล้อมของข้าศึกที่ล้อมกรุงศรีอยุธยา

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ตลาดน้ำบางคล้า ตลาดน้ำบางคล้ามีลักษณะเป็นโป๊ะที่ยื่นลงสู่แม่น้ำบาง ปะกง  และมีการค้าขายสินค้าทางเรือโดยส่วนมาก  โดยมีการจัดจำหน่ายสินค้าอย่างหลากหลายทั้งยังเป็นสินค้าที่ผสมผสานความเป็นไทยในอดีตกับปัจจุบันได้อย่างลงตัว  ไม่ว่าจะเป็นหีบห่อของอาหารที่ทำจากใบตอง  ภาชนะใส่เครื่องดื่มทำจากดินปั้น  เป็นต้น ตลาดน้ำบางคล้ายังมีความพิเศษในเรื่องทัศนียภาพที่สวยงามริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เป็นป่าชายเลนที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากมาย หรือแม้แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำที่มีการดักลอบปลา  หรือพายเรือจับปลา จับกุ้ง

ค้างคาวแม่ไก่ วัดโพธิ์ บางคล้า ฝูงค้างคาวแม่ไก่หน้าวัดโพธิ์บางคล้า  ใช้เวลาไม่กี่นาทีเรือก็มาอยู่ที่หน้าวัดโพธิ์บางคล้า (สมัยที่ใช้เรือในการเดินทางท่าน้ำนับเป็นหน้าวัด แต่ทุกวันนี้คงจะต้องเรียกว่าหลังวัด) เรือยังไม่ทันเทียบท่าดีเราก็มองเห็นฝูงค้างคาวแม่ไก่ ขนาดของค้างคาวเท่าแม่ไก่จริงๆ ห้อยหัวอยู่บนต้นไม้ แต่ละต้นน่าจะมีจำนวนนับร้อยตัว จำนวนมากมายแบบนี้จึงทำให้ค้างคาวแม่ไก่เป็นจุดเด่นของวัด คนก็มาเที่ยวกันเป็นประจำค้างคาวเหล่านี้ก็ไม่ได้ตื่นกลัวคน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ชุมชนบ้านครัว

ชื่อผู้ประกอบการ นางอัจฉราวรรณ์ ตันฮะเส่ง

ประธานชุมชนบ้านครัว

เบอร์โทรศัพท์ ๐๘ ๖๘๒๓ ๑๗๗๔

ศูนย์เรียนรู้และฝึกอาชีพชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ท่าเรือตลาดน้ำบางคล้า ล่องเรือชมธรรมชาติรอบเกาะลัด ชมวิถีชีวิตริมน้ำ บ้านเรือนที่ปลูกสร้างอย่างสวยงาม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม