กลุ่มผ้ามัดหมี่ทอมือ จังหวัดปราจีนบุรี

ที่ตั้ง กลุ่มผ้ามัดหมี่ทอมือ บ้านวังใหม่ หมู่ 17 ตำบลวังท่าช้าง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ –
๒. ชื่อผู้ประกอบการ กลุ่มผ้ามัดหมี่ทอมือ
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าขาวม้า ผ้าฝ้ายมัดหมี่
ผ้าขาวม้าทอมือบ้านวังใหม่มีการทอมาตั้งแต่สมัยโบราณ มาจากการบรรพบุรุษที่เป็นคนจากภาคอีสาอพยพลงมาและมารวมกลุ่มกันทอผ้าข้าวผ้า โดยใช้วิธีการทอผ้าขาวม้าแบบโบราณ โดยการใช้กี่โบราณในการทอผ้า ทักทอผ้าเป็นลวดลายต่างๆ การทอผ้าด้วยกี่โบราณจะทำให้ผ้าที่ทอได้มีลักษณะผ้าเนื้อนุ่ม ไม่ห่อตัว และสามารถนำไปตัดเย็บใส่ไปงานต่าง ๆ ได้ทั้งสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี ผ้าขาวม้าทอมือบ้านวังใหม่ในสมัยก่อนนั้นนิยมใส่ทั้งผู้สูงอายุ และวัยหนุ่มสาว และในปัจจุบันผ้าขาวม้านิยมใช้เป็นของฝาก ของไหว้ในงานมงคลต่าง ๆ
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 09.00 – 17.00 น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 1176 0562
๖. ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ภูมิภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

ที่ตั้ง ภูมิภูเบศร ตำบลบางเดชะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ภูมิภูเบศร
๒. ชื่อผู้ประกอบการ ภูมิภูเบศร
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
ขนมปังกระเทียมสมุนไพร ขนมปังกระเทียมมีฤทธิ์ช่วยลดร้อน ย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.30 – 16.30 น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 7098 3582
๖. ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สวน 3 ก จ.ปราจีนบุรี

๑.สวน 3 ก.เป็นสวนเกษตรที่มีการปลูกพืชตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านช่วงวิกฤต
๒. ประเภทของผลิตภัณฑ์ ของกิน
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดทุกวัน 09.00-17.00
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 8473 8533
๕. ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อภัยชอบ (abhaishop) จ.ปราจีนบุรี

๑. เป็นร้านขายผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรไทย เครื่องสำอางจากสมุนไพรไทย อาหารเสริมต่างๆ ของโรงพยาบาลอภัยภูเบศร โดยวัตถุดิบพืชสมุนไพรของอภัยภูเบศรได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์จากสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Movement; IFOAM) และได้ให้คำนิยามของเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า”ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจโดยเน้นที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์และนิเวศน์การเกษตร
๒. ประเภทของผลิตภัณฑ์
ยาสมุนไพร
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดตลอด 24 ชั่วโมง
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 2283 6026
๕. ช่องทางออนไลน์
https://www.abhaishop.com/th/store/about

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ครัวเจ้าคุณ ท. จังหวัดปราจีนบุรี

ที่ตั้ง ๓๐๓ หมู่ ๑๕ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ต. บ้านพระ เมืองปราจีนบุรี
๑. ความโดดเด่น/ความสำคัญ
ร้านอาหารที่เหมาะสำหรับทานเป็นหมู่คณะและครอบครัว มีเมนูอาหารให้เลือกรับประทานหลากหลาย ราคาเป็นกันเอง เมนูหลักของทางร้านจะเป็นเมนูปลา มีความสด ไม่คาว ร้านตั้งอยู่ใกล้กับวงเวียนนเรศวร มีที่จอดรถกว้างขวาง มีบริการห้องแอร์และธรรมดา ทางร้านทำอาหารเสิร์ฟไว ไม่ต้องรอนาน ช่วงนี้ทางร้านมีบริการส่งอาหารถึงหน้าบ้าน ค่าบริการไม่แพง


๒. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
๒.๑ ปลาช่อนเผาฟาง
๒.๒ ยำถั่วพลู
๒.๓ ปลาเนื้ออ่อนทอดกระเทียม
๓. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
๙.๓๐ – ๒๒.๐๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๔๓๕๒ ๑๘๑๔ / ๐ ๓๗๔๗ ๑๒๗๙
๕. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/KhruaChaoKhunThor

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

หลักเมืองข้าวมันไก่ จ.ปราจีนบุรี

ที่ตั้ง ถนนหน้าเมืองปราจีน (แถวศาลหลักเมือง)
๑. ร้านหลักเมืองข้าวมันไก่ เปิดขายมากว่า 40 ปี รุ่นแรกที่ขายคือคุณแม่สุนีย์ แต่ก่อนร้านข้าวมันไก่เปิดขายที่ริมแม่น้ำปราจีนบุรี แล้วค่อยขยับขยายมาขายในที่อยู่ปัจจุบัน รุ่นที่ 2ลูกสาวได้รับช่วงต่อกิจการ ข้าวมันไก่ ไก่ เนื้อน่อง นุ่มฉ่ำ ไม่เละ น้ำซุปยอด หวานน้ำต้มไก่+ฟัก ไม่หวานน้ำตาล ข้าวมันหอมนุ่ม มันไม่มาก เป็นข้าวมันแบบนุ่มไม่แฉะ เครื่องในทำได้ดีไม่มีกลิ่นเหม็น น้ำจิ้มเต้าเจี้ยว และซีอิ้วดำ เสิร์ฟพร้อมพริกและขิง เคล็ดลับในการต้มไก่ น้ำต้องเดือดจัดจึงนำไก่ไปต้ม การหุงข้าวมันที่ร้านจะใช้ข้าวเกรดดีที่สุด


๒. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
๒.๑. ข้าวมันไก่ต้ม
๒.๒.ข้าวมันไก่ทอด
๒.๓.หมูกรอบ
๓. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
๘.๓๐ – ๑5.3๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๑๕๓ ๕๔๙๔ / ๐๖ ๕๘๕๙ ๒๐๖๗
๕. ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สวนสมุนไพรบ้านดงบัง จ.ปราจีนบุรี

ที่ตั้ง หมู่ 6 ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี
๑. ศูนย์ผลิตวัตถุดิบสมุนไพรครบวงจรบ้านดงบัง อยู่ภายใต้การดูแลของ อบต.ดงขี้เหล็ก มีพ่อใหญ่แก้ว มุกดา ซึ่งเป็นหมอพื้นบ้านที่ผู้คนในชุมชนเคารพ ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 80 ปีที่แล้วเดิมพื้นที่บ้านดงบังเป็นป่าใหญ่อาชีพในตอนนั้น ส่วนใหญ่เน้นในการทำนา ต่อมาได้เปลี่ยนอาชีพมาเป็นชาวสวนไม้ดอกไม้ประดับ ความรู้ด้านหมอยาได้ถ่ายทอดมายังลูกชาย นายแดง มุกดา ในปัจจุบันได้ถ่ายทอดความรู้มายังรุ่นที่ 3 คือนายสมัย คูณสุข ผู้นำกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง ทำให้ชุมชนแห่งนี้มีความเชี่ยวชาญในหลายด้าน ปี 2543 หมู่บ้านดงบัง ก่อตั้ง “กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง” เพื่อปลูกสมุนไพรในแนวทางเกษตรอินทรีย์เพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบแก่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ สมุนไพรไร้สารป้อน “อภัยภูเบศร” สมุนไพรของกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง ได้รับการรับรองจาก “สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรี,มกท.”
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.00 – 17.00 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว 
ตลอดปี


๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 7087 5039
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook : สมัย คูณสุข
Facebook : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์บ้านดงบัง
กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง จ.ปราจีนบุรี
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์การเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา สวน ๓ ก จ.ปราจีนบุรี

ที่ตั้ง บ้านเลขที่ 1 หมู่ ๙ ต.บางพลวง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี
๑. สวนเกษตรที่พัฒนามาจากที่ลุ่มน้ำท่วมถึงมีการสร้างโคกขึ้นมาเพื่อป้องกันน้ำท่วม บ่อที่ทำการขุดดินขึ้นมาก็เลี้ยงปลาอีกทางหนึ่ง ทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ทำสวนไผ่ ที่ทนแล้ง ทนน้ำท่วม เพื่อให้ได้ผลผลิตทั้งปี ขายหน่อไม้สด และแปรรูปหน่อไม้ที่ได้เพื่อเพิ่มมูลค่า เพราะมีตลาดที่รับซื้อรองรับผลิตภัณฑ์ มีการปลูกยางนา เผาถ่าน ปลูกขี้เหล็ก นำใบมาต้มขาย เป็นต้น มีการปลูกไม้เศรษฐกิจ ไม้กินได้ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาเป็นหลักในการทำการเกษตร ทำเกษตรแต่พอกำลัง ไม่กู้หนี้ยืมสินมาเมื่อมีความรู้จากการลงมือทำก็สามารถต่อยอดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานได้
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
09.00 น. – 16.00 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
มกราคม – พฤษภาคม ก่อนช่วงฤดูฝน
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ส.อ. ปัญจะ สกุลนคร โทรศัพท์ ๐๙ ๘๔๗๓ ๘๕๓๓
๖. ช่องทางออนไลน์ –
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อุทยานแห่งชาติทับลาน จ.ปราจีนบุรี

ที่ตั้ง ๕๒๐ ม.๑ ถนนสาย ๓๐๔ กบินทร์บุรี – ปักธงชัย ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี
๑. ความโดดเด่น/ความสำคัญ
เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ ประมาณ ๑,๓๙๗,๓๗๕ ไร่ ประกอบไปด้วยป่าลาน ซึ่งหาดูได้ยาก มีเฉพาะบางท้องที่เท่านั้น และเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่าง ๆ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อน มียอดเขาสูงที่สุด คือ เขาละมั่ง สูง ๙๙๒ เมตร มีหุบเขาตามธรรมชาติ เหว และน้ำตก เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำมูล และแม่น้ำบางปะกง มีพรรณไม้เฉพาะถิ่น คือ ต้นลาน ถือเป็นป่าลานผืนสุดท้ายที่สมบูรณ์และสวยงามแห่งหนึ่งในประเทศไทย
มีจำนวนสัตว์ป่าในเขตอุทยานไม่ต่ำกว่า ๓๒๑ ชนิด จำแนกเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๗๖ ชนิด, นก ๑๔๔ ชนิด, สัตว์เลื้อยคลาน ๔๘ ชนิด, สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ๑๗ ชนิด, ปลาน้ำจืด ๓๑ ชนิด
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนพฤศจิกายน – เดือนมกราคม ของทุกปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
– นักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท / คน เด็ก ๑๐ บาท / คน
– นักท่องเที่ยวต่างชาติ ผู้ใหญ่ ๒๐๐ บาท / คน เด็ก ๑๐๐ บาท / คน
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
– ทางเดินศึกษาธรรมชาติ พืชพรรณ และสัตว์ป่า
– ท่องเที่ยวชมความสวยงามของน้ำตกต่าง ๆ
– ชมทิวทัศน์ ณ ผาเก็บตะวัน
๖. เบอร์โทรศัพท์
๐๓๗ ๒๑๐ ๓๔๐
๗. ช่องทางออนไลน์
http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=986
๘. สิ่งอำนวยความสะดวก
/ ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โบราณสถานสระมรกต จ.ปราจีนบุรี

ที่ตั้ง บ้านสระข่อย ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ (ห่างจากเมืองศรีมโหสถไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร)
๑.โบราณสถานสระมรกต เป็นแหล่งโบราณสถานในอำเภอศรีมโหสถ แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ เป็นกลุ่มอาคารโบราณสถานที่สร้างขึ้นในสมัยแรก ประกอบด้วย วิหารพระพุทธบาท ลานประทักษิณศิลาแลง อาคารก่ออิฐ อาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงแก้วล้อมรอบวิหารพระพุทธบาท และกำแพงแก้วชั้นนอกที่เหลือร่องรอยบางส่วน
กลุ่มที่ ๒ เป็นกลุ่มอาคารโบราณสถานที่สร้างทับบนโบราณสถานกลุ่มแรก ประกอบไปด้วย ซุ้มประตูหน้า ปรางค์ประธานที่มีแผนผังเป็นรูปกากบาทสองอันต่อกัน บรรณาลัยมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยม ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วถัดจากซุ้มด้านหน้า ทำเป็นทางเดินทอดยาวไปทางทิศตะวันออก ลักษณะโบราณสถานกลุ่มที่สองมีแผนผังแบบเดียวกับอโรคยาศาลาที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๓๗๒๗ ๖๐๘๔
๕. ช่องทางออนไลน์
http://www.kokthai.go.th/travel.php?content_id=18
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม