สวนอาหารบ้านคุ้งน้า จังหวัดสมุทรสาคร

ที่ตั้ง ๕๑/๔ หมู่ ๖ ถนน บ้านบ่อ–บ้านแพ้ว ต. บ้านบ่อ อาเภอเมืองสมุทรสาคร
จังหวัดสมุทรสาคร
1. ร้านอาหารริมคลองสุนัขหอนอยู่ในย่านบ้านบ่อ-บ้านแพ้ว สมุทรสาคร อาหารทะเลสด ๆ บรรยากาศดี สะดวกสบาย อาหารทะเล กับอาหารพื้นบ้าน มีล่องเรือทานอาหาร ราคาชั่วโมงครึ่ง ๓,๐๐๐ บาท (นั่งได้ ๒๐ คน) นั่งเรือชมทิวทัศน์ ทานอาหารไม่ได้ ๘๐๐ บาท เห็นสายน้าและต้นไม้เขียว และยังมีที่พักบ้านคุ้งน้ำ รีสอร์ท โรงแรม รีสอร์ท ราคาถูก น่าพักอีกแห่ง ที่พักบรรยากาศดี ที่แนวบูติค ห้องพักตกแต่งสวยงาม พร้อมด้วยความสะดวกสบาย
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนา
2.1 แกงส้มไข่ปลาริวกิว
2.2 ปลาทูต้มมะดัน
2.3 หอยพิมทอด
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
๑๐.๐๐ – ๒๒.๐๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๓๔๘๓ ๙๘๘๓
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook บ้านคุ้งน้ารีสอร์ท สมุทรสาคร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สวนสละลุงถัน จังหวัดพัทลุง

บ้านหลักสิบ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
๑.สวนสะละลุงถัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีชื่อเสียงของอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง อันเกิดจากจากความสำเร็จของลุงถัน ดำเรือง ผู้พลิกแนวคิดจากการทำสวนยาง สวนผลไม้อื่นๆ มาเป็นสวนสละคุณภาพที่คว้ารางวัลมากมาย นายวิชัย ดำเรือง บุตรชายของลุงถัน เรียนจบปริญญาทางวิศวกรรมมามาสวมบทบาทเป็นลูกชาวสวนเต็มตัว ช่วยดูแลสวนสะละและเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้มาเยี่ยมชม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรกร นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เช่น เยอรมัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย มีการสาธิตการผสมพันธุ์สะละ ชิมน้ำสะละ ชิมผลสะละสด รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย การผสมพันธุ์สะละได้เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเขียนชื่อ วัน เดือน ปี ของเกสรที่ผสมแล้วเพื่อการมีส่วนร่วม จุดเด่นของสวนสะละลุงถัน คือ สะอาด ร่มรื่น ให้ผลดก ตลอดทั้งปี สวนนี้ได้รับรางวัลกินรี เป็นรางวัลสำหรับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กิจกรรม/บริการ: กิจกรรมหลัก คือ เที่ยวชมสวนและสาธิตวิธีการผสมเกสรสละ บริการอาหารสำหรับผู้เข้าเยี่ยมชม และสามารถทำได้เช่นกัน เป็นอาหารพื้นบ้าน เช่น ผักกูดลวกกะทิ แกงไก่ใส่หยอกกล้วย ผัดเครื่องแกงเห็ด ปลาทูทอด น้ำพริกกะปิพร้อมผักสด และมีบริการจำหน่ายสละสดและสละแปรรูปให้ซื้อเป็นของฝาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน) ตลอดทั้งปี

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านอาหาร BARAZAAZ BAZAAZ และกิจกรรมทำผ้าบาติกด้วยบล๊อกไม้ของกลุ่ม Barahom Bazaar (CPOT)

1. ทานอาหารพื้นบ้าน “นาสิอิแดกำปง” เปิบด้วยมือ “นาสิอีแดกําปง” เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวจังหวัดปัตตานี นิยมกินกับแกงเหลืองกะทิ ปลาทอด น้ำพริก บูดูและผัก ลวกชนิดต่าง ๆ ที่สามารถหากินได้ง่ายในชุมชน และทางผู้ปะกอบการตองการให้กินบนใบตองแทนการใช้จานถ้วยและเปิบ ด้วยมือแทนการกินด้วยช้อนส้อม เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกิน “นาสิอีแดกําปง” จัดราคาเซ็ทตั้งโต๊ะอยู่ที่หัวละ ๙๙ บาท เป็นบุฟเฟต์สามารถเติม กับข้าว ผักลวก ไม้อั้น (ยกเว้นปลาทอด)
2. ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกจากบล็อกไม้ลายเครื่องชามถ้วยโบราณ (CPOT) อาทิ
กระเป๋า ผ้าผืน หน้ากากอนามัย ผ้าพันหัว ฯลฯ แบรน Barahom Bazaar โดยการนําสิ่งที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายบนงานหัตถกรรม จากที่ทําผ้าบาติกด้วยบล็อคไม้โดยประยุกต์เอามรดกทางประวัติศาสตร์ของชุมชนบาราโหมมาสร้างจุดเด่นในการสืบสานศิลปวัฒธรรมให้ลูกหลานของชุมชนและเผยแพร่แก่สังคม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

บ้านตานิด จังหวัดปทุมธานี

ที่ตั้ง 40 ตำบล กระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
๑. บ้านตานิดเป็นร้านอาหาร และให้บริการโฮมสเตย์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เสน่ห์ของอาหารที่บ้านตานิดคือ ตัวร้านมีลักษณะเป็นบ้านไม้เรือนไทยอายุมากกว่า 70 ปี ภายในตกแต่งผสมผสานความเป็นสมัยใหม่ แต่ยังอนุรักษ์ความดั้งเดิมของตัวบ้าน เมนูอาหารพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังมีอาหารหลากหลาย โดยบ้านตานิดจะเน้นอาหารพื้นบ้านตามวิถีริมน้ำเจ้าพระยา อาทิ กุ้ง ปลา เป็นต้น ลูกค้าที่มารับประทานอาหารที่ร้านนอกจากจะได้รับประทานอาหารพื้นบ้านยังได้สัมผัสกับวิถีชีวิตคนริมน้ำนั่งชมบรรยากาศแม่น้ำเจ้าพระยา
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 ผัดสามเหม็น
2.2 หลนปลากุเลา
2.3 แกงส้มไหลบัว
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
ทุกวัน เวลา 11.30 – 19.00
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 08 1835 0660
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : Baan Ta Nid River Lodge’n Art Camp

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านชาวเรือ ร้านอาหาร

ที่อยู่ : 195 ถนนศรีธรรมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
๑. ร้านอาหาร ชาวเรือ นครศรีธรรมราช เป็นอาหารพื้นบ้าน ที่เน้นบริการอาหารปักษ์ใต้รสชาติของคนนครศรีธรรมราชโดยเฉพาะ เมนูอาหารมีให้เลือกหลากหลาย เมนูเด่นคือ น้ำพริกแมงดาสะตอเผา ปลาร้าของทางร้านทำมาจากปลากระบอก ทำให้แตกต่างจากปลาร้าที่อื่น เมนูอื่นๆ เช่น แกงส้มปลากะพง แกงกะทิกุ้งใบชะพลู ด้วยรสชาติที่เข้มข้น เผ็ดร้อน ทุกเมนูจึงทำให้มีรสชาติความอร่อยไม่แพ้กัน
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 น้ำพริกแมงดาสะตอเผา
2.2 ยำผักกูด
2.3 แกงส้มปลากะพง
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เวลาเปิด-ปิด :
ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00-21.30 น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ : 06 5036 6600
๕.ช่องทางออนไลน์
Face book : ร้านอาหารชาวเรือ นครศรีธรรมราช

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี

บ้านทรายขาวเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อันเงียบสงบ อยู่ติดกับเชิงเขาสันกาลาคีรี  อยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ด้วยธรรมชาติกับภูมิอากาศที่เย็นสบาย และวัฒนธรรมสองศาสนาระหว่าง พุทธ-มุสลิม ที่โดดเด่นซึ่งอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและตำนานจนถึงปัจจุบัน  

ชุมชนวัดทรายขาว มีคำขวัญที่แสดงถึงความโดดเด่น และเชิญชวนให้ผู้คนได้มาเยี่ยมเยือน ดังนี้ “น้ำตกงาม ลือนามอาจารย์นอง ชุมชนสองศาสน์สามัคคี ประเพณีลากพระขึ้นเขา มัสยิดเก่าโบราณ อร่อยหวานลองกอง ทุเรียนหมอนทองหวานมัน”

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดทรายขาว
วัดทรายขาวเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๐๐ โดยท่านภักดีชุมพล (นายเพ็ง) ที่ได้อพยพพรรคพวกมาจากเมืองไทรบุรี (รัฐเคดะห์) ประเทศมาเลเซีย ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่ ต่อมาได้บริจาคที่ดินสร้างเป็นวัดแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา วัดทรายขาวได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๒

มัสยิดนัจมุดดีน เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุประมาณ ๓๐๐ กว่าปี เป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลามที่มีการก่อสร้างแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมมุสลิม ซึ่งทำให้มัสยิดแห่งนี้มีลักษณะคล้ายศาลาการเปรียญของไทย 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว น้ำตกทรายขาวเดิมชาวบ้านเรียกว่า “น้ำตกกระโถน” มีต้นกำเนิดจากยอดเขานางจันทร์บนเทือกเขาทรายขาว ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๕ ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผาสูงประมาณ ๔๐ เมตร น้ำตกแห่งนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมาท่องเที่ยวของประชาชน ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

จุดชมวิวอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จุดชมวิวทะเลหมอก ขอพรถ้ำวิปัสสนาเขารังเกียบ สักการะพระพุทธมหามุนินโลกนาถ ชมหินสลักพระนามาภิไธย และหินผาพญางู (มีลักษณะคล้ายหัวงู) ที่มีความโดดเด่น

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ ม.๓ ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นสถานที่เพาะพันธุ์กล้าไม้ เช่น ไม้ตะเคียน ไม้สะเดา เป็นต้น

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ร่วมประกอบอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน) โฮมสเตย์บ้านทรายขาว นักท่องเที่ยวที่เข้ามาร่วมทำอาหารพื้นบ้าน กับเจ้าของบ้าน เช่น ทำ ขนมข้าวต้มใบกะพ้อ ไข่แม่เฒ่า แกงหยวกกล้วย เป็นต้น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา

ชุมชนคุณธรรมวัดด่านเกวียน เป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล เป็นเมืองหน้าด่าน เรียกว่า ด่านกระโทก และเคยเป็นที่พักกองคาราวานเกวียนสินค้าที่ขึ้นล่องระหว่างโคราช-เขมร จึงทำให้หมู่บ้านนี้ได้มีชื่อเรียกขานกันมาว่า “ด่านเกวียน”

“สืบสานตำนานดิน อนุรักษ์ถิ่นวัฒนธรรม เลิศล้ำหัตถศิลป์ คู่ดินด่านเกวียน” จุดเด่นที่สำคัญของชุมชนได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านด่านเกวียนที่มีความโดดเด่น และเป็นที่รู้จักกันดี เป็นงานฝีมือของชาวบ้านที่สามารถปั้นดินให้เป็นเงินได้ และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน                         

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดด่านเกวียน
เป็นวัดที่อยู่คู่กับตำบลด่านเกวียนมาอย่างยาวนาน โดยคาดว่าสร้างขึ้นในสมัยราชการที่ 4 เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวตำบลด่านเกวียน ที่ได้รับทั้งความศรัทธาและเลื่อมใสมาโดยตลอด

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ในพระอุโบสถวัดด่านเกวียน
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ในพระอุโบสถวัดด่านเกวียน ที่ประชาชนกราบสักการะบูชา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผา ณ บ้านผู้ใหญ่เมี้ยน สิงห์ทะเล
เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านด่านเกวียนที่มีความโดดเด่น และเป็นที่รู้จักกันดีในด้านเครื่องปั้นดินเผาเป็นงานฝีมือของชาวบ้านที่สามารถปั้นดินให้เป็นเงินได้ และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สะพานไม้ ๑๐๐ ปี
เป็นสะพานไม้ที่ตั้งอยู่ภายในวัดด่านเกวียน สร้างขึ้นเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำมูล โดยในอดีตนั้น ชาวด่านเกวียนได้ใช้สะพานแห่งนี้ในการเดินทางเพื่อเข้ามายังวัดด่านเกวียน และใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางภายในตำบลด่านเกวียน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมพิพิธภัณฑ์ความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
ศูนย์การเรียนรู้เครื่องปั้น ดินเผาด่านเกวียน ชมพิพิธภัณฑ์ความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

กราบสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ในพระอุโบสถวัดด่านเกวียน ถ่ายรูป ณ จุดเช็คอินหน้าอุโบสถ และเดินชมสะพานไม้โบราณ ข้ามแม่น้ำมูล ไปยังสวนเกษตรพอเพียง ที่อยู่บริเวณทุ่งนาของวัดและถ่ายภาพประทับใจ

เยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
บ้านผู้ใหญ่เมี้ยน สิงห์ทะเล และเครือข่ายภูมิปัญญา เยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ของชุมชนซึ่งจะทำให้เห็นถึงบรรยากาศการสร้างสรรค์ศิลปะงานปั้นจากภูมิปัญญาที่พร้อมให้ความรู้ได้โดยตรง ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ได้รับความรู้เท่านั้นนักท่องเที่ยวสามารถลงมือประดิษฐ์ครื่องปั้นดินเผาได้ด้วยตนเอง

ชมและช้อป
แหล่งจำหน่ายสินค้าของคนภายในพื้นที่ เช่น ร้านมดแดง โค้งพันล้านด่านเกวียน สมานเครื่องปั้น มดแดงดินเผา ลานจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

รับประทานอาหารพื้นบ้าน

ร้านโชว์ลาย , ครัวเครื่องปั้น, ตำถาดดานเกวียนส้มตำ ไก่ทอด by ป้าปุ, เจ๊แหวดก๋วยเตี๋ยวเป็ดยกซดก๋วยเตี๋ยวเป็ด สูตรโบราณ, ก๋วยเตี๋ยวกลางไร่, ขนมจีนแม่ทองดี, ข้าวกะเตี๋ยวอิ่มบุญตามสั่งร้านอาหารเหล่านี้มีจุดเด่นที่ส่วนประกอบในการประกอบอาหารมักเป็นไปตามฤดูกาล

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดชัยประสิทธิ์ บ้านแพง จังหวัดมหาสารคาม

วัดชัยประสิทธิ์ บ้านแพง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีธรรมชาติที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ดำเนินชีวิตตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา นอกจากวิถีชีวิตที่งดงามแล้ว ความเข้มแข็งของชุมชนยังเกิดขึ้นจากพลัง “บวร” (บ้าน ชุมชน วัด โรงเรียน ภาคราชการ) ขับเคลื่อนนำพาชุมชนให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่น่า

วัดชัยประสิทธิ์ บ้านแพง ได้สืบทอดภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมพื้นบ้านการผลิตเสื่อที่ทอจากกก ซึ่งแรกเริ่ม เดิมทีใช้วัสดุจากต้นผือที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ต่อมามีผู้นำต้นกกที่มีความเหนียวและสวยงามเข้ามาทอ  จึงเป็นที่นิยม และปัจจุบันพัฒนามาเป็นสินค้า OTOP/CPOT ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนปีละหลายล้านบาท

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศาลาศรีสัจธรรม
เป็นศาลาที่มีทั้งหมด ๓ ชั้น ชั้นแรกใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ชั้นที่ ๒ เป็นห้องพักสำหรับแขกผู้มาเยือน ชั้นที่ ๓ จุดชมวิวทิวทัศน์และยังเป็นพิพิธภัณฑ์ของชุมชนมีภาพเขียนวิถีชีวิตของคนในชุมชนบ้านแพงในอดีต

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

บึงบ้านแพง
เป็นบึงที่มีความอุดมสมบูรณ์มีปลาและสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ชาวบ้านใช้น้ำในบึงแพงเพื่อปลูกต้นกก หน้าหนาวจะมีนกเป็ดน้ำจำนวนมากอพยพมาอยู่ เป็นที่พักผ่อนและท่องเที่ยวของคนในชุมชน  

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศาลาลมหล่วง
เป็นศาลาเปิดโล่ง หลังคาสูงใช้สำหรับทำกิจกรรมของชุมชน เช่น ประชุม ฝึกอบรม และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางเกษตร

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

ไหว้ดอนปู่ตา
ดอนปู่ตา ไหว้ดอนปู่ตา สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในชุมชน เป็นการบอกกล่าวว่ามีผู้มาเยือน ช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัย

ชมการทอเสื่อกก และการแปรรูปเสื่อกกเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
ศูนย์การแปรรูปเสื่อกก เยี่ยมชมศูนย์การแปรรูปเสื่อกก      การทอเสื่อกก การนำเสื่อกกมาทำเป็นกระเป๋า เบาะรองนั่ง ชมสินค้าจากการแปรรูปของชุมชน

นั่งรถซาเล้งเที่ยวรอบชุมชน
ชุมชนวัดชัยประสิทธิ์ นั่งรถซาเล้งเที่ยวรอบชุมชน          ชมธรรมชาติที่สวยงามรอบบึงแพง และชมวิถีชีวิตของคนในชุมชน การตากกก การทอเสื่อ

ไหว้พระ ชมวิวทิวทัศน์และภาพเขียนวิถีชุมชน
ไหว้พระ ชมวิวทิวทัศน์ภาพมุมสูงบนชั้น ๓ ศาลาศรีสัจธรรมและเยี่ยมชมลอมข้าวยักษ์ที่ข้างในเป็นภาพเขียนวิถีชีวิตของชาวบ้านแพง 

รับประทานอาหารพื้นบ้านแสนอร่อย
ศาลาลมหล่วง รับประทานอาหารพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของบ้านแพง อาทิ เนื้อทุบ หม่ำเนื้อ และอาหารตามฤดูกาล

ลอดโพรงไม้แสบงอายุ ๑๐๐ ปี
ศาลาลมหล่วง ลอดโพรงไม้แสบง อายุ ๑๐๐ ปี เพื่อขอพร หากใครกลั้นหายใจลอดโพรงไม้ ๓ รอบ โดยระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยสามารถขอพรให้สำเร็จได้ ตามคำบอกเล่าถ้าขอเรื่องสุขภาพ และเรื่องหมดหนี้สินจะสำเร็จ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านภู จังหวัดมุกดาหาร

บ้านภู ตั้งอยู่ทามกลางภูเขาและทิวทัศน์ที่สวยงาม (ซึ่งคล้ายกับฟูเขาไฟฟูจิ ในประเทศญี่ปุ่น) อากาศสดชื่นบริสุทธิ์  มีผืนป่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธรรมชาติอันเป็นแหล่งอาหารของชุมชน และแหล่งต้นน้ำลำธารเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต โดยเพาะปลูกข้าวและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในพื้นที่ราบโดยไม่ใช้สารเคมี คนในชุมชนจะนิยมปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน

“ชาวบ้านภูสามัคคี  สืบวิถีแบบพอเพียง เด่นชื่อเสียงศูนย์เรียนรู้ ฟื้นฟูวัฒนธรรมผู้ไทย รักษ์ใส่ใจในพิพิธภัณฑ์ ภูสวรรค์ถิ่นรื่นรมย์ เที่ยวเพลินชมหมู่บ้านโฮมสเตย์” บ้านภู เป็นชุมชนชาติพันธุ์ผู้ไทย ที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นทางวัฒนธรรม ตั้งอยู่ทามกลางทิวทัศน์ภูเขาล้อมรอบ สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม ผืนป่าอุดมสมบูรณ์ ใช้ชีวิตบนวิถีความพอเพียง

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดศรีนันทาราม
เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน โดยมีสิมเก่า หรือ โบสถ์เก่า ตั้งอยู่ในบริเวณวัด เกิดขึ้นจากการร่วมแรงร่วมใจและร่วมมือกันก่อสร้างคนชนในบ้านภู เมื่อปี พ.ศ. 2449 ซึ่งด้านในได้ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนบ้านภู

ศูนย์การเรียนรู้บ้านภู
ศูนย์เรียนรู้บ้านภู เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ของชุมชนเป็นสถานที่ประชุม เสวนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นที่หลอมรวมภูมิรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน  และใช้เป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะให้บริการด้านการท่องเที่ยวของชุมชน และเป็นศูนย์ประสานงานและบูรณาการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนผู้นำกลุ่มองค์กร เครือข่ายที่ร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนบ้านภูให้มีความเข้มแข็ง จนเป็นแหล่งศึกษาดูงานที่ได้รับความนิยมจากทั่วประเทศ

วัดภูผาขาว (ถ้ำโส้ม)
วัดถ้ำภูผาขาวหรือวัดถ้ำโส้ม ชื่อเรียกที่เป็นภาษาภูไท เป็นวัดที่สร้างอยู่บนหน้าผาอันสูงชันของภูเขาอยู่ทางทิศตะวันตกของชุมชน เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีพระพุทธรูปแกะสลักจากหน้าผาเป็นพระประธานของวัดแห่งนี้ ซึ่งเจ้าอาวาสวัดและชาวบ้านภูบ้านเป้าร่วมกันสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ร่วมกันก่อสร้างถนนคอนกรีตขึ้นวัดปลูกสร้างอาคารที่ใช้เป็นกุฏิสงฆ์ และห้องพักสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมอีกด้วย ถือได้ว่าวัดแห่งนี้เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนชาวบ้านภู และละแวกใกล้เคียง

วัดพุทธคีรี
เป็นวัดที่ตั้งอยู่ก่อนทางเข้าหมู่บ้านตั้งอยู่บนเนินเขาบริเวณวัด มีสถานที่พักกางเต็นท์และมีจุดชมทัศนียภาพที่สวยงาม

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวบ้านภู
จุดชมวิวบ้านภู ตั้งอยู่บริเวณท้ายหมู่บ้าน เป็นที่ราบเชิงเขาเป็นแหล่งปลูกข้าวอินทรีย์ของชาวบ้าน เป็นสถานที่ชมทัศนียภาพของท้องทุ่งนาและสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของภูจ้อก้อ (ซึ่งจะคล้ายกับวิวของภูเขาไฟฟูจิประเทศญี่ปุ่น)ซึ่งมีความอุดมสมบุณ์เขียวขจีสลับกับสีฟ้าของท้องฟ้าอย่างสวยงาม

ฝ่ายมีชีวิต
ตั้งอยู่บริเวณลำห้วยกระเบียน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและระบบนิเวศห้วยกระเบียน ซึ่งชุมชน เพื่อจะได้ชะลอน้ำเอาไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งที่จะใช้ประโยชน์จากฝ่ายเหล่านี้เป็นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ ยังทำให้เกิดความชุ่มชื้นในต้นน้ำของชุมชน และสร้างระบบนิเวศที่ดีต่อป่าชุมชน

แหล่งศึกษาธรรมชาติวัดถ้ำกระพุง
ตั้งอยู่บนภูเขาท้ายหมู่บ้านประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของชุมชนและมีสมุนไพรต่าง ๆ มากมาย จึงเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติและสมุนไพรของชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอาจารย์ถวัลย์ ผิวขำ
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอาจารย์ถวัลย์ ผิวขำ ตั้งอยู่บริเวณของบ้านอาจารย์ถวัลย์ ซึ่งได้ทำเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรแบบพอเพียง การปลูกพืชผักสวนครัวและอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่น 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมต้อนรับนักท่องเที่ยวเมื่อนักท่องเที่ยวเข้า สู่ชุมชน (กรณีเป็นหมู่คณะ)
บริเวณหน้าวัดศรีนันทาราม สื่อบุคคลและมักคุเทศก์น้อยจะกล่าวต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยภาษาผู้ไทย และร่วมกันคล้องพวงมาลัยให้กับนักท่องเที่ยว ตั้งขบวนและแห่กลองตุ้ม ฟ้อนรำและการแสดงวิถีชีวิตชาวบ้านภูให้กับนักท่องเที่ยวได้ชม พร้อมนำนักท่องเที่ยวเข้าสู่บริเวณ  วัดเพื่อเข้าไปนมัสการขอพรพระใหญ่ในสิมเก่าวันศรีนันทาราม

กิจกรรมพาแลง
ศูนย์เรียนรู้บ้านภู เป็นกิจกรรมไฮไลท์ของชุมชนบ้านภู ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ นักท่องเที่ยวร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญตามรูปแบบของชาวภูไทยบ้านภู โดยได้นำใบตองมาเย็บเป็นบายศรีอย่างสวยงาม ที่ประดับด้วยดอกไม้ธูปเทียน ข้าวเหนียวนึ่ง สุรากลั่น ไข่ไก่ต้ม ไก่ต้มทั้งตัว ด้ายผูกข้อมือมีด้ายสายสิญจน์ ประกอบเป็น “พาขวัญ” โดยจะมีพราหมณ์เป็นผู้ ทำพิธีเรียกขวัญสร้างขวัญกำลังใจ และมีผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน ทำการผูกข้อมือพร้อมอวยพรให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยความอบอุ่น
  • กิจกรรมการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมนักท่องเที่ยวร่วมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน จากกลุ่ม ๓ วัยซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงดังกล่าว อาทิ การเต้นบาสโลป การแสดงวงโปงลาง การแสดงลงข่วงเข็นฝ้าย เป็นต้น
  • การรับประทานอาหาร ในรูปพาแลง คือ เป็นขันโตกอาหารพื้นบ้านของบ้านภู พร้อมกับรับชมการแสดงของชุมชนไปพร้อม

กิจกรรมนุ่งซิ่น ปูสาดใส่บาตรตอนเช้า
หน้าวัดศรีนันทาราม เป็นกิจกรรมในตอนเช้ารุ่งอรุณ ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสเสน่ห์ของชุมชน โดยการตักบาตรข้าวเหนียวบริเวณหน้าบ้านพักโฮมสเตย์หรือบริเวณหน้าวัดศรีนันทารามซึ่งจะได้รับบุญพร้อมสัมผัสอันบริสุทธิ์ของชุมชน 

กิจกรรมประกอบอาหารพื้นบ้าน
บ้านพักโฮมสเตย์ นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกับเก็บผักพื้นบ้านในชุมชน อาทิ ผักหวาน กะหล่ำปลี พริก ข่า ตะไคร้ ชะอม    เป็นต้น มาประกอบอาหาร อาทิ แกงผักหวาน อ่อมไก่ ตำแจ่ว (น้ำพริก) โดยจะมีคนชุมชนตามบ้านพักโฮมสเตย์เป็นผู้พาดำเนินการ ซึ่งในชุมชนบ้านภูทุกครัวเรือนจะนิยมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ และนำผักเหล่านั้นมาประกอบอาหารให้กับนักท่องเที่ยวได้ชิมและลิ้มรสชาติเมนูอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาลให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส

ปั่นจักรยานตามเส้นทางชมบรรยากาศรอบ ๆ หมู่บ้าน
รอบบ้านภู นักท่องเที่ยวปั่นจักรยานตามเส้นทางชมบรรยากาศ ภูเขา ทุ่งนาบริเวณรอบชุมชนบ้านภู พร้อมเรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ชุมชน โดยมีกลุ่มมัคคุเทศก์น้อยเป็นผู้ปั่นนำทางและเล่าประวัติสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้ชมและสัมผัส โดยเดินทางไปตามเส้นทางไปยังกลุ่มต่าง ๆ ประกอบด้วย

– ฐานเพิ่มรายได้ กลุ่มทอผ้าไหม
-ฐานประหยัด กลุ่มออมทรัพย์เศรษฐกิจพอเพียง
– ฐานเพิ่มรายได้ กลุ่มแกะสลักไม้
– ฐานเอื้ออารี กลุ่มทอผ้าลายขิด

กิจกรรมทอผ้าและย้อมสีผ้าจากธรรมชาติ
ศูนย์เรียนรู้การทอผ้า นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าและการย้อมผ้าจากธรรมชาติจากครูภูมิปัญญาของชุมชน 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านภูมิโปน จังหวัดสุรินทร์

เป็นชุมชนที่มีปราสาทเก่าแก่ที่มีอารยธรรมของ “ขอม” บริเวณปราสาทปรากฏร่องรอยการทำชลประทานในสมัยโบราณ คือ มีน้ำสองชั้น เป็นลักษณะคันดินล้อมรอบน้ำ และรอบคันดิน ซึ่งเป็นภูมิศาสตร์ที่หลงเหลือไว้ให้เห็น คำว่า “ภูมิโปน” มาจากภาษาเขมร “ปูม” ซึ่งแปลว่าแผ่นดินหรือสถานที่ และ คำว่า “โปน” มาจากคำว่า “ปูน” แปลว่าหลบซ่อน จากความหมายของชื่อก็มีความสัมพันธ์กับตำนานท้องถิ่น ที่เกี่ยวกับปราสาทแห่งนี้คือ ตำนานเรื่อง “เนียงด็อฮธม” ซึ่งแปลว่า “นางนมใหญ่” 

ชุมชนคุณธรรมบ้านภูมิโปน ผู้คนมีความโอบอ้อมอารี พร้อมทั้งยินดีต้อนรับผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมเยือนภายในชุมชนด้วยความเป็นมิตรตลอดเวลา ชุมชนมีอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ชาวไทยเชื้อสายเขมรที่แสดงออกมาอย่างเด่นชัด ทั้งเรื่องการแต่งกาย ภาษา อาหาร การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ปราสาท ภูมิโปน
ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วย โบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้าง อย่างน้อย 2 สมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่ และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาท แบบศิลปะเขมร ที่มีอายุเก่าที่สุด ในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13
ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็ก ที่ตั้งตรงกลาง และปราสาทที่มีฐานศิลาแลง ด้านทิศใต้นั้น สร้างขึ้นในสมัย หลังปราสาทภูมิโปน คงจะสร้างขึ้น เป็นศาสนสถาน ในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน แม้จะไม่พบ รูปเคารพ ซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์ อยู่ภายในองค์ปรางค์แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ ยังมีท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนต์ ที่ต่อออกมา จากแท่นฐานรูปเคารพ ในห้องกลาง ติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง

พิพิธภัณฑ์โรงเรียนดมวิทยาคาร
พิพิธภัณฑ์โรงเรียนดม วิทยาคาร จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและผู้ที่สนใจด้านประวัติศาสตร์โดยได้รับการสนับสนุนจากชุมชนในบริเวณใกล้เคียง เช่น บ้านภูมิโปน บ้านดม ในการบริจาควัตถุสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดแสดง

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สระน้ำโบราณ
เป็นลักษณะคูกำแพงเมือง เขื่อนดินโบราณ และสระน้ำ โดยเฉพาะน้ำเป็นระบบชลประทานที่ถูกออกแบบมา มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สระลำเจียก สระตา สระกนาล สระตราว และสระปรือ 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

โครงการเศรษฐกิจพอเพียงสวนมะนาว คุณสุจิน ยวนจิต
เป็นสวนมะนาวที่ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ซึ่งเป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่ต้องการให้มะนาวสามารถออกลูกนอกฤดู และง่ายต่อการจัดการ เนื่องจากการปลูกในบ่อซีเมนต์สามารถปลูกให้มีขนาดทรงพุ่มเท่ากับการปลูก ใน แปลงดินได้ และง่ายต่อการงดน้ำ   เพื่อบังคับให้ออกลูก นอกฤดู

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญ
ลานวัฒนธรรม ปราสาทภูมิโปน เป็นกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญแบบพื้นบ้าน โดยใช้บายศรี ข้าวตอก

ร่วมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม เช่น เรือมอันเร
ลานวัฒนธรรม ปราสาทภูมิโปน   เรือม แปลว่า “รำ” ลู้ด แปลว่า “กระโดดหรือเต้น” อันเร แปลว่า “สาก” ฉะนั้นคำว่า เรือมอันเร หรือ ลู้ดอันเร แปลว่า “รำสาก” หรือ “เต้นสาก” เรือมอันเรหรือ ลูดอันเร เป็นการละเล่นของชาวไทยเชื้อสายเขมรจังหวัดสุรินทร์ที่เล่นกันในเดือนห้า(แคแจด) ซึ่งถือเป็นวันพักผ่อนประจำปี

ปั่นจักรยาน/ นั่งรถซาเล้ง
บริเวณชุมชนบ้านภูมิโปน กิจกรรมปั่นจักรยาน/นั่งรถซาเล้ง ตามเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน

ร่วมรับประกอบอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน)
ลานวัฒนธรรม ปราสาทภูมิโปน /สุจินโฮมสเตย์ ร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้านอันแสนอร่อย กบยัดไส้ ไก่อบสมุนไพร น้ำพริกแคบหมู ขนมปะการันเจก ขนมเนียล

งานฝีมือ/งานประดิษฐ์
ฐานการเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์   ผ้าไหม ณ บ้าน นาง รัตติยา จินดาวงษ์ รวมทำงานฝีมือ /งานประดิษฐ์ เช่น การปักกระเป๋าใส่แก้ว
ฐานการเรียนรู้งานจักสาน การสานตั๊กแตนจากใบลาน ใบมะพร้าว และสามารถนำกลับไปเป็นของฝากได้

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม